เรื่อง : ณิชากร เมฆวรวุฒิ ภาพ : ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง
“6 ตุลาคือประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลพยายามทำให้เราลืม…
“มันคือเรื่องราวที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชน แล้วพยายามปิดบังว่าครั้งนั้นพวกเขาเคยทำอะไรกับประชาชนบ้าง ครั้งหนึ่งเคยมีการเคลื่อนไหวที่สำคัญมาก แต่ทำไมพวกเราไม่รับรู้อะไรเลย” มายด์ – ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ตัวแทนกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยกล่าวถึงโศกนาฏกรรมการล้อมปราบนักศึกษาประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2563 ตัวแทนเยาวชนร่วมพูดคุย ในเสวนา “6 ตุลา ในทัศนะของคนรุ่นใหม่” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมรำลึก 44 ปี 6 ตุลาคม 2519 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เยาวชนผู้ร่วมเวทีเสวนาวิเคราะห์เหตุการณ์ 6 ตุลามหาวิปโยค ด้วยมุมมองที่หลากหลาย ทั้งด้านการเมือง ประวัติศาสตร์ หลักสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี และพัฒนาการของเสรีภาพการแสดงออกของนักศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
“แม้ว่ามีศพอยู่ตรงหน้าแต่ไม่มีใครรู้เลยว่าใครเป็นคนทำ ทำไมเขาโดนทำเยี่ยงหมูเยี่ยงหมา” บัซซี่ – ศิวกรณ์ ทัศนศร สมาชิกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวถึงการทารุณกรรมและล่วงละเมิดทางเพศนักศึกษาที่มาชุมนุม อันเป็นผลจากวาทกรรมต่างๆ ที่สร้างความเกลียดชัง
บัซซี่ ยังมองว่าโศกนาฏกรรม 6 ตุลายังทำให้ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีในไทยถูกชะลอ และส่งผลต่อบทบาทของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศในทางการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน
“อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโอกาสที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตามกรรมประเทศ ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะเรียกว่าอะไรก็ตาม”
กษิดิศ อนันทนาธร
ขณะที่ มิน – ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ ตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลวชี้ว่ากฎระเบียบเรื่องทรงผมนักเรียนถือเป็น “มรดกเดือนตุลา” ที่บังคับใช้กับร่างกายของนักเรียนมาจนถึงปัจจุบัน มินบอกว่าระเบียบกระทรวงศึกษาฯ ฉบับที่ 2 เมื่อปี 2518 ที่เคยประกาศให้นักเรียนไว้ผมยาวได้ แต่หลังรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ก็กลับมาบังคับให้ไว้ผมสั้นตามเดิม
“เขาพยายามปลูกฝังให้นักเรียนเป็นเด็กเชื่องๆ ไม่กล้าปกป้องสิทธิเสรีภาพของตัวเองในอนาคต ง่ายต่อการควบคุมของเผด็จการ” มิน – ลภนพัฒน์กล่าว
“6 ตุลาเป็นเรื่องราวที่โดนลบจากประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการไทยเน้นพูดถึงประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ ตัวแทนสภานักศึกษาธรรมศาสตร์ กล่าว และมองว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเน้นบทบาทของสถาบันที่มีอำนาจในสังคม แต่ไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องราวของสามัญชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
แม้เหตุนองเลือดจากการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนเมื่อ 44 ปีที่แล้วจะทิ้งบาดแผลลึกในมิติต่างๆ ของสังคมไทย แต่ แรปเตอร์ – สิรภพ อัตโตหิ จากคณะเยาวชนปลดแอกมองว่า “เรื่องเล่าหลัก” ที่รัฐเคยควบคุมได้ในอดีตได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประชาชนมีเสรีภาพในการสื่อสารมากขึ้น
“เรื่องเล่าของคนตัวเล็กตัวน้อยกลับมามีพลังอีกครั้ง ต่อจากนี้คุณไม่มีอำนาจในการเล่าเรื่องของพวกเราอีกต่อไปแล้ว” สิรภพกล่าว
ด้านกษิดิศ อนันทนาธร นักเขียนและศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ อ้างอิงหลักสันติประชาธรรมของศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
“อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโอกาสที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตามกรรมประเทศ ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะเรียกว่าอะไรก็ตาม”
ผู้ร่วมเสวนายังย้ำความสำคัญของเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน รวมทั้งเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่ผู้กระทำความรุนแรงต่อนักศึกษายังไม่ถูกนำมาเข้ากระบวนการยุติธรรมมากว่า 4 ทศวรรษ
“44 ปีก่อนเป็นความพ่ายแพ้ แต่ 6 ตุลา ในปัจจุบันกลับมีพลังมาก ความจริงกำลังกลับมาหลอกหลอนผู้ที่หนีความจริง” กษิดิศย้ำ
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : ณิชากร เมฆวรวุฒิ ภาพ : ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง
“6 ตุลาคือประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลพยายามทำให้เราลืม…
“มันคือเรื่องราวที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชน แล้วพยายามปิดบังว่าครั้งนั้นพวกเขาเคยทำอะไรกับประชาชนบ้าง ครั้งหนึ่งเคยมีการเคลื่อนไหวที่สำคัญมาก แต่ทำไมพวกเราไม่รับรู้อะไรเลย” มายด์ – ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ตัวแทนกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยกล่าวถึงโศกนาฏกรรมการล้อมปราบนักศึกษาประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2563 ตัวแทนเยาวชนร่วมพูดคุย ในเสวนา “6 ตุลา ในทัศนะของคนรุ่นใหม่” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมรำลึก 44 ปี 6 ตุลาคม 2519 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เยาวชนผู้ร่วมเวทีเสวนาวิเคราะห์เหตุการณ์ 6 ตุลามหาวิปโยค ด้วยมุมมองที่หลากหลาย ทั้งด้านการเมือง ประวัติศาสตร์ หลักสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี และพัฒนาการของเสรีภาพการแสดงออกของนักศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
“แม้ว่ามีศพอยู่ตรงหน้าแต่ไม่มีใครรู้เลยว่าใครเป็นคนทำ ทำไมเขาโดนทำเยี่ยงหมูเยี่ยงหมา” บัซซี่ – ศิวกรณ์ ทัศนศร สมาชิกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวถึงการทารุณกรรมและล่วงละเมิดทางเพศนักศึกษาที่มาชุมนุม อันเป็นผลจากวาทกรรมต่างๆ ที่สร้างความเกลียดชัง
บัซซี่ ยังมองว่าโศกนาฏกรรม 6 ตุลายังทำให้ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีในไทยถูกชะลอ และส่งผลต่อบทบาทของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศในทางการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่ มิน – ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ ตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลวชี้ว่ากฎระเบียบเรื่องทรงผมนักเรียนถือเป็น “มรดกเดือนตุลา” ที่บังคับใช้กับร่างกายของนักเรียนมาจนถึงปัจจุบัน มินบอกว่าระเบียบกระทรวงศึกษาฯ ฉบับที่ 2 เมื่อปี 2518 ที่เคยประกาศให้นักเรียนไว้ผมยาวได้ แต่หลังรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ก็กลับมาบังคับให้ไว้ผมสั้นตามเดิม
“เขาพยายามปลูกฝังให้นักเรียนเป็นเด็กเชื่องๆ ไม่กล้าปกป้องสิทธิเสรีภาพของตัวเองในอนาคต ง่ายต่อการควบคุมของเผด็จการ” มิน – ลภนพัฒน์กล่าว
“6 ตุลาเป็นเรื่องราวที่โดนลบจากประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการไทยเน้นพูดถึงประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ ตัวแทนสภานักศึกษาธรรมศาสตร์ กล่าว และมองว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเน้นบทบาทของสถาบันที่มีอำนาจในสังคม แต่ไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องราวของสามัญชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
แม้เหตุนองเลือดจากการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนเมื่อ 44 ปีที่แล้วจะทิ้งบาดแผลลึกในมิติต่างๆ ของสังคมไทย แต่ แรปเตอร์ – สิรภพ อัตโตหิ จากคณะเยาวชนปลดแอกมองว่า “เรื่องเล่าหลัก” ที่รัฐเคยควบคุมได้ในอดีตได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประชาชนมีเสรีภาพในการสื่อสารมากขึ้น
“เรื่องเล่าของคนตัวเล็กตัวน้อยกลับมามีพลังอีกครั้ง ต่อจากนี้คุณไม่มีอำนาจในการเล่าเรื่องของพวกเราอีกต่อไปแล้ว” สิรภพกล่าว
ด้านกษิดิศ อนันทนาธร นักเขียนและศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ อ้างอิงหลักสันติประชาธรรมของศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
“อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโอกาสที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตามกรรมประเทศ ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะเรียกว่าอะไรก็ตาม”
ผู้ร่วมเสวนายังย้ำความสำคัญของเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน รวมทั้งเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่ผู้กระทำความรุนแรงต่อนักศึกษายังไม่ถูกนำมาเข้ากระบวนการยุติธรรมมากว่า 4 ทศวรรษ
“44 ปีก่อนเป็นความพ่ายแพ้ แต่ 6 ตุลา ในปัจจุบันกลับมีพลังมาก ความจริงกำลังกลับมาหลอกหลอนผู้ที่หนีความจริง” กษิดิศย้ำ
Share this:
Like this: