เรื่อง : เกื้อกูล หมอนคำ ภาพ : ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง
องค์ประกอบของการสื่อสารผ่านโทรทัศน์ คือ การสื่อสารด้วยภาพและเสียง หากผู้รับสารไม่สามารถรับข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การสื่อสารก็ยากจะสัมฤทธิ์ผล คนพิการทางการเห็นคือหนึ่งในผู้ประสบความยากลำบากนี้จากการมองไม่เห็นภาพ หรือมองเห็นอย่างเลือนราง จึงจำเป็นที่จะต้องมีบริการเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมในฐานะพลเมือง
บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) คือ เสียงบรรยายที่เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อบรรยายรายละเอียดที่สำคัญของภาพในรายการ ที่คนพิการทางการเห็นอาจไม่เข้าใจด้วยบทบรรยายปกติ โดยเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มการบรรยายด้วยเสียงในช่วงที่ไม่มีการสนทนา (Sound Gap)
สำหรับประเทศไทย จุดเริ่มต้นของบริการเสียงบรรยายภาพเกิดขึ้นจาก พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2551 มาตรา 36 ระบุว่า ประชาชนควรจะมีสิทธิในการเข้าถึงบริการทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์อย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำเป็นต้องผลักดันกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติ
ในปี 2559 กสทช. ออกประกาศ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ต้องให้บริการเสียงบรรยายภาพ ในรายการประเภทข่าวสารและสาระประโยชน์ อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2561 ทาง กสทช. กลับประกาศเลื่อนการบังคับใช้ออกไป โดยให้เหตุผลว่าสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ยังขาดองค์ความรู้
บริการที่มีไม่ตอบโจทย์การรับสื่อของคนพิการทางการเห็น
ทิวา เอี่ยมธารทอง คนพิการทางการเห็น อายุ 35 ปี กล่าวว่า ปกติตนเป็นผู้รับชมโทรทัศน์อยู่ตลอด ทั้งรายการข่าวสาร และรายการบันเทิง ตนรับรู้บริการเสียงบรรยายภาพจากการโฆษณาของกสทช. แต่รู้สึกว่าช่วงเวลาการออกอากาศของรายการที่ให้บริการนั้นไม่เหมาะสม
“ส่วนใหญ่มันจะไปออกอากาศนู่น หลังเที่ยงคืนไปแล้ว คนตาบอดส่วนใหญ่เขาก็เข้าไม่ถึง เพราะว่าไหนจะต้องขายของ ไหนจะต้องเล่นดนตรี กลับมาบางทีถ้างานหนักก็อาจจะหลับเร็ว หรือบางทีมีงานเช้า ก็ต้องเข้านอนก่อน” ทิวากล่าว
ทิวา เอี่ยมธารทอง เห็นว่าช่วงเวลาที่ให้บริการเสียงบรรยายภาพยังไม่เหมาะสม
อมีนา ทรงศิริ นักศึกษาปริญญาโท และคนพิการทางการเห็น อายุ 35 ปี กล่าวว่า เธออยากให้มีการให้บริการเสียงบรรยายภาพในหลากหลายประเภทรายการ ทั้งละคร เกมโชว์ หรือภาพยนตร์ที่ฉายบนโทรทัศน์
อมีนา กล่าวต่อว่า การจะเข้าถึงบริการเสียงบรรยายภาพยังมีอุปสรรคจากการที่ต้องซื้อกล่องทีวีดิจิทัลเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละรุ่นมีปุ่มกดใช้บริการแตกต่างกัน จึงต้องอาศัยคนตาดีคอยปรับจูนให้ ขณะที่สมาร์ททีวีบางรุ่นสามารถตั้งค่าให้บริการเสียงบรรยายภาพค้างไว้แบบอัตโนมัติ แต่บางรุ่นก็ต้องตั้งค่าเป็นครั้งๆ ไป
นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษาพบว่า หากผู้ใช้บริการรับชมโทรทัศน์ผ่านระบบจานดาวเทียม ทั้งจานตะแกรง (C-Band) และจานทึบ (KU-Band) จะไม่สามารถใช้บริการเสียงบรรยายภาพได้
การปรับตัวของสถานีฯ เพื่อให้บริการเสียงบรรยายภาพ
ด้าน นิมะ ราซิดี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าวว่า ทางสถานีฯ มีเกณฑ์คัดเลือกรายการที่จะให้บริการเสียงบรรยายภาพ โดยคำนึงถึงเหตุผลด้านช่วงเวลา เนื้อหารายการ และเหตุผลด้านธุรกิจควบคู่กัน พร้อมกล่าวถึงบริการเสียงบรรยายภาพว่า เป็นเรื่องที่ใหม่ และมีต้นทุนที่สูงในการผลิต
อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 ทางสถานีฯ มีแผนจะนำละครที่เคยได้รับความนิยมมาให้บริการเสียงบรรยายภาพ ทั้งนี้แผนการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา และต้องรอมติของผู้บริหารต่อไป
ตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า เมื่อช่วงต้นปี 2563 กสทช. ได้ออกประกาศ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 3) ซึ่งผ่อนปรนจากประกาศฉบับเดิม โดยปรับเปลี่ยนให้สามารถให้บริการในรายการประเภทอื่น นอกเหนือจากรายการข่าวสารและสาระได้ด้วย พร้อมทั้งกำหนดเวลาการออกอากาศบริการเสียงบรรยายภาพ จากเดิมในปีที่ 1 บังคับใช้ที่ 60 นาทีต่อวัน ลดลงเป็น 30 นาทีต่อวัน อันเป็นการปลดล็อกประเภทรายการ และผ่อนคลายจำนวนเวลาเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
กุลนารี เสือโรจน์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การให้บริการเสียงบรรยายภาพในปัจจุบันมีความท้าทายในหลายด้าน ทั้งเป็นเรื่องที่ใหม่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งต้องมีความรู้ในกระบวนการเล่าเรื่องผ่านภาพ และสามารถสร้างคำบรรยายในเวลาจำกัดได้ ทำให้การผลิตรายการที่มีบริการเสียงบรรยายภาพยังมีต้นทุนที่สูง ประกอบกับสภาพการแข่งขันของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ที่ผู้ให้บริการหลายแห่งประสบปัญหาขาดทุน
กุลนารี เสือโรจน์ ภาพจากการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สถานีโทรทัศน์ ระบบดิจิทัล หัวข้อ “การจัดทำเสียงบรรยายภาพ”
อาจารย์กล่าวเสริมว่า ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หน่วยงานกำกับดูเเลสื่อของสหรัฐอเมริกา (FCC) มีข้อกำหนดให้สถานีโทรทัศน์ที่มีฐานผู้ชมมาก ผลิตรายการที่มีบริการเสียงบรรยายภาพในสัดส่วนที่มากกว่าช่องที่มีฐานผู้ชมน้อย เพราะเชื่อว่าสถานีมีรายได้มากกว่า ซึ่งเป็นเเนวทางหนึ่งในการส่งเสริมสถานีโทรทัศน์ให้สามารถผลิตเสียงบรรยายภาพเพื่อให้บริการเเก่คนพิการทางการเห็นได้อย่างครอบคลุม โดยคำนึงถึงเงื่อนไขเเละข้อจำกัดตามต้นทุนเเละกำลังผลิตของเเต่ละสถานี นอกเหนือจากการที่รัฐหรือผู้กำกับดูเเลสื่อให้เงินทุนสนับสนุน
“คนตาบอดไม่ควรถูกกีดกันการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ บางคนบอกว่าไม่ต้องมี ‘เสียงบรรยายภาพ’ ก็ได้ ฟังแค่เสียงสิ แต่จริงๆ แล้วเนื้อหาในทีวีมันเป็นภาพและเสียง บริการเสียงบรรยายภาพมันจะช่วยเสริม ทำให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงเนื้อหา”
กุลนารี เสือโรจน์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สิทธิที่คนพิการพึงได้รับ
ขณะที่ อมีนา นักศึกษาคนพิการทางการเห็นให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ทุกฝ่ายควรมองกันด้วยความเห็นอกเห็นใจ ทั้งผู้กำหนดนโยบาย ฝ่ายคนพิการที่ต้องแสดงตัวว่าเป็นผู้รับสารที่มีบทบาทเชิงรุก (Active Audience) คือ แสดงตนว่ามีความต้องการใช้บริการ และฝ่ายผู้ผลิตเองก็ควรปรับทัศนคติในการผลิตสื่อ
“คุณขายสื่อให้กับคนทั้งประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือ คนพิการ ไม่ควรไปตัดคนใดทิ้งออกไปจากสังคม ทุกคนคือลูกค้าของทางช่อง เป็นคนที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด” อมีนากล่าว
ทั้งนี้ บริการเสียงบรรยายภาพถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย หลายฝ่ายพยายามผลักดันให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายจุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิที่ตนเองพึงมี สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานร่วมสร้างสรรค์บริการโดยคำนึงถึงคุณภาพ และความทั่วถึงในการให้บริการ เพื่อให้ทุกคนในสังคมได้รับสารอย่าง “เท่าเทียม”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : เกื้อกูล หมอนคำ ภาพ : ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง
องค์ประกอบของการสื่อสารผ่านโทรทัศน์ คือ การสื่อสารด้วยภาพและเสียง หากผู้รับสารไม่สามารถรับข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การสื่อสารก็ยากจะสัมฤทธิ์ผล คนพิการทางการเห็นคือหนึ่งในผู้ประสบความยากลำบากนี้จากการมองไม่เห็นภาพ หรือมองเห็นอย่างเลือนราง จึงจำเป็นที่จะต้องมีบริการเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมในฐานะพลเมือง
บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) คือ เสียงบรรยายที่เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อบรรยายรายละเอียดที่สำคัญของภาพในรายการ ที่คนพิการทางการเห็นอาจไม่เข้าใจด้วยบทบรรยายปกติ โดยเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มการบรรยายด้วยเสียงในช่วงที่ไม่มีการสนทนา (Sound Gap)
สำหรับประเทศไทย จุดเริ่มต้นของบริการเสียงบรรยายภาพเกิดขึ้นจาก พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2551 มาตรา 36 ระบุว่า ประชาชนควรจะมีสิทธิในการเข้าถึงบริการทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์อย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำเป็นต้องผลักดันกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติ
ในปี 2559 กสทช. ออกประกาศ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ต้องให้บริการเสียงบรรยายภาพ ในรายการประเภทข่าวสารและสาระประโยชน์ อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2561 ทาง กสทช. กลับประกาศเลื่อนการบังคับใช้ออกไป โดยให้เหตุผลว่าสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ยังขาดองค์ความรู้
บริการที่มีไม่ตอบโจทย์การรับสื่อของคนพิการทางการเห็น
ทิวา เอี่ยมธารทอง คนพิการทางการเห็น อายุ 35 ปี กล่าวว่า ปกติตนเป็นผู้รับชมโทรทัศน์อยู่ตลอด ทั้งรายการข่าวสาร และรายการบันเทิง ตนรับรู้บริการเสียงบรรยายภาพจากการโฆษณาของกสทช. แต่รู้สึกว่าช่วงเวลาการออกอากาศของรายการที่ให้บริการนั้นไม่เหมาะสม
“ส่วนใหญ่มันจะไปออกอากาศนู่น หลังเที่ยงคืนไปแล้ว คนตาบอดส่วนใหญ่เขาก็เข้าไม่ถึง เพราะว่าไหนจะต้องขายของ ไหนจะต้องเล่นดนตรี กลับมาบางทีถ้างานหนักก็อาจจะหลับเร็ว หรือบางทีมีงานเช้า ก็ต้องเข้านอนก่อน” ทิวากล่าว
อมีนา ทรงศิริ นักศึกษาปริญญาโท และคนพิการทางการเห็น อายุ 35 ปี กล่าวว่า เธออยากให้มีการให้บริการเสียงบรรยายภาพในหลากหลายประเภทรายการ ทั้งละคร เกมโชว์ หรือภาพยนตร์ที่ฉายบนโทรทัศน์
อมีนา กล่าวต่อว่า การจะเข้าถึงบริการเสียงบรรยายภาพยังมีอุปสรรคจากการที่ต้องซื้อกล่องทีวีดิจิทัลเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละรุ่นมีปุ่มกดใช้บริการแตกต่างกัน จึงต้องอาศัยคนตาดีคอยปรับจูนให้ ขณะที่สมาร์ททีวีบางรุ่นสามารถตั้งค่าให้บริการเสียงบรรยายภาพค้างไว้แบบอัตโนมัติ แต่บางรุ่นก็ต้องตั้งค่าเป็นครั้งๆ ไป
นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษาพบว่า หากผู้ใช้บริการรับชมโทรทัศน์ผ่านระบบจานดาวเทียม ทั้งจานตะแกรง (C-Band) และจานทึบ (KU-Band) จะไม่สามารถใช้บริการเสียงบรรยายภาพได้
การปรับตัวของสถานีฯ เพื่อให้บริการเสียงบรรยายภาพ
ด้าน นิมะ ราซิดี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าวว่า ทางสถานีฯ มีเกณฑ์คัดเลือกรายการที่จะให้บริการเสียงบรรยายภาพ โดยคำนึงถึงเหตุผลด้านช่วงเวลา เนื้อหารายการ และเหตุผลด้านธุรกิจควบคู่กัน พร้อมกล่าวถึงบริการเสียงบรรยายภาพว่า เป็นเรื่องที่ใหม่ และมีต้นทุนที่สูงในการผลิต
อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 ทางสถานีฯ มีแผนจะนำละครที่เคยได้รับความนิยมมาให้บริการเสียงบรรยายภาพ ทั้งนี้แผนการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา และต้องรอมติของผู้บริหารต่อไป
ตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า เมื่อช่วงต้นปี 2563 กสทช. ได้ออกประกาศ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 3) ซึ่งผ่อนปรนจากประกาศฉบับเดิม โดยปรับเปลี่ยนให้สามารถให้บริการในรายการประเภทอื่น นอกเหนือจากรายการข่าวสารและสาระได้ด้วย พร้อมทั้งกำหนดเวลาการออกอากาศบริการเสียงบรรยายภาพ จากเดิมในปีที่ 1 บังคับใช้ที่ 60 นาทีต่อวัน ลดลงเป็น 30 นาทีต่อวัน อันเป็นการปลดล็อกประเภทรายการ และผ่อนคลายจำนวนเวลาเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
กุลนารี เสือโรจน์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การให้บริการเสียงบรรยายภาพในปัจจุบันมีความท้าทายในหลายด้าน ทั้งเป็นเรื่องที่ใหม่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งต้องมีความรู้ในกระบวนการเล่าเรื่องผ่านภาพ และสามารถสร้างคำบรรยายในเวลาจำกัดได้ ทำให้การผลิตรายการที่มีบริการเสียงบรรยายภาพยังมีต้นทุนที่สูง ประกอบกับสภาพการแข่งขันของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ที่ผู้ให้บริการหลายแห่งประสบปัญหาขาดทุน
อาจารย์กล่าวเสริมว่า ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หน่วยงานกำกับดูเเลสื่อของสหรัฐอเมริกา (FCC) มีข้อกำหนดให้สถานีโทรทัศน์ที่มีฐานผู้ชมมาก ผลิตรายการที่มีบริการเสียงบรรยายภาพในสัดส่วนที่มากกว่าช่องที่มีฐานผู้ชมน้อย เพราะเชื่อว่าสถานีมีรายได้มากกว่า ซึ่งเป็นเเนวทางหนึ่งในการส่งเสริมสถานีโทรทัศน์ให้สามารถผลิตเสียงบรรยายภาพเพื่อให้บริการเเก่คนพิการทางการเห็นได้อย่างครอบคลุม โดยคำนึงถึงเงื่อนไขเเละข้อจำกัดตามต้นทุนเเละกำลังผลิตของเเต่ละสถานี นอกเหนือจากการที่รัฐหรือผู้กำกับดูเเลสื่อให้เงินทุนสนับสนุน
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สิทธิที่คนพิการพึงได้รับ
ขณะที่ อมีนา นักศึกษาคนพิการทางการเห็นให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ทุกฝ่ายควรมองกันด้วยความเห็นอกเห็นใจ ทั้งผู้กำหนดนโยบาย ฝ่ายคนพิการที่ต้องแสดงตัวว่าเป็นผู้รับสารที่มีบทบาทเชิงรุก (Active Audience) คือ แสดงตนว่ามีความต้องการใช้บริการ และฝ่ายผู้ผลิตเองก็ควรปรับทัศนคติในการผลิตสื่อ
“คุณขายสื่อให้กับคนทั้งประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือ คนพิการ ไม่ควรไปตัดคนใดทิ้งออกไปจากสังคม ทุกคนคือลูกค้าของทางช่อง เป็นคนที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด” อมีนากล่าว
ทั้งนี้ บริการเสียงบรรยายภาพถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย หลายฝ่ายพยายามผลักดันให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายจุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิที่ตนเองพึงมี สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานร่วมสร้างสรรค์บริการโดยคำนึงถึงคุณภาพ และความทั่วถึงในการให้บริการ เพื่อให้ทุกคนในสังคมได้รับสารอย่าง “เท่าเทียม”
Share this:
Like this: