เรื่อง ปรียานุช ปรีชามาตย์ ภาพ นัทธมน ห่วงประเสริฐ
“หลายๆ คดีจำเลยเลือกที่จะรับสารภาพแม้ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้รับโทษน้อยลง แต่คดีชายชุดดำของเรารับสารภาพไม่ได้ เพราะมันจะให้ความชอบธรรมแก่ทหารในการฆ่าประชาชนทันที”
ปุณิกา ชูศรี หรือ อร ถูกดำเนินคดีภายใต้การบังคับใช้กฏอัยการศึกหลังรัฐประหารปี 2557
ข้อหาร่วมกันครอบครองอาวุธปืนในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เมษายน 2553 หรือที่รู้จักกันในคดี “ชายชุดดำ”
เธอถูกฝากขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางเป็นระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน ต่อมาศาลชั้นต้นยกฟ้องเธอและจำเลยทั้งหมดในคดีนี้เมื่อต้นปี 2560
28 เมษายน 2563 ปุณิกาถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เข้าจับกุมเธออีกครั้งตามหมายจับของศาลอาญาเมื่อเดือนมกราคม 2563 ในข้อหาร่วมกันกับจำเลยชุดเดิมพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำตามหน้าที่โดยไต่ตรองไว้ก่อน โดยการนำอาวุธปืนสงครามไปยิงเจ้าหน้าที่ทหารที่ถนนตะนาว บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน 2553 คดีนี้ยังคงอยู่ในกระบวนการต่อสู้ในชั้นศาล
เมื่อปี 2557 ก่อนจะโดนจับ มีทหารมาคุกคามใช่ไหม?
เรียกว่าคุกคามก็คงได้ แต่เขาใช้คำว่า “ขอความร่วมมือ” ให้เราเป็นพยานชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีชายชุดดำ เพราะเขาสงสัยว่าผู้ต้องหาคดีชายชุดดำ เป็นหนึ่งในการ์ดนปช. (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับเรา เขาเข้ามาขอดูบัตรประชาชน เราก็ถาม “คุณเป็นใคร” เขาตอบว่า “บอกไม่ได้ เป็นความลับราชการ”
ตอนนั้นเขาเข้ามาในรูปแบบของลูกค้าที่มากินข้าวที่ร้าน เราสังเกตว่าคนกลุ่มนี้และรถคันนี้มักมาจอดที่หน้าร้านตอนดึกๆ ยิ่งมาจอดหลายวันเข้าก็ยิ่งรู้สึกผิดสังเกต ประกอบกับพี่ๆ การ์ดก็ทยอยกันโดนจับหลังรัฐประหารปี 2557 ส่วนใหญ่ก็จะพากันหนีไปฝั่งเขมร ฝั่งลาว เราก็แอบคิดว่า “เอ๊ะ หรือจะมาจับเรา” แต่เราก็ไม่ได้ทำผิดอะไรสักหน่อย เลยไม่คิดจะหนี เพื่อนที่หนีไปก็บอก “ถึงไม่ผิดก็หนีไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย ไว้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยค่อยกลับมา”
วินาทีที่รู้ว่าต้องเข้าคุกรู้สึกยังไง เสียดายหรือเสียใจไหม
ไม่เสียใจในสิ่งที่เราสู้มา ไม่เสียใจที่ไปเข้าร่วมม็อบ เราคิดว่าทุกคนต้องมีสิทธิเสรีภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เราไม่ชอบความไม่ถูกต้อง เราไม่ชอบสิ่งที่พวกเขาทำ เราไม่ยอมรับกฎหมายที่ไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ยอมรับกฎหมายที่คณะรัฐประหารเขียนขึ้น ไม่ว่าฉบับไหนก็ไม่มีความเป็นธรรมกับพวกเรา
แต่เสียใจที่เราทำให้พ่อแม่เราผิดหวัง (ร้องไห้) ตอนที่ติดคุกพ่อกับแม่อยู่ต่างจังหวัด ช่วงนั้นพ่อแกตกจากหลังคาแล้วขาหัก ส่วนแม่ก็ดูแลพ่อ มันเหมือนกับว่าที่พ่อต้องตกหลังคาเพราะรู้ว่าเราติดคุก เราเลยรู้สึกผิดมาโดยตลอดที่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อน
ทำไมถึงคิดว่าตัวเองทำให้ครอบครัวเดือดร้อน
ตอนที่เราไปสู้ เราไม่คิดว่าพ่อแม่จะต้องมาเดือดร้อนเพราะเรา เมื่อออกจากเรือนจำก็มีทหารไปคุกคามพ่อกับแม่ที่บ้าน บอกให้พ่อแม่เกลี้ยกล่อมเรา หรืออาจจะเป็นการขู่ว่าถ้าเราไม่ให้ความร่วมมือพ่อแม่อาจจะเดือดร้อน
การที่เราสู้เพื่อส่วนรวมมันก็สำคัญ แต่พ่อแม่เราก็สำคัญ มันคิดหนักว่าจะทำยังไงให้ทั้งคู่ปลอดภัย ญาติเราก็ประณามว่า “คนอะไรยอมตายเพื่อคนอื่นที่ไม่รู้จัก ยอมทิ้งครอบครัวตัวเอง” สิ่งที่ผ่านมาก็ไม่ทำให้เราเปลี่ยนอุดมการณ์ เราก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน เราตัดขาดจากครอบครัว บอกเลิกแฟน บอกกับครอบครัวว่าเราจะไม่กลับมาแล้ว เพราะเราไม่อยากทำให้เขาเดือดร้อน “กูไปสู้คนเดียว ไปตายคนเดียว ไม่เกี่ยวกับใคร” คนในกลุ่มก็ตัดขาดครอบครัวกันหมด นึกย้อนตอนนี้ก็ขำตัวเอง คิดได้ยังไงว่าพวกมึงจะไปตาย สรุปไม่ตายแต่ติดคุก
ทำไมถึงคิดว่าจะไปตาย
เหตุการณ์ก่อนสลายมันรุนแรงมาก ตอนนั้นเรากับกลุ่มเพื่อนๆ ผู้หญิงไปแย่งปืนทหาร ยึดปืนมาไว้กับตัว แต่ไม่ได้ยิง เพราะใช้ไม่เป็นอยู่แล้ว แค่ยึดไว้ไม่ให้เขายิงผู้ชุมนุมเพิ่ม ต่อมาเขาให้เราเป็นพยานชี้ตัวคนในกลุ่ม เมื่อเราปฏิเสธ เขาก็ยัดข้อหาคดีชายชุดดำให้เรา
ส่วนเพื่อนๆ ในกลุ่มก็โดนจับกันหมด พี่ซี (จันทนา วรากรสกุลกิจ) โดนข้อหากองกำลังและคลังแสงอาวุธ พี่จ๋า (นฤมล วรุณรุ่งโรจน์) จะรู้จักกันในคดีผู้หญิงยิงเฮลิคอปเตอร์ทหาร
เหตุผลที่ตัดสินใจเป็นการ์ดแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เพราะอยากปกป้องเพื่อนร่วมอุดมการณ์ มันเริ่มจากกลุ่มพี่แท็กซี่ต่อต้านเผด็จการเขาเป็นลูกค้าที่ร้านเรา เขาก็จะมากินข้าว มาคุยกันทุกวัน เราก็เลยรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเขา เวลาเขาไปต่อต้าน ไปปิดกั้นทหาร เขาก็จะมาเล่าให้เราฟัง เราก็รู้สึกว่าเขาเสียสละมากๆ เขาไม่กลัวตาย เขาไม่กลัวสูญเสียเลย อย่างลุงนวมทอง (ไพรวัลย์) ที่ขับแท็กซี่ไปชนรถถัง เรารู้สึกนับถือพวกเขามากๆ (ร้องไห้)
พูดแล้วก็นึกถึงพวกพี่ๆ ที่ตายไป คนที่รู้จักก็ตายไปจะหมดแล้ว
ปุณิกา ชูศรี หรือ อร ชูศรี ชายชุดดำ
บางคนก็ตายที่เขมร บางคนก็ตายที่ไทย อย่างพี่ไม้หนึ่ง ก.กุนทีโดนลอบยิงที่กรุงเทพฯ สหายภูชนะ (ชัชชาญ บุปผาวัลย์) แฟนของพี่ซี และเพื่อนสนิทของอาจารย์สุรชัย แซ่ด่าน ก็ถูกฆ่า เพื่อนในกลุ่มเราก็ถูกฆ่ากันหมด ก็แอบคิดว่ามันคงใกล้ถึงคิวเราแล้วแหละ
สุขภาพจิตตอนอยู่ในคุก 3 ปีเป็นอย่างไรบ้าง
ตลอดเวลาที่อยู่ในนั้นเราวิตกกังวลว่าคดีมันจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ เพราะคดีของพวกเรามีแต่เลื่อนไปเรื่อยๆ ตอนไปศาลต้องตื่นตั้งแต่ 4.00 น. ผมเผ้าก็ไม่ได้หวี เจ้าหน้าที่เอาแต่เร่งให้แต่งตัวเร็วๆ แทนที่จะบอกเราล่วงหน้าว่าให้เวลา 5 นาที เราจะได้บริหารจัดการเวลา
ออกมานั่งรอรถไปศาลตั้งแต่ 5.00 น. เพื่อจะได้ขึ้นรถตอน 8.00 น. เราต้องได้รับการตรวจค้นตัวตั้งแต่ด้านใน ตรวจทุกซอกทุกมุมของร่างกายก่อนจะใส่ชุดออกมา พอเราข้ามประตูบานแรกของแรกรับ (ส่วนของผู้ต้องขังใหม่ อยู่ด้านในสุด) ก็ต้องมาตรวจร่างกายทุกทุกซอกทุกมุมเหมือนเดิม ตอนที่เรามานั่งรอก็ต้องโดนตรวจอีก จากนั้นเขาให้เรากินข้าวต้มหมู กินเสร็จก็ต้องไปตรวจตัวอีกรอบเพื่อจะออกประตูด้านนอก เราก็คิดในใจว่าต้องตรวจ 3-4 รอบเลยเหรอ
ยิ่งตอนกลับเข้าไปในเรือนจำ เราต้องถอดเสื้อผ้าหมดเลยใส่แค่ผ้าถุงแล้วก็ตรวจร่างกายทุกซอกทุกมุม ให้เราไปขึ้นตรวจขาหยั่ง มีการล้วงช่องคลอด เพื่อตรวจสอบว่าเราซุกซ่อนอะไรไว้หรือเปล่า ในความคิด เรา เรือนจำควรพิจารณาว่าเรามาในคดีการเมืองไม่ใช่คดียาเสพติด และถึงนักโทษคดียาจะฝากให้เรานำยาเข้ามา ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะศาลอาญามีการตรวจสอบควบคุมอย่างแน่นหนา เมื่อไปถึงศาลก็ต้องเข้าไปอยู่ในกรงที่มีตาข่ายกั้นมิดชิด ไม่ได้พบญาติใกล้ชิด ศาลที่มีข่าวว่านักโทษแอบนำยาเสพติดเข้าไปในเรือนจำคือศาลนนทบุรีที่เยี่ยมญาติใกล้ชิดได้
เราสามารถปฏิเสธที่จะไม่ทำตามคำสั่งได้ไหม
เราอยู่ในข้อจำกัดที่ไม่สามารถปฏิเสธการกระทำใดๆ ต่อร่างกายเราได้ คือเราอยู่ภายใต้เขา เราไม่รู้ว่าเขามีอำนาจในสิทธิร่างกายของเราทั้งหมดเลยหรือเปล่า เพราะในชีวิตปกติไม่มีใครสามารถจะมาล้วงช่องคลอดเราได้ ถ้าเราไม่อนุญาต แต่พวกเขาทำได้ แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับความพอใจหรือกฎที่พวกเขาตั้งขึ้นมามากกว่า
เรามีสิทธิ์ร้องเรียนได้ เราสามารถบอกทนายความ บอกญาติได้ แต่เมื่อเราร้องเรียนไป เรือนจำก็ไม่ได้จัดการอะไรให้เรา และเมื่อเจ้าหน้าที่รู้ว่าใครร้องเรียน คนนั้นก็จะถูกกลั่นแกล้ง ทุกคนก็เลยไม่ร้องเรียนและเลือกที่จะอยู่เฉยๆ เพื่อที่จะให้ตัวเองอยู่รอดปลอดภัยและได้ออกมาข้างนอก
มีนักโทษบางคนที่ตายในคุก เมื่อตายไปแล้วญาติข้างนอกก็ไม่สามารถสืบเกี่ยวกับการตายได้ ถึงจะเข้าไปสืบจริงๆ นักโทษคนอื่นก็ไม่มีใครกล้าให้ข้อมูล คนส่วนมากจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ถ้าเจ้าหน้าที่บอกว่าลื่นล้มหัวฟาดพื้น คดีมันก็จบที่ตรงนั้น ถ้าจะดูกล้องวงจรปิดตอนลื่นล้ม กล้องก็พร้อมจะเสียทุกเมื่อ
กฎหรือเหตุการณ์ไหนที่รู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ละเมิดทุกอย่างอยู่ที่ว่าเรารู้สึกกับกรณีไหนเป็นพิเศษ แต่การด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายเนี่ยมันมีทุกวัน ที่เขาด่าพวกเราก็จะเป็น “อีพวกสถุน อีพวกหนักแผ่นดิน อีพวกเหี้ย อีสัตว์” คำว่าสัตว์นี่ได้ยินทุกวัน จริงๆ ก็รู้สึกเหมือนอยู่ในสวนสัตว์อยู่แล้ว เพราะถูกขังและไม่ได้ถูกปฏิบัติอย่างมนุษย์เลย บางครั้งก็มีหน่วยงานมาศึกษาความเป็นอยู่ของนักโทษ เดินชมพวกเราที่อยู่ในกรง
บทลงโทษก็ไม่ค่อยมีมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้คุม ยกตัวอย่างเช่นทุกคนนั่งรวมกันแล้วคุยเสียงดัง ผู้คุมก็จะตะโกนด่า “อีพวกเหี้ย จะคุยเสียงดังอะไรนักหนา พวกมึงไม่ต้องเข้าห้องน้ำเลย” หมายความว่าทุกคนห้ามลุกไปเข้าห้องน้ำ บางคนฉี่ราดหรืออึราดตรงนั้นเลย
ผ่านช่วงเวลาที่อยู่ในคุกมาได้เพราะอะไร
ความหวัง (น้ำตาคลอ) หวังว่าเราจะได้ชนะ หวังว่าเราจะได้ความถูกต้อง หวังว่าเราจะได้ออกมาสู้
ความรู้สึกตอนไหนแย่กว่ากันระหว่างอยู่ในคุกกับตอนพ้นโทษแล้ว
เราว่ามันไม่ต่างกัน คุกข้างในกับคุกข้างนอกมันแทบจะเหมือนกัน อยู่ข้างนอกเราไปไหนมาไหนได้ก็จริง แต่เราไม่มีอิสระทางความคิด แค่คิดต่างก็ติดคุก อยู่ข้างในเราคิดอะไรก็ได้ แต่เราไม่มีอิสระในร่างกายของตัวเอง คุกก็คือโมเดลสังคมไทยในยุคเผด็จการ คนที่มากำหนดถูก-ผิดก็ยังเป็นคนเดิม
คิดว่าสภาพแวดล้อมเรือนจำเอื้อต่อการพัฒนาจิตใจไหม เพราะเรือนจำมีไว้ผลิตคนดีกลับสู่สังคม
สำหรับคนที่ไม่ได้มีความผิด คนพวกนี้เขาก็มีพื้นฐานจิตใจที่ดีอยู่แล้ว ออกมาเขาก็เป็นคนดีเหมือนเดิม แต่กับคนที่เป็นคนไม่ดี เอาเขาไปขังกี่ปีเขาก็ยังเป็นคนเดิม อาจจะแย่กว่าเดิม เพราะสภาพในคุกทำให้เขาเลวกว่าเดิม มันจะมีสโลแกนของคุกว่า “คืนคนดีกลับสู่สังคม” แต่ไม่ใช่ คุณคืนความเลวร้ายที่สุดกลับสู่สังคม
สังคมในคุกเป็นสังคมที่ใช้เงิน หลวงให้แค่ข้าว แจกแปรงสีฟันแข็งๆ ราคา 5 บาท บีบยาสีฟันใส่ถุงพริกน้ำปลามาให้ใช้ได้ 3 วัน แจกสบู่ก้อนเล็กๆ เหมือนในโรงแรม เพราะเขาคิดว่าเดี๋ยวก็มีญาติซื้อให้ คนออกนโยบายเขาไม่เข้าใจเพราะเขาไม่ได้ไปใช้ชีวิตในคุก
ปุณิกา ชูศรี หรือ อร ชูศรี ชายชุดดำ
เมื่อไม่มีญาติมาเยี่ยม ไม่มีเงิน เขาก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอด ไม่มีเงินซื้อสบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ก็ไปขโมยเพื่อนตอนอาบน้ำ เห็นคนอื่นมีชุดนอนดีๆ ใส่ แต่เราใส่ชุดนอนหลวงเนื้อผ้าหยาบๆ เหมือนผ้ากระสอบ ทั้งแข็ง ทั้งคัน ก็ไปลักขโมยเพราะไม่มีใครอยากนอนเกาทั้งคืน บางคนไม่มีเงินซื้อเสื้อใน กางเกงใน ไม่มีหน้ากากอนามัย แต่จะต้องออกไปเยี่ยมญาติ เขาก็ต้องหาทางให้ตัวเองมี
เล่าวีรกรรมในเรือนจำให้ฟังได้ไหม
ตอนอยู่ในนั้น เวลามีคนมาตรวจเรือนจำ พี่ซีเขาจะเขียนจดหมายเล่าความเป็นอยู่ของเรือนจำ ฝากเราฉบับนึง ฝากพี่จ๋าฉบับนึง ถ้าใครอยู่ใกล้คนที่มาตรวจงาน ให้เข้าไปยื่นจดหมายให้ผู้ตรวจงานเลย หลังจากนั้นพวกเราก็โดนผู้คุมกันไปไว้ด้านหลัง ไม่เคยได้เข้าใกล้คนที่มาเยี่ยมอีกเลย เพราะเขามองว่าเราสร้างปัญหา พวกเราข้างในก็สู้กับอำนาจนิยมไม่ต่างจากข้างนอกเหมือนกัน
ตอนผู้คุมสั่งให้กระโดดตบ 100 ยก เราไม่ทำ เรายืนนิ่ง เขามาบังคับให้เราทำไม่ได้ แต่เขาใช้วิธีกดดันเรา โดยการไปลงโทษแม่ห้อง (นักโทษผู้ดูแลนักโทษอื่นในห้องนอน) ที่เราไม่ยอมทำตามคำสั่ง
ในนั้นมีปัญหาอะไรบ้างที่คนไม่ค่อยรู้
ผู้ต้องขังที่เข้าไปใหม่ๆ จะถูกบังคับให้นั่งอยู่ในกรอบ นั่งซ้อนกันเหมือนขี่ช็อปเปอร์ มีพื้นที่ว่างแต่เขาให้เรานั่งแบบนี้เพื่อความสะดวกในการควบคุม นั่งจนเรารู้สึกว่ามีปัญหาเรื่องเข่า เพราะเรานั่งอยู่ตรงนั้นเป็นปี ตื่นเช้าลงมา กินข้าว เคารพธงชาติเสร็จ ก็ต้องนั่งอยู่ตรงนั้นจนเที่ยง แล้วลุกไปกินข้าว กินเสร็จก็มานั่งที่เดิม พอ 14.00 น. ลุกไปอาบน้ำ กินข้าว แล้วมานั่งรอผู้คุมที่จะพาเราไปขังไว้ข้างบนตอน 16.00 น.
เมื่อถูกตัดสินว่าเป็นนักโทษแล้ว ก็จะได้เข้าไปทำกองงานต่างๆ อย่างที่เคยเห็นมา เช่น การแพ็คภาชนะเตรียมเสิร์ฟบนการบินไทย อย่างกล่องใส่อาหาร ทิชชู่ เงินปันผลจะออกทุก 3 เดือน ตกเดือนละ 20 บาท
รู้สึกยังไงที่ถูกเรียกว่า “อร ชูศรี ชายชุดดำ”
รู้สึกดี คนรู้จักว่าเราคือคนที่โดนรัฐกระทำ ทุกคนก็จะได้เห็นว่าผู้หญิงคนหนึ่งโดนกระทำขนาดนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้จับปืนไปยิงใคร แต่โดนยัดข้อหาให้ต้องติดคุกฟรีๆ 3 ปี
การที่เคยติดคุก (แม้ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์) ทิ้งบาดแผลอะไรให้คุณบ้าง
มันทำให้เราสูญเสียโอกาส ที่จะได้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตลูกๆ ตอนนั้นลูกชายอยู่ ม.5 ลูกสาวอยู่ ม.6 พอเราเข้าคุกลูกสาวก็ต้องหยุดเรียน พอเราไม่อยู่ร้านลูกค้าประจำก็หาย มันพลิกชีวิตเราจากหน้ามือเป็นหลังมือ
รู้สึกอย่างไรที่ผ่านมาแล้ว 6 ปี ก็ยังมีคนที่โดนเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามแบบที่เคยโดน
เมื่ออำนาจอยู่ในมือเผด็จการ เขาก็ต้องการจะสกัดและควบคุมสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นภัยต่ออำนาจของเขา ไม่ให้คนที่ต่อต้านสามารถต่อสู้ได้อย่างอิสระ มันถึงมีการจับกุม ยัดข้อหา อุ้มฆ่า ซึ่งเรื่องพวกนี้มันเกิดขึ้นมานานแล้ว
ตอนเห็นน้องๆ แกนนำโดนอุ้มก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกแค้น เมื่อก่อนเราก็สู้มาตลอด เราก็รู้สึกว่ากฎหมายเนี่ยมันเป็น “กฎหมายโจร” มันใช้ได้กับฝั่งประชาธิปไตยอย่างเดียว ไม่เคยใช้ได้จริงกับพวกที่มีอำนาจ มีเงิน มีบารมี เหมือนพวกเขาอยู่เหนือกฎหมาย ความผิดร้ายแรงแค่ไหนก็ประกันตัวได้ แต่พวกเราแค่คิดต่างก็แสดงออกทางความคิดกลับประกันตัวไม่ได้
ตอนนี้การสู้คดีที่สองไปถึงไหนแล้ว
คดีที่สองที่ไม่รู้ว่าเขาจะเองยังไงกับเรา ต้องไปรายงานตัวทุกเดือน ก็ไม่ต่างกับการติดคุก เพราะเราไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้เพราะเรามีหมายจับ เมื่อวานก็เพิ่งไปรายงานตัว แต่เราก็ยังไม่รู้ว่าเขาจะฟ้องเราหรือไม่ฟ้องเรา
อันนี้ก็เป็นความกังวลของเราเหมือนกัน เมื่อวานได้คุยกับทนายว่า การที่เรารายงานตัวทุกเดือน มันก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เราเป็นนักโทษ แล้วถ้าเกิดเขาเลื่อนฟ้องไปเรื่อยๆ เลื่อนมา 5-6 ครั้งแล้ว มันจะไปสิ้นสุดตรงไหนถ้าคุณจะฟ้องก็ฟ้องมา จะจับก็จับ เราจะได้เตรียมตัวสู้ตามกระบวนการ มีคนพูดว่า “เลื่อนไปเรื่อยๆ ก็ดีแล้ว จะได้ไม่ต้องไปติดคุก” เราก็ตอบไปว่า “จะกลัวทำไม เรารู้อยู่แล้วว่าข้างในเป็นยังไง” ตอนนี้สิ่งที่เราไม่รู้คือข้างนอกเป็นยังไง เพราะเราไม่สามารถควบคุมได้เลยว่าเราจะโดนอะไร
ตอนนี้กลัวอะไรที่สุด
ความกลัวตอนนี้คือกลัวลูกๆ นักศึกษาและเพื่อนๆ ทุกคน จะได้รับอันตรายเหมือนปี 2553 ซึ่งเราอยู่ในเหตุการณ์นั้น ช่วงเวลาที่เราต่อสู้มาจนถึงปี 2553 ประชาชนนักศึกษาส่วนมากก็ไม่ได้มาร่วมกับเรา มันเหมือนเป็นการต่อสู้ของคนรากหญ้าจริงๆ ในความคิดเรา การล้อมปราบมันก็เลยทำได้ง่าย เพราะในช่วงการชุมนุมก็มีม็อบจัดตั้ง ที่เรียกว่าม็อบจัดตั้งเพราะเขาจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ชนกับม็อบเรา และม็อบพวกนี้มีอาวุธ
ม็อบเข้ามายิงมาปะทะกับพวกเราซึ่งจะมีคนที่ถูกยิงถูกทำร้าย แต่ก็ไม่ได้เป็นข่าว อย่างที่เรารู้ว่าเขาสามารถคุมสื่อให้อยู่ในอำนาจของเขาได้ สื่อทุกสำนักไม่ออกข่าวให้เรา ถึงเราจะโดนตี โดนยิง จะรู้กันแค่ในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไป
ถ้าเลือกเปลี่ยนแปลงหนึ่งสิ่งในประเทศได้จะเปลี่ยนอะไร
อยากเขียนกฎหมายใหม่ให้คนเท่าเทียมกัน อยากได้กฎหมายที่เขียนขึ้นมาโดยประชาชน เพื่อประชาชน อยากให้คนที่ทำรัฐประหารให้กลายเป็นกบฏ ต้องได้รับโทษ
อยากฝากอะไรถึงผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยตอนนี้
อยากให้ทุกคนสู้และอดทน เพราะสิ่งที่เราต่อสู้อยู่นี้ มันคือความยิ่งใหญ่ มันคือความงอกงามของประชาธิปไตย ความงอกงามของสิทธิเสรีภาพของเราและลูกหลานในวันข้างหน้า
Like this:
Like Loading...
เรื่อง ปรียานุช ปรีชามาตย์ ภาพ นัทธมน ห่วงประเสริฐ
“หลายๆ คดีจำเลยเลือกที่จะรับสารภาพแม้ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้รับโทษน้อยลง แต่คดีชายชุดดำของเรารับสารภาพไม่ได้ เพราะมันจะให้ความชอบธรรมแก่ทหารในการฆ่าประชาชนทันที”
ปุณิกา ชูศรี หรือ อร ถูกดำเนินคดีภายใต้การบังคับใช้กฏอัยการศึกหลังรัฐประหารปี 2557
ข้อหาร่วมกันครอบครองอาวุธปืนในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เมษายน 2553 หรือที่รู้จักกันในคดี “ชายชุดดำ”
เธอถูกฝากขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางเป็นระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน ต่อมาศาลชั้นต้นยกฟ้องเธอและจำเลยทั้งหมดในคดีนี้เมื่อต้นปี 2560
28 เมษายน 2563 ปุณิกาถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เข้าจับกุมเธออีกครั้งตามหมายจับของศาลอาญาเมื่อเดือนมกราคม 2563 ในข้อหาร่วมกันกับจำเลยชุดเดิมพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่กระทำตามหน้าที่โดยไต่ตรองไว้ก่อน โดยการนำอาวุธปืนสงครามไปยิงเจ้าหน้าที่ทหารที่ถนนตะนาว บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน 2553 คดีนี้ยังคงอยู่ในกระบวนการต่อสู้ในชั้นศาล
เมื่อปี 2557 ก่อนจะโดนจับ มีทหารมาคุกคามใช่ไหม?
เรียกว่าคุกคามก็คงได้ แต่เขาใช้คำว่า “ขอความร่วมมือ” ให้เราเป็นพยานชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีชายชุดดำ เพราะเขาสงสัยว่าผู้ต้องหาคดีชายชุดดำ เป็นหนึ่งในการ์ดนปช. (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับเรา เขาเข้ามาขอดูบัตรประชาชน เราก็ถาม “คุณเป็นใคร” เขาตอบว่า “บอกไม่ได้ เป็นความลับราชการ”
ตอนนั้นเขาเข้ามาในรูปแบบของลูกค้าที่มากินข้าวที่ร้าน เราสังเกตว่าคนกลุ่มนี้และรถคันนี้มักมาจอดที่หน้าร้านตอนดึกๆ ยิ่งมาจอดหลายวันเข้าก็ยิ่งรู้สึกผิดสังเกต ประกอบกับพี่ๆ การ์ดก็ทยอยกันโดนจับหลังรัฐประหารปี 2557 ส่วนใหญ่ก็จะพากันหนีไปฝั่งเขมร ฝั่งลาว เราก็แอบคิดว่า “เอ๊ะ หรือจะมาจับเรา” แต่เราก็ไม่ได้ทำผิดอะไรสักหน่อย เลยไม่คิดจะหนี เพื่อนที่หนีไปก็บอก “ถึงไม่ผิดก็หนีไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย ไว้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยค่อยกลับมา”
วินาทีที่รู้ว่าต้องเข้าคุกรู้สึกยังไง เสียดายหรือเสียใจไหม
ไม่เสียใจในสิ่งที่เราสู้มา ไม่เสียใจที่ไปเข้าร่วมม็อบ เราคิดว่าทุกคนต้องมีสิทธิเสรีภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เราไม่ชอบความไม่ถูกต้อง เราไม่ชอบสิ่งที่พวกเขาทำ เราไม่ยอมรับกฎหมายที่ไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ยอมรับกฎหมายที่คณะรัฐประหารเขียนขึ้น ไม่ว่าฉบับไหนก็ไม่มีความเป็นธรรมกับพวกเรา
แต่เสียใจที่เราทำให้พ่อแม่เราผิดหวัง (ร้องไห้) ตอนที่ติดคุกพ่อกับแม่อยู่ต่างจังหวัด ช่วงนั้นพ่อแกตกจากหลังคาแล้วขาหัก ส่วนแม่ก็ดูแลพ่อ มันเหมือนกับว่าที่พ่อต้องตกหลังคาเพราะรู้ว่าเราติดคุก เราเลยรู้สึกผิดมาโดยตลอดที่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อน
ทำไมถึงคิดว่าตัวเองทำให้ครอบครัวเดือดร้อน
ตอนที่เราไปสู้ เราไม่คิดว่าพ่อแม่จะต้องมาเดือดร้อนเพราะเรา เมื่อออกจากเรือนจำก็มีทหารไปคุกคามพ่อกับแม่ที่บ้าน บอกให้พ่อแม่เกลี้ยกล่อมเรา หรืออาจจะเป็นการขู่ว่าถ้าเราไม่ให้ความร่วมมือพ่อแม่อาจจะเดือดร้อน
การที่เราสู้เพื่อส่วนรวมมันก็สำคัญ แต่พ่อแม่เราก็สำคัญ มันคิดหนักว่าจะทำยังไงให้ทั้งคู่ปลอดภัย ญาติเราก็ประณามว่า “คนอะไรยอมตายเพื่อคนอื่นที่ไม่รู้จัก ยอมทิ้งครอบครัวตัวเอง” สิ่งที่ผ่านมาก็ไม่ทำให้เราเปลี่ยนอุดมการณ์ เราก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน เราตัดขาดจากครอบครัว บอกเลิกแฟน บอกกับครอบครัวว่าเราจะไม่กลับมาแล้ว เพราะเราไม่อยากทำให้เขาเดือดร้อน “กูไปสู้คนเดียว ไปตายคนเดียว ไม่เกี่ยวกับใคร” คนในกลุ่มก็ตัดขาดครอบครัวกันหมด นึกย้อนตอนนี้ก็ขำตัวเอง คิดได้ยังไงว่าพวกมึงจะไปตาย สรุปไม่ตายแต่ติดคุก
ทำไมถึงคิดว่าจะไปตาย
เหตุการณ์ก่อนสลายมันรุนแรงมาก ตอนนั้นเรากับกลุ่มเพื่อนๆ ผู้หญิงไปแย่งปืนทหาร ยึดปืนมาไว้กับตัว แต่ไม่ได้ยิง เพราะใช้ไม่เป็นอยู่แล้ว แค่ยึดไว้ไม่ให้เขายิงผู้ชุมนุมเพิ่ม ต่อมาเขาให้เราเป็นพยานชี้ตัวคนในกลุ่ม เมื่อเราปฏิเสธ เขาก็ยัดข้อหาคดีชายชุดดำให้เรา
ส่วนเพื่อนๆ ในกลุ่มก็โดนจับกันหมด พี่ซี (จันทนา วรากรสกุลกิจ) โดนข้อหากองกำลังและคลังแสงอาวุธ พี่จ๋า (นฤมล วรุณรุ่งโรจน์) จะรู้จักกันในคดีผู้หญิงยิงเฮลิคอปเตอร์ทหาร
เหตุผลที่ตัดสินใจเป็นการ์ดแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เพราะอยากปกป้องเพื่อนร่วมอุดมการณ์ มันเริ่มจากกลุ่มพี่แท็กซี่ต่อต้านเผด็จการเขาเป็นลูกค้าที่ร้านเรา เขาก็จะมากินข้าว มาคุยกันทุกวัน เราก็เลยรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเขา เวลาเขาไปต่อต้าน ไปปิดกั้นทหาร เขาก็จะมาเล่าให้เราฟัง เราก็รู้สึกว่าเขาเสียสละมากๆ เขาไม่กลัวตาย เขาไม่กลัวสูญเสียเลย อย่างลุงนวมทอง (ไพรวัลย์) ที่ขับแท็กซี่ไปชนรถถัง เรารู้สึกนับถือพวกเขามากๆ (ร้องไห้)
บางคนก็ตายที่เขมร บางคนก็ตายที่ไทย อย่างพี่ไม้หนึ่ง ก.กุนทีโดนลอบยิงที่กรุงเทพฯ สหายภูชนะ (ชัชชาญ บุปผาวัลย์) แฟนของพี่ซี และเพื่อนสนิทของอาจารย์สุรชัย แซ่ด่าน ก็ถูกฆ่า เพื่อนในกลุ่มเราก็ถูกฆ่ากันหมด ก็แอบคิดว่ามันคงใกล้ถึงคิวเราแล้วแหละ
สุขภาพจิตตอนอยู่ในคุก 3 ปีเป็นอย่างไรบ้าง
ตลอดเวลาที่อยู่ในนั้นเราวิตกกังวลว่าคดีมันจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ เพราะคดีของพวกเรามีแต่เลื่อนไปเรื่อยๆ ตอนไปศาลต้องตื่นตั้งแต่ 4.00 น. ผมเผ้าก็ไม่ได้หวี เจ้าหน้าที่เอาแต่เร่งให้แต่งตัวเร็วๆ แทนที่จะบอกเราล่วงหน้าว่าให้เวลา 5 นาที เราจะได้บริหารจัดการเวลา
ออกมานั่งรอรถไปศาลตั้งแต่ 5.00 น. เพื่อจะได้ขึ้นรถตอน 8.00 น. เราต้องได้รับการตรวจค้นตัวตั้งแต่ด้านใน ตรวจทุกซอกทุกมุมของร่างกายก่อนจะใส่ชุดออกมา พอเราข้ามประตูบานแรกของแรกรับ (ส่วนของผู้ต้องขังใหม่ อยู่ด้านในสุด) ก็ต้องมาตรวจร่างกายทุกทุกซอกทุกมุมเหมือนเดิม ตอนที่เรามานั่งรอก็ต้องโดนตรวจอีก จากนั้นเขาให้เรากินข้าวต้มหมู กินเสร็จก็ต้องไปตรวจตัวอีกรอบเพื่อจะออกประตูด้านนอก เราก็คิดในใจว่าต้องตรวจ 3-4 รอบเลยเหรอ
ยิ่งตอนกลับเข้าไปในเรือนจำ เราต้องถอดเสื้อผ้าหมดเลยใส่แค่ผ้าถุงแล้วก็ตรวจร่างกายทุกซอกทุกมุม ให้เราไปขึ้นตรวจขาหยั่ง มีการล้วงช่องคลอด เพื่อตรวจสอบว่าเราซุกซ่อนอะไรไว้หรือเปล่า ในความคิด เรา เรือนจำควรพิจารณาว่าเรามาในคดีการเมืองไม่ใช่คดียาเสพติด และถึงนักโทษคดียาจะฝากให้เรานำยาเข้ามา ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะศาลอาญามีการตรวจสอบควบคุมอย่างแน่นหนา เมื่อไปถึงศาลก็ต้องเข้าไปอยู่ในกรงที่มีตาข่ายกั้นมิดชิด ไม่ได้พบญาติใกล้ชิด ศาลที่มีข่าวว่านักโทษแอบนำยาเสพติดเข้าไปในเรือนจำคือศาลนนทบุรีที่เยี่ยมญาติใกล้ชิดได้
เราสามารถปฏิเสธที่จะไม่ทำตามคำสั่งได้ไหม
เราอยู่ในข้อจำกัดที่ไม่สามารถปฏิเสธการกระทำใดๆ ต่อร่างกายเราได้ คือเราอยู่ภายใต้เขา เราไม่รู้ว่าเขามีอำนาจในสิทธิร่างกายของเราทั้งหมดเลยหรือเปล่า เพราะในชีวิตปกติไม่มีใครสามารถจะมาล้วงช่องคลอดเราได้ ถ้าเราไม่อนุญาต แต่พวกเขาทำได้ แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับความพอใจหรือกฎที่พวกเขาตั้งขึ้นมามากกว่า
เรามีสิทธิ์ร้องเรียนได้ เราสามารถบอกทนายความ บอกญาติได้ แต่เมื่อเราร้องเรียนไป เรือนจำก็ไม่ได้จัดการอะไรให้เรา และเมื่อเจ้าหน้าที่รู้ว่าใครร้องเรียน คนนั้นก็จะถูกกลั่นแกล้ง ทุกคนก็เลยไม่ร้องเรียนและเลือกที่จะอยู่เฉยๆ เพื่อที่จะให้ตัวเองอยู่รอดปลอดภัยและได้ออกมาข้างนอก
มีนักโทษบางคนที่ตายในคุก เมื่อตายไปแล้วญาติข้างนอกก็ไม่สามารถสืบเกี่ยวกับการตายได้ ถึงจะเข้าไปสืบจริงๆ นักโทษคนอื่นก็ไม่มีใครกล้าให้ข้อมูล คนส่วนมากจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ถ้าเจ้าหน้าที่บอกว่าลื่นล้มหัวฟาดพื้น คดีมันก็จบที่ตรงนั้น ถ้าจะดูกล้องวงจรปิดตอนลื่นล้ม กล้องก็พร้อมจะเสียทุกเมื่อ
กฎหรือเหตุการณ์ไหนที่รู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ละเมิดทุกอย่างอยู่ที่ว่าเรารู้สึกกับกรณีไหนเป็นพิเศษ แต่การด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายเนี่ยมันมีทุกวัน ที่เขาด่าพวกเราก็จะเป็น “อีพวกสถุน อีพวกหนักแผ่นดิน อีพวกเหี้ย อีสัตว์” คำว่าสัตว์นี่ได้ยินทุกวัน จริงๆ ก็รู้สึกเหมือนอยู่ในสวนสัตว์อยู่แล้ว เพราะถูกขังและไม่ได้ถูกปฏิบัติอย่างมนุษย์เลย บางครั้งก็มีหน่วยงานมาศึกษาความเป็นอยู่ของนักโทษ เดินชมพวกเราที่อยู่ในกรง
บทลงโทษก็ไม่ค่อยมีมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้คุม ยกตัวอย่างเช่นทุกคนนั่งรวมกันแล้วคุยเสียงดัง ผู้คุมก็จะตะโกนด่า “อีพวกเหี้ย จะคุยเสียงดังอะไรนักหนา พวกมึงไม่ต้องเข้าห้องน้ำเลย” หมายความว่าทุกคนห้ามลุกไปเข้าห้องน้ำ บางคนฉี่ราดหรืออึราดตรงนั้นเลย
ผ่านช่วงเวลาที่อยู่ในคุกมาได้เพราะอะไร
ความหวัง (น้ำตาคลอ) หวังว่าเราจะได้ชนะ หวังว่าเราจะได้ความถูกต้อง หวังว่าเราจะได้ออกมาสู้
ความรู้สึกตอนไหนแย่กว่ากันระหว่างอยู่ในคุกกับตอนพ้นโทษแล้ว
เราว่ามันไม่ต่างกัน คุกข้างในกับคุกข้างนอกมันแทบจะเหมือนกัน อยู่ข้างนอกเราไปไหนมาไหนได้ก็จริง แต่เราไม่มีอิสระทางความคิด แค่คิดต่างก็ติดคุก อยู่ข้างในเราคิดอะไรก็ได้ แต่เราไม่มีอิสระในร่างกายของตัวเอง คุกก็คือโมเดลสังคมไทยในยุคเผด็จการ คนที่มากำหนดถูก-ผิดก็ยังเป็นคนเดิม
คิดว่าสภาพแวดล้อมเรือนจำเอื้อต่อการพัฒนาจิตใจไหม เพราะเรือนจำมีไว้ผลิตคนดีกลับสู่สังคม
สำหรับคนที่ไม่ได้มีความผิด คนพวกนี้เขาก็มีพื้นฐานจิตใจที่ดีอยู่แล้ว ออกมาเขาก็เป็นคนดีเหมือนเดิม แต่กับคนที่เป็นคนไม่ดี เอาเขาไปขังกี่ปีเขาก็ยังเป็นคนเดิม อาจจะแย่กว่าเดิม เพราะสภาพในคุกทำให้เขาเลวกว่าเดิม มันจะมีสโลแกนของคุกว่า “คืนคนดีกลับสู่สังคม” แต่ไม่ใช่ คุณคืนความเลวร้ายที่สุดกลับสู่สังคม
เมื่อไม่มีญาติมาเยี่ยม ไม่มีเงิน เขาก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอด ไม่มีเงินซื้อสบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ก็ไปขโมยเพื่อนตอนอาบน้ำ เห็นคนอื่นมีชุดนอนดีๆ ใส่ แต่เราใส่ชุดนอนหลวงเนื้อผ้าหยาบๆ เหมือนผ้ากระสอบ ทั้งแข็ง ทั้งคัน ก็ไปลักขโมยเพราะไม่มีใครอยากนอนเกาทั้งคืน บางคนไม่มีเงินซื้อเสื้อใน กางเกงใน ไม่มีหน้ากากอนามัย แต่จะต้องออกไปเยี่ยมญาติ เขาก็ต้องหาทางให้ตัวเองมี
เล่าวีรกรรมในเรือนจำให้ฟังได้ไหม
ตอนอยู่ในนั้น เวลามีคนมาตรวจเรือนจำ พี่ซีเขาจะเขียนจดหมายเล่าความเป็นอยู่ของเรือนจำ ฝากเราฉบับนึง ฝากพี่จ๋าฉบับนึง ถ้าใครอยู่ใกล้คนที่มาตรวจงาน ให้เข้าไปยื่นจดหมายให้ผู้ตรวจงานเลย หลังจากนั้นพวกเราก็โดนผู้คุมกันไปไว้ด้านหลัง ไม่เคยได้เข้าใกล้คนที่มาเยี่ยมอีกเลย เพราะเขามองว่าเราสร้างปัญหา พวกเราข้างในก็สู้กับอำนาจนิยมไม่ต่างจากข้างนอกเหมือนกัน
ตอนผู้คุมสั่งให้กระโดดตบ 100 ยก เราไม่ทำ เรายืนนิ่ง เขามาบังคับให้เราทำไม่ได้ แต่เขาใช้วิธีกดดันเรา โดยการไปลงโทษแม่ห้อง (นักโทษผู้ดูแลนักโทษอื่นในห้องนอน) ที่เราไม่ยอมทำตามคำสั่ง
ในนั้นมีปัญหาอะไรบ้างที่คนไม่ค่อยรู้
ผู้ต้องขังที่เข้าไปใหม่ๆ จะถูกบังคับให้นั่งอยู่ในกรอบ นั่งซ้อนกันเหมือนขี่ช็อปเปอร์ มีพื้นที่ว่างแต่เขาให้เรานั่งแบบนี้เพื่อความสะดวกในการควบคุม นั่งจนเรารู้สึกว่ามีปัญหาเรื่องเข่า เพราะเรานั่งอยู่ตรงนั้นเป็นปี ตื่นเช้าลงมา กินข้าว เคารพธงชาติเสร็จ ก็ต้องนั่งอยู่ตรงนั้นจนเที่ยง แล้วลุกไปกินข้าว กินเสร็จก็มานั่งที่เดิม พอ 14.00 น. ลุกไปอาบน้ำ กินข้าว แล้วมานั่งรอผู้คุมที่จะพาเราไปขังไว้ข้างบนตอน 16.00 น.
เมื่อถูกตัดสินว่าเป็นนักโทษแล้ว ก็จะได้เข้าไปทำกองงานต่างๆ อย่างที่เคยเห็นมา เช่น การแพ็คภาชนะเตรียมเสิร์ฟบนการบินไทย อย่างกล่องใส่อาหาร ทิชชู่ เงินปันผลจะออกทุก 3 เดือน ตกเดือนละ 20 บาท
รู้สึกยังไงที่ถูกเรียกว่า “อร ชูศรี ชายชุดดำ”
รู้สึกดี คนรู้จักว่าเราคือคนที่โดนรัฐกระทำ ทุกคนก็จะได้เห็นว่าผู้หญิงคนหนึ่งโดนกระทำขนาดนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้จับปืนไปยิงใคร แต่โดนยัดข้อหาให้ต้องติดคุกฟรีๆ 3 ปี
การที่เคยติดคุก (แม้ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์) ทิ้งบาดแผลอะไรให้คุณบ้าง
มันทำให้เราสูญเสียโอกาส ที่จะได้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตลูกๆ ตอนนั้นลูกชายอยู่ ม.5 ลูกสาวอยู่ ม.6 พอเราเข้าคุกลูกสาวก็ต้องหยุดเรียน พอเราไม่อยู่ร้านลูกค้าประจำก็หาย มันพลิกชีวิตเราจากหน้ามือเป็นหลังมือ
รู้สึกอย่างไรที่ผ่านมาแล้ว 6 ปี ก็ยังมีคนที่โดนเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามแบบที่เคยโดน
เมื่ออำนาจอยู่ในมือเผด็จการ เขาก็ต้องการจะสกัดและควบคุมสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นภัยต่ออำนาจของเขา ไม่ให้คนที่ต่อต้านสามารถต่อสู้ได้อย่างอิสระ มันถึงมีการจับกุม ยัดข้อหา อุ้มฆ่า ซึ่งเรื่องพวกนี้มันเกิดขึ้นมานานแล้ว
ตอนเห็นน้องๆ แกนนำโดนอุ้มก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกแค้น เมื่อก่อนเราก็สู้มาตลอด เราก็รู้สึกว่ากฎหมายเนี่ยมันเป็น “กฎหมายโจร” มันใช้ได้กับฝั่งประชาธิปไตยอย่างเดียว ไม่เคยใช้ได้จริงกับพวกที่มีอำนาจ มีเงิน มีบารมี เหมือนพวกเขาอยู่เหนือกฎหมาย ความผิดร้ายแรงแค่ไหนก็ประกันตัวได้ แต่พวกเราแค่คิดต่างก็แสดงออกทางความคิดกลับประกันตัวไม่ได้
ตอนนี้การสู้คดีที่สองไปถึงไหนแล้ว
คดีที่สองที่ไม่รู้ว่าเขาจะเองยังไงกับเรา ต้องไปรายงานตัวทุกเดือน ก็ไม่ต่างกับการติดคุก เพราะเราไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้เพราะเรามีหมายจับ เมื่อวานก็เพิ่งไปรายงานตัว แต่เราก็ยังไม่รู้ว่าเขาจะฟ้องเราหรือไม่ฟ้องเรา
อันนี้ก็เป็นความกังวลของเราเหมือนกัน เมื่อวานได้คุยกับทนายว่า การที่เรารายงานตัวทุกเดือน มันก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เราเป็นนักโทษ แล้วถ้าเกิดเขาเลื่อนฟ้องไปเรื่อยๆ เลื่อนมา 5-6 ครั้งแล้ว มันจะไปสิ้นสุดตรงไหนถ้าคุณจะฟ้องก็ฟ้องมา จะจับก็จับ เราจะได้เตรียมตัวสู้ตามกระบวนการ มีคนพูดว่า “เลื่อนไปเรื่อยๆ ก็ดีแล้ว จะได้ไม่ต้องไปติดคุก” เราก็ตอบไปว่า “จะกลัวทำไม เรารู้อยู่แล้วว่าข้างในเป็นยังไง” ตอนนี้สิ่งที่เราไม่รู้คือข้างนอกเป็นยังไง เพราะเราไม่สามารถควบคุมได้เลยว่าเราจะโดนอะไร
ตอนนี้กลัวอะไรที่สุด
ความกลัวตอนนี้คือกลัวลูกๆ นักศึกษาและเพื่อนๆ ทุกคน จะได้รับอันตรายเหมือนปี 2553 ซึ่งเราอยู่ในเหตุการณ์นั้น ช่วงเวลาที่เราต่อสู้มาจนถึงปี 2553 ประชาชนนักศึกษาส่วนมากก็ไม่ได้มาร่วมกับเรา มันเหมือนเป็นการต่อสู้ของคนรากหญ้าจริงๆ ในความคิดเรา การล้อมปราบมันก็เลยทำได้ง่าย เพราะในช่วงการชุมนุมก็มีม็อบจัดตั้ง ที่เรียกว่าม็อบจัดตั้งเพราะเขาจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ชนกับม็อบเรา และม็อบพวกนี้มีอาวุธ
ม็อบเข้ามายิงมาปะทะกับพวกเราซึ่งจะมีคนที่ถูกยิงถูกทำร้าย แต่ก็ไม่ได้เป็นข่าว อย่างที่เรารู้ว่าเขาสามารถคุมสื่อให้อยู่ในอำนาจของเขาได้ สื่อทุกสำนักไม่ออกข่าวให้เรา ถึงเราจะโดนตี โดนยิง จะรู้กันแค่ในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไป
ถ้าเลือกเปลี่ยนแปลงหนึ่งสิ่งในประเทศได้จะเปลี่ยนอะไร
อยากเขียนกฎหมายใหม่ให้คนเท่าเทียมกัน อยากได้กฎหมายที่เขียนขึ้นมาโดยประชาชน เพื่อประชาชน อยากให้คนที่ทำรัฐประหารให้กลายเป็นกบฏ ต้องได้รับโทษ
อยากฝากอะไรถึงผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยตอนนี้
อยากให้ทุกคนสู้และอดทน เพราะสิ่งที่เราต่อสู้อยู่นี้ มันคือความยิ่งใหญ่ มันคือความงอกงามของประชาธิปไตย ความงอกงามของสิทธิเสรีภาพของเราและลูกหลานในวันข้างหน้า
Share this:
Like this: