เรื่องและภาพ: สุชานันท์ เสมหิรัญ และ ภาวิตา คล้ายแจ่ม
“เราไม่รับรองนะว่าลูกคุณจะปลอดภัย”
ข้อความดังกล่าวอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากฟังจากปากของแพทย์ผู้รักษา โดยเฉพาะกลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงสูงด้านสุขภาพอย่างมารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่นั่นคือคำพูดที่คนกลุ่มนี้ในประเทศไทยประสบพบเจอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยไม่สามารถลุกขึ้นมาปกป้อง “สิทธิ” ของตนเองได้เลย
ในปี 2559 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) มอบเกียรติบัตรให้กับประเทศไทยในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกตามเป้าหมายโลก ถือเป็นประเทศแรกของเอเชีย และเป็นประเทศที่สองของโลกรองจากคิวบา
กรมอนามัยระบุว่า เป้าหมายของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาเอดส์คือไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และที่สำคัญที่สุดคือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ที่มีผลมาจากการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกให้กลายเป็นศูนย์ภายในปี 2573 เป้าหมายนี้จึงนำมาสู่การขอความร่วมมือจากแม่ผู้ตั้งครรภ์เรื่องความใส่ใจและการดูแลครรภ์ของตนเองตั้งแต่แรก
หนึ่งในมาตรการสำคัญที่แม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและบุตรต้องปฏิบัติตามคือ เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีต้องได้รับยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์ประสิทธิภาพสูงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และรับนมผสมเพื่อทดแทนนมแม่นานถึง 18 เดือน ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศ เพราะมีตัวเลขแสดงหลักฐานผลการดำเนินงานปี 2559 และ 2560 อย่างชัดเจนถึงอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กทารกแรกเกิดที่ลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 1.80 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ
ในปี 2561 องค์การอนามัยโลกและองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Childre’s Fund: UNICEF) ได้เผยแพร่รายงานการดำเนินการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยระบุใจความสำคัญไว้ดังนี้
“มารดาที่มีเชื้อเอชไอวีสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของตนเองและสุขภาพของลูก เมื่อมารดาเหล่านี้กินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ให้นมบุตร ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่ลูกของพวกเขานั้นจะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก“
แนวทางปรับปรุงในการให้นมทารกและเรื่องเอชไอวีของ WHO และ UNICEF ในปี 2559 ชี้ให้เห็นว่า การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) นั้นมีประสิทธิภาพในการลดการแพร่เชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรมาก โดยแนวทางดังกล่าวได้เน้นย้ำและแนะนำให้สตรีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรลงทะเบียนเพื่อดูแลและเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเองและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวีไปยังทารก
สิทธิผู้ป่วยในประเทศไทยกับสิทธิของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ในประเทศไทย มีการบัญญัติเรื่องสิทธิผู้ป่วยไว้ชัดเจนในคำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ที่องค์กรผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ร่วมกันประกาศใช้ในวันที่ 12 สิงหาคม 2558 ว่าด้วยสิทธิ 9 ข้อ โดยข้อที่ 2 และ 3 ระบุว่า
คุณแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัย 19 ปี ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีที่กำลังสวมกอดลูกชายตัวน้อย
ขณะพูดคุยเกี่ยวกับการให้นมของเธอ
“ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
“ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต“
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้ระบุสิทธิผู้ป่วยไว้เป็นกฎหมายโดยตรงเหมือนกับหลายประเทศทั่วโลก เช่น ในประเทศอังกฤษ มีการบัญญัติกฎบัตรผู้ป่วย (Patient’s Charter) เพื่อวางกรอบหลักเกณฑ์การให้บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Health Service) ในประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับและผู้ให้การรักษา หรือประเทศเยอรมนี ที่เสรีภาพส่วนบุคคลในการเคลื่อนไหว (Personal Freedom of Movement) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือผู้ป่วยได้รับการคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศ
ส่วนในประเทศไทย สิทธิผู้ป่วยปรากฏเพียงในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เท่านั้น
อย่างไรก็ดี แม้สิทธิดังกล่าวจะไม่ถูกบรรจุเข้าไปในตัวกฏหมายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยังคงมีความสอดคล้องด้านความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนสากล กล่าวคือบุคคลมีสิทธิที่จะตัดสินใจในกิจการส่วนตัวต่างๆ ด้วยตนเอง แสดงให้เห็นเสรีภาพและอิสระในการเลือกแนวทางการดำรงชีวิต โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่ควรได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวทางการรักษาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับตัวผู้ป่วยเอง
“ถ้าเขารับรองว่ามันปลอดภัยกับเราจริงๆ ก็อยากให้ลูกให้นมแม่ เพราะสารอาหารมันมากกว่า หมอเขาบอกว่าให้กินนมผงอย่างเดียว ห้ามกินนมแม่เด็ดขาด ผมก็คิดไปทางเดียวน่ะสิ”
พ่อใหญ่โกศล
“ไม่รู้เลยว่านมแม่จะให้ได้ เรากลัวมากด้วย เพราะหมอเขาก็ห้ามมาตลอด” โกศล หรือพ่อใหญ่โกศล ตามคำเรียกของชาวบ้านในแถบภาคอีสานคือพ่อของน้องบี (นามสมมุติ) เด็กสาวผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เพิ่งให้กำเนิดลูกชายตัวน้อยวัย 1 ขวบ เล่าให้ฟังว่านี่คือครั้งแรกที่เขารับรู้ว่ามารดาหรือลูกสาวของเขามีสิทธิ์เลือกเลี้ยงลูกด้วยนมของเธอได้
เกษตรกรวัย 50 ปีในจังหวัดอุบลราชธานีเล่าว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ตนไปรับนมผงแทนน้องบี ตนรู้เพียงอย่างเดียวว่านี่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพราะกลัวว่าหลานจะเสี่ยงได้รับเชื้อไปด้วย จากการที่ลูกก็ติดเชื้อจากตนไปแล้วคนหนึ่ง ดังนั้นการตัดสินใจที่จะให้ลูกสาวให้นมตัวเองนั้นจึงเป็นการเสี่ยงเกินไป
พ่อใหญ่โกศลเล่าให้ฟังถึงความกลัวในการยอมให้ลูกสาวให้นมของเธอเองกับลูก จากการได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวจากแพทย์และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
“แต่ถ้าหมอเขาอนุญาต ถ้าเขารับรองว่ามันปลอดภัยกับเราจริงๆ ก็อยากให้ลูกให้นมแม่ เพราะสารอาหารมันมากกว่า หมอเขาบอกว่าให้กินนมผงอย่างเดียว ห้ามกินนมแม่เด็ดขาด ผมก็คิดไปทางเดียวน่ะสิ” พ่อใหญ่เล่าให้ฟังพร้อมกับหัวเราะและส่ายหน้าเบาๆ กับตัวเอง
“หนูไม่เข้าใจคำว่าลิดรอนสิทธิ มันหมายถึงอะไร” น้องบี ลูกสาวพ่อใหญ่โกศล ถามกลับขณะที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการให้นมของมารดาผู้ติดเชื้อและเรื่องสิทธิผู้ป่วย เธอไม่เข้าใจว่าคำว่า “ลิดรอน” และ “สิทธิ” มีความหมายว่าอย่างไร “ไม่แน่ใจว่ารู้สึกอย่างนั้นไหม แต่ก็เสียใจนิดหนึ่ง” แม่ลูกอ่อนกล่าว
ด้านเพ็ญศรี แม่บ้านวัย 47 ปี ผู้อาศัยอยู่ที่อีกหมู่บ้านในอำเภอเดียวกัน เล่าว่า เธออยู่กับสามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและมีลูกด้วยกัน เธอเองมีผลเลือดต่างและเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง ด้วยเหตุผลที่ตนเองตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีและเชื่อในประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสที่สามีรับ
“เขา (แพทย์) พูดกับเราว่าคุณจะเชื่อหมอหรือจะเชื่อใคร ถ้าไม่เชื่อหมอก็ไม่ต้องมารักษา” เพ็ญศรีเล่าเหตุการณ์ที่เธอเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอเพื่อขอให้หมอตรวจผลเลือดซ้ำ เพราะเธอต้องการที่จะแน่ใจว่าตนจะให้นมตัวเองกับลูกได้จริงๆ
หญิงผู้มีผลเลือดต่างผู้นี้เล่าด้วยสีหน้าเคล้าความกังวลปนกับความอับอายว่า เธอกลัวและกดดันมากว่าจะถ่ายทอดเชื้อที่ตนอาจได้รับจากสามีไปสู่ลูกผ่านการให้นม และหวังว่าตอนนั้นจะได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนที่ดีจากหมอ แต่สิ่งที่เธอได้รับกลับมาคือความไม่พอใจจากเจ้าหน้าที่ ด้วยเหตุผลและคำต่อว่าเรื่องการใช้งบสวัสดิการรัฐที่ฟุ่มเฟือย
ประสบการณ์ในสถานพยาบาลที่มารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องเผชิญ
“คำแรกที่เขา (เจ้าหน้าที่) ถามทุกครั้งที่มาตามนัดคือ ตัดสินใจได้หรือยัง จะทำหมันไหม เด็กก็ถามกลับว่า ถ้าหนูไม่ทำหมันจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็จะให้ข้อมูลที่รอบด้านเฉพาะของเขาว่า เราไม่รับรองนะว่าลูกคุณจะปลอดภัย” ศรัญญา บุญเพ็ง ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี เล่าให้ฟังถึงประการณ์การทำงานกว่า 16 ปีในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ศรัญญา บุญเพ็ง ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีเผยความน่ากลัวของการถูกกดดันในทุกขั้นตอนของการให้บริการในโรงพยาบาลจากแพทย์ สู่มารดาผู้ติดเชื้อตลอดระยะเวลาการทำงานกว่า 16 ปีของเธอ
เธอยังเล่าอีกว่าเจ้าหน้าที่มักใช้คำพูดเชิงข่มขู่ว่าการมีลูกในอนาคตของผู้ติดเชื้อเป็นเรื่องยุ่งยาก ในเชิงตัดสินใจแทนผู้ป่วยและให้ความหมายต่อการตั้งครรภ์ของคนกลุ่มนี้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากจะรับผิดชอบหรือสนับสนุน เพราะเป็นปัญหา
“แม่เด็กเขายังไม่รู้เลยว่าเขามีสิทธิ เพราะเขาไม่เคยได้รับสิทธิ หรือถูกเสนอทางเลือก”
ศรัญญา บุญเพ็ง
“ผู้หญิงพอได้รับข้อมูลแบบนี้ซ้ำๆ จนกลายเป็นความเคยชิน ก็ทำให้เกิดการขาดความมั่นใจในตัวเองในเรื่องของการตัดสินใจว่า เขาจะปกป้องตัวเอง เนื้อตัวร่างกายของตัวเองอย่างไร ทำให้เขารู้สึกเก็บกดและไม่กล้าที่จะพูดความรู้สึกของตัวเอง” ศรัญญาบอก
เธอมองว่าการให้ข้อมูลด้านเดียวแก่ผู้ป่วย ทั้งการรักษาและการให้นม เป็นการลิดรอนสิทธิผู้ป่วยอย่างเต็มประตู เนื่องจากมารดาไม่มีสิทธิที่จะคิดและตัดสินใจเอง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องเอชไอวีอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องของทัศนคติทางลบมีผลต่อการให้บริการในสถานพยาบาลระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย
“ถ้าไม่เอานมมาเป็นตัวบังคับ เด็กจะถูกทำให้หายไปจากระบบ อย่างเช่น ถ้าแม่มาคลอดแล้วไม่มารับนมจากโรงพยาบาล เด็กจะไม่ได้มาตรวจหาซีซีอาร์ หรือการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อเอชไอวีในเลือดของเด็ก ซึ่งเด็กต้องตรวจสามครั้ง” ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีอธิบายกลไกของขั้นตอนการรับนมและความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากมารดาผู้ติดเชื้อปฏิเสธการรับนมผง
“โรงพยาบาล ยิ่งใหญ่ ยิ่งเกิดการตีตรา ระบบก็ยิ่งแข็ง โดยกับเฉพาะผู้ให้บริการ” ศรัญญาชี้ว่ามารดาผู้ติดเชื้อมักโดนกดดันตั้งแต่ขั้นตอนแรกที่เข้ามารับการรักษาและรับคำแนะนำ และมักโดนตั้งคำถามเกี่ยวเรื่องส่วนตัว เช่น ลูกเป็นอย่างไร ทำไมไม่มีพ่อ พ่อเด็กไปไหน ท้องได้อย่างไร ติดเชื้อได้อย่างไร ซ้ำไปซ้ำมาในลักษณะนี้จนกลายเป็นกระบวนการที่ถูกส่งต่อ
ประธานมูลนิธิให้ความเห็นว่า สิทธิจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กำหนดนโยบายอย่างรัฐบาลเริ่มแก้ไขอย่างเข้าใจ “สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่ที่รัฐทั้งนั้น แม่เด็กเขายังไม่รู้เลยว่าเขามีสิทธิ เพราะเขาไม่เคยได้รับสิทธิ หรือถูกเสนอทางเลือก มีแต่ Guideline (แนวปฏิบัติ) อย่างเดียวที่เขา (รัฐบาล) ให้”
แนวทางการส่งเสริมสิทธิของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลินิกนิรนาม) ชี้ว่ามารดาทุกคน รวมถึงมารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับทางเลือกและสิทธิในการให้นมบุตร อีกทั้งยังควรได้รับข้อมูลที่แน่ชัดและครบถ้วนอย่างยุติธรรมโปร่งใส
ผู้อำนวยการคลินิกนิรนามตั้งคำถาม พร้อมชวนคุยเกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่อง U=U จนนำมาสู่ข้อสรุปของความสามารถและสิทธิการให้นมของมารดาผู้ติดเชื้อ
“ต้องใช้ข้อมูลที่ครบถ้วน ข้อมูล U=U (Undetectable = Untransmittable) ก็ทำให้การตัดสินใจชัดขึ้น ระบุข้อดี ข้อเสียเป็นอย่างไร แล้วให้เขา (ผู้ป่วย) ตัดสินใจเอง ไม่ควรไปบังคับ” นพ.ประพันธ์แนะนำแนวทางที่นำไปสู่การได้รับสิทธิของผู้ติดเชื้อ ทั้งยังสนับสนุนให้สื่อกระจายข้อมูลในเรื่องสิทธิของผู้ป่วยให้เข้าถึงสาธารณะมากขึ้นในทุกครัวเรือน
“คนไข้เองต้องรู้จักสิทธิ ต่อสู้เพื่อสิทธิที่มีอยู่ จะรู้จักสิทธิได้ก็ต้องมีคนสอนเขา มีข้อมูลให้เขาอ่าน…
…เพราะฉะนั้นต้องให้การศึกษาต่อบุคคลทางการแพทย์ในการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย”
ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค
นพ.ประพันธ์เห็นว่าผู้ป่วยในประเทศไม่มีอำนาจมากพอในการยืนหยัดในเรื่องสิทธิของตน ซึ่งมีสาเหตุจากการที่เจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลมักให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวมาโดยตลอด รวมถึงยังมีการเหมารวมและแบ่งแยกจากความเชื่อและความเข้าใจผิดของสังคมรอบข้าง “ต้องให้ความรู้หมอในการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย ไม่ใช่ไปฟัดเฟียดจนคนไข้กลัว”
ผอ.คลินิกนิรนามเผยว่า หลายครั้ง การปฏิเสธไม่รับนมผงของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มักนำมาซึ่งผลกระทบในการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง “ถ้าไม่เชื่อหมอ จะมารักษากับฉันก็มีปัญหา ลำบากแล้วนะ ถ้าไม่เชื่อหมอ ลูกติดเชื้อไป ฉันไม่รู้ด้วยนะ ไม่รับรองนะ แค่พูดอะไรแบบนี้ก็จบแล้ว เพราะฉะนั้นต้องให้การศึกษาต่อบุคคลทางการแพทย์ในการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย”
“คนไข้เองต้องรู้จักสิทธิ ต่อสู้เพื่อสิทธิที่มีอยู่ จะรู้จักสิทธิได้ก็ต้องมีคนสอนเขา มีข้อมูลให้เขาอ่าน จะต่อสู้สิทธิได้ก็ต้องมีคนช่วยเขาต่อสู้ องค์กรเอกชนที่ทำงานด้านเอดส์จะช่วยรณรงค์เรื่องนี้ได้ก็ต้องเข็มแข็ง ต้องช่วยปกป้อง เป็นปากเสียง เป็นที่ร้องเรียนของคนไข้หรือเหยื่อ ช่วยดำเนินการให้ถึงที่สุด” ผอ.คลินิกนิรนามให้ความเห็นว่า เวลานี้คือเวลาที่สมควรแก่การร่วมมือของหลายฝ่ายในเรื่องสิทธิของผู้ป่วย โดยเฉพาะภาครัฐที่มีอำนาจในการเข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ยฟ้องร้องในเรื่องสิทธิต่างๆ เหล่านี้
“ทั้งภาครัฐ กรมอนามัย หมอและสมาคมวิชาชีพเองจะได้คำนึงถึงเรื่องของสิทธิ ดูข้อมูลให้ถี่ถ้วนเพราะทุกอย่างไม่ใช่ 100% ต้องดูเจตนาของคนไข้เป็นหลัก เราต้องทำทุกอย่างโดยมีคนไข้เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่ใช่เอาตัวหมอเป็นจุดศูนย์กลาง เขาไม่เอาก็อย่าไปโมโหเขา ไปขู่เขา แต่ไม่ใช่ว่าหมอผิด หมอเขาก็มีวิธีการของเขา แต่ต้องปรับปรุงวิธีการที่จะตอบสนองกับคนไข้ที่ไม่เชื่อเรา ทุกอย่างมันต้องทำความเข้าใจกัน ไม่ใช่ใครผิดใครถูก หรือไปด่าใคร” นพ.ประพันธ์กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น
การที่มารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจเคยมีประสบการณ์หรือเห็นประสบการณ์การถูกระทำบางอย่างในอดีตจากคนที่มีอำนาจมากกว่า จึงทำให้เกิดความกลัวในการตั้งคำถามหรือมีข้อขัดแย้งบางประการที่อาจจะนำมาสู่การกระทำบางอย่างของเจ้าหน้าที่
ด้าน รศ.ดร.สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองปัญหาเรื่องสาธารณสุขต่อการให้สิทธิผู้ป่วยว่าเป็นเรื่องของการสื่อสาร โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
รศ.ดร.สิริมาชี้ว่า บุคลากรทางการแพทย์ต้องมีความรู้ว่าจะสื่อสารให้คนเป็นแม่สามารถที่จะเข้าใจว่าเรื่องการให้นมแม่กับลูกมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร โดยไม่ใช้วิธีการกึ่งบังคับมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ให้ทางเลือกหรือการตกลงร่วมกัน ดังนั้นหากจะทำให้เกิดการเข้าใจที่ชัดเจน จึงต้องมีเรื่องของกระบวนการสื่อสาร (Communication) หรือการให้คำปรึกษา (Counselling) เข้ามาช่วยเหลือ
รศ.ดร.สิริมา อธิบายเกี่ยวกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือในเรื่องสิทธิที่ถูกริดรอนของผู้ป่วย และชี้ให้เห็นสาเหตุของข้อบกพร่องในเรื่องสาธารณสุขไทย
“ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจมองว่าตนด้อยกว่า เลยไม่กล้าและกลัว” นักวิชาการด้านสาธารณสุขศาสตร์อธิบายถึงเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดการถูกลิดรอนสิทธิ การที่มารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจเคยมีประสบการณ์หรือเห็นประสบการณ์การถูกระทำบางอย่างในอดีตจากคนที่มีอำนาจมากกว่า จึงทำให้เกิดความกลัวในการตั้งคำถามหรือมีข้อขัดแย้งบางประการที่อาจจะนำมาสู่การกระทำบางอย่างของเจ้าหน้าที่ เช่น การถูกดุด่าหรือติเตียน ทั้งที่เป็นเรื่องสิทธิของตัวเองที่สามารถทำได้
“ผู้ให้คำปรึกษา เวลาอยู่กับเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ อาจอยู่ในภาวะชินชา เลยรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้ไม่ได้มีผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่มารับบริการ เขาควรต้องกลับมา ทบทวนว่าบางทีสิ่งที่ทำมันอาจเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทำได้ แต่มันไม่ใช่กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ควรต้องมาเจอ” รศ.ดร.สิริมากล่าว “พอไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิอะไร ก็ไม่รู้ว่าช่องทางในการรับรู้ข้อมูลในเรื่องสิทธิคือทางไหน”
อาจารย์ชี้ว่าในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ พยาบาล หรือสาธารณะสุข ประเด็นที่มักเจอมาตั้งแต่อดีตคือเรื่องของการสื่อสารที่ค่อนข้างมีผลกระทบและเกิดการฟ้องร้องกันสูงมาก ดังนั้นอาจจะต้องมีการอบรมเรื่องวิธีการสื่อสารกับบุคคลากรด้านการแพทย์ในการลดเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรงของปัญหา ร่วมกับผนวกผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและนิเทศศาสตร์มาเข้าช่วยเหลือในเรื่องการสื่อสารให้ตรงประเด็นและลดความขัดแย้ง
รศ.ดร.สิริมาแนะนำว่าทั้งฝ่ายบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยควรสื่อสารกัน โดยเจ้าหน้าที่ต้องรู้จักวิธีสื่อสารที่เน้นความเข้าใจและลดความขัดแย้ง โดยไม่ยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งเป็นหลัก เช่น การไม่ให้มารดาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะแนวทางดังกล่าวอาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด
ในส่วนของผู้ป่วยแต่ละคนก็ควรศึกษาว่าตนมีสิทธิแค่ไหนและมีสิทธิอะไรบ้างในการรับการรักษา โดยเฉพาะมารดาผู้ติดเชื้อเองก็ต้องมีความฉลาดรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ด้วย เพื่อที่จะเป็นเกราะชั้นหนึ่งในการปกป้องสิทธิของตนเอง
“เพราะการรู้สิทธิของตนเองเป็นหน้าที่ที่ทุกคนพึงมี รวมถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยปราศจากการใช้อำนาจที่เหนือกว่า มันไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของคนทุกคนเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน” รศ.ดร.สิริมาสรุป
ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ (U=U)
ถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พบเชื้อหรือมีไวรัสในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซี บุคคลรายนั้นถือว่าไม่เป็นอันตรายและจะไม่แพร่เชื้อให้กับใคร แม้จะมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนโดยปราศจากการใช้ถุงยางอนามัยก็ตาม
ข้อความข้างต้นคือแนวคิดและความหมายในเรื่อง U=U หรือ ตรวจไม่เจอ (Undetectable) เท่ากับไม่แพร่ (Untransmittable) เช่นเดียวกับการให้นมของมารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ตรวจไม่พบเชื้อจากการรับยาต้านไวรัสตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ก็มีสิทธิที่จะให้นมของตนเองแก่บุตรได้โดยที่ไม่ต้องรับนมทดแทน โดยมีเงื่อนไขในการที่ผู้ติดเชื้อต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง และตรวจวัดปริมาณไวรัสในเลือดเป็นประจำเพื่อไม่ให้เชื้อกลับมามีปริมาณเพิ่มขึ้น
ข้อดีของแนวคิดนี้ คือการลดการตีตรา เหมารวม และทัศนคติการรังเกียจผู้ติดเชื้อ เสริมแรงกล้าในการออกจากบ้านเพื่อไปตรวจเลือด และเมื่อตรวจพบเชื้อก็จะมีแรงต่อที่จะเข้ารับการรักษาและกินยาเพื่อที่จะไม่ส่งต่อเชื้อให้กับใคร ถือเป็นหนึ่งในแนวทางในการยุติเชื้อเอชไอวีที่ไม่เพียงเปลี่ยนตัวเลขให้อัตราการติดเชื้อลดน้อยลง แต่ยังสร้างความเข้าใจอันดีให้กับผู้คนภายนอกอีกด้วย
ที่มา: บทความ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ โดย ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลินิกนิรนาม)
https://www.redcross.or.th/news/information/4665/
Like this:
Like Loading...
เรื่องและภาพ: สุชานันท์ เสมหิรัญ และ ภาวิตา คล้ายแจ่ม
“เราไม่รับรองนะว่าลูกคุณจะปลอดภัย”
ข้อความดังกล่าวอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากฟังจากปากของแพทย์ผู้รักษา โดยเฉพาะกลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงสูงด้านสุขภาพอย่างมารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่นั่นคือคำพูดที่คนกลุ่มนี้ในประเทศไทยประสบพบเจอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยไม่สามารถลุกขึ้นมาปกป้อง “สิทธิ” ของตนเองได้เลย
ในปี 2559 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) มอบเกียรติบัตรให้กับประเทศไทยในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกตามเป้าหมายโลก ถือเป็นประเทศแรกของเอเชีย และเป็นประเทศที่สองของโลกรองจากคิวบา
กรมอนามัยระบุว่า เป้าหมายของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาเอดส์คือไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และที่สำคัญที่สุดคือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ที่มีผลมาจากการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกให้กลายเป็นศูนย์ภายในปี 2573 เป้าหมายนี้จึงนำมาสู่การขอความร่วมมือจากแม่ผู้ตั้งครรภ์เรื่องความใส่ใจและการดูแลครรภ์ของตนเองตั้งแต่แรก
หนึ่งในมาตรการสำคัญที่แม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและบุตรต้องปฏิบัติตามคือ เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีต้องได้รับยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์ประสิทธิภาพสูงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และรับนมผสมเพื่อทดแทนนมแม่นานถึง 18 เดือน ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศ เพราะมีตัวเลขแสดงหลักฐานผลการดำเนินงานปี 2559 และ 2560 อย่างชัดเจนถึงอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กทารกแรกเกิดที่ลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 1.80 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ
ในปี 2561 องค์การอนามัยโลกและองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Childre’s Fund: UNICEF) ได้เผยแพร่รายงานการดำเนินการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยระบุใจความสำคัญไว้ดังนี้
“มารดาที่มีเชื้อเอชไอวีสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยไม่มีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของตนเองและสุขภาพของลูก เมื่อมารดาเหล่านี้กินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ให้นมบุตร ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่ลูกของพวกเขานั้นจะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก“
แนวทางปรับปรุงในการให้นมทารกและเรื่องเอชไอวีของ WHO และ UNICEF ในปี 2559 ชี้ให้เห็นว่า การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) นั้นมีประสิทธิภาพในการลดการแพร่เชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรมาก โดยแนวทางดังกล่าวได้เน้นย้ำและแนะนำให้สตรีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรลงทะเบียนเพื่อดูแลและเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเองและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวีไปยังทารก
สิทธิผู้ป่วยในประเทศไทยกับสิทธิของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ในประเทศไทย มีการบัญญัติเรื่องสิทธิผู้ป่วยไว้ชัดเจนในคำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ที่องค์กรผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ร่วมกันประกาศใช้ในวันที่ 12 สิงหาคม 2558 ว่าด้วยสิทธิ 9 ข้อ โดยข้อที่ 2 และ 3 ระบุว่า
ขณะพูดคุยเกี่ยวกับการให้นมของเธอ
“ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
“ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต“
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้ระบุสิทธิผู้ป่วยไว้เป็นกฎหมายโดยตรงเหมือนกับหลายประเทศทั่วโลก เช่น ในประเทศอังกฤษ มีการบัญญัติกฎบัตรผู้ป่วย (Patient’s Charter) เพื่อวางกรอบหลักเกณฑ์การให้บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Health Service) ในประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับและผู้ให้การรักษา หรือประเทศเยอรมนี ที่เสรีภาพส่วนบุคคลในการเคลื่อนไหว (Personal Freedom of Movement) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือผู้ป่วยได้รับการคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศ
ส่วนในประเทศไทย สิทธิผู้ป่วยปรากฏเพียงในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เท่านั้น
อย่างไรก็ดี แม้สิทธิดังกล่าวจะไม่ถูกบรรจุเข้าไปในตัวกฏหมายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยังคงมีความสอดคล้องด้านความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนสากล กล่าวคือบุคคลมีสิทธิที่จะตัดสินใจในกิจการส่วนตัวต่างๆ ด้วยตนเอง แสดงให้เห็นเสรีภาพและอิสระในการเลือกแนวทางการดำรงชีวิต โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่ควรได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวทางการรักษาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับตัวผู้ป่วยเอง
“ไม่รู้เลยว่านมแม่จะให้ได้ เรากลัวมากด้วย เพราะหมอเขาก็ห้ามมาตลอด” โกศล หรือพ่อใหญ่โกศล ตามคำเรียกของชาวบ้านในแถบภาคอีสานคือพ่อของน้องบี (นามสมมุติ) เด็กสาวผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เพิ่งให้กำเนิดลูกชายตัวน้อยวัย 1 ขวบ เล่าให้ฟังว่านี่คือครั้งแรกที่เขารับรู้ว่ามารดาหรือลูกสาวของเขามีสิทธิ์เลือกเลี้ยงลูกด้วยนมของเธอได้
เกษตรกรวัย 50 ปีในจังหวัดอุบลราชธานีเล่าว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ตนไปรับนมผงแทนน้องบี ตนรู้เพียงอย่างเดียวว่านี่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพราะกลัวว่าหลานจะเสี่ยงได้รับเชื้อไปด้วย จากการที่ลูกก็ติดเชื้อจากตนไปแล้วคนหนึ่ง ดังนั้นการตัดสินใจที่จะให้ลูกสาวให้นมตัวเองนั้นจึงเป็นการเสี่ยงเกินไป
“แต่ถ้าหมอเขาอนุญาต ถ้าเขารับรองว่ามันปลอดภัยกับเราจริงๆ ก็อยากให้ลูกให้นมแม่ เพราะสารอาหารมันมากกว่า หมอเขาบอกว่าให้กินนมผงอย่างเดียว ห้ามกินนมแม่เด็ดขาด ผมก็คิดไปทางเดียวน่ะสิ” พ่อใหญ่เล่าให้ฟังพร้อมกับหัวเราะและส่ายหน้าเบาๆ กับตัวเอง
“หนูไม่เข้าใจคำว่าลิดรอนสิทธิ มันหมายถึงอะไร” น้องบี ลูกสาวพ่อใหญ่โกศล ถามกลับขณะที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการให้นมของมารดาผู้ติดเชื้อและเรื่องสิทธิผู้ป่วย เธอไม่เข้าใจว่าคำว่า “ลิดรอน” และ “สิทธิ” มีความหมายว่าอย่างไร “ไม่แน่ใจว่ารู้สึกอย่างนั้นไหม แต่ก็เสียใจนิดหนึ่ง” แม่ลูกอ่อนกล่าว
ด้านเพ็ญศรี แม่บ้านวัย 47 ปี ผู้อาศัยอยู่ที่อีกหมู่บ้านในอำเภอเดียวกัน เล่าว่า เธออยู่กับสามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและมีลูกด้วยกัน เธอเองมีผลเลือดต่างและเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง ด้วยเหตุผลที่ตนเองตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีและเชื่อในประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสที่สามีรับ
“เขา (แพทย์) พูดกับเราว่าคุณจะเชื่อหมอหรือจะเชื่อใคร ถ้าไม่เชื่อหมอก็ไม่ต้องมารักษา” เพ็ญศรีเล่าเหตุการณ์ที่เธอเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอเพื่อขอให้หมอตรวจผลเลือดซ้ำ เพราะเธอต้องการที่จะแน่ใจว่าตนจะให้นมตัวเองกับลูกได้จริงๆ
หญิงผู้มีผลเลือดต่างผู้นี้เล่าด้วยสีหน้าเคล้าความกังวลปนกับความอับอายว่า เธอกลัวและกดดันมากว่าจะถ่ายทอดเชื้อที่ตนอาจได้รับจากสามีไปสู่ลูกผ่านการให้นม และหวังว่าตอนนั้นจะได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนที่ดีจากหมอ แต่สิ่งที่เธอได้รับกลับมาคือความไม่พอใจจากเจ้าหน้าที่ ด้วยเหตุผลและคำต่อว่าเรื่องการใช้งบสวัสดิการรัฐที่ฟุ่มเฟือย
ประสบการณ์ในสถานพยาบาลที่มารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องเผชิญ
“คำแรกที่เขา (เจ้าหน้าที่) ถามทุกครั้งที่มาตามนัดคือ ตัดสินใจได้หรือยัง จะทำหมันไหม เด็กก็ถามกลับว่า ถ้าหนูไม่ทำหมันจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็จะให้ข้อมูลที่รอบด้านเฉพาะของเขาว่า เราไม่รับรองนะว่าลูกคุณจะปลอดภัย” ศรัญญา บุญเพ็ง ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี เล่าให้ฟังถึงประการณ์การทำงานกว่า 16 ปีในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
เธอยังเล่าอีกว่าเจ้าหน้าที่มักใช้คำพูดเชิงข่มขู่ว่าการมีลูกในอนาคตของผู้ติดเชื้อเป็นเรื่องยุ่งยาก ในเชิงตัดสินใจแทนผู้ป่วยและให้ความหมายต่อการตั้งครรภ์ของคนกลุ่มนี้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากจะรับผิดชอบหรือสนับสนุน เพราะเป็นปัญหา
“ผู้หญิงพอได้รับข้อมูลแบบนี้ซ้ำๆ จนกลายเป็นความเคยชิน ก็ทำให้เกิดการขาดความมั่นใจในตัวเองในเรื่องของการตัดสินใจว่า เขาจะปกป้องตัวเอง เนื้อตัวร่างกายของตัวเองอย่างไร ทำให้เขารู้สึกเก็บกดและไม่กล้าที่จะพูดความรู้สึกของตัวเอง” ศรัญญาบอก
เธอมองว่าการให้ข้อมูลด้านเดียวแก่ผู้ป่วย ทั้งการรักษาและการให้นม เป็นการลิดรอนสิทธิผู้ป่วยอย่างเต็มประตู เนื่องจากมารดาไม่มีสิทธิที่จะคิดและตัดสินใจเอง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องเอชไอวีอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องของทัศนคติทางลบมีผลต่อการให้บริการในสถานพยาบาลระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย
“ถ้าไม่เอานมมาเป็นตัวบังคับ เด็กจะถูกทำให้หายไปจากระบบ อย่างเช่น ถ้าแม่มาคลอดแล้วไม่มารับนมจากโรงพยาบาล เด็กจะไม่ได้มาตรวจหาซีซีอาร์ หรือการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อเอชไอวีในเลือดของเด็ก ซึ่งเด็กต้องตรวจสามครั้ง” ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีอธิบายกลไกของขั้นตอนการรับนมและความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากมารดาผู้ติดเชื้อปฏิเสธการรับนมผง
“โรงพยาบาล ยิ่งใหญ่ ยิ่งเกิดการตีตรา ระบบก็ยิ่งแข็ง โดยกับเฉพาะผู้ให้บริการ” ศรัญญาชี้ว่ามารดาผู้ติดเชื้อมักโดนกดดันตั้งแต่ขั้นตอนแรกที่เข้ามารับการรักษาและรับคำแนะนำ และมักโดนตั้งคำถามเกี่ยวเรื่องส่วนตัว เช่น ลูกเป็นอย่างไร ทำไมไม่มีพ่อ พ่อเด็กไปไหน ท้องได้อย่างไร ติดเชื้อได้อย่างไร ซ้ำไปซ้ำมาในลักษณะนี้จนกลายเป็นกระบวนการที่ถูกส่งต่อ
ประธานมูลนิธิให้ความเห็นว่า สิทธิจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กำหนดนโยบายอย่างรัฐบาลเริ่มแก้ไขอย่างเข้าใจ “สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่ที่รัฐทั้งนั้น แม่เด็กเขายังไม่รู้เลยว่าเขามีสิทธิ เพราะเขาไม่เคยได้รับสิทธิ หรือถูกเสนอทางเลือก มีแต่ Guideline (แนวปฏิบัติ) อย่างเดียวที่เขา (รัฐบาล) ให้”
แนวทางการส่งเสริมสิทธิของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลินิกนิรนาม) ชี้ว่ามารดาทุกคน รวมถึงมารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับทางเลือกและสิทธิในการให้นมบุตร อีกทั้งยังควรได้รับข้อมูลที่แน่ชัดและครบถ้วนอย่างยุติธรรมโปร่งใส
“ต้องใช้ข้อมูลที่ครบถ้วน ข้อมูล U=U (Undetectable = Untransmittable) ก็ทำให้การตัดสินใจชัดขึ้น ระบุข้อดี ข้อเสียเป็นอย่างไร แล้วให้เขา (ผู้ป่วย) ตัดสินใจเอง ไม่ควรไปบังคับ” นพ.ประพันธ์แนะนำแนวทางที่นำไปสู่การได้รับสิทธิของผู้ติดเชื้อ ทั้งยังสนับสนุนให้สื่อกระจายข้อมูลในเรื่องสิทธิของผู้ป่วยให้เข้าถึงสาธารณะมากขึ้นในทุกครัวเรือน
นพ.ประพันธ์เห็นว่าผู้ป่วยในประเทศไม่มีอำนาจมากพอในการยืนหยัดในเรื่องสิทธิของตน ซึ่งมีสาเหตุจากการที่เจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลมักให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวมาโดยตลอด รวมถึงยังมีการเหมารวมและแบ่งแยกจากความเชื่อและความเข้าใจผิดของสังคมรอบข้าง “ต้องให้ความรู้หมอในการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย ไม่ใช่ไปฟัดเฟียดจนคนไข้กลัว”
ผอ.คลินิกนิรนามเผยว่า หลายครั้ง การปฏิเสธไม่รับนมผงของแม่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มักนำมาซึ่งผลกระทบในการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง “ถ้าไม่เชื่อหมอ จะมารักษากับฉันก็มีปัญหา ลำบากแล้วนะ ถ้าไม่เชื่อหมอ ลูกติดเชื้อไป ฉันไม่รู้ด้วยนะ ไม่รับรองนะ แค่พูดอะไรแบบนี้ก็จบแล้ว เพราะฉะนั้นต้องให้การศึกษาต่อบุคคลทางการแพทย์ในการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย”
“คนไข้เองต้องรู้จักสิทธิ ต่อสู้เพื่อสิทธิที่มีอยู่ จะรู้จักสิทธิได้ก็ต้องมีคนสอนเขา มีข้อมูลให้เขาอ่าน จะต่อสู้สิทธิได้ก็ต้องมีคนช่วยเขาต่อสู้ องค์กรเอกชนที่ทำงานด้านเอดส์จะช่วยรณรงค์เรื่องนี้ได้ก็ต้องเข็มแข็ง ต้องช่วยปกป้อง เป็นปากเสียง เป็นที่ร้องเรียนของคนไข้หรือเหยื่อ ช่วยดำเนินการให้ถึงที่สุด” ผอ.คลินิกนิรนามให้ความเห็นว่า เวลานี้คือเวลาที่สมควรแก่การร่วมมือของหลายฝ่ายในเรื่องสิทธิของผู้ป่วย โดยเฉพาะภาครัฐที่มีอำนาจในการเข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ยฟ้องร้องในเรื่องสิทธิต่างๆ เหล่านี้
“ทั้งภาครัฐ กรมอนามัย หมอและสมาคมวิชาชีพเองจะได้คำนึงถึงเรื่องของสิทธิ ดูข้อมูลให้ถี่ถ้วนเพราะทุกอย่างไม่ใช่ 100% ต้องดูเจตนาของคนไข้เป็นหลัก เราต้องทำทุกอย่างโดยมีคนไข้เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่ใช่เอาตัวหมอเป็นจุดศูนย์กลาง เขาไม่เอาก็อย่าไปโมโหเขา ไปขู่เขา แต่ไม่ใช่ว่าหมอผิด หมอเขาก็มีวิธีการของเขา แต่ต้องปรับปรุงวิธีการที่จะตอบสนองกับคนไข้ที่ไม่เชื่อเรา ทุกอย่างมันต้องทำความเข้าใจกัน ไม่ใช่ใครผิดใครถูก หรือไปด่าใคร” นพ.ประพันธ์กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น
ด้าน รศ.ดร.สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองปัญหาเรื่องสาธารณสุขต่อการให้สิทธิผู้ป่วยว่าเป็นเรื่องของการสื่อสาร โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
รศ.ดร.สิริมาชี้ว่า บุคลากรทางการแพทย์ต้องมีความรู้ว่าจะสื่อสารให้คนเป็นแม่สามารถที่จะเข้าใจว่าเรื่องการให้นมแม่กับลูกมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร โดยไม่ใช้วิธีการกึ่งบังคับมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ให้ทางเลือกหรือการตกลงร่วมกัน ดังนั้นหากจะทำให้เกิดการเข้าใจที่ชัดเจน จึงต้องมีเรื่องของกระบวนการสื่อสาร (Communication) หรือการให้คำปรึกษา (Counselling) เข้ามาช่วยเหลือ
“ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจมองว่าตนด้อยกว่า เลยไม่กล้าและกลัว” นักวิชาการด้านสาธารณสุขศาสตร์อธิบายถึงเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดการถูกลิดรอนสิทธิ การที่มารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจเคยมีประสบการณ์หรือเห็นประสบการณ์การถูกระทำบางอย่างในอดีตจากคนที่มีอำนาจมากกว่า จึงทำให้เกิดความกลัวในการตั้งคำถามหรือมีข้อขัดแย้งบางประการที่อาจจะนำมาสู่การกระทำบางอย่างของเจ้าหน้าที่ เช่น การถูกดุด่าหรือติเตียน ทั้งที่เป็นเรื่องสิทธิของตัวเองที่สามารถทำได้
“ผู้ให้คำปรึกษา เวลาอยู่กับเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ อาจอยู่ในภาวะชินชา เลยรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้ไม่ได้มีผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่มารับบริการ เขาควรต้องกลับมา ทบทวนว่าบางทีสิ่งที่ทำมันอาจเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทำได้ แต่มันไม่ใช่กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ควรต้องมาเจอ” รศ.ดร.สิริมากล่าว “พอไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิอะไร ก็ไม่รู้ว่าช่องทางในการรับรู้ข้อมูลในเรื่องสิทธิคือทางไหน”
อาจารย์ชี้ว่าในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ พยาบาล หรือสาธารณะสุข ประเด็นที่มักเจอมาตั้งแต่อดีตคือเรื่องของการสื่อสารที่ค่อนข้างมีผลกระทบและเกิดการฟ้องร้องกันสูงมาก ดังนั้นอาจจะต้องมีการอบรมเรื่องวิธีการสื่อสารกับบุคคลากรด้านการแพทย์ในการลดเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรงของปัญหา ร่วมกับผนวกผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและนิเทศศาสตร์มาเข้าช่วยเหลือในเรื่องการสื่อสารให้ตรงประเด็นและลดความขัดแย้ง
รศ.ดร.สิริมาแนะนำว่าทั้งฝ่ายบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยควรสื่อสารกัน โดยเจ้าหน้าที่ต้องรู้จักวิธีสื่อสารที่เน้นความเข้าใจและลดความขัดแย้ง โดยไม่ยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งเป็นหลัก เช่น การไม่ให้มารดาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะแนวทางดังกล่าวอาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด
ในส่วนของผู้ป่วยแต่ละคนก็ควรศึกษาว่าตนมีสิทธิแค่ไหนและมีสิทธิอะไรบ้างในการรับการรักษา โดยเฉพาะมารดาผู้ติดเชื้อเองก็ต้องมีความฉลาดรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ด้วย เพื่อที่จะเป็นเกราะชั้นหนึ่งในการปกป้องสิทธิของตนเอง
“เพราะการรู้สิทธิของตนเองเป็นหน้าที่ที่ทุกคนพึงมี รวมถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยปราศจากการใช้อำนาจที่เหนือกว่า มันไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของคนทุกคนเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน” รศ.ดร.สิริมาสรุป
ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ (U=U)
ถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พบเชื้อหรือมีไวรัสในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซี บุคคลรายนั้นถือว่าไม่เป็นอันตรายและจะไม่แพร่เชื้อให้กับใคร แม้จะมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนโดยปราศจากการใช้ถุงยางอนามัยก็ตาม
ข้อความข้างต้นคือแนวคิดและความหมายในเรื่อง U=U หรือ ตรวจไม่เจอ (Undetectable) เท่ากับไม่แพร่ (Untransmittable) เช่นเดียวกับการให้นมของมารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ตรวจไม่พบเชื้อจากการรับยาต้านไวรัสตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ก็มีสิทธิที่จะให้นมของตนเองแก่บุตรได้โดยที่ไม่ต้องรับนมทดแทน โดยมีเงื่อนไขในการที่ผู้ติดเชื้อต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง และตรวจวัดปริมาณไวรัสในเลือดเป็นประจำเพื่อไม่ให้เชื้อกลับมามีปริมาณเพิ่มขึ้น
ข้อดีของแนวคิดนี้ คือการลดการตีตรา เหมารวม และทัศนคติการรังเกียจผู้ติดเชื้อ เสริมแรงกล้าในการออกจากบ้านเพื่อไปตรวจเลือด และเมื่อตรวจพบเชื้อก็จะมีแรงต่อที่จะเข้ารับการรักษาและกินยาเพื่อที่จะไม่ส่งต่อเชื้อให้กับใคร ถือเป็นหนึ่งในแนวทางในการยุติเชื้อเอชไอวีที่ไม่เพียงเปลี่ยนตัวเลขให้อัตราการติดเชื้อลดน้อยลง แต่ยังสร้างความเข้าใจอันดีให้กับผู้คนภายนอกอีกด้วย
ที่มา: บทความ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ โดย ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลินิกนิรนาม)
https://www.redcross.or.th/news/information/4665/
Share this:
Like this: