เรื่อง-ภาพ: คณิศร สันติไชยกุล
อาคารขนาดใหญ่สีขาว รูปทรงแปลกตา ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวันมา 10 กว่าปี คือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่มักเรียกกันว่า “หอศิลป์กรุงเทพฯ” สถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นจากความพยายามของภาคประชาชนกับรัฐเพื่อสร้างพื้นที่ทางศิลปะแก่ประชาชน
ในปีหน้า (2564) มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (มูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ) ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอศิลป์กรุงเทพฯ มาตั้งแต่แรกเริ่ม กำลังจะหมดสัญญาการดูแลที่ทำไว้กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ปี นั่นหมายความว่า หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หอศิลป์กรุงเทพฯ จะกลับไปอยู่ในการดูแลของกทม. อย่างเต็มรูปแบบ
กฤติยา กาวีวงศ์ ภัณฑารักษ์หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน กล่าวว่า การจัดตั้งหอศิลป์กรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนการสร้างอาคารทั่วไปของกทม. แต่มาจากการผลักดันโดยภาคประชาชนสู่ภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการ
กฤติยา อธิบายว่า หนึ่งในพันธกิจหลักของกทม. คือการสร้างสังคมเพื่อคนทุกกลุ่ม ส่งผลให้ระบบคัดกรองคุณภาพของหอศิลป์กรุงเทพฯ ไม่เข้มแข็ง “เพราะถ้าต้องควบคุมคุณภาพ จะทำให้บางกลุ่มถูกกีดกันออกไป แต่ว่านั่นส่งผลกับการจัดแสดง คือเดินเข้าไป ที่นี่มีทุกอย่าง และเราก็จะงงว่ามันเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่นี้”
หอศิลป์กรุงเทพฯ กับการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว
ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร มองว่าหอศิลป์กรุงเทพฯ ควรจะจัดงานแสดงศิลปะให้ได้อย่างหลากหลาย รวมไปถึงชิ้นงานต้องมีความสอดคล้องกับกระแสศิลปะร่วมสมัยของโลก เนื่องจากพื้นที่หอศิลป์กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สาธารณะที่ดูแลโดยภาครัฐ และรายได้ส่วนหนึ่งเองก็มาจากภาษีของประชาชน
ที่ผ่านมาหอศิลป์กรุงเทพฯ จัดแสดงงานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ทัศนศิลป์ การแสดงสด ละคร ดนตรี เป็นต้น แต่ธนาวิ ตั้งข้อสังเกตว่า งานที่ถูกเวียนกลับมาจัดแสดงอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ปี คือ งานทัศนศิลป์ในลักษณะเฉลิมพระเกียรติ เช่น งานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งชวนให้ตั้งคำถามว่า เชื่อมโยงกับบริบททางสังคมร่วมสมัยอย่างไร
ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
“เรามักไม่รู้ตัวว่างานเหล่านี้กำลังเสนออุดมการณ์ทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่งอยู่ ในขณะที่งานอีกประเภทหนึ่ง คืองานที่พูดถึงการเมืองร่วมสมัย เป็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เชิงตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นต่อรัฐบาล ต่อทหาร หรืออื่นๆ แต่เรามักจะรู้สึกว่างานพวกนี้เป็นงานการเมือง” ธนาวิ อธิบายต่อว่า การมีงานหมุนเวียนลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้งานศิลปะในภาพรวมนั้นไม่เกิดความหลากหลายมากพอ ติดอยู่กับบรรทัดฐานเดิมๆ ของงานศิลปะ ที่หนีไม่พ้นความสวยงามในแบบพุทธศาสนา หรือภาพจำที่สื่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่น บ้านเรือนไทย
ถนอม ชาภักดี นักวิจารณ์ศิลปะ มีความเห็นในแนวทางเดียวกัน โดยยกตัวอย่างนิทรรศการ “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” ซึ่งจัดแสดงที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลป์กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคมถึง 20 กันยายน 2563 ภายในงานได้จัดแสดงภาพถ่ายจากกล้องฟิล์มซึ่งเป็นผลงานฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ห้า) ขณะเสด็จประพาสไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวสยามในภูมิภาคต่างๆ
ถนอมชี้ว่า ภาพที่นำมาจัดแสดงนั้น ในแง่หนึ่งคือบทบันทึกของประวัติศาสตร์ที่สมควรนำมาศึกษาต่อยอด แต่รูปแบบการนำเสนอในนิทรรศการเน้นหนักไปในลักษณะที่เน้นย้ำถึงอัจฉริยะภาพของผู้สร้างสรรค์ ประวัติศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ใต้ภาพไม่ได้ถูกนำมาศึกษาต่ออย่างน่าเสียดาย
ถนอม ชาภักดี นักวิจารณ์ศิลปะ
“เราไม่ได้พูดในฐานะที่มันเป็นฟิล์มกระจก ในฐานะวัตถุทางประวัติศาสตร์ เราไม่ได้ถือว่ามันเป็นประธานของวัตถุ แต่เราพูดถึงอัจฉริยภาพที่มีในตัววัตถุ เราไม่ยึดให้เป็นราก ให้มันเป็นเรื่องของการศึกษา … เราไม่ใช่เอาประวัติศาสตร์มาศึกษา เราเอาประวัติศาสตร์เป็นที่เคารพ” ถนอมให้ความเห็น
ธนาวิมองการแสดงงานศิลปะที่มีลักษณะเฉลิมพระเกียรติว่า เป็นการประชาสัมพันธ์สถาบันกษัตริย์เพียงด้านเดียว ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตั้งคำถาม ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ฝ่าฝืนอาจได้รับบทลงโทษทางกฎหมาย
การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม การจัดแสดงงานศิลปะจากภาคประชาชนยังเป็นเรื่องยากสำหรับศิลปินคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้มีรายได้มากพอ ณัฏฐชัย เหลืองกิตติก้อง บัณฑิตจบใหม่จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาทัศน์ศิลป์ เอกประติมากรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงโอกาสอันริบหรี่ของศิลปินรุ่นใหม่ที่จะได้นำผลงานเข้าหอศิลป์
“อย่างพี่จบมาเงินเดือนหมื่นกว่าบาท เกือบสองหมื่น หอศิลป์กรุงเทพฯ เช่าวันเดียวก็หลายหมื่นแล้ว ถ้าพี่อยากทำงานศิลปะแล้วแสดงในหอศิลป์ มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้แสดง ยกเว้นว่าพี่จะเก็บเงินในหลายปีมากๆ”
ณัฏฐชัย เหลืองกิตติก้อง บัณฑิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บัณฑิตจบใหม่จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ยังกล่าวเสริมว่ารัฐบาลควรเข้ามาอุ้มชูค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ของหอศิลป์ เพื่อหอศิลป์จะได้ไม่ต้องดิ้นรนหาผู้สนับสนุนด้วยตัวเองให้อยู่รอด ทั้งที่ภาครัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนนี้
ด้าน ปณิธิ พจนาพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเครือข่าย หอศิลป์กรุงเทพฯ มองว่า สถานการณ์ของหอศิลป์กรุงเทพฯ ในช่วง 2-3 ปี ให้หลัง นั้นเป็นไปอย่างอยากลำบาก เพราะทางกทม. ตัดเงินสนับสนุน จากเดิมที่หอศิลป์กรุงเทพฯ จะได้เงินสนับสนุนจากกทม. ร้อยละ 55 – 60 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด การตัดเงินสนับสนุนของกทม. ส่งผลอย่างมากต่อการบริหารจัดการหอศิลป์กรุงเทพฯ
ทางเดินบริเวณผนังโค้งของหอศิลป์กรุงเทพฯ ชั้น 7
“งบประมาณกทม.หายไป ตั้งแต่ปี 2560 – 2563 … สองปีหลังเราแทบจะสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกิดจากงบประมาณของกทม.ไม่ได้เลย” ปณิธิยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่หอศิลป์ยังดำเนินอยู่ได้หลังจากถูกตัดเงินสนับสนุนจากกทม. แล้ว เพราะทางมูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ ดิ้นรนหาผู้สนับสนุนด้วยตัวเอง หอศิลป์กรุงเทพฯ จึงยังคงดำเนินต่อไปได้ แม้จะไม่ราบรื่นนัก
ปณิธิยกตัวอย่าง โครงการ “จรัส แสงสร้างสรรค์” จัดแสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ถึง สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นเสมือนการต่อลมหายใจเฮือกใหญ่ให้หอศิลป์กรุงเทพฯ เพราะโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
พ.ศ. 2562 (กกพ.)
“มันเป็นเรื่องของหลักคิดว่ารัฐให้ความสำคัญกับเรื่องศิลปวัฒนธรรมแค่ไหน … ไม่ต่างอะไรจากเอางบประมาณมาดูแลสวนสาธารณะให้คนมาพักผ่อนหย่อนใจ สร้างโครงสร้างทางกายภาพ แต่นี่เป็นเรื่องของสวนสาธารณะทางปัญญา รัฐลงทุนไม่ได้เหรอ”
ปณิธิ พจนาพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเครือข่าย หอศิลป์กรุงเทพฯ
เส้นทางในอนาคตของหอศิลป์กรุงเทพฯ
ธนาวิ มองว่าประชาชนมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องว่า หอศิลป์กรุงเทพฯ ควรจัดนิทรรศการที่หลากหลายกว่านี้ เพื่อให้กรอบการรับรู้ของประชาชนไม่ติดอยู่แค่กับความสวยงามแบบไทยๆ เช่น
พุทธศาสนา, บ้านเรือนไทย แสงอาทิตย์ยามเย็น รวงข้าวเหลืองอร่าม เป็นต้น
“ถ้ามีงานลักษณะเฉลิมพระเกียรติ ก็ต้องมีงานแบบอื่นๆ ด้วย สิ่งที่หอศิลป์ต้องการคือเปิดพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มต่างๆ ได้เข้ามาแสดง แต่ตอนนี้รู้สึกว่าน้ำหนักมันยังไม่ค่อยสมดุลกัน” ธนาวิกล่าว
นอกจากนี้ ธนาวิยังย้ำว่าหอศิลป์กรุงเทพฯ ควรมีบทบาทเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่ประชาชนด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การนำชมโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้, การจัดการบรรยายหรือเสวนา ที่ต่อยอดจากผลงานในนิทรรศการหลัก เพื่อเพิ่มความเข้าใจในงานศิลปะแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
บรรยากาศภายในหอศิลป์กรุงเทพฯ ช่วงค่ำ
ในปีหน้าหากสัญญาที่ตกลงกันระหว่างทางมูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ กับ กทม. นั้นไม่ถูกขยายต่อ กฤติยา ภัณฑารักษ์หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ให้ความเห็นว่า อนาคตของหอศิลป์กรุงเทพฯ อาจจะแย่กว่าเดิม หากว่ากทม. ไม่มีวิสัยทัศน์ที่ดีมากพอในการบริหารหอศิลป์ เช่น การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารหอศิลป์มาบริหาร งานที่จัดแสดงก็คงหนีไม่พ้นงานประชาสัมพันธ์ด้านเดียวอย่างเต็มรูปแบบ
“ถ้าในกรณีที่ทางกทม. เอาคืนไป และไม่ให้มีกลุ่มมืออาชีพ เข้ามาบริหาร ก็อาจจะทำให้คนไม่พูดถึงเลย และมันจะไม่ได้กลายเป็นหอศิลป์อีกต่อไป … เพราะว่าถูกบริหารโดยภาครัฐที่ไม่มีความรู้ในการบริหารจัดการทางด้านศิลปะ” กฤติยากล่าว
หากในอนาคต หอศิลป์กรุงเทพฯ เปิดพื้นที่ให้กับความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เป็นต้นแบบของการโอบรับศิลปินไทยที่เกิดใหม่เป็นจำนวนมากในแต่ละปี ให้พวกเขาได้มองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทำงาน เมื่อนั้นวงการศิลปะคงจะเบ่งบานสวยงาม ประชาชนเองก็ได้ชมผลงานคุณภาพ ที่ช่วยยกระดับภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมไปอย่างยั่งยืน
Like this:
Like Loading...
เรื่อง-ภาพ: คณิศร สันติไชยกุล
อาคารขนาดใหญ่สีขาว รูปทรงแปลกตา ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวันมา 10 กว่าปี คือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่มักเรียกกันว่า “หอศิลป์กรุงเทพฯ” สถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นจากความพยายามของภาคประชาชนกับรัฐเพื่อสร้างพื้นที่ทางศิลปะแก่ประชาชน
ในปีหน้า (2564) มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (มูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ) ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอศิลป์กรุงเทพฯ มาตั้งแต่แรกเริ่ม กำลังจะหมดสัญญาการดูแลที่ทำไว้กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ปี นั่นหมายความว่า หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หอศิลป์กรุงเทพฯ จะกลับไปอยู่ในการดูแลของกทม. อย่างเต็มรูปแบบ
กฤติยา กาวีวงศ์ ภัณฑารักษ์หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน กล่าวว่า การจัดตั้งหอศิลป์กรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนการสร้างอาคารทั่วไปของกทม. แต่มาจากการผลักดันโดยภาคประชาชนสู่ภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการ
กฤติยา อธิบายว่า หนึ่งในพันธกิจหลักของกทม. คือการสร้างสังคมเพื่อคนทุกกลุ่ม ส่งผลให้ระบบคัดกรองคุณภาพของหอศิลป์กรุงเทพฯ ไม่เข้มแข็ง “เพราะถ้าต้องควบคุมคุณภาพ จะทำให้บางกลุ่มถูกกีดกันออกไป แต่ว่านั่นส่งผลกับการจัดแสดง คือเดินเข้าไป ที่นี่มีทุกอย่าง และเราก็จะงงว่ามันเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่นี้”
หอศิลป์กรุงเทพฯ กับการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว
ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร มองว่าหอศิลป์กรุงเทพฯ ควรจะจัดงานแสดงศิลปะให้ได้อย่างหลากหลาย รวมไปถึงชิ้นงานต้องมีความสอดคล้องกับกระแสศิลปะร่วมสมัยของโลก เนื่องจากพื้นที่หอศิลป์กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สาธารณะที่ดูแลโดยภาครัฐ และรายได้ส่วนหนึ่งเองก็มาจากภาษีของประชาชน
ที่ผ่านมาหอศิลป์กรุงเทพฯ จัดแสดงงานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ทัศนศิลป์ การแสดงสด ละคร ดนตรี เป็นต้น แต่ธนาวิ ตั้งข้อสังเกตว่า งานที่ถูกเวียนกลับมาจัดแสดงอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ปี คือ งานทัศนศิลป์ในลักษณะเฉลิมพระเกียรติ เช่น งานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งชวนให้ตั้งคำถามว่า เชื่อมโยงกับบริบททางสังคมร่วมสมัยอย่างไร
“เรามักไม่รู้ตัวว่างานเหล่านี้กำลังเสนออุดมการณ์ทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่งอยู่ ในขณะที่งานอีกประเภทหนึ่ง คืองานที่พูดถึงการเมืองร่วมสมัย เป็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เชิงตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นต่อรัฐบาล ต่อทหาร หรืออื่นๆ แต่เรามักจะรู้สึกว่างานพวกนี้เป็นงานการเมือง” ธนาวิ อธิบายต่อว่า การมีงานหมุนเวียนลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้งานศิลปะในภาพรวมนั้นไม่เกิดความหลากหลายมากพอ ติดอยู่กับบรรทัดฐานเดิมๆ ของงานศิลปะ ที่หนีไม่พ้นความสวยงามในแบบพุทธศาสนา หรือภาพจำที่สื่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่น บ้านเรือนไทย
ถนอม ชาภักดี นักวิจารณ์ศิลปะ มีความเห็นในแนวทางเดียวกัน โดยยกตัวอย่างนิทรรศการ “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” ซึ่งจัดแสดงที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลป์กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคมถึง 20 กันยายน 2563 ภายในงานได้จัดแสดงภาพถ่ายจากกล้องฟิล์มซึ่งเป็นผลงานฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ห้า) ขณะเสด็จประพาสไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวสยามในภูมิภาคต่างๆ
ถนอมชี้ว่า ภาพที่นำมาจัดแสดงนั้น ในแง่หนึ่งคือบทบันทึกของประวัติศาสตร์ที่สมควรนำมาศึกษาต่อยอด แต่รูปแบบการนำเสนอในนิทรรศการเน้นหนักไปในลักษณะที่เน้นย้ำถึงอัจฉริยะภาพของผู้สร้างสรรค์ ประวัติศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ใต้ภาพไม่ได้ถูกนำมาศึกษาต่ออย่างน่าเสียดาย
“เราไม่ได้พูดในฐานะที่มันเป็นฟิล์มกระจก ในฐานะวัตถุทางประวัติศาสตร์ เราไม่ได้ถือว่ามันเป็นประธานของวัตถุ แต่เราพูดถึงอัจฉริยภาพที่มีในตัววัตถุ เราไม่ยึดให้เป็นราก ให้มันเป็นเรื่องของการศึกษา … เราไม่ใช่เอาประวัติศาสตร์มาศึกษา เราเอาประวัติศาสตร์เป็นที่เคารพ” ถนอมให้ความเห็น
ธนาวิมองการแสดงงานศิลปะที่มีลักษณะเฉลิมพระเกียรติว่า เป็นการประชาสัมพันธ์สถาบันกษัตริย์เพียงด้านเดียว ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตั้งคำถาม ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ฝ่าฝืนอาจได้รับบทลงโทษทางกฎหมาย
การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม การจัดแสดงงานศิลปะจากภาคประชาชนยังเป็นเรื่องยากสำหรับศิลปินคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้มีรายได้มากพอ ณัฏฐชัย เหลืองกิตติก้อง บัณฑิตจบใหม่จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาทัศน์ศิลป์ เอกประติมากรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงโอกาสอันริบหรี่ของศิลปินรุ่นใหม่ที่จะได้นำผลงานเข้าหอศิลป์
บัณฑิตจบใหม่จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ยังกล่าวเสริมว่ารัฐบาลควรเข้ามาอุ้มชูค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ของหอศิลป์ เพื่อหอศิลป์จะได้ไม่ต้องดิ้นรนหาผู้สนับสนุนด้วยตัวเองให้อยู่รอด ทั้งที่ภาครัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนนี้
ด้าน ปณิธิ พจนาพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมเครือข่าย หอศิลป์กรุงเทพฯ มองว่า สถานการณ์ของหอศิลป์กรุงเทพฯ ในช่วง 2-3 ปี ให้หลัง นั้นเป็นไปอย่างอยากลำบาก เพราะทางกทม. ตัดเงินสนับสนุน จากเดิมที่หอศิลป์กรุงเทพฯ จะได้เงินสนับสนุนจากกทม. ร้อยละ 55 – 60 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด การตัดเงินสนับสนุนของกทม. ส่งผลอย่างมากต่อการบริหารจัดการหอศิลป์กรุงเทพฯ
“งบประมาณกทม.หายไป ตั้งแต่ปี 2560 – 2563 … สองปีหลังเราแทบจะสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกิดจากงบประมาณของกทม.ไม่ได้เลย” ปณิธิยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่หอศิลป์ยังดำเนินอยู่ได้หลังจากถูกตัดเงินสนับสนุนจากกทม. แล้ว เพราะทางมูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ ดิ้นรนหาผู้สนับสนุนด้วยตัวเอง หอศิลป์กรุงเทพฯ จึงยังคงดำเนินต่อไปได้ แม้จะไม่ราบรื่นนัก
ปณิธิยกตัวอย่าง โครงการ “จรัส แสงสร้างสรรค์” จัดแสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ถึง สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นเสมือนการต่อลมหายใจเฮือกใหญ่ให้หอศิลป์กรุงเทพฯ เพราะโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
พ.ศ. 2562 (กกพ.)
เส้นทางในอนาคตของหอศิลป์กรุงเทพฯ
ธนาวิ มองว่าประชาชนมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องว่า หอศิลป์กรุงเทพฯ ควรจัดนิทรรศการที่หลากหลายกว่านี้ เพื่อให้กรอบการรับรู้ของประชาชนไม่ติดอยู่แค่กับความสวยงามแบบไทยๆ เช่น
พุทธศาสนา, บ้านเรือนไทย แสงอาทิตย์ยามเย็น รวงข้าวเหลืองอร่าม เป็นต้น
“ถ้ามีงานลักษณะเฉลิมพระเกียรติ ก็ต้องมีงานแบบอื่นๆ ด้วย สิ่งที่หอศิลป์ต้องการคือเปิดพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มต่างๆ ได้เข้ามาแสดง แต่ตอนนี้รู้สึกว่าน้ำหนักมันยังไม่ค่อยสมดุลกัน” ธนาวิกล่าว
นอกจากนี้ ธนาวิยังย้ำว่าหอศิลป์กรุงเทพฯ ควรมีบทบาทเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่ประชาชนด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การนำชมโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้, การจัดการบรรยายหรือเสวนา ที่ต่อยอดจากผลงานในนิทรรศการหลัก เพื่อเพิ่มความเข้าใจในงานศิลปะแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
ในปีหน้าหากสัญญาที่ตกลงกันระหว่างทางมูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ กับ กทม. นั้นไม่ถูกขยายต่อ กฤติยา ภัณฑารักษ์หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ให้ความเห็นว่า อนาคตของหอศิลป์กรุงเทพฯ อาจจะแย่กว่าเดิม หากว่ากทม. ไม่มีวิสัยทัศน์ที่ดีมากพอในการบริหารหอศิลป์ เช่น การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารหอศิลป์มาบริหาร งานที่จัดแสดงก็คงหนีไม่พ้นงานประชาสัมพันธ์ด้านเดียวอย่างเต็มรูปแบบ
“ถ้าในกรณีที่ทางกทม. เอาคืนไป และไม่ให้มีกลุ่มมืออาชีพ เข้ามาบริหาร ก็อาจจะทำให้คนไม่พูดถึงเลย และมันจะไม่ได้กลายเป็นหอศิลป์อีกต่อไป … เพราะว่าถูกบริหารโดยภาครัฐที่ไม่มีความรู้ในการบริหารจัดการทางด้านศิลปะ” กฤติยากล่าว
หากในอนาคต หอศิลป์กรุงเทพฯ เปิดพื้นที่ให้กับความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เป็นต้นแบบของการโอบรับศิลปินไทยที่เกิดใหม่เป็นจำนวนมากในแต่ละปี ให้พวกเขาได้มองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทำงาน เมื่อนั้นวงการศิลปะคงจะเบ่งบานสวยงาม ประชาชนเองก็ได้ชมผลงานคุณภาพ ที่ช่วยยกระดับภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมไปอย่างยั่งยืน
Share this:
Like this: