เรื่อง : ชญานิน โล่ห์สถาพรพิพิธ และ ธนพร เกาะแก้ว ภาพ : กานดา ชัยสาครสมุทร
คำเตือนเนื้อหา : การคุกคามทางเพศในเด็ก (เล่าอย่างชัดเจน), ความรุนแรงในครอบครัว (การทอดทิ้งบุตร), การใคร่เด็ก
หมายเหตุ : ชื่อเด็กที่เปิดแอคเคาท์ขายสื่อลามกอนาจารทั้งหมดเป็นนามสมมติเพื่อความปลอดภัยของเด็ก
เด็กหญิงวัย 15 เผยหารายได้จากการขายภาพและคลิปโป๊ของตนเองผ่านทวิตเตอร์ เหตุครอบครัวยากจน แม่ติดคุก พ่อแยกทาง ตำรวจชี้ผิด พ.ร.บ.คอมฯ และ พ.ร.บ. แก้ไข ป.อาญา พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ด้านนักวิชาการห่วง กฎหมายขัดหลักสิทธิเด็ก ไม่เว้นช่องว่างให้ผู้กระทำผิดที่ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์”
“หนูขายห้ารูป หนึ่งคลิป 150 (บาท) แค่นี้ หนูไม่ขายไปมากกว่านี้ ถ้าคลิปเดียว บางทีเขาอาจจะตังค์ไม่พอ หนูก็ลดให้ได้”
พลอย (นามสมมติ) นักเรียนหญิงชั้น ม.3 เล่าว่า ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา เธอเริ่มขายภาพโป๊และคลิปช่วยตัวเอง เพราะอยากมีรายได้ขณะอยู่บ้านเฉยๆ รวมถึงเห็นว่ามีคนในทวิตเตอร์ขาย จึงลองทำตาม
ระยะแรกที่เปิดแอคเคาท์ พลอยเคยมี “เสี่ยเลี้ยง” เป็นชายวัยทำงาน โดยพลอยเป็นคนกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ ส่วนฝ่ายชายเป็นคนตัดสินใจเรื่องเงินที่ให้ และตลอดช่วง 2-3 เดือนนั้น พ่อแม่ของเธอรับรู้ แต่ไม่ได้ห้ามอะไรมากไปกว่าเตือนไม่ให้ท้อง
“บ้านหนูฐานะไม่ได้ดีด้วยมั้งคะ มันยากมากที่จะหาเงินไปเรียนแต่ละวัน ถ้าหนูหาเงินเองได้ ก็สบายคนในบ้านไปด้วย”
พลอย เด็กหญิงชั้น ม.3 ที่ขายภาพโป๊ในทวิตเตอร์
คลิปของพลอยเคยถูกปล่อยไปในกลุ่มไลน์ ซึ่งเป็นคลิปแบบเห็นหน้าที่เธอส่งให้แฟนเก่า ที่รู้จักกันจากการขายรูปในทวิตเตอร์ เธอรู้สึกกลัวและเครียดมากกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แม้จะอยากแจ้งตำรวจก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐานไปแจ้งความ สำหรับคลิปที่หลุดไป พลอยมองว่า “มันน่าจะโดนคลิปอื่นทับไปแล้ว น่าจะไม่มีใครไปรื้อมาดูแล้วค่ะ หนูก็เลยพยายามลืมไป”
หลังจบ ม.3 พลอยอยากเรียนต่อสายอาชีพด้านการโรงแรมหรือการตลาด
ไหม (นามสมมติ) นักเรียนหญิงชั้น ม.ปลาย ในโรงเรียนประจำทางภาคเหนือ กล่าวว่า เธอฝืนใจเปิดแอคเคาท์ขายภาพโป๊เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อหาค่าเทอมและค่าเช่าหอ เพราะพ่อที่เป็นคนในครอบครัวเพียงหนึ่งเดียว เพิ่งถูกจำคุกในข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด ตอนนี้เธอไม่มีบ้านอยู่ และการอยู่โรงเรียนประจำทำให้ไม่สามารถทำงานพาร์ทไทม์ได้
เพื่อนสนิทของไหมเป็นคนแนะนำการหารายได้วิธีนี้ และนำภาพโป๊ของตนเองมาให้เธอขาย คนที่มาซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ตั้งแต่ 20-50 ปี นอกจากนี้ เธอได้เงินจากการบริจาค และการที่มีคนมาช่วยซื้อของเล็กน้อย เช่น เครื่องสำอาง ไหมบอกว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่มาช่วยในลักษณะนี้
หลังจากตกลงซื้อขายรูป ไหมบอกว่าเธอรู้สึก “เหนื่อย เกลียดตัวเองที่ต้องทำแบบนี้ รู้สึกว่าชีวิตเราน่าสมเพชมาก” และเธอเคยถูกคุกคามทางเพศในแชท เช่น “น้องมานั่งขายรูปงกๆ ดูไปเขาก็ทำอะไรไม่ได้ สู้ขายให้พี่ดีกว่า พี่ให้ xx,xxx บาท ทั้งเสียว ทั้งได้เงิน” หรือ “น้องน่าเอามากๆ เลยครับ พี่ขอซื้อได้ไหม” ซึ่งเธอปฏิเสธหรือไม่ตอบข้อความเหล่านั้นไป
ไหมชอบเรียนภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และดนตรี เวลาว่างเธอชอบเล่นกีตาร์ วาดรูป และแต่งนิยาย โตขึ้นเธออยากเป็นไกด์นำเที่ยว
เด็กอาจถูกล่อลวงหรือบังคับให้ขายรูป
พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต หรือไทแคค (TICAC) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เล่าว่า จากการทำงานตั้งแต่ปี 2559 ไม่ค่อยพบเคสที่เด็กถ่ายและขายภาพเอง รวมถึงไม่มีใครแจ้งเคสลักษณะนี้เข้ามา ส่วนมากจะมีคนกลางที่สร้างเงื่อนไขกับเด็ก เช่น หลอกล่อด้วยการให้เงิน ข่มขู่ว่าจะแบล็กเมล์ ฯลฯ
พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต หรือไทแคค (TICAC) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“คำถามคือคนที่มาโพสต์ภาพนี้เป็นเด็กหรือเปล่า เพราะอาจเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมาก็ได้ ที่เราเจอก็เป็นแบบนี้ มีให้เข้ากลุ่มที่อ้างว่าเฉพาะเจ้าของถ่ายเอง แล้วก็มีโปรไฟล์เป็นใบหน้าเจ้าของรูปโป๊ ถามว่ายืนยันได้ยังไงว่าเด็กเป็นคนโพสต์เอง” เจ้าหน้าที่ไทแคคตั้งข้อสังเกต
การทำงานของไทแคคยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญกับการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งใช้เวลานาน “การดำเนินคดีคือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเขา เราต้องพิสูจน์ให้ได้จริงๆ ว่าเขาเป็นผู้กระทำความผิด” พ.ต.อ.มรกต กล่าวเสริม
แต่ถ้าสืบแล้วพบว่าเด็กเป็นผู้กระทำจริง เจ้าหน้าที่ชี้ว่า เด็กจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คือ นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ รวมถึง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2558 มาตรา 287/1 คือ ครอบครองและส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก และ 287/2 คือ ใช้สื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อความประสงค์แห่งการค้า
ชี้กม.ไม่คุ้มครองเด็กที่กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ด้าน มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่งและศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2558 มาตรา 287/1 และ 287/2 ว่าเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการเว้นช่องว่างสำหรับผู้กระทำที่เป็นเด็ก เพราะใช้คำว่า “ผู้ใด” ครอบครอง ส่งต่อ หรือประกอบการค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก หมายความว่า ถ้าเด็กเป็นผู้ครอบครอง จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าเป็นผู้ส่งต่อสื่อลามกอนาจาร จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท
มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่งและศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์ประจำคณะนิติฯ มธ. ย้ำว่า ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก วัตถุประสงค์แรกของกฎหมายคือต้องคุ้มครองเด็ก จึงไม่เหมาะสมถ้าเด็กต้องมารับโทษหนักจากการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ควรปรับทัศนคติให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง และให้เรียนรู้ถึงผลกระทบระยะยาวที่เด็กยังคิดไม่ถึง กฎหมายดังกล่าวจึงนำมาสู่คำถามว่า “เราต้องการจะคุ้มครองเด็กหรือว่าเราต้องการที่จะควบคุมเด็ก”
มาตาลักษณ์อธิบายว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ใช้เฉพาะกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับผู้ใหญ่ได้
“ในทฤษฎีเกี่ยวกับการทำผิดของเด็กและเยาวชน เด็กไม่ใช่อาชญากร การกระทำของเด็กจึงไม่ใช่อาชญากรรม แม้เขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำคืออะไร แต่เขายังไม่รู้ผิดชอบถึงผลเสียหายที่ตามมา การจะรู้ผิดชอบเป็นเรื่องที่ต้องสั่งสมมาโดยประสบการณ์และการอบรมสั่งสอน”
มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล อาจารย์ประจำคณะนิติฯ มธ.
ทวิตเตอร์กับ “ด้านมืด” ที่ยังควบคุมไม่ได้
ในเดือนมีนาคม 2562 ทวิตเตอร์ได้ประกาศใช้นโยบายต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก โดยห้ามไม่ให้ผู้ใช้กระทำการ เช่น แสดงภาพเด็กที่มีส่วนร่วมในการกระทำทางเพศ หรือการกระทำล่อแหลม แสดงข้อคิดเห็นทางเพศเกี่ยวกับเด็กหรือต่อเด็ก พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมในบทสนทนาล่อแหลม ฯลฯ หากฝ่าฝืน แอคเคาท์นั้นจะถูกระงับทันทีอย่างถาวร
ไบโอทวิตเตอร์ของ สุดา (นามสมมติ) ระบุว่าเธออยู่ ม.ปลาย เธออ้างว่าเปิดแอคเคาท์นี้ขึ้นมา เพราะอยากรู้ความต้องการทางเพศของผู้ชาย โดยรูปภาพและวิดีโอทั้งหมดนำมาจากอินเทอร์เน็ต ข้อมูลอื่นๆ ก็เป็นเพียงการสมมติขึ้นมา
ทวิตเตอร์เป็นโซเชียลมีเดียที่สุดาเลือกใช้ เพราะเธอมองว่าการคัดกรองข้อมูลในแพลตฟอร์มนี้ไม่มีประสิทธิภาพ
สุดาเล่าว่า เธอแค่ลงรูปหรือคลิปโป๊ แต่ไม่ได้ขาย คนที่มาขอดูสื่อเหล่านี้มีตั้งแต่เด็กอายุ 15 จนถึงคนแก่ เธอเสริมว่าถ้าเป็นเรื่องสื่อลามกอนาจร คำอย่าง “มัธยม” จะยิ่งช่วยดึงดูดความสนใจ
ในทำนองเดียวกัน พลอยก็มองว่าทวิตเตอร์เป็นที่สำหรับโพสต์ “ด้านมืด” ซึ่งเธอนิยามว่าเป็นตัวตนอีกด้านที่คนจะไม่เปิดเผยในชีวิตจริง และพลอยเคยได้รับเงินจากการถ่ายภาพในชุดเนตรนารี แต่ที่บ่อยที่สุดคือ การขอซื้อคลิปที่เธอช่วยตัวเองในชุดนักเรียน
โรคใคร่เด็ก ภัยที่ไร้การป้องกันและเยียวยาอย่างจริงจัง
พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) คือความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ที่ชอบหรือพอใจจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก หลายครั้งคนกลุ่มนี้จะพยายามทำให้เด็กไว้ใจ โดยอาจทำให้ตนอยู่ในฐานะผู้ดูแล เช่น ครู หรือเข้าหาเด็กผ่านทางผู้ปกครอง ภายนอกอาจจะดูเหมือนความสัมพันธ์ทั่วไป แต่กว่าจะรู้ว่าใครเป็นโรคใคร่เด็กก็ตอนที่เกิดการล่วงละเมิดทางเพศไปแล้ว
“ผู้กระทำไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเท่าไร เป็นส่วนน้อยที่จับกุมผู้กระทำได้ด้วยซ้ำ”
พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็กกล่าวถึงการประเมินและรักษาอาการทางจิตผู้กระทำผิดที่แทบไม่เกิดขึ้น และให้ความเห็นว่า ควรมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดเข้าถึงเด็กคนอื่นอีก โดยเฉพาะกรณีที่เหตุเกิดจากบุคคลในสถานศึกษา ซึ่งปรากฏในหน้าข่าวบ่อยครั้ง
ผู้หญิงเปราะบางเพราะอำนาจทางเพศที่ไม่เท่าเทียม
จากการสังเกตของ “นิสิตนักศึกษา” พบว่าแอคเคาท์ขายภาพโป๊มักระบุว่าตัวเองเป็นเด็กผู้หญิง โดยแนบรูปที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของเพศหญิง (เพศทางชีววิทยา) หรืออ้างว่าในชีวิตจริงตนเองเป็นหญิงโดยกำเนิด
บุษยาภา ศรีสมพงษ์ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงบนพื้นฐานเพศภาวะ และผู้ก่อตั้ง SHero (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อยุติความรุนแรงในบ้าน) ให้มุมมองต่อข้อสังเกตข้างต้นว่า เบื้องหลังที่แท้จริงของผู้ผลิตสื่อลามกอนาจารอาจไม่ใช่เด็กผู้หญิง “แทนที่จะมองว่าเด็กผู้หญิงคือคนที่มีโอกาสจะเป็นผู้กระทำความผิด จริงๆ แล้วเขาคือกลุ่มที่เปราะบางที่สุด” เธอกล่าว
แอคเคาท์ที่ขายรูปโป๊เด็กมักจะพ่วงแฮชแท็กเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของเพศหญิง (เพศทางชีววิทยา) หรือความเป็นหญิงมาด้วย เช่น ระบุถึงอวัยวะเพศหญิง อ้างว่าในชีวิตจริงเป็นหญิงโดยกำเนิดหรือบอกลักษณะลักษณะภายนอกที่ตรงกับมาตรฐานความงามของผู้หญิง เช่น ผมยาว มีแก้ม เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงบนพื้นฐานเพศภาวะอธิบายต่อว่า “เปราะบาง” ไม่ได้หมายถึง “อ่อนแอ” แต่หมายถึง เสี่ยงต่อการถูกใช้ความรุนแรง เช่น การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะในบ้าน บนรถไฟฟ้า หรือในอินเทอร์เน็ต โดยมีเหตุมาจากปิตาธิปไตยที่ให้อำนาจกับเพศชายในการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของเพศหญิงและความเป็นหญิงให้มีอำนาจต่ำกว่า
ยุติการสร้างความชอบธรรมให้สื่อใคร่เด็ก
แม้ว่าการใคร่เด็กจะผิดกฎหมาย แต่สื่อไทยก็ยังมีความพยายามสร้างความชอบธรรมให้กับอาชญากรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขาย “คู่จิ้น” ที่เป็นผู้ใหญ่กับเด็ก การเผยแพร่บทความบนสื่อออนไลน์โดยนักวิชาการ ที่เทียบความนิยมหน้าเด็กอยู่ในระดับเดียวกับการใคร่เด็ก ไปจนถึงการ์ตูนมังงะ แอนิเมชัน นิยายและแฟนฟิคชั่นจำนวนไม่น้อยที่ทั้งผู้เขียนและผู้อ่านยืนยันว่าเป็นเพียง “จินตนาการ”
บุษยาภา แสดงความกังวลเกี่ยวกับการผลิตสื่อใคร่เด็กและการให้ความชอบธรรมกับสื่อนี้ ในขณะที่ปัจจุบันมีเด็กที่เป็นเหยื่อจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศอยู่มาก ยังไม่นับรวมเคสที่ไม่ถูกดำเนินคดี หรือเคสที่ดำเนินคดีแล้วแต่เด็กถูกปล่อยให้กลับมาอยู่ในครอบครัวที่มีคนใคร่เด็ก
“ถ้าเราอยู่ในโลกที่สมบูรณ์แบบ กฎหมายคุ้มครองเด็กดีมาก โรงเรียนสอดส่องทุกวันว่าเด็กมีความเสี่ยงไหม พ่อแม่ทุกคนดูแลเด็กดี ไม่มีคนแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก สื่อนี้ก็คงอยู่ได้แหละ แต่ทุกวันนี้ระบบคุ้มครองไม่ได้เข้มแข็งพอให้กลุ่มเปราะบางคุ้มครองตัวเองได้”
บุษยาภา ศรีสมพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงบนพื้นฐานเพศภาวะ
ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนทิ้งท้ายว่า “ตอนนี้อาชญากรรมมันมาในรูปแบบของไซเบอร์แล้ว เพราะฉะนั้นในเมื่อเด็กเข้าถึงสื่อได้ อาชญากรรมก็เข้าถึงเด็กได้ง่ายขึ้น”
แบม เด็กหญิงวัย 16 ปี ลูกครึ่งไทย-ยุโรป ปัจจุบันอาศัยอยู่กับพี่แท้ๆ ส่วนพ่อแม่ทำงานอยู่ต่างประเทศ เธอลงรูปโป๊ในทวิตเตอร์เป็นงานอดิเรกแก้เบื่อ บางครั้งแบมจะขอให้คนอื่นรีวิวรูปของตน ด้วยการทวีตทำนองว่าจะส่งรูปให้ 5 คนแรกที่รีทวิต
แบมคิดว่ารูปโป๊ของเด็กถ้ามาจากการที่เด็กเต็มใจถ่ายก็ไม่ใช่การคุกคาม และถ้าลงรูปแบบไม่เห็นหน้าก็เป็นเรื่องที่รับได้
ตอนนี้แบมกำลังอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบชิงทุนสายคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เธอชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ อาชีพที่อยากทำในอนาคตคือครูสอนภาษา
แตงโม เด็กหญิงอายุ 17 ปี อาศัยอยู่หอพักเพียงลำพังมา 1 ปีแล้ว เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมา เธอเริ่มขายคลิปและรูปแนวเซ็กซี่ตามคำขอ ส่วนตัวเธอชอบถ่ายรูปตนเอง และรู้สึกว่าการขายสื่อแบบนี้เหมือนการขายของทั่วไป
กระนั้นแตงโมก็รู้สึกถึง การคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ ซึ่งแม้ภัยจะไม่ถึงตัว แต่ก็ยังเป็นความรุนแรงอยู่ดี “ให้คิดง่ายๆ อารมณ์เหมือนโดนด่าว่าพ่อมึงตาย เราจะรู้สึกโกรธทั้งที่พ่อเราก็ไม่ได้ตายจากประโยคนั้น” เธออธิบาย
การอ่านวรรณกรรมเยาวชนแปลเป็นสิ่งที่แตงโมชื่นชอบ โตขึ้นเธออยากเป็นนางแบบแนวเซ็กซี่ และความฝันสูงสุดของเธอคืออยากเป็นคนที่รวยมากๆ เพื่อช่วยเหลือคนลำบากที่รัฐบาลมองข้าม
รับรู้ชีวิตจริงจากโลกเสมือนส่งผลต่อความสามารถในการเห็นอกเห็นใจ
พญ.ปริชวันกล่าวว่า ช่วง 0-18 ปี คือช่วงที่เด็กต้องเรียนรู้โลกตามจริง เพื่อสร้างรากฐานในการใช้จัดการกับร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณของตัวเองไปชั่วชีวิต แต่เมื่อเด็กเรียนรู้ผ่านโลกเสมือนอย่างโซเชียลมีเดีย ทำให้สมองขาดการกระตุ้นผ่านประสาทสัมผัส เช่น การรับรู้อารมณ์ การรับรู้กลิ่น รส สัมผัส ทำให้ไม่เกิดการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ตรงหน้า
พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“มนุษย์มีเซลล์ประสาทที่เรียกว่าเซลล์กระจก (Mirror Nueron) อยู่ในสมอง ที่สามารถสะท้อนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า ไปสู่ประสบการณ์ของตัวเองข้างใน ทำให้เกิดการเห็นอกเห็นใจในมนุษย์” พญ.ปริชวันอธิบายถึงความสำคัญของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็กกล่าวถึงความแตกต่างของสมองเด็กกับผู้ใหญ่ว่า “สมองเด็กยังไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรหลายอย่างได้เท่าผู้ใหญ่ เพราะว่าต้องใช้เวลาในการพัฒนา พอเด็กไปเจอสถานการณ์บางอย่างในช่วงวัยที่ยังไม่ได้มีประสบการณ์การวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจเชิงลึก ก็อาจจะทำให้เด็กถูกล่อลวง หรือถูกชักจูงด้วยประสบการณ์ที่เด็กไม่เข้าใจ”
“จิตใจ สมอง และโลกความจริงที่กำลังกระตุ้นเราอยู่ จะทำงานควบคู่กันเป็นเครื่องมืออัตโนมัติชิ้นยอด จากการเกิดประสบการณ์ตรงในชีวิตของมนุษย์ แต่การที่เด็กๆ ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียเยอะ เป็นการทำให้เครื่องมือที่พิเศษสุดของเราพร่องไปในบางมิติ” พญ.ปริชวันสรุป
ใช้ความรักเปลี่ยนให้เด็กยอมรับการกระทำผิด
วีรวรรณ มอสบี้ ผู้อำนวยการโครงการฮัก มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว ซึ่งทำงานร่วมกับไทแคค เล่าว่า จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับตำรวจในการยุติการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ส่วนใหญ่เด็กที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย มักมีปัญหาครอบครัว หรือไม่มีพ่อแม่ดูแล ดังนั้น เป้าหมายของเขาคือทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองอยู่รอด
วีรวรรณเยียวยาเด็กกลุ่มนี้โดยใช้หลักการรักอย่างฉลาด (Love and Logic) ซึ่งเน้นให้ธรรมชาติเป็นตัวสอนเด็ก โดยผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นโค้ช
“มีเคสเด็กเป็นผู้เสียหายค้ามนุษย์ เขามาอยู่กับเราสามเดือน แล้วเขาแอบไปขายอีก เพราะเขาอยากได้เงิน เราก็บอกว่า ‘ไม่เป็นไร หนูทำได้ตั้งสามเดือนที่ผ่านมา พี่เชื่อว่าหนูจะทำได้ดีกว่านี้’ เราจะไม่ตัดสินความผิดพลาดของเขา แต่ให้เขาได้เรียนรู้กับมัน แล้วเราจะเสริมพลังใจให้กับเขา”
วีรวรรณ มอสบี้ ผู้อำนวยการโครงการฮัก
กรณีที่ผู้ปกครองพบว่าลูกขายภาพโป๊ วีรวรรณแนะนำในฐานะแม่คนหนึ่งว่า สำหรับเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าพ่อแม่จะแก้ไขด้วยตัวเองได้ อาจจะต้องหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
ต้องผลักดันการสอนเรื่องสิทธิบนเนื้อตัวร่างกายตั้งแต่เด็ก
แสงจันทร์ เมธาตระกูล ผู้จัดการโครงการโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาวะของ Path2Health กล่าวว่า มีโครงการจัดอบรมครูเรื่องการสอนเพศวิถีรอบด้านมาตั้งแต่ปี 2540 และเริ่มเปลี่ยนมาจัดแบบออนไลน์เมื่อปี 2562 โดยเน้นการจำลองสถานการณ์ให้เด็กฝึกคิดและวิเคราะห์ มีเป้าหมายให้เด็กเข้าใจและเท่าทันพฤติกรรมที่จะส่งผลกระทบทั้งบวกและลบต่อตนเอง
แสงจันทร์ เมธาตระกูล ผู้จัดการโครงการโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาวะของ Path2Health
“เพราะว่าเรื่องเพศมันเป็นเรื่องวิถีชีวิต เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวเด็กทุกคน แต่มันไม่สามารถควบคุมหรือกำกับได้ตลอดเวลา” แสงจันทร์กล่าวถึงเหตุผลที่จำเป็นจะต้องสอนพัฒนาการทางเพศพร้อมไปกับการสอนเรื่องความยินยอม ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้น
สื่อการสอนเพศวิถีรอบด้านที่พัฒนาโดย Path2Health สำหรับชั้น ม.3
เมื่อต้นปี 2563 วิภาพร ตั้งตรงหฤทัย ครูสอนวิชาสังคมศึกษาชั้น ม.1 – ม.3 โรงเรียนแม่สอด เข้าร่วมอบรมการสอนเพศวิถีแบบออนไลน์ของ Path2Health เพราะอยากนำความรู้ไปให้คำแนะนำกับนักเรียนที่เป็นวัยรุ่น วิภาพรเผยว่า การอบรมช่วยให้เธอเข้าใจแง่มุมใหม่ในการสอนเพศศึกษามากไปกว่าเรื่องเพศสัมพันธ์ เช่น ทัศนคติทางเพศ การให้คุณค่าตนเองและผู้อื่น
วิภาพรเล่าว่าเด็กเปิดใจพูดคุยกับเธอมากขึ้นหลังการอบรม เช่น มีเด็กหญิงชั้น ม.3 คนหนึ่งปรึกษาเธอเรื่องประจำเดือนไม่มา เมื่อพูดคุยต่อไปจึงรู้ว่าเด็กมีเพศสัมพันธ์กับแฟนโดยไม่ป้องกัน เด็กรู้สึกกังวลและไม่กล้าทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง เธอจึงช่วยเหลือให้เด็กได้ตรวจการตั้งครรภ์ ทำให้เด็กรู้สึกสบายใจขึ้น เมื่อเด็กคนอื่นรู้ว่าครูคนนี้ช่วยแก้ปัญหาได้ ก็ไว้ใจและเข้ามาปรึกษาเรื่องของตนมากขึ้น
จากการเก็บข้อมูลของไทแคค พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนกันยายน ได้รับแจ้งกรณีการคุกคามทางเพศต่อเด็กทางออนไลน์กว่า 300,000 เบาะแส เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเทียบกับปีก่อนๆ ที่ได้รับแจ้งเฉลี่ยปีละ 120,000 เบาะแส และมองว่าเป็นผลจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นในช่วงโควิด-19
ช่องทางแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็ก
ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี และปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Facebook: TICAC2016
Twitter: TicacThailand
สายด่วน: 1599
ที่อยู่: อาคาร 1 ชั้น 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (ข้อมูลอัพเดตวันที่ 2 ธ.ค. 2563)
โครงการฮัก มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว
Facebook: hugprojectthailand
Twitter: HugProjectTH
Website: https://www.hugproject.org/
Twitter Help Center
ดาวน์โหลดสื่อและแผนการเรียนรู้เพศวิถีรอบด้านของ Path2Health ได้ที่นี่
หยิบสื่อลงตะกร้า กรอกรายละเอียด และกดสั่งซื้อได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : ชญานิน โล่ห์สถาพรพิพิธ และ ธนพร เกาะแก้ว ภาพ : กานดา ชัยสาครสมุทร
คำเตือนเนื้อหา : การคุกคามทางเพศในเด็ก (เล่าอย่างชัดเจน), ความรุนแรงในครอบครัว (การทอดทิ้งบุตร), การใคร่เด็ก
หมายเหตุ : ชื่อเด็กที่เปิดแอคเคาท์ขายสื่อลามกอนาจารทั้งหมดเป็นนามสมมติเพื่อความปลอดภัยของเด็ก
เด็กหญิงวัย 15 เผยหารายได้จากการขายภาพและคลิปโป๊ของตนเองผ่านทวิตเตอร์ เหตุครอบครัวยากจน แม่ติดคุก พ่อแยกทาง ตำรวจชี้ผิด พ.ร.บ.คอมฯ และ พ.ร.บ. แก้ไข ป.อาญา พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ด้านนักวิชาการห่วง กฎหมายขัดหลักสิทธิเด็ก ไม่เว้นช่องว่างให้ผู้กระทำผิดที่ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์”
“หนูขายห้ารูป หนึ่งคลิป 150 (บาท) แค่นี้ หนูไม่ขายไปมากกว่านี้ ถ้าคลิปเดียว บางทีเขาอาจจะตังค์ไม่พอ หนูก็ลดให้ได้”
พลอย (นามสมมติ) นักเรียนหญิงชั้น ม.3 เล่าว่า ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา เธอเริ่มขายภาพโป๊และคลิปช่วยตัวเอง เพราะอยากมีรายได้ขณะอยู่บ้านเฉยๆ รวมถึงเห็นว่ามีคนในทวิตเตอร์ขาย จึงลองทำตาม
ระยะแรกที่เปิดแอคเคาท์ พลอยเคยมี “เสี่ยเลี้ยง” เป็นชายวัยทำงาน โดยพลอยเป็นคนกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ ส่วนฝ่ายชายเป็นคนตัดสินใจเรื่องเงินที่ให้ และตลอดช่วง 2-3 เดือนนั้น พ่อแม่ของเธอรับรู้ แต่ไม่ได้ห้ามอะไรมากไปกว่าเตือนไม่ให้ท้อง
คลิปของพลอยเคยถูกปล่อยไปในกลุ่มไลน์ ซึ่งเป็นคลิปแบบเห็นหน้าที่เธอส่งให้แฟนเก่า ที่รู้จักกันจากการขายรูปในทวิตเตอร์ เธอรู้สึกกลัวและเครียดมากกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แม้จะอยากแจ้งตำรวจก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐานไปแจ้งความ สำหรับคลิปที่หลุดไป พลอยมองว่า “มันน่าจะโดนคลิปอื่นทับไปแล้ว น่าจะไม่มีใครไปรื้อมาดูแล้วค่ะ หนูก็เลยพยายามลืมไป”
หลังจบ ม.3 พลอยอยากเรียนต่อสายอาชีพด้านการโรงแรมหรือการตลาด
ไหม (นามสมมติ) นักเรียนหญิงชั้น ม.ปลาย ในโรงเรียนประจำทางภาคเหนือ กล่าวว่า เธอฝืนใจเปิดแอคเคาท์ขายภาพโป๊เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อหาค่าเทอมและค่าเช่าหอ เพราะพ่อที่เป็นคนในครอบครัวเพียงหนึ่งเดียว เพิ่งถูกจำคุกในข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด ตอนนี้เธอไม่มีบ้านอยู่ และการอยู่โรงเรียนประจำทำให้ไม่สามารถทำงานพาร์ทไทม์ได้
เพื่อนสนิทของไหมเป็นคนแนะนำการหารายได้วิธีนี้ และนำภาพโป๊ของตนเองมาให้เธอขาย คนที่มาซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ตั้งแต่ 20-50 ปี นอกจากนี้ เธอได้เงินจากการบริจาค และการที่มีคนมาช่วยซื้อของเล็กน้อย เช่น เครื่องสำอาง ไหมบอกว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่มาช่วยในลักษณะนี้
หลังจากตกลงซื้อขายรูป ไหมบอกว่าเธอรู้สึก “เหนื่อย เกลียดตัวเองที่ต้องทำแบบนี้ รู้สึกว่าชีวิตเราน่าสมเพชมาก” และเธอเคยถูกคุกคามทางเพศในแชท เช่น “น้องมานั่งขายรูปงกๆ ดูไปเขาก็ทำอะไรไม่ได้ สู้ขายให้พี่ดีกว่า พี่ให้ xx,xxx บาท ทั้งเสียว ทั้งได้เงิน” หรือ “น้องน่าเอามากๆ เลยครับ พี่ขอซื้อได้ไหม” ซึ่งเธอปฏิเสธหรือไม่ตอบข้อความเหล่านั้นไป
ไหมชอบเรียนภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และดนตรี เวลาว่างเธอชอบเล่นกีตาร์ วาดรูป และแต่งนิยาย โตขึ้นเธออยากเป็นไกด์นำเที่ยว
เด็กอาจถูกล่อลวงหรือบังคับให้ขายรูป
พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต หรือไทแคค (TICAC) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เล่าว่า จากการทำงานตั้งแต่ปี 2559 ไม่ค่อยพบเคสที่เด็กถ่ายและขายภาพเอง รวมถึงไม่มีใครแจ้งเคสลักษณะนี้เข้ามา ส่วนมากจะมีคนกลางที่สร้างเงื่อนไขกับเด็ก เช่น หลอกล่อด้วยการให้เงิน ข่มขู่ว่าจะแบล็กเมล์ ฯลฯ
“คำถามคือคนที่มาโพสต์ภาพนี้เป็นเด็กหรือเปล่า เพราะอาจเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมาก็ได้ ที่เราเจอก็เป็นแบบนี้ มีให้เข้ากลุ่มที่อ้างว่าเฉพาะเจ้าของถ่ายเอง แล้วก็มีโปรไฟล์เป็นใบหน้าเจ้าของรูปโป๊ ถามว่ายืนยันได้ยังไงว่าเด็กเป็นคนโพสต์เอง” เจ้าหน้าที่ไทแคคตั้งข้อสังเกต
การทำงานของไทแคคยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญกับการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งใช้เวลานาน “การดำเนินคดีคือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเขา เราต้องพิสูจน์ให้ได้จริงๆ ว่าเขาเป็นผู้กระทำความผิด” พ.ต.อ.มรกต กล่าวเสริม
แต่ถ้าสืบแล้วพบว่าเด็กเป็นผู้กระทำจริง เจ้าหน้าที่ชี้ว่า เด็กจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คือ นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ รวมถึง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2558 มาตรา 287/1 คือ ครอบครองและส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก และ 287/2 คือ ใช้สื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อความประสงค์แห่งการค้า
ชี้กม.ไม่คุ้มครองเด็กที่กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ด้าน มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่งและศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2558 มาตรา 287/1 และ 287/2 ว่าเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการเว้นช่องว่างสำหรับผู้กระทำที่เป็นเด็ก เพราะใช้คำว่า “ผู้ใด” ครอบครอง ส่งต่อ หรือประกอบการค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก หมายความว่า ถ้าเด็กเป็นผู้ครอบครอง จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าเป็นผู้ส่งต่อสื่อลามกอนาจาร จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท
อาจารย์ประจำคณะนิติฯ มธ. ย้ำว่า ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก วัตถุประสงค์แรกของกฎหมายคือต้องคุ้มครองเด็ก จึงไม่เหมาะสมถ้าเด็กต้องมารับโทษหนักจากการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ควรปรับทัศนคติให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง และให้เรียนรู้ถึงผลกระทบระยะยาวที่เด็กยังคิดไม่ถึง กฎหมายดังกล่าวจึงนำมาสู่คำถามว่า “เราต้องการจะคุ้มครองเด็กหรือว่าเราต้องการที่จะควบคุมเด็ก”
มาตาลักษณ์อธิบายว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ใช้เฉพาะกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับผู้ใหญ่ได้
ทวิตเตอร์กับ “ด้านมืด” ที่ยังควบคุมไม่ได้
ในเดือนมีนาคม 2562 ทวิตเตอร์ได้ประกาศใช้นโยบายต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก โดยห้ามไม่ให้ผู้ใช้กระทำการ เช่น แสดงภาพเด็กที่มีส่วนร่วมในการกระทำทางเพศ หรือการกระทำล่อแหลม แสดงข้อคิดเห็นทางเพศเกี่ยวกับเด็กหรือต่อเด็ก พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมในบทสนทนาล่อแหลม ฯลฯ หากฝ่าฝืน แอคเคาท์นั้นจะถูกระงับทันทีอย่างถาวร
ไบโอทวิตเตอร์ของ สุดา (นามสมมติ) ระบุว่าเธออยู่ ม.ปลาย เธออ้างว่าเปิดแอคเคาท์นี้ขึ้นมา เพราะอยากรู้ความต้องการทางเพศของผู้ชาย โดยรูปภาพและวิดีโอทั้งหมดนำมาจากอินเทอร์เน็ต ข้อมูลอื่นๆ ก็เป็นเพียงการสมมติขึ้นมา
ทวิตเตอร์เป็นโซเชียลมีเดียที่สุดาเลือกใช้ เพราะเธอมองว่าการคัดกรองข้อมูลในแพลตฟอร์มนี้ไม่มีประสิทธิภาพ
สุดาเล่าว่า เธอแค่ลงรูปหรือคลิปโป๊ แต่ไม่ได้ขาย คนที่มาขอดูสื่อเหล่านี้มีตั้งแต่เด็กอายุ 15 จนถึงคนแก่ เธอเสริมว่าถ้าเป็นเรื่องสื่อลามกอนาจร คำอย่าง “มัธยม” จะยิ่งช่วยดึงดูดความสนใจ
ในทำนองเดียวกัน พลอยก็มองว่าทวิตเตอร์เป็นที่สำหรับโพสต์ “ด้านมืด” ซึ่งเธอนิยามว่าเป็นตัวตนอีกด้านที่คนจะไม่เปิดเผยในชีวิตจริง และพลอยเคยได้รับเงินจากการถ่ายภาพในชุดเนตรนารี แต่ที่บ่อยที่สุดคือ การขอซื้อคลิปที่เธอช่วยตัวเองในชุดนักเรียน
โรคใคร่เด็ก ภัยที่ไร้การป้องกันและเยียวยาอย่างจริงจัง
พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) คือความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ที่ชอบหรือพอใจจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก หลายครั้งคนกลุ่มนี้จะพยายามทำให้เด็กไว้ใจ โดยอาจทำให้ตนอยู่ในฐานะผู้ดูแล เช่น ครู หรือเข้าหาเด็กผ่านทางผู้ปกครอง ภายนอกอาจจะดูเหมือนความสัมพันธ์ทั่วไป แต่กว่าจะรู้ว่าใครเป็นโรคใคร่เด็กก็ตอนที่เกิดการล่วงละเมิดทางเพศไปแล้ว
หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็กกล่าวถึงการประเมินและรักษาอาการทางจิตผู้กระทำผิดที่แทบไม่เกิดขึ้น และให้ความเห็นว่า ควรมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดเข้าถึงเด็กคนอื่นอีก โดยเฉพาะกรณีที่เหตุเกิดจากบุคคลในสถานศึกษา ซึ่งปรากฏในหน้าข่าวบ่อยครั้ง
ผู้หญิงเปราะบางเพราะอำนาจทางเพศที่ไม่เท่าเทียม
จากการสังเกตของ “นิสิตนักศึกษา” พบว่าแอคเคาท์ขายภาพโป๊มักระบุว่าตัวเองเป็นเด็กผู้หญิง โดยแนบรูปที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของเพศหญิง (เพศทางชีววิทยา) หรืออ้างว่าในชีวิตจริงตนเองเป็นหญิงโดยกำเนิด
บุษยาภา ศรีสมพงษ์ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงบนพื้นฐานเพศภาวะ และผู้ก่อตั้ง SHero (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อยุติความรุนแรงในบ้าน) ให้มุมมองต่อข้อสังเกตข้างต้นว่า เบื้องหลังที่แท้จริงของผู้ผลิตสื่อลามกอนาจารอาจไม่ใช่เด็กผู้หญิง “แทนที่จะมองว่าเด็กผู้หญิงคือคนที่มีโอกาสจะเป็นผู้กระทำความผิด จริงๆ แล้วเขาคือกลุ่มที่เปราะบางที่สุด” เธอกล่าว
แอคเคาท์ที่ขายรูปโป๊เด็กมักจะพ่วงแฮชแท็กเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของเพศหญิง (เพศทางชีววิทยา) หรือความเป็นหญิงมาด้วย เช่น ระบุถึงอวัยวะเพศหญิง อ้างว่าในชีวิตจริงเป็นหญิงโดยกำเนิดหรือบอกลักษณะลักษณะภายนอกที่ตรงกับมาตรฐานความงามของผู้หญิง เช่น ผมยาว มีแก้ม เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงบนพื้นฐานเพศภาวะอธิบายต่อว่า “เปราะบาง” ไม่ได้หมายถึง “อ่อนแอ” แต่หมายถึง เสี่ยงต่อการถูกใช้ความรุนแรง เช่น การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะในบ้าน บนรถไฟฟ้า หรือในอินเทอร์เน็ต โดยมีเหตุมาจากปิตาธิปไตยที่ให้อำนาจกับเพศชายในการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของเพศหญิงและความเป็นหญิงให้มีอำนาจต่ำกว่า
ยุติการสร้างความชอบธรรมให้สื่อใคร่เด็ก
แม้ว่าการใคร่เด็กจะผิดกฎหมาย แต่สื่อไทยก็ยังมีความพยายามสร้างความชอบธรรมให้กับอาชญากรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขาย “คู่จิ้น” ที่เป็นผู้ใหญ่กับเด็ก การเผยแพร่บทความบนสื่อออนไลน์โดยนักวิชาการ ที่เทียบความนิยมหน้าเด็กอยู่ในระดับเดียวกับการใคร่เด็ก ไปจนถึงการ์ตูนมังงะ แอนิเมชัน นิยายและแฟนฟิคชั่นจำนวนไม่น้อยที่ทั้งผู้เขียนและผู้อ่านยืนยันว่าเป็นเพียง “จินตนาการ”
บุษยาภา แสดงความกังวลเกี่ยวกับการผลิตสื่อใคร่เด็กและการให้ความชอบธรรมกับสื่อนี้ ในขณะที่ปัจจุบันมีเด็กที่เป็นเหยื่อจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศอยู่มาก ยังไม่นับรวมเคสที่ไม่ถูกดำเนินคดี หรือเคสที่ดำเนินคดีแล้วแต่เด็กถูกปล่อยให้กลับมาอยู่ในครอบครัวที่มีคนใคร่เด็ก
ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนทิ้งท้ายว่า “ตอนนี้อาชญากรรมมันมาในรูปแบบของไซเบอร์แล้ว เพราะฉะนั้นในเมื่อเด็กเข้าถึงสื่อได้ อาชญากรรมก็เข้าถึงเด็กได้ง่ายขึ้น”
แบม เด็กหญิงวัย 16 ปี ลูกครึ่งไทย-ยุโรป ปัจจุบันอาศัยอยู่กับพี่แท้ๆ ส่วนพ่อแม่ทำงานอยู่ต่างประเทศ เธอลงรูปโป๊ในทวิตเตอร์เป็นงานอดิเรกแก้เบื่อ บางครั้งแบมจะขอให้คนอื่นรีวิวรูปของตน ด้วยการทวีตทำนองว่าจะส่งรูปให้ 5 คนแรกที่รีทวิต
แบมคิดว่ารูปโป๊ของเด็กถ้ามาจากการที่เด็กเต็มใจถ่ายก็ไม่ใช่การคุกคาม และถ้าลงรูปแบบไม่เห็นหน้าก็เป็นเรื่องที่รับได้
ตอนนี้แบมกำลังอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบชิงทุนสายคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เธอชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ อาชีพที่อยากทำในอนาคตคือครูสอนภาษา
แตงโม เด็กหญิงอายุ 17 ปี อาศัยอยู่หอพักเพียงลำพังมา 1 ปีแล้ว เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมา เธอเริ่มขายคลิปและรูปแนวเซ็กซี่ตามคำขอ ส่วนตัวเธอชอบถ่ายรูปตนเอง และรู้สึกว่าการขายสื่อแบบนี้เหมือนการขายของทั่วไป
กระนั้นแตงโมก็รู้สึกถึง การคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ ซึ่งแม้ภัยจะไม่ถึงตัว แต่ก็ยังเป็นความรุนแรงอยู่ดี “ให้คิดง่ายๆ อารมณ์เหมือนโดนด่าว่าพ่อมึงตาย เราจะรู้สึกโกรธทั้งที่พ่อเราก็ไม่ได้ตายจากประโยคนั้น” เธออธิบาย
การอ่านวรรณกรรมเยาวชนแปลเป็นสิ่งที่แตงโมชื่นชอบ โตขึ้นเธออยากเป็นนางแบบแนวเซ็กซี่ และความฝันสูงสุดของเธอคืออยากเป็นคนที่รวยมากๆ เพื่อช่วยเหลือคนลำบากที่รัฐบาลมองข้าม
รับรู้ชีวิตจริงจากโลกเสมือนส่งผลต่อความสามารถในการเห็นอกเห็นใจ
พญ.ปริชวันกล่าวว่า ช่วง 0-18 ปี คือช่วงที่เด็กต้องเรียนรู้โลกตามจริง เพื่อสร้างรากฐานในการใช้จัดการกับร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณของตัวเองไปชั่วชีวิต แต่เมื่อเด็กเรียนรู้ผ่านโลกเสมือนอย่างโซเชียลมีเดีย ทำให้สมองขาดการกระตุ้นผ่านประสาทสัมผัส เช่น การรับรู้อารมณ์ การรับรู้กลิ่น รส สัมผัส ทำให้ไม่เกิดการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ตรงหน้า
“มนุษย์มีเซลล์ประสาทที่เรียกว่าเซลล์กระจก (Mirror Nueron) อยู่ในสมอง ที่สามารถสะท้อนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า ไปสู่ประสบการณ์ของตัวเองข้างใน ทำให้เกิดการเห็นอกเห็นใจในมนุษย์” พญ.ปริชวันอธิบายถึงความสำคัญของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็กกล่าวถึงความแตกต่างของสมองเด็กกับผู้ใหญ่ว่า “สมองเด็กยังไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรหลายอย่างได้เท่าผู้ใหญ่ เพราะว่าต้องใช้เวลาในการพัฒนา พอเด็กไปเจอสถานการณ์บางอย่างในช่วงวัยที่ยังไม่ได้มีประสบการณ์การวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจเชิงลึก ก็อาจจะทำให้เด็กถูกล่อลวง หรือถูกชักจูงด้วยประสบการณ์ที่เด็กไม่เข้าใจ”
“จิตใจ สมอง และโลกความจริงที่กำลังกระตุ้นเราอยู่ จะทำงานควบคู่กันเป็นเครื่องมืออัตโนมัติชิ้นยอด จากการเกิดประสบการณ์ตรงในชีวิตของมนุษย์ แต่การที่เด็กๆ ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียเยอะ เป็นการทำให้เครื่องมือที่พิเศษสุดของเราพร่องไปในบางมิติ” พญ.ปริชวันสรุป
ใช้ความรักเปลี่ยนให้เด็กยอมรับการกระทำผิด
วีรวรรณ มอสบี้ ผู้อำนวยการโครงการฮัก มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว ซึ่งทำงานร่วมกับไทแคค เล่าว่า จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับตำรวจในการยุติการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ส่วนใหญ่เด็กที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย มักมีปัญหาครอบครัว หรือไม่มีพ่อแม่ดูแล ดังนั้น เป้าหมายของเขาคือทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองอยู่รอด
วีรวรรณเยียวยาเด็กกลุ่มนี้โดยใช้หลักการรักอย่างฉลาด (Love and Logic) ซึ่งเน้นให้ธรรมชาติเป็นตัวสอนเด็ก โดยผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นโค้ช
กรณีที่ผู้ปกครองพบว่าลูกขายภาพโป๊ วีรวรรณแนะนำในฐานะแม่คนหนึ่งว่า สำหรับเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าพ่อแม่จะแก้ไขด้วยตัวเองได้ อาจจะต้องหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
ต้องผลักดันการสอนเรื่องสิทธิบนเนื้อตัวร่างกายตั้งแต่เด็ก
แสงจันทร์ เมธาตระกูล ผู้จัดการโครงการโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาวะของ Path2Health กล่าวว่า มีโครงการจัดอบรมครูเรื่องการสอนเพศวิถีรอบด้านมาตั้งแต่ปี 2540 และเริ่มเปลี่ยนมาจัดแบบออนไลน์เมื่อปี 2562 โดยเน้นการจำลองสถานการณ์ให้เด็กฝึกคิดและวิเคราะห์ มีเป้าหมายให้เด็กเข้าใจและเท่าทันพฤติกรรมที่จะส่งผลกระทบทั้งบวกและลบต่อตนเอง
“เพราะว่าเรื่องเพศมันเป็นเรื่องวิถีชีวิต เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวเด็กทุกคน แต่มันไม่สามารถควบคุมหรือกำกับได้ตลอดเวลา” แสงจันทร์กล่าวถึงเหตุผลที่จำเป็นจะต้องสอนพัฒนาการทางเพศพร้อมไปกับการสอนเรื่องความยินยอม ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้น
เมื่อต้นปี 2563 วิภาพร ตั้งตรงหฤทัย ครูสอนวิชาสังคมศึกษาชั้น ม.1 – ม.3 โรงเรียนแม่สอด เข้าร่วมอบรมการสอนเพศวิถีแบบออนไลน์ของ Path2Health เพราะอยากนำความรู้ไปให้คำแนะนำกับนักเรียนที่เป็นวัยรุ่น วิภาพรเผยว่า การอบรมช่วยให้เธอเข้าใจแง่มุมใหม่ในการสอนเพศศึกษามากไปกว่าเรื่องเพศสัมพันธ์ เช่น ทัศนคติทางเพศ การให้คุณค่าตนเองและผู้อื่น
วิภาพรเล่าว่าเด็กเปิดใจพูดคุยกับเธอมากขึ้นหลังการอบรม เช่น มีเด็กหญิงชั้น ม.3 คนหนึ่งปรึกษาเธอเรื่องประจำเดือนไม่มา เมื่อพูดคุยต่อไปจึงรู้ว่าเด็กมีเพศสัมพันธ์กับแฟนโดยไม่ป้องกัน เด็กรู้สึกกังวลและไม่กล้าทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง เธอจึงช่วยเหลือให้เด็กได้ตรวจการตั้งครรภ์ ทำให้เด็กรู้สึกสบายใจขึ้น เมื่อเด็กคนอื่นรู้ว่าครูคนนี้ช่วยแก้ปัญหาได้ ก็ไว้ใจและเข้ามาปรึกษาเรื่องของตนมากขึ้น
จากการเก็บข้อมูลของไทแคค พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนกันยายน ได้รับแจ้งกรณีการคุกคามทางเพศต่อเด็กทางออนไลน์กว่า 300,000 เบาะแส เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเทียบกับปีก่อนๆ ที่ได้รับแจ้งเฉลี่ยปีละ 120,000 เบาะแส และมองว่าเป็นผลจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นในช่วงโควิด-19
ช่องทางแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็ก
ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี และปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Facebook: TICAC2016
Twitter: TicacThailand
สายด่วน: 1599
ที่อยู่: อาคาร 1 ชั้น 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (ข้อมูลอัพเดตวันที่ 2 ธ.ค. 2563)
โครงการฮัก มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว
Facebook: hugprojectthailand
Twitter: HugProjectTH
Website: https://www.hugproject.org/
Twitter Help Center
ดาวน์โหลดสื่อและแผนการเรียนรู้เพศวิถีรอบด้านของ Path2Health ได้ที่นี่
หยิบสื่อลงตะกร้า กรอกรายละเอียด และกดสั่งซื้อได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
Share this:
Like this: