เรื่อง: ณิชากร เมฆวรวุฒิ และชุติกาญจน์ บุญสุทธิ
ภาพ: เกศกนก วงหาภักดี
“ทำอย่างไรจึงจะได้ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน? … ปัญหาพื้นฐานของประเทศนี้คือความไม่เป็นประชาธิปไตย ยังมีความพยายามดึงอำนาจสู่เผด็จการ ประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันสร้างตลอดเวลา” จาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองและอดีตรองนายกรัฐมนตรีกล่าวในงานเสวนา “What is to be done?” ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 12 ก.ย. สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “What is to be done?: ก้าวต่อไปของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน” เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การเคลื่อนไหวที่นำโดยเยาวชน และร่วมหาคำตอบว่าจะร่วมกันเดินหน้าเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนอย่างไร
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และหนึ่งในแกนนำคณะประชาชนปลดแอก อธิบายว่าเหตุที่พูดถึงงบประมาณของสถาบันกษัตริย์ในการชุมนุม เพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้ว แต่มักไม่ค่อยได้รับการอภิปรายในที่สาธารณะ จึงตั้งคำถามต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่ไม่สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ
แกนนำคณะประชาชนปลดแอกยังเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของประชาชน เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ สวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งย้ำว่าข้อเสนอเหล่านี้จะถูกปรับแก้ได้ก็ต่อเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ด้านเซีย จำปาทอง ประธานสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (TWFT) ชี้ว่าวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมล้วนเกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น ปัญหาการว่างงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก็แสดงถึงการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลแบบเผด็จการ “เราแก้ไขปัญหาย่อยที่ปลายเหตุไม่ได้ เพราะต้นเหตุใหญ่อยู่ที่โครงสร้าง คือรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจเผด็จการ”
ขณะที่จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตส.ส.และรองนายกรัฐมนตรี ตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อปี 2475 นั้นยังไม่เป็นชัยชนะของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากชนชั้นนำที่ยังครองอำนาจอยู่ในสังคม “ยอม” ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยในไทยจึงไม่ยั่งยืน
“ข้อเรียกร้องในปัจจุบันจึงเป็นผลึกที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศชาติยังมีปัญหา รัฐบาลยังมีปัญหา และกติกาเองก็ยังคงมีปัญหา” จาตุรนต์กล่าว
อดีตรองนายกฯ ยังเห็นว่าการเคลื่อนไหวอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมไทย เพราะการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมามักยึดโยงกับพรรคการเมืองและภาพความรุนแรงจนประชาชนเกิดความสับสน แต่พลังนักศึกษาครั้งนี้กลับเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระ แยกจากกลุ่มการเมือง และมีข้อเรียกร้องใหญ่คือระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
ดังนั้น รัฐบาลและสื่อมวลชนต้องรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย ไม่ปราบปรามและตีตราผู้วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง
“สื่อต้องหยุดสร้างวาทกรรมเพิ่มความเกลียดชัง รัฐบาลต้องเปิดช่องระบายในสังคมเช่นเดียวกับการเปิดฝากาต้มน้ำที่เดือดอยู่ภายใน” จาตุรนต์กล่าว
วิทยากรยังเห็นพ้องกันว่าข้อเรียกร้องจากการเคลื่อนไหวที่ว่า “จบที่รุ่นเรา” นั้น ควรเป็นภาพที่ตรงกันว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อรักษาให้การเคลื่อนไหวดำเนินต่อไปและนำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและยั่งยืน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องใช้เวลาและไม่เห็นผลอย่างฉับพลันทันใด สังคมไทยจึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม
สรวิศ ชัยนาม ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการเคลื่อนไหวในปัจจุบันเน้นการแก้ไขโครงสร้างและกลไกทางการเมืองเป็นหลัก แต่ยังไม่พูดถึงการจัดการกับอำนาจของระบบทุนนิยมที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกื้อหนุนระบอบเผด็จการ ดังนั้น การสร้างประชาธิปไตยในไทยจึงต้องรวมถึงแนวคิดแบบสังคมนิยมด้วย “ประเทศไทยต้องเปิดพื้นที่ทางการเมืองที่หายไป สองขั้วที่มียังคงแคบไปไหม เราควรขยายพิกัดตั้งแต่ฝั่งที่เป็นกลางไปจนถึงฝั่งซ้ายหรือเปล่า”
สรวิศยังเสนอว่า ในการเคลื่อนไหวระยะยาว ขบวนการเคลื่อนไหวอาจต้องตั้งพรรคการเมืองของตนเอง เพื่อเปิดให้มีกลุ่มการเมืองฝ่ายสังคมนิยมมากขึ้น ท่ามกลางจุดยืนทางการเมืองแบบกลางจนถึงอนุรักษ์นิยม และตั้งคำถามว่าสังคมไทยจะยอมรับความแตกต่างได้อย่างไร โดยไม่แบ่งแยกว่าใครเป็นศัตรู
“นี่เป็นบททดสอบของประชาธิปไตยในสังคมไทยว่าทุกฝ่ายจะเปิดรับความหลากหลายหรือไม่”
Like this: Like Loading...
เรื่อง: ณิชากร เมฆวรวุฒิ และชุติกาญจน์ บุญสุทธิ
ภาพ: เกศกนก วงหาภักดี
“ทำอย่างไรจึงจะได้ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน? … ปัญหาพื้นฐานของประเทศนี้คือความไม่เป็นประชาธิปไตย ยังมีความพยายามดึงอำนาจสู่เผด็จการ ประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันสร้างตลอดเวลา” จาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองและอดีตรองนายกรัฐมนตรีกล่าวในงานเสวนา “What is to be done?” ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 12 ก.ย. สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “What is to be done?: ก้าวต่อไปของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน” เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การเคลื่อนไหวที่นำโดยเยาวชน และร่วมหาคำตอบว่าจะร่วมกันเดินหน้าเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนอย่างไร
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และหนึ่งในแกนนำคณะประชาชนปลดแอก อธิบายว่าเหตุที่พูดถึงงบประมาณของสถาบันกษัตริย์ในการชุมนุม เพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้ว แต่มักไม่ค่อยได้รับการอภิปรายในที่สาธารณะ จึงตั้งคำถามต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่ไม่สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ
แกนนำคณะประชาชนปลดแอกยังเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของประชาชน เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ สวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งย้ำว่าข้อเสนอเหล่านี้จะถูกปรับแก้ได้ก็ต่อเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ด้านเซีย จำปาทอง ประธานสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (TWFT) ชี้ว่าวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมล้วนเกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น ปัญหาการว่างงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก็แสดงถึงการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลแบบเผด็จการ “เราแก้ไขปัญหาย่อยที่ปลายเหตุไม่ได้ เพราะต้นเหตุใหญ่อยู่ที่โครงสร้าง คือรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจเผด็จการ”
ขณะที่จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตส.ส.และรองนายกรัฐมนตรี ตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อปี 2475 นั้นยังไม่เป็นชัยชนะของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากชนชั้นนำที่ยังครองอำนาจอยู่ในสังคม “ยอม” ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยในไทยจึงไม่ยั่งยืน
“ข้อเรียกร้องในปัจจุบันจึงเป็นผลึกที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศชาติยังมีปัญหา รัฐบาลยังมีปัญหา และกติกาเองก็ยังคงมีปัญหา” จาตุรนต์กล่าว
อดีตรองนายกฯ ยังเห็นว่าการเคลื่อนไหวอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมไทย เพราะการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมามักยึดโยงกับพรรคการเมืองและภาพความรุนแรงจนประชาชนเกิดความสับสน แต่พลังนักศึกษาครั้งนี้กลับเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระ แยกจากกลุ่มการเมือง และมีข้อเรียกร้องใหญ่คือระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
ดังนั้น รัฐบาลและสื่อมวลชนต้องรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย ไม่ปราบปรามและตีตราผู้วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง
“สื่อต้องหยุดสร้างวาทกรรมเพิ่มความเกลียดชัง รัฐบาลต้องเปิดช่องระบายในสังคมเช่นเดียวกับการเปิดฝากาต้มน้ำที่เดือดอยู่ภายใน” จาตุรนต์กล่าว
วิทยากรยังเห็นพ้องกันว่าข้อเรียกร้องจากการเคลื่อนไหวที่ว่า “จบที่รุ่นเรา” นั้น ควรเป็นภาพที่ตรงกันว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อรักษาให้การเคลื่อนไหวดำเนินต่อไปและนำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและยั่งยืน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องใช้เวลาและไม่เห็นผลอย่างฉับพลันทันใด สังคมไทยจึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม
สรวิศ ชัยนาม ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการเคลื่อนไหวในปัจจุบันเน้นการแก้ไขโครงสร้างและกลไกทางการเมืองเป็นหลัก แต่ยังไม่พูดถึงการจัดการกับอำนาจของระบบทุนนิยมที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกื้อหนุนระบอบเผด็จการ ดังนั้น การสร้างประชาธิปไตยในไทยจึงต้องรวมถึงแนวคิดแบบสังคมนิยมด้วย “ประเทศไทยต้องเปิดพื้นที่ทางการเมืองที่หายไป สองขั้วที่มียังคงแคบไปไหม เราควรขยายพิกัดตั้งแต่ฝั่งที่เป็นกลางไปจนถึงฝั่งซ้ายหรือเปล่า”
สรวิศยังเสนอว่า ในการเคลื่อนไหวระยะยาว ขบวนการเคลื่อนไหวอาจต้องตั้งพรรคการเมืองของตนเอง เพื่อเปิดให้มีกลุ่มการเมืองฝ่ายสังคมนิยมมากขึ้น ท่ามกลางจุดยืนทางการเมืองแบบกลางจนถึงอนุรักษ์นิยม และตั้งคำถามว่าสังคมไทยจะยอมรับความแตกต่างได้อย่างไร โดยไม่แบ่งแยกว่าใครเป็นศัตรู
“นี่เป็นบททดสอบของประชาธิปไตยในสังคมไทยว่าทุกฝ่ายจะเปิดรับความหลากหลายหรือไม่”
Share this:
Like this: