สัมภาษณ์: วโรดม เตชศรีสุธี ภาพ: พชรกฤษณ์ โตอิ้ม รชา เหลืองบริสุทธิ์
ในตอนที่ 2 ของรายงานชุด “ประชาธิปไตยบนทางสัญจรเมืองกรุง” ผู้ใช้ถนนกรุงเทพฯ เล่าประสบการณ์ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงในการเดินทางไม่เว้นวัน เพราะการออกแบบถนนและการใช้เส้นทางที่ให้ความสำคัญกับยานพาหนะขนาดใหญ่มากกว่าสวัสดิภาพของผู้สัญจรกลุ่มอื่นๆ
ณัฐชยา สัญรัตช์ อายุ 38 ปี ชาวเพชรบูรณ์
“ใช้มอเตอร์ไซค์มา 6 ปี ตั้งแต่อยู่ที่บ้านจนมาทำงานในกรุงเทพฯ แต่ที่นี่ขับยากกว่ากันเยอะ เพราะรถติดมาก ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องส่องกระจกมองข้างตลอดเวลา เคยไปเฉี่ยวกระจกรถยนต์บ้างเพราะว่า ทางไปมันแคบ ก็ต้องเบียดไป แต่ขนาดซื้อมอเตอร์ไซค์มายังเบียดไม่ค่อยจะได้เลย
ส่วนกฎหมายที่บอกให้เราชิดซ้าย เอาจริงๆ มันใช้ไม่ได้ แถมอันตรายมาก คนขับรถไม่ได้ใส่ใจคนอื่น บางทีรถเมล์มา มันเบียดเข้ามาเลย ไม่สนใจจะเข้าป้ายอย่างเดียว หรือแท็กซี่จะจอดก็ปาดจอดโดยไม่เปิดสัญญาณ คนกวักปุ๊บ มันก็จอดปั๊บ จนจะชนเรา
เราก็ขับถูกเลน ให้ชิดซ้ายก็ชิดไง ขับก็ไม่ได้เร็ว เขาใจร้อนกัน เขาคิดว่าเราขับช้า แต่มอเตอร์ไซค์มันเร็วได้เท่านี้ มันไม่ใช่มอเตอร์ไซค์แข่ง ในกรุงเทพฯ จะเอาเร็วไปถึงไหน
บางทีต้องขับออกนอกเลนซ้ายบ้าง มันจะชิดแต่ซ้ายมันก็ไม่ได้ รถมันจอด รถมันเลี้ยว เราก็ไม่ขับแช่เลนขวาให้เขามาไล่อยู่แล้ว แต่พอเราเบี่ยงออกมาจากช่องทางซ้าย เราก็จะกลายเป็นคนผิดทันที
ผู้ใช้รถจักรยานยนต์บนถนนราชดำเนิน
เลนซ้ายยังเต็มไปด้วยหลุมบ่อ กระแทกจนรถพัง เขาสร้างรถไฟฟ้าแล้วไม่ยอมเก็บของ ปล่อยให้เศษดินเศษหินหล่นลงมากองที่ถนน บางทีก็เป็นเหล็กบ้าง การถมถนนก็ทำให้ถนนปูดเป็นพื้นขรุขระไปเรื่อยๆ บางทีเป็นทั้งถนนเลยไม่ใช่แค่เลนซ้าย
ส่วนท่อนี่ก็อีกปัญหา บางที่นี่ยุบเป็นแอ่ง เรียกแอ่งกระทะ มันลึกลงไป ทำให้เราขับผ่านแล้วรู้สึกกลัว ถ้าขับเร็วนี่เสียหลักง่ายๆ
เคยมีเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน ขี่มอเตอร์ไซค์ลงสะพานแล้วประสบอุบัติเหตุ รถใหญ่ที่ขับมาบนสะพานด้วยกันเปลี่ยนเลนเร็วโดยไม่มีไฟสัญญาณ แล้วก็ไม่ได้สังเกตมอเตอร์ไซค์ของเพื่อนเรา ก็ชนเปรี้ยง! รถเละ คนก็กลิ้ง แต่ยังดีได้แค่แผลถลอก
มีอีกครั้งคือทางซ้ายเป็นทางเข้าปั๊มน้ำมัน เขากำลังจะผ่านไปแล้ว จู่ๆ รถเก๋งก็หักเลี้ยวกะทันหันเข้าปั๊มโดยไม่ยกสัญญาณไฟบอก ถ้าเห็นสัญญาณเพื่อนก็ไม่ไปขับให้เขาชนหรอก
“เกรงใจคนที่เดินบนทางเท้าอยู่แล้ว … สภาพแวดล้อมมันบีบให้เราต้องขึ้นบนทางเท้า ขึ้นไปแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะดี แต่มันเร็ว”
ส่วนเราเคยประสบอุบัติเหตุครั้งหนึ่งแถวจตุจักร กำลังขับมอเตอร์ไซค์พาลูกชายกลับที่พัก ขับตามไฟเขียวแล้วจู่ๆ รถเก๋งก็เบียดเข้ามาชน ตอนนั้นตกใจ ไม่นึกว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับตัวเอง พอล้มก็กลิ้งไปตามถนน ไม่เป็นอะไรมากแค่หัวแตก แต่ลูกชายโดนเย็บ 10 กว่าเข็ม แผลมันเหวอะ แล้วก็ลึก จนตอนนี้ก็ยังไม่ว่างคุยกับเจ้าของรถคันนั้น เพราะไม่ว่างเลย พาลูกชายมารักษาที่เพชรบูรณ์ เราอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีใครช่วยดูลูก เลยพากันกลับมาอยู่ที่บ้าน ครอบครัวจะได้ช่วยเหลือได้
ยอมรับว่า เคยขับขึ้นทางเท้า ตอนนั้นทางกลับรถอยู่ไกลเป็นกิโล กว่าจะกลับมาได้ก็ต้องเจอรถติดก่อน เราเองก็รีบ เลยจำเป็นต้องขับขึ้นทางเท้า เกรงใจคนที่เดินบนทางเท้าอยู่แล้ว ก็คอยขับระวัง สภาพแวดล้อมมันบีบให้เราต้องขึ้นบนทางเท้า ขึ้นไปแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะดี แต่มันเร็ว บางทีก็เคยขับย้อนศรด้วย ที่กลับรถไกลเหมือนกัน เรารู้สึกผิดนะ แต่บางทีมันจำเป็นจริงๆ เราย้อนศรก็เพราะทางกลับรถมันห่างกันแค่ 30 เมตร
อยากให้มีเลนจักรยานยนต์ แต่มันเป็นไปไม่ได้แน่ ๆ ส่วนตัวไม่อยากขี่บนทางเท้าหรือไปเบียดเบียนคนเดินเท้าอยู่แล้ว แต่ระบบการจัดการถนนกับการจราจรมันไม่เอื้อเลย โดยเฉพาะทางกลับรถที่ห่างเป็นกิโล ถ้าถนนมีความปลอดภัย สะดวกรวดเร็ว รถไม่ติด ก็คงจะดีที่สุดแล้ว“
การออกแบบถนนที่คำนึงถึงการสัญจรทุกแบบ:
ถนนหนทางตัวเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มี 4 เลน คือ ทางเท้า ทางจักรยาน รถราง และรถส่วนตัว
สุรินทร์ ศรีสุภา อาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง หน้าธนาคารนครหลวงไทย (ตลาดรวมยาง)
“กฎหมายชิดซ้ายมันใช้ไม่ได้จริง มันก็ต้องมีไปเลนอื่นบ้าง บางคนมันจะไปรอซ้ายแล้วจะอยู่กับควันดำๆ ของรถเมล์ก็ไม่ได้ ต้องให้ตำรวจมาขับเป็นวินมอเตอร์ไซค์ดู แล้วจะรู้ว่า ถ้าต่อตูดรถเมล์แล้วเจอควันมันเป็นอย่างไร คุณออกกฎหมายมา แต่คุณไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงเลย คุณต้องไปแก้ไขที่รถเมล์ก่อน มันมีผลต่อสุขภาพอันดับหนึ่งเลย อะไหล่รถเรายังหาได้ แต่อะไหล่คนมันหาไม่ได้
กฎหมายให้เราวิ่งซ้ายเราก็วิ่งซ้าย เพราะถ้ามีปัญหามาเราจะได้ไม่เสียเปรียบเขา แต่สุดท้ายมันจะต้องมีอะไรมาทำให้เราตบไฟขวาออกไปอยู่ดี บางทีเราไปเจอรถประเภทจะเลี้ยวแต่ไม่เปิดไฟเลี้ยว อยู่ ๆ ก็เลี้ยวมันเลย พออุบัติเหตุเกิดค่อยเปิดไฟเลี้ยว ซึ่งคนพวกนี้มีเยอะมาก
“บางทีถ้าทำ (ถนน) ไม่เรียบ แผ่นเหล็กแผ่นอะไรโผล่ออกมา มันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ยิ่งขับมอเตอร์ไซค์ยิ่งอันตราย … คุณขับรถ 4 ล้อ คุณโดนคุณไม่เป็นอะไร แต่ผม 2 ล้อ ล้มไปก็เจ็บแล้ว แล้วลูกเมียข้างหลังจะทำอย่างไร”
การที่มันมีท่อ มีก่อสร้าง หรือมีอะไรสักอย่างอยู่ทางซ้าย แต่ตามกฎหมายเขาบอกให้เราชิดซ้ายนี่ก็เป็นปัญหาอีก เป็นมากเลยด้วย บางเส้นเป็นหลุมเป็นบ่อเยอะจนมันเห็นกันจะ ๆ แต่เขาก็ไม่ปรับปรุง
แยกไฟแดงตรงนี้ (สี่เสาเทเวศน์) มันจะมีหลุม เอายางมะตอยมาทำมันก็ไม่เหมือนเดิม รถใหญ่มันวิ่งทั้งคืน มันก็กระแทกไปเรื่อย ๆ ตรงนี้อันตรายมาก บางทีถ้าทำไม่เรียบ แผ่นเหล็กแผ่นอะไรโผล่ออกมา มันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ยิ่งขับมอเตอร์ไซค์ยิ่งอันตราย คนทั่วไปมาเดินก็อันตราย จักรยานก็ล้ม คุณขับรถ 4 ล้อ คุณโดนคุณไม่เป็นอะไร แต่ผม 2 ล้อ ล้มไปก็เจ็บแล้ว แล้วลูกเมียข้างหลังจะทำอย่างไร
บางทีที่รถมันติดก็เพราะมีรถจอดขวาง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ที่จอดแต่ก็จอด อย่างเส้นสามเสนจะติดหน้าโรงเรียนเซนต์คาเบรียลขึ้นไป เขาปิดเลนให้รถจอด บางทีจอดกัน 2 เลนสองฝั่งเลยด้วย รถรับส่งนักเรียนก็จอดนาน ตำรวจก็ไม่อะไร เคยมีข่าวไปลงมันก็หายไปพักหนึ่ง แต่ก็กลับมาอีก ทั้งตอนเช้าตอนเช้าเย็น รถติดเพราะผู้ปกครองจอด 2-3 เลน รถมันก็วิ่งไม่ได้
ส่วนขับขึ้นทางเท้า มีน้อยครั้ง แก่แล้วไม่ค่อยวิ่งไกล แล้วเขาก็มีกฎหมายไม่ให้ขับขึ้นทางเท้าออกมา ข่าวก็มีพูดถึงเรื่องคนขี่มอเตอร์ไซค์ไปชนเด็ก เราก็ไม่กล้าขึ้น แต่ก่อนขึ้นเพราะรถมันติด มันไปไม่ได้ ขนาดมอเตอร์ไซค์ยังไปไม่ได้เลย พอเห็นคันหน้าขึ้น ผมก็ตามไป รถมันติดแยกสนามม้า ทางจะไปยมราช ตรงนั้นติดมาก เมื่อก่อนไม่มีกฎหมายก็ขึ้นทางเท้ากันประจำ แต่พอมีกฎหมายก็ไม่ขึ้น ต่างคนต่างจะขึ้นสะพาน แล้วมันเบียด โดนเบียดมาแล้วก็ไปไม่ได้
ถนนของผมไม่ต้องดีมากก็ได้ เอาแค่ปานกลาง คนขับรถห่วงเพื่อนร่วมทาง รถมันก็ควรได้สิทธิเท่ากันบนถนน
ส่วนบางวินที่เขาขึ้นทางเท้า เพราะที่ตั้งวินเขาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ที่กลับรถมันอยู่ไกล เขาต้องขับย้อนศรขึ้นมา หรือไม่ก็ขับขึ้นทางเท้าไป ถ้าตัวเราเองต้องขับมอเตอร์ไซค์ย้อนศร สาเหตุหลักๆ คือ รถมันติดกับที่กลับรถมันไกล เราก็ย้อนไปนิดนึงได้ มันเป็นเรื่องของอะไรหลายอย่าง ทั้งผังถนน รถติด รถจอดข้างทาง
ถนนของผมไม่ต้องดีมากก็ได้ เอาแค่ปานกลาง คนขับรถห่วงเพื่อนร่วมทาง รถมันก็ควรได้สิทธิเท่ากันบนถนน ไม่ใช่ว่าจะแบ่งชนชั้น ไม่ใช่จะขับอย่างไร จอดตรงไหนก็ได้ ถ้าคิดจะให้ชิดซ้ายก็ไปแก้ปัญหาที่รถเมล์ควันดำก่อน เลนส์จักรยานอาจไม่ต้องมีมันก็คือเลนซ้ายนั่นแหละ แต่ทำให้มันดีกว่าเดิม ปลอดภัยกว่าเดิม”
การออกแบบถนนที่คำนึงถึงการสัญจรทุกแบบ:
แต่ละเลนมีขนาดเหมาะกับประเภทของยานพาหนะ ทำให้ผู้ใช้ยานพาหนะต่างๆ ได้รับความสะดวกสบายสำหรับการเดินทาง และไม่ค่อยพบการแย่งพื้นที่กัน
ศุภชัย ศานติอมร อายุ 51 ปี อาชีพรับจ้าง
“ขี่จักรยานมา 10 กว่าปีแล้ว ขี่มาจากบ้านจากพระราม 8 มาทำงานฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ขี่ไปไกลกว่านี้ก็เคย เช่น คลองถม หรือสายใต้ใหม่ ตั้งฮั่วเส็งฝั่งธนบุรี แต่เวลาขี่ต้องระวังมาก บางทีมันมีท่อ รถมันเยอะ ถ้าบางครั้งขี่บนทางเท้าได้ก็จะขี่ ถ้ามีเลนจักรยานก็จะขี่เลนจักรยาน เพราะเวลาเราขี่บนทางเท้า ถึงจะปลอดภัย
แต่เรารู้ว่าเป็นทางคนเดิน เราจะระวัง เร่งไม่ได้ เดี๋ยวชนคน บางทีมีทางจักรยานบนทางเท้า ก็ยังต้องระวังอยู่ดี เพราะกลัวว่าจะมีเด็กเดินเข้ามา
ถ้าเราปั่นชิดซ้ายก็จะเจอรถเมล์ ควันดำมันเยอะ ต่อให้จะไปก็ต้องรอ ไม่เข้าไปใกล้มาก ให้รถเมล์พ้นไปก่อน เพราะเราแซงไม่ได้อยู่แล้ว มันอันตรายมากๆ รถหลังมาเร็ว รถข้างๆ ก็อาจจะเบียดเข้าหา แล้วถ้ารถเมล์นึกอยากจะข้ามจากซ้ายไปขวา 4 เลนขึ้นมา หักหัวทีเดียว เราก็ตาย รีบไปไม่ได้ ออกไปโดนเฉี่ยวโดนชน เรายอมขี่ช้าหน่อย เสียเวลาก็จริง แต่ชีวิตสำคัญกว่า
“บางที (รถ) จอดกันยาวเกินไป เราก็ต้องเบี่ยงหลบไปทางขวาตลอด โดนรถชนขึ้นมาจะทำอย่างไร มันอันตรายต่อเรา”
ถ้าเราชิดซ้ายแล้วมันเป็นสี่แยก ซ้ายผ่านตลอด เราก็จอดซ้าย ยกจักรยานขึ้นฟุตบาท เพื่อไปทางม้าลายแทน ไม่ขวางคนจะเลี้ยวซ้าย ต่อให้เราจะตรง ก็จะเลือกไปข้ามพร้อมคนที่ม้าลาย ซ้ายตลอดแล้วเราไปคามันเกะกะ รถเขาก็เลี้ยวกันเยอะด้วย เรายอมยกก็ได้ ข้ามทางม้าลายเอา มันไม่ได้เหนื่อยนะการยกจักรยานขึ้นลง มันชินแล้ว หลบเองได้ก็หลบ
เรื่องทางกลับรถที่อยู่ทางขวา แต่ให้เราชิดซ้าย คือตัดทิ้งได้เลย เราขี่จักรยาน ไม่กล้าเสี่ยง จะรอข้ามทางม้าลายแทน เราขอไปพร้อมกับคนเดินเท้าแทน ถ้าระยะทางมันแค่ถนนเลนเดียว มันก็อาจจะโอเค แต่ถ้าเป็นทางใหญ่ เราไม่เอาแน่
จริงๆ คนที่เรารู้จักข้ามทางม้าลายยังโดนชนกลางม้าลายเลย เขาจูงจักรยานด้วยนะไม่ได้ขี่ ความปลอดภัยในประเทศนี้อยู่ตรงไหนกัน?
ทางม้าลายบนถนนสีลม บริเวณหน้าโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนและอาคาคอาคเนย์ประกันภัย
ส่วนหนึ่งของโครงการ City Lab Silom ซึ่งเป็นโครงการปรับภูมิทัศน์ย่านสีลม ที่มีการทดลองใช้เมื่อปลายปี 2562
ทางจักรยานแต่ก่อนมีตรงเส้นพระอาทิตย์ แต่เหมือนจะหายไปแล้ว เส้นจากใต้สะพานปิ่นเกล้า หรือตรงบางลำพู วัดบวรนิเวศวิหาร ออกไปทางคอกวัว ตรงนั้นก็ทางจักรยาน เดี๋ยวนี้ไม่รู้แล้วเป็นอย่างไร เพราะตอนที่เราขี่ก็มีมอเตอร์ไซค์มาอาศัยเลนจักรยาน พูดกันตรง ๆ เราขี่ไม่ได้หรอก เส้นสนามหลวงวัดพระแก้วก็เคยเห็นเว้นช่องเอาไว้ แต่สุดท้ายรถก็จอด ก็ขี่ไม่ได้ เส้นอื่นที่เป็นเลนจักรยาน เราขี่ไปเจอรถจอดขวางเป็นแนว เราก็ตองหลบไปใช้เส้นทางอื่นเลยนะ ไม่ขี่ถนนนั้นเลย
บางทีมันจอดกันยาวเกินไป เราก็ต้องเบี่ยงหลบไปทางขวาตลอด โดนรถชนขึ้นมาจะทำอย่างไร มันอันตรายต่อเรา เปลี่ยนไปถนนที่ไม่มีรถจอดแทนดีกว่า ถึงมันจะไกลหรือมันจะอ้อม แต่เราเอาที่ปลอดภัยไว้ก่อน อย่างตรงถนนข้าวสาร แท็กซี่ชอบจอดในช่องทางจักรยาน ถ้าเราแซงขวาไม่ได้ ก็จะยกจักรยานขึ้นฟุตบาทไปเลย จูงไปแล้วค่อยยกลง มันช่วยไม่ได้จริงๆ
เราเอาตัวเองไปให้รถเร็วขับมาปาด มันก็ไม่คุ้ม ในความเป็นจริง ความพยายามจะทำทางจักรยาน แต่ให้ใครๆ ก็ได้ไปวิ่งอยู่ตรงนั้น มันกลับเป็นจักรยานเองที่อันตราย
ยิ่งขี่กลางคืนเราจะต้องคอยเบี่ยงขวาหลบรถจอดทางซ้ายบ่อย ๆ ก็ไม่ได้ เราเอาตัวเองไปให้รถเร็วขับมาปาดมันก็ไม่คุ้ม ในความเป็นจริงความพยายามจะทำทางจักรยาน แต่ให้ใคร ๆ ก็ได้ไปวิ่งอยู่ตรงนั้น มันกลับเป็นจักรยานเองที่อันตราย
พ่อผม เขาขี่จักรยานบนฟุตบาท แล้วจะเลี้ยวเข้าซอย จุดสิ้นสุดฟุตบาทคือทางลง มันต้องมาบรรจบกับถนนที่รถวิ่ง แต่พอจะเลี้ยวเข้าซอย รถมอเตอร์ไซค์ก็พุ่งออกจากซอยมาอย่างเร็ว ชนกันเปรี้ยง นอนโรงพยาบาลไปนานอยู่ มอเตอร์ไซค์ก็หนี เขาบอกตัวเขาไม่ผิด แต่เขาหนี เพราะมอเตอร์ไซค์คันนั้นไม่มีพ.ร.บ. สุดท้ายมอเตอร์ไซค์ก็โดนจับ
อีกครั้งคือจะขี่ไปปากซอย แล้วพ่อผมบรรทุกของจะเอาไปขาย มอเตอร์ไซค์ก็ขี่ไว ขนาดในซอยนะ เฉี่ยวจนล้มเลย บาดเจ็บ หนักอยู่ ไปนอนโรงพยาบาลอีก เขาอายุเยอะแล้ว อาการเลยหนัก ขนาดขี่ชิดซ้ายนะ แล้วในซอยไม่มีฟุตบาทให้คนเดิน ทางน้ำ ท่อน้ำ อยู่ริมซ้าย คนก็เดินบนถนนนั่นแหละ สรุปพ่อก็เจอไป 2 รอบ รถพังจนเกินซ่อม แต่เจอไปแบบนั้นเขาก็ไม่เข็ด เพราะสุดท้ายเขาก็ยังมีความสุขในการขี่จักรยาน
ยอมรับว่า กฎหมายรถเล็กชิดซ้ายก็ยังต้องใช้ สำหรับจักรยาน ถ้าเราไปขี่ตรงกลางมันก็อยู่กับรถใหญ่ ซึ่งความเร็วและความแข็งแรงเราสู้เขาไม่ได้
แต่ถ้าเราขี่ทางซ้ายแล้ว มันก็ไม่ควรจะมีอะไรมาทำให้เราที่ขี่จักรยาน 2 ล้อ ต้องลำบาก ไม่มีความปลอดภัยสำหรับจักรยานเลย ผมไม่คิดว่ารัฐทำอะไรกับถนนเมืองไทยได้ กลายเป็นเราต้องพยายามเซฟตัวเอง เคยโดนรถปาด รถเฉี่ยว รถบีบแตร เราขี่ชิดซ้ายอยู่แล้ว ถ้าเราจะขี่เข้าซอยหรืออะไร บางทีรถมันจะเบียดสวนขึ้นมา ต้องระวัง จังหวะเราจะเลี้ยวแต่รถมา เขาก็ไม่ดูไม่รอหรอก พุ่งเข้ามาเลย ถึงขนาดคนที่ขี่จักรยานระดับโลกมา ก็ยังมาเสียชีวิตที่เมืองไทย“
ชนินทร์ เตชศรีสุธี อายุ 64 ปี ผู้ใช้จักรยาน
“ใช้รถจักรยานขี่ไปซื้ออาหารกลางวันที่โรงพยาบาลมิชชั่นทุกวัน ไม่ก็ไปนู่นมานี่ ระยะไม่ไกลมาก สัก 5 – 10 กิโลเมตร ในการขี่ ตามกฎหมายให้เราชิดซ้าย แต่เวลาเราอยู่ช่องซ้ายแล้วเราจะตรง รถจะเลี้ยวก็จะเลี้ยวให้ได้ เบียดโดยที่ไม่สนใจเรา ถ้าออกไปคือโดนชนแน่ๆ เพราะเขาเห็นเราขี่ช้าก็จ้องจะตัดหน้าอย่างเดียว จึงต้องระวังตัวเอง
คนขี่จักรยานต้องระวังเป็น 2 เท่า ระวังรถใหญ่เบียด ทั้ง รถเมล์ แท็กซี่ สามล้อ พวกรถเมล์ไม่ค่อยสนใจ จะเข้าป้ายอย่างเดียว แท็กซี่ สามล้อ เป็นเหมือนกันหมดเวลาเห็นผู้โดยสาร ไม่เห็นจักรยานอยู่ในสายตา กลางคืนยิ่งอันตราย เพราะรถมองไม่ค่อยเห็นเรา กลายเป็นทางที่ปลอดภัยกับคนขี่จักรยานกลับเป็นการปั่นบนทางเท้าร่วมกับคนเดินเท้า แต่ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ ถูกกฎหมายไหม แต่ถ้ามีเลนบนทางเท้าจะช่วยได้มากๆ
รถจักรยานที่จออยู่ในซอยย่านที่พักอาศัย
เรามันเนื้อหุ้มเหล็ก ไม่ใช่เหล็กหุ้มเนื้อ เวลาเราปั่นไปจอดรอข้างหน้ารถ เพื่อรอไฟเขียว ถ้า เราออกตัวช้า บางทีรถก็ปาดขึ้นแซงตรงไฟเขียวก็มี ก็เราขับได้ความเร็วเท่านี้ ก็ต้องยอมโดนบีบแตรไล่
ปัญหาใหญ่คือ ถ้าไม่มีจุดให้ข้ามจะแย่มาก อย่างเส้นวิภาวดี ทำสะพานลอยจริง แต่ให้เดินไปไกลมาก (ลากเสียงยาว) ไม่รู้กี่กิโลเมตร จะให้ข้ามได้ยังไง สร้างแต่ถนน คนข้ามตาย ยิ่งคนแก่ไม่ต้องพูด ขึ้นสะพาน สูงก็สูง ตายก่อนพอดี สร้างถนนไม่คิดถึงคน คิดถึงแต่รถ
หรือแค่ตรงเซ็นทรัล ปิ่นเกล้าจะข้ามไปอีกฝั่ง ต้องขี่ไปยูเทิร์นไกลเกือบตั้งฮั่วเส็งธนบุรี ไม่งั้นต้องแบกจักรยานขึ้นสะพานลอย เดินทีละก้าวทีละก้าวขึ้นบันได มันไม่ยอมให้ข้ามทางครึ่งๆ พอจะสร้างก็สร้างแต่สะพานลอย
เรื่องฝาท่อนี่ก็แน่นอน ขี่ทับไม่ได้ เดี๋ยวตก เพราะล้อเราเล็ก ตกไปบางทียางแตก ยางระเบิดก็มี คราวที่แล้วกระแทกหินบนถนนทีเดียว ยางแฟบเลย ต้องเข็นกลับบ้านอีก เพราะเราซ่อมเอง เดี๋ยวนี้ร้านซ่อมไม่ค่อยมี แม้จะมีแต่ค่าซ่อมจักรยานก็ไม่ถูก
“ถ้าไม่มีจุดให้ข้ามจะแย่มาก … สร้างแต่ถนน คนข้ามตาย ยิ่งคนแก่ไม่ต้องพูด ขึ้นสะพาน สูงก็สูง ตายก่อนพอดี สร้างถนนไม่คิดถึงคน คิดถึงแต่รถ”
กทม. ส่งเสริมให้คนขี่จักรยาน แต่ไม่อำนวยความสะดวกให้เลย ตอนแรกตีเส้นให้ที่ถนนราชดำเนิน แต่เดี๋ยวนี้นี่ไม่มีเลย เส้นหายไปหมดแล้ว คงให้เลิกเพราะทำให้พื้นที่จราจรหายไป ถนนมันเล็กเกินไป พอมาทำก็เป็นปัญหา หรือแถวสวนมะลิ ทางเท้ากว้าง แต่ปรากฏมีรถมาจอด ไปไม่ได้อยู่ดี หมดท่าเลย
นี่แหละความไม่เท่าเทียมกัน จักรยาน กับรถที่มีเครื่องยนต์ เราต้องหลบให้รถใหญ่ตลอด บนท้องถนนถ้าจะบอกว่าเสมอภาคก็คงไม่จริงจักรยานต้องหลบรถใหญ่ แม้กระทั่งมอเตอร์ไซค์ก็ยังต้องหลบ“
Like this:
Like Loading...
สัมภาษณ์: วโรดม เตชศรีสุธี ภาพ: พชรกฤษณ์ โตอิ้ม รชา เหลืองบริสุทธิ์
ในตอนที่ 2 ของรายงานชุด “ประชาธิปไตยบนทางสัญจรเมืองกรุง” ผู้ใช้ถนนกรุงเทพฯ เล่าประสบการณ์ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงในการเดินทางไม่เว้นวัน เพราะการออกแบบถนนและการใช้เส้นทางที่ให้ความสำคัญกับยานพาหนะขนาดใหญ่มากกว่าสวัสดิภาพของผู้สัญจรกลุ่มอื่นๆ
ณัฐชยา สัญรัตช์ อายุ 38 ปี ชาวเพชรบูรณ์
“ใช้มอเตอร์ไซค์มา 6 ปี ตั้งแต่อยู่ที่บ้านจนมาทำงานในกรุงเทพฯ แต่ที่นี่ขับยากกว่ากันเยอะ เพราะรถติดมาก ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องส่องกระจกมองข้างตลอดเวลา เคยไปเฉี่ยวกระจกรถยนต์บ้างเพราะว่า ทางไปมันแคบ ก็ต้องเบียดไป แต่ขนาดซื้อมอเตอร์ไซค์มายังเบียดไม่ค่อยจะได้เลย
ส่วนกฎหมายที่บอกให้เราชิดซ้าย เอาจริงๆ มันใช้ไม่ได้ แถมอันตรายมาก คนขับรถไม่ได้ใส่ใจคนอื่น บางทีรถเมล์มา มันเบียดเข้ามาเลย ไม่สนใจจะเข้าป้ายอย่างเดียว หรือแท็กซี่จะจอดก็ปาดจอดโดยไม่เปิดสัญญาณ คนกวักปุ๊บ มันก็จอดปั๊บ จนจะชนเรา
เราก็ขับถูกเลน ให้ชิดซ้ายก็ชิดไง ขับก็ไม่ได้เร็ว เขาใจร้อนกัน เขาคิดว่าเราขับช้า แต่มอเตอร์ไซค์มันเร็วได้เท่านี้ มันไม่ใช่มอเตอร์ไซค์แข่ง ในกรุงเทพฯ จะเอาเร็วไปถึงไหน
บางทีต้องขับออกนอกเลนซ้ายบ้าง มันจะชิดแต่ซ้ายมันก็ไม่ได้ รถมันจอด รถมันเลี้ยว เราก็ไม่ขับแช่เลนขวาให้เขามาไล่อยู่แล้ว แต่พอเราเบี่ยงออกมาจากช่องทางซ้าย เราก็จะกลายเป็นคนผิดทันที
เลนซ้ายยังเต็มไปด้วยหลุมบ่อ กระแทกจนรถพัง เขาสร้างรถไฟฟ้าแล้วไม่ยอมเก็บของ ปล่อยให้เศษดินเศษหินหล่นลงมากองที่ถนน บางทีก็เป็นเหล็กบ้าง การถมถนนก็ทำให้ถนนปูดเป็นพื้นขรุขระไปเรื่อยๆ บางทีเป็นทั้งถนนเลยไม่ใช่แค่เลนซ้าย
ส่วนท่อนี่ก็อีกปัญหา บางที่นี่ยุบเป็นแอ่ง เรียกแอ่งกระทะ มันลึกลงไป ทำให้เราขับผ่านแล้วรู้สึกกลัว ถ้าขับเร็วนี่เสียหลักง่ายๆ
เคยมีเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน ขี่มอเตอร์ไซค์ลงสะพานแล้วประสบอุบัติเหตุ รถใหญ่ที่ขับมาบนสะพานด้วยกันเปลี่ยนเลนเร็วโดยไม่มีไฟสัญญาณ แล้วก็ไม่ได้สังเกตมอเตอร์ไซค์ของเพื่อนเรา ก็ชนเปรี้ยง! รถเละ คนก็กลิ้ง แต่ยังดีได้แค่แผลถลอก
มีอีกครั้งคือทางซ้ายเป็นทางเข้าปั๊มน้ำมัน เขากำลังจะผ่านไปแล้ว จู่ๆ รถเก๋งก็หักเลี้ยวกะทันหันเข้าปั๊มโดยไม่ยกสัญญาณไฟบอก ถ้าเห็นสัญญาณเพื่อนก็ไม่ไปขับให้เขาชนหรอก
ส่วนเราเคยประสบอุบัติเหตุครั้งหนึ่งแถวจตุจักร กำลังขับมอเตอร์ไซค์พาลูกชายกลับที่พัก ขับตามไฟเขียวแล้วจู่ๆ รถเก๋งก็เบียดเข้ามาชน ตอนนั้นตกใจ ไม่นึกว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับตัวเอง พอล้มก็กลิ้งไปตามถนน ไม่เป็นอะไรมากแค่หัวแตก แต่ลูกชายโดนเย็บ 10 กว่าเข็ม แผลมันเหวอะ แล้วก็ลึก จนตอนนี้ก็ยังไม่ว่างคุยกับเจ้าของรถคันนั้น เพราะไม่ว่างเลย พาลูกชายมารักษาที่เพชรบูรณ์ เราอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีใครช่วยดูลูก เลยพากันกลับมาอยู่ที่บ้าน ครอบครัวจะได้ช่วยเหลือได้
ยอมรับว่า เคยขับขึ้นทางเท้า ตอนนั้นทางกลับรถอยู่ไกลเป็นกิโล กว่าจะกลับมาได้ก็ต้องเจอรถติดก่อน เราเองก็รีบ เลยจำเป็นต้องขับขึ้นทางเท้า เกรงใจคนที่เดินบนทางเท้าอยู่แล้ว ก็คอยขับระวัง สภาพแวดล้อมมันบีบให้เราต้องขึ้นบนทางเท้า ขึ้นไปแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะดี แต่มันเร็ว บางทีก็เคยขับย้อนศรด้วย ที่กลับรถไกลเหมือนกัน เรารู้สึกผิดนะ แต่บางทีมันจำเป็นจริงๆ เราย้อนศรก็เพราะทางกลับรถมันห่างกันแค่ 30 เมตร
อยากให้มีเลนจักรยานยนต์ แต่มันเป็นไปไม่ได้แน่ ๆ ส่วนตัวไม่อยากขี่บนทางเท้าหรือไปเบียดเบียนคนเดินเท้าอยู่แล้ว แต่ระบบการจัดการถนนกับการจราจรมันไม่เอื้อเลย โดยเฉพาะทางกลับรถที่ห่างเป็นกิโล ถ้าถนนมีความปลอดภัย สะดวกรวดเร็ว รถไม่ติด ก็คงจะดีที่สุดแล้ว“
ถนนหนทางตัวเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มี 4 เลน คือ ทางเท้า ทางจักรยาน รถราง และรถส่วนตัว
สุรินทร์ ศรีสุภา อาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง หน้าธนาคารนครหลวงไทย (ตลาดรวมยาง)
“กฎหมายชิดซ้ายมันใช้ไม่ได้จริง มันก็ต้องมีไปเลนอื่นบ้าง บางคนมันจะไปรอซ้ายแล้วจะอยู่กับควันดำๆ ของรถเมล์ก็ไม่ได้ ต้องให้ตำรวจมาขับเป็นวินมอเตอร์ไซค์ดู แล้วจะรู้ว่า ถ้าต่อตูดรถเมล์แล้วเจอควันมันเป็นอย่างไร คุณออกกฎหมายมา แต่คุณไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงเลย คุณต้องไปแก้ไขที่รถเมล์ก่อน มันมีผลต่อสุขภาพอันดับหนึ่งเลย อะไหล่รถเรายังหาได้ แต่อะไหล่คนมันหาไม่ได้
กฎหมายให้เราวิ่งซ้ายเราก็วิ่งซ้าย เพราะถ้ามีปัญหามาเราจะได้ไม่เสียเปรียบเขา แต่สุดท้ายมันจะต้องมีอะไรมาทำให้เราตบไฟขวาออกไปอยู่ดี บางทีเราไปเจอรถประเภทจะเลี้ยวแต่ไม่เปิดไฟเลี้ยว อยู่ ๆ ก็เลี้ยวมันเลย พออุบัติเหตุเกิดค่อยเปิดไฟเลี้ยว ซึ่งคนพวกนี้มีเยอะมาก
การที่มันมีท่อ มีก่อสร้าง หรือมีอะไรสักอย่างอยู่ทางซ้าย แต่ตามกฎหมายเขาบอกให้เราชิดซ้ายนี่ก็เป็นปัญหาอีก เป็นมากเลยด้วย บางเส้นเป็นหลุมเป็นบ่อเยอะจนมันเห็นกันจะ ๆ แต่เขาก็ไม่ปรับปรุง
แยกไฟแดงตรงนี้ (สี่เสาเทเวศน์) มันจะมีหลุม เอายางมะตอยมาทำมันก็ไม่เหมือนเดิม รถใหญ่มันวิ่งทั้งคืน มันก็กระแทกไปเรื่อย ๆ ตรงนี้อันตรายมาก บางทีถ้าทำไม่เรียบ แผ่นเหล็กแผ่นอะไรโผล่ออกมา มันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ยิ่งขับมอเตอร์ไซค์ยิ่งอันตราย คนทั่วไปมาเดินก็อันตราย จักรยานก็ล้ม คุณขับรถ 4 ล้อ คุณโดนคุณไม่เป็นอะไร แต่ผม 2 ล้อ ล้มไปก็เจ็บแล้ว แล้วลูกเมียข้างหลังจะทำอย่างไร
บางทีที่รถมันติดก็เพราะมีรถจอดขวาง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ที่จอดแต่ก็จอด อย่างเส้นสามเสนจะติดหน้าโรงเรียนเซนต์คาเบรียลขึ้นไป เขาปิดเลนให้รถจอด บางทีจอดกัน 2 เลนสองฝั่งเลยด้วย รถรับส่งนักเรียนก็จอดนาน ตำรวจก็ไม่อะไร เคยมีข่าวไปลงมันก็หายไปพักหนึ่ง แต่ก็กลับมาอีก ทั้งตอนเช้าตอนเช้าเย็น รถติดเพราะผู้ปกครองจอด 2-3 เลน รถมันก็วิ่งไม่ได้
ส่วนขับขึ้นทางเท้า มีน้อยครั้ง แก่แล้วไม่ค่อยวิ่งไกล แล้วเขาก็มีกฎหมายไม่ให้ขับขึ้นทางเท้าออกมา ข่าวก็มีพูดถึงเรื่องคนขี่มอเตอร์ไซค์ไปชนเด็ก เราก็ไม่กล้าขึ้น แต่ก่อนขึ้นเพราะรถมันติด มันไปไม่ได้ ขนาดมอเตอร์ไซค์ยังไปไม่ได้เลย พอเห็นคันหน้าขึ้น ผมก็ตามไป รถมันติดแยกสนามม้า ทางจะไปยมราช ตรงนั้นติดมาก เมื่อก่อนไม่มีกฎหมายก็ขึ้นทางเท้ากันประจำ แต่พอมีกฎหมายก็ไม่ขึ้น ต่างคนต่างจะขึ้นสะพาน แล้วมันเบียด โดนเบียดมาแล้วก็ไปไม่ได้
ส่วนบางวินที่เขาขึ้นทางเท้า เพราะที่ตั้งวินเขาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ที่กลับรถมันอยู่ไกล เขาต้องขับย้อนศรขึ้นมา หรือไม่ก็ขับขึ้นทางเท้าไป ถ้าตัวเราเองต้องขับมอเตอร์ไซค์ย้อนศร สาเหตุหลักๆ คือ รถมันติดกับที่กลับรถมันไกล เราก็ย้อนไปนิดนึงได้ มันเป็นเรื่องของอะไรหลายอย่าง ทั้งผังถนน รถติด รถจอดข้างทาง
ถนนของผมไม่ต้องดีมากก็ได้ เอาแค่ปานกลาง คนขับรถห่วงเพื่อนร่วมทาง รถมันก็ควรได้สิทธิเท่ากันบนถนน ไม่ใช่ว่าจะแบ่งชนชั้น ไม่ใช่จะขับอย่างไร จอดตรงไหนก็ได้ ถ้าคิดจะให้ชิดซ้ายก็ไปแก้ปัญหาที่รถเมล์ควันดำก่อน เลนส์จักรยานอาจไม่ต้องมีมันก็คือเลนซ้ายนั่นแหละ แต่ทำให้มันดีกว่าเดิม ปลอดภัยกว่าเดิม”
แต่ละเลนมีขนาดเหมาะกับประเภทของยานพาหนะ ทำให้ผู้ใช้ยานพาหนะต่างๆ ได้รับความสะดวกสบายสำหรับการเดินทาง และไม่ค่อยพบการแย่งพื้นที่กัน
ศุภชัย ศานติอมร อายุ 51 ปี อาชีพรับจ้าง
“ขี่จักรยานมา 10 กว่าปีแล้ว ขี่มาจากบ้านจากพระราม 8 มาทำงานฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ขี่ไปไกลกว่านี้ก็เคย เช่น คลองถม หรือสายใต้ใหม่ ตั้งฮั่วเส็งฝั่งธนบุรี แต่เวลาขี่ต้องระวังมาก บางทีมันมีท่อ รถมันเยอะ ถ้าบางครั้งขี่บนทางเท้าได้ก็จะขี่ ถ้ามีเลนจักรยานก็จะขี่เลนจักรยาน เพราะเวลาเราขี่บนทางเท้า ถึงจะปลอดภัย
แต่เรารู้ว่าเป็นทางคนเดิน เราจะระวัง เร่งไม่ได้ เดี๋ยวชนคน บางทีมีทางจักรยานบนทางเท้า ก็ยังต้องระวังอยู่ดี เพราะกลัวว่าจะมีเด็กเดินเข้ามา
ถ้าเราปั่นชิดซ้ายก็จะเจอรถเมล์ ควันดำมันเยอะ ต่อให้จะไปก็ต้องรอ ไม่เข้าไปใกล้มาก ให้รถเมล์พ้นไปก่อน เพราะเราแซงไม่ได้อยู่แล้ว มันอันตรายมากๆ รถหลังมาเร็ว รถข้างๆ ก็อาจจะเบียดเข้าหา แล้วถ้ารถเมล์นึกอยากจะข้ามจากซ้ายไปขวา 4 เลนขึ้นมา หักหัวทีเดียว เราก็ตาย รีบไปไม่ได้ ออกไปโดนเฉี่ยวโดนชน เรายอมขี่ช้าหน่อย เสียเวลาก็จริง แต่ชีวิตสำคัญกว่า
ถ้าเราชิดซ้ายแล้วมันเป็นสี่แยก ซ้ายผ่านตลอด เราก็จอดซ้าย ยกจักรยานขึ้นฟุตบาท เพื่อไปทางม้าลายแทน ไม่ขวางคนจะเลี้ยวซ้าย ต่อให้เราจะตรง ก็จะเลือกไปข้ามพร้อมคนที่ม้าลาย ซ้ายตลอดแล้วเราไปคามันเกะกะ รถเขาก็เลี้ยวกันเยอะด้วย เรายอมยกก็ได้ ข้ามทางม้าลายเอา มันไม่ได้เหนื่อยนะการยกจักรยานขึ้นลง มันชินแล้ว หลบเองได้ก็หลบ
เรื่องทางกลับรถที่อยู่ทางขวา แต่ให้เราชิดซ้าย คือตัดทิ้งได้เลย เราขี่จักรยาน ไม่กล้าเสี่ยง จะรอข้ามทางม้าลายแทน เราขอไปพร้อมกับคนเดินเท้าแทน ถ้าระยะทางมันแค่ถนนเลนเดียว มันก็อาจจะโอเค แต่ถ้าเป็นทางใหญ่ เราไม่เอาแน่
จริงๆ คนที่เรารู้จักข้ามทางม้าลายยังโดนชนกลางม้าลายเลย เขาจูงจักรยานด้วยนะไม่ได้ขี่ ความปลอดภัยในประเทศนี้อยู่ตรงไหนกัน?
ส่วนหนึ่งของโครงการ City Lab Silom ซึ่งเป็นโครงการปรับภูมิทัศน์ย่านสีลม ที่มีการทดลองใช้เมื่อปลายปี 2562
ทางจักรยานแต่ก่อนมีตรงเส้นพระอาทิตย์ แต่เหมือนจะหายไปแล้ว เส้นจากใต้สะพานปิ่นเกล้า หรือตรงบางลำพู วัดบวรนิเวศวิหาร ออกไปทางคอกวัว ตรงนั้นก็ทางจักรยาน เดี๋ยวนี้ไม่รู้แล้วเป็นอย่างไร เพราะตอนที่เราขี่ก็มีมอเตอร์ไซค์มาอาศัยเลนจักรยาน พูดกันตรง ๆ เราขี่ไม่ได้หรอก เส้นสนามหลวงวัดพระแก้วก็เคยเห็นเว้นช่องเอาไว้ แต่สุดท้ายรถก็จอด ก็ขี่ไม่ได้ เส้นอื่นที่เป็นเลนจักรยาน เราขี่ไปเจอรถจอดขวางเป็นแนว เราก็ตองหลบไปใช้เส้นทางอื่นเลยนะ ไม่ขี่ถนนนั้นเลย
บางทีมันจอดกันยาวเกินไป เราก็ต้องเบี่ยงหลบไปทางขวาตลอด โดนรถชนขึ้นมาจะทำอย่างไร มันอันตรายต่อเรา เปลี่ยนไปถนนที่ไม่มีรถจอดแทนดีกว่า ถึงมันจะไกลหรือมันจะอ้อม แต่เราเอาที่ปลอดภัยไว้ก่อน อย่างตรงถนนข้าวสาร แท็กซี่ชอบจอดในช่องทางจักรยาน ถ้าเราแซงขวาไม่ได้ ก็จะยกจักรยานขึ้นฟุตบาทไปเลย จูงไปแล้วค่อยยกลง มันช่วยไม่ได้จริงๆ
ยิ่งขี่กลางคืนเราจะต้องคอยเบี่ยงขวาหลบรถจอดทางซ้ายบ่อย ๆ ก็ไม่ได้ เราเอาตัวเองไปให้รถเร็วขับมาปาดมันก็ไม่คุ้ม ในความเป็นจริงความพยายามจะทำทางจักรยาน แต่ให้ใคร ๆ ก็ได้ไปวิ่งอยู่ตรงนั้น มันกลับเป็นจักรยานเองที่อันตราย
พ่อผม เขาขี่จักรยานบนฟุตบาท แล้วจะเลี้ยวเข้าซอย จุดสิ้นสุดฟุตบาทคือทางลง มันต้องมาบรรจบกับถนนที่รถวิ่ง แต่พอจะเลี้ยวเข้าซอย รถมอเตอร์ไซค์ก็พุ่งออกจากซอยมาอย่างเร็ว ชนกันเปรี้ยง นอนโรงพยาบาลไปนานอยู่ มอเตอร์ไซค์ก็หนี เขาบอกตัวเขาไม่ผิด แต่เขาหนี เพราะมอเตอร์ไซค์คันนั้นไม่มีพ.ร.บ. สุดท้ายมอเตอร์ไซค์ก็โดนจับ
อีกครั้งคือจะขี่ไปปากซอย แล้วพ่อผมบรรทุกของจะเอาไปขาย มอเตอร์ไซค์ก็ขี่ไว ขนาดในซอยนะ เฉี่ยวจนล้มเลย บาดเจ็บ หนักอยู่ ไปนอนโรงพยาบาลอีก เขาอายุเยอะแล้ว อาการเลยหนัก ขนาดขี่ชิดซ้ายนะ แล้วในซอยไม่มีฟุตบาทให้คนเดิน ทางน้ำ ท่อน้ำ อยู่ริมซ้าย คนก็เดินบนถนนนั่นแหละ สรุปพ่อก็เจอไป 2 รอบ รถพังจนเกินซ่อม แต่เจอไปแบบนั้นเขาก็ไม่เข็ด เพราะสุดท้ายเขาก็ยังมีความสุขในการขี่จักรยาน
ยอมรับว่า กฎหมายรถเล็กชิดซ้ายก็ยังต้องใช้ สำหรับจักรยาน ถ้าเราไปขี่ตรงกลางมันก็อยู่กับรถใหญ่ ซึ่งความเร็วและความแข็งแรงเราสู้เขาไม่ได้
แต่ถ้าเราขี่ทางซ้ายแล้ว มันก็ไม่ควรจะมีอะไรมาทำให้เราที่ขี่จักรยาน 2 ล้อ ต้องลำบาก ไม่มีความปลอดภัยสำหรับจักรยานเลย ผมไม่คิดว่ารัฐทำอะไรกับถนนเมืองไทยได้ กลายเป็นเราต้องพยายามเซฟตัวเอง เคยโดนรถปาด รถเฉี่ยว รถบีบแตร เราขี่ชิดซ้ายอยู่แล้ว ถ้าเราจะขี่เข้าซอยหรืออะไร บางทีรถมันจะเบียดสวนขึ้นมา ต้องระวัง จังหวะเราจะเลี้ยวแต่รถมา เขาก็ไม่ดูไม่รอหรอก พุ่งเข้ามาเลย ถึงขนาดคนที่ขี่จักรยานระดับโลกมา ก็ยังมาเสียชีวิตที่เมืองไทย“
ชนินทร์ เตชศรีสุธี อายุ 64 ปี ผู้ใช้จักรยาน
“ใช้รถจักรยานขี่ไปซื้ออาหารกลางวันที่โรงพยาบาลมิชชั่นทุกวัน ไม่ก็ไปนู่นมานี่ ระยะไม่ไกลมาก สัก 5 – 10 กิโลเมตร ในการขี่ ตามกฎหมายให้เราชิดซ้าย แต่เวลาเราอยู่ช่องซ้ายแล้วเราจะตรง รถจะเลี้ยวก็จะเลี้ยวให้ได้ เบียดโดยที่ไม่สนใจเรา ถ้าออกไปคือโดนชนแน่ๆ เพราะเขาเห็นเราขี่ช้าก็จ้องจะตัดหน้าอย่างเดียว จึงต้องระวังตัวเอง
คนขี่จักรยานต้องระวังเป็น 2 เท่า ระวังรถใหญ่เบียด ทั้ง รถเมล์ แท็กซี่ สามล้อ พวกรถเมล์ไม่ค่อยสนใจ จะเข้าป้ายอย่างเดียว แท็กซี่ สามล้อ เป็นเหมือนกันหมดเวลาเห็นผู้โดยสาร ไม่เห็นจักรยานอยู่ในสายตา กลางคืนยิ่งอันตราย เพราะรถมองไม่ค่อยเห็นเรา กลายเป็นทางที่ปลอดภัยกับคนขี่จักรยานกลับเป็นการปั่นบนทางเท้าร่วมกับคนเดินเท้า แต่ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ ถูกกฎหมายไหม แต่ถ้ามีเลนบนทางเท้าจะช่วยได้มากๆ
เรามันเนื้อหุ้มเหล็ก ไม่ใช่เหล็กหุ้มเนื้อ เวลาเราปั่นไปจอดรอข้างหน้ารถ เพื่อรอไฟเขียว ถ้า เราออกตัวช้า บางทีรถก็ปาดขึ้นแซงตรงไฟเขียวก็มี ก็เราขับได้ความเร็วเท่านี้ ก็ต้องยอมโดนบีบแตรไล่
ปัญหาใหญ่คือ ถ้าไม่มีจุดให้ข้ามจะแย่มาก อย่างเส้นวิภาวดี ทำสะพานลอยจริง แต่ให้เดินไปไกลมาก (ลากเสียงยาว) ไม่รู้กี่กิโลเมตร จะให้ข้ามได้ยังไง สร้างแต่ถนน คนข้ามตาย ยิ่งคนแก่ไม่ต้องพูด ขึ้นสะพาน สูงก็สูง ตายก่อนพอดี สร้างถนนไม่คิดถึงคน คิดถึงแต่รถ
หรือแค่ตรงเซ็นทรัล ปิ่นเกล้าจะข้ามไปอีกฝั่ง ต้องขี่ไปยูเทิร์นไกลเกือบตั้งฮั่วเส็งธนบุรี ไม่งั้นต้องแบกจักรยานขึ้นสะพานลอย เดินทีละก้าวทีละก้าวขึ้นบันได มันไม่ยอมให้ข้ามทางครึ่งๆ พอจะสร้างก็สร้างแต่สะพานลอย
เรื่องฝาท่อนี่ก็แน่นอน ขี่ทับไม่ได้ เดี๋ยวตก เพราะล้อเราเล็ก ตกไปบางทียางแตก ยางระเบิดก็มี คราวที่แล้วกระแทกหินบนถนนทีเดียว ยางแฟบเลย ต้องเข็นกลับบ้านอีก เพราะเราซ่อมเอง เดี๋ยวนี้ร้านซ่อมไม่ค่อยมี แม้จะมีแต่ค่าซ่อมจักรยานก็ไม่ถูก
กทม. ส่งเสริมให้คนขี่จักรยาน แต่ไม่อำนวยความสะดวกให้เลย ตอนแรกตีเส้นให้ที่ถนนราชดำเนิน แต่เดี๋ยวนี้นี่ไม่มีเลย เส้นหายไปหมดแล้ว คงให้เลิกเพราะทำให้พื้นที่จราจรหายไป ถนนมันเล็กเกินไป พอมาทำก็เป็นปัญหา หรือแถวสวนมะลิ ทางเท้ากว้าง แต่ปรากฏมีรถมาจอด ไปไม่ได้อยู่ดี หมดท่าเลย
นี่แหละความไม่เท่าเทียมกัน จักรยาน กับรถที่มีเครื่องยนต์ เราต้องหลบให้รถใหญ่ตลอด บนท้องถนนถ้าจะบอกว่าเสมอภาคก็คงไม่จริงจักรยานต้องหลบรถใหญ่ แม้กระทั่งมอเตอร์ไซค์ก็ยังต้องหลบ“
รายงานนี้เป็นตอนที่ 2 ของรายงานชุด “ประชาธิปไตยบนทางสัญจรเมืองกรุง” ซึ่งมี 4 ตอน
ตอนที่ 1 ทางเท้า กรุงเทพฯ …ที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ?
ตอนที่ 3 ทางสัญจรในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ของทุกคน แต่เป็นของรถเก๋ง!
ตอนที่ 4 ขนส่งมวลชน… ทางออกของปัญหารถติด?
Share this:
Like this: