เรื่องและภาพ: ชัญญานุช อินตา
“สตรีทอาร์ตก็ดีนะ แต่ถ้าเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ ก็ดีเหมือนกัน” อมรรัตน์ สมกมลสกุล เจ้าของร้าน Blacksmith Cafe ในย่านตลาดน้อยพูดถึงสตรีทอาร์ตที่อยู่ในซอยข้างร้านของเธอพลางหัวเราะ
ซอยศาลเจ้าโรงเกือกและซอยดวงตะวันมีชิ้นงานสตรีทอาร์ตที่ถูกวาดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 โดยศิลปิน 7 ชีวิต จากโครงการ ‘สาดสีสร้างศิลป์’ ของนักศึกษาคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“ถ้ามีอะไรที่แปลกใหม่กว่าเดิมก็ดีค่ะ อยากให้มีไอเดียใหม่ ๆ เข้ามาผลัดเปลี่ยนบ้าง คิดว่าปีนึงหรือปีครึ่งก็น่าจะเปลี่ยนได้แล้วนะ” อมรรัตน์กล่าวเสริม
ปัจจุบันตลาดน้อยเป็นที่รู้จักในฐานะชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรม เป็นย่านธุรกิจเซียงกง รวมถึงมีร้านกาแฟใหม่ ๆ สตรีทอาร์ตก็เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด
“สตรีทอาร์ตชุดแรกเกิดขึ้นเพราะซอยของชุมชนมืดและเปลี่ยว ตอนเริ่มทำเรื่องท่องเที่ยวเราก็ไปดูงานที่สงขลา ดูเรื่องสตรีทอาร์ตทางด้านนู้น ที่สงขลากับปีนัง แล้วเราก็ ‘เออ เราน่าจะทำสตรีทอาร์ตบ้าง’ เราเลยหาจุดว่าควรทำตรงไหนดี แล้วเรามองว่ากำแพงของกรมเจ้าท่าเป็นกำแพงยาว ซึ่งน่าจะของ่ายกว่าที่อื่น แล้วก็จริง เราขอทีเดียวได้ตรงนั้นเลย” รุ่งจันทร์ เฉลิมวิริยะ พาย้อนวันวานอย่างสนุกสนาน เธอเกิดและเติบโตที่นี่ ปัจจุบันเป็นประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย
“พอกรมเจ้าท่าอนุญาต เราก็หาศิลปินให้มาช่วยวาด เมื่อก่อนมันเป็นท่าเรือ เลยวาดรูปเรือสำเภาอั้ง เถ้า จุ้ง (เรือสำเภาหัวแดง) ตรงกำแพง”
รุ่งจันทร์กล่าวอย่างภูมิใจว่า สตรีทอาร์ตของตลาดน้อยไม่ได้เป็นเพียงศิลปะข้างถนนธรรมดา แต่แฝงไปด้วยเรื่องราวในชุมชน
“เราวาดเพื่อบอกเรื่องราวให้คนมาเที่ยวสตรีทอาร์ตได้รูปภาพและรู้ความหมายของภาพว่ามันเกี่ยวโยงกับอะไรกับชุมชนบ้าง”
รุ่งจันทร์ เฉลิมวิริยะ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย
สตรีทอาร์ตตลาดน้อยในมุมมองของผู้สร้างสรรค์
อัครพล มณฑาทอง หรือ Bonus TMC เล่าว่า เขาทราบมาว่าตลาดน้อยเป็นจุดกำเนิดของคณะสิงโตเชิดในไทย ภาพสิงโตทอง จึงถูกวาดขึ้นมาเพื่อสื่อว่าสิงโตของที่นี่คือเจ้าแห่งสิงโต ภาพยังบอกเล่าเรื่องราวของเทศกาลกินเจซึ่งเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวชุมชนตลาดน้อยไปพร้อมกันด้วย
อัครพล แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “สตรีทอาร์ตช่วยขับเคลื่อนวัฒนธรรมได้ เป็นแหล่งความรู้ได้ เพราะมันร่วมสมัย เห็นได้ทุกเพศทุกวัย ถ้าเกิดเรามองคุณค่าด้านความสวยงาม มันก็จะสวยงาม แต่ถ้ามองลึกกว่านั้นก็จะมีข้อมูล มีคอนเซ็ปต์อยู่ข้างในภาพ” เขาบอกว่าคนรุ่นใหม่อย่างเขายังได้สัมผัสประวัติศาสตร์ของตลาดน้อยผ่านการวาดภาพนี้ด้วย
ภาพสิงโตทอง เล่าการเริ่มต้นของคณะสิงโตเชิดและเทศกาลกินเจที่ตลาดน้อย โดยศิลปิน Bonus TMC (2561)
ตลาดน้อยยังมีประเพณี ‘หง่วนเซียว’ ที่ในวันเพ็ญแรกของปี นับจากวันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยจะนำ ‘ขนมเต่า’ ขนมปังที่ปั้นเป็นรูปเต่าอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน มาไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าประจำย่านนี้ และเขียนคำมงคล 4 คำคู่กับขนมเต่า ภาพเต่ามงคล จึงถูกวาดขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวนี้ ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนี้ คือ DR.CAS หนึ่งในผู้ประสานงานโครงการ ‘สาดสีสร้างศิลป์’ เขาทำงานกราฟฟิตี้มากว่า 10 ปี ปัจจุบันเปิดสตูดิโอกึ่งแกลอรี่ที่เชียงใหม่ และยังเป็นหนึ่งในผู้จัดเทศกาล ‘กลิ่นหอม ตอมม่วน’ ณ ชุมชนควรค่าม้า จังหวัดเชียงใหม่
DR.CAS เห็นว่า “สตรีทอาร์ตส่งผลทั้งด้านจิตใจและความภูมิใจในอัตลักษณ์ชุมชนนะ งานที่เราวาดถูกแชร์กันด้วยความรู้สึกของผู้คนในชุมชนนั้นจริง ๆ แล้วศิลปะมันสื่อสารได้หลากหลายรูปแบบ แต่ตัวเนื้อหาต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ”
“สิ่งที่เราเห็นคือตอนที่เราทำงานอยู่ ตอนที่เราเสร็จงาน เราสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่ชุมชนส่งมอบให้กับเรา ณ ช่วงเวลานั้น เขาอาจจะไม่ได้ไปแปะประกาศ หรือไปโฆษณา แต่เรารับรู้ได้ด้วยความรู้สึก” DR.CAS บอก
ภาพเต่ามงคล โดยศิลปิน DR.CAS (2561)
พื้นที่สร้างศิลป์ของคนในชุมชน
“จุดเริ่มต้นคือคุณแม่ของคุณ Lan Laoha! (ศิลปิน) มาขอเช่ากำแพงให้ลูกเขาวาด เราก็อนุญาตให้เขาทำตามที่อยากทำได้ทั้งหมด เพราะเราแค่อยากให้เขาได้ใช้พลังงานของเขาเท่านั้นเอง ปรากฏว่าพอวาดไปเรื่อย ๆ เขาก็วาดเต็มกำแพงเลย เราก็โอเคนะ เข้าใจ เพราะเราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรตรงข้างฝาโกดังนอกจากเก็บของอยู่แล้ว” มณี วัฒนประการชัย เจ้าของตึกแถวโกดังที่มีภาพวาดร้านกาแฟอยู่บนผนังเล่าที่มาของสตรีทอาร์ตชิ้นนี้
ภาพร้านกาแฟ โดยศิลปิน Len Laoha! (2558 – มีนาคม 2565)
“ภาพแรกที่ผมวาดคือร่มไทยพาณิชย์ เพราะธนาคารไทยพาณิชย์แห่งแรกของไทยตั้งขึ้นที่ตลาดน้อย ส่วนภาพถัดมาคือรถเข็นไอติมไผ่ทอง ผมชอบกินมาตั้งแต่เด็ก เป็นไอศกรีมคนไทยที่คุณภาพดี ตอนนั้นก็วาด ๆ ลบ ๆ หลายครั้งเลย”
ศิลปิน Len Laoha! วัย 21 ปี เล่าไปพร้อมกับนึกถึงวันวาน เขาคือผู้สร้างสรรค์ผนังของภาพวาดร้านกาแฟทั้งหมด โดยเริ่มวาดภาพแรกตั้งแต่อายุ 14 ปี และแต่งเติมมาเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลากว่า 7 ปี เขาเป็นอดีตสมาชิกรุ่นเยาว์ในชุมชนที่วาดภาพสื่อความหมายของตลาดน้อยออกมาในรูปแบบของตัวเอง
“ส่วนภาพร้านกาแฟ ตอนนั้นผมวาดรูปไปประมาณสักประมาณครึ่งกำแพงแล้ว ผมก็เริ่มได้ข่าวว่า mother roaster ร้านกาแฟนี้ปังมาก ๆ พอผมลองขึ้นไปดูร้านกาแฟข้างบนก็ โอ้โห มันเป็นลอฟต์ เราอยากโปรโมตให้เขานะ แต่เขาไม่ได้ต้องการภาพที่ใหญ่ เราเลยคิดว่าเราวาดไปเลยละกัน ทำให้มันเด่นไปเลย ต้องทำให้คนเข้าไปถ่ายรูปตรงนั้นได้ มันเลยเป็นจุดเด่นของตลาดน้อยครับ”
แม้ว่าปัจจุบันภาพร้านกาแฟจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่ก็ยังพอมีเค้าโครงเดิมให้เห็น มณี วัฒนประการชัย เล่าว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีศิลปินอีกคนติดต่อขอวาดภาพเพิ่มเติมจากของเดิม โดยใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น มณีเล่าอย่างตื่นเต้นว่า วันแรกศิลปินคนใหม่ใช้สเปรย์พ่นจนเต็มกำแพงแบบไม่ลงสีพื้น แต่วาดภาพได้เลย ส่วนวันที่สองก็มาเก็บรายละเอียดงาน เรียกได้ว่าเก่งและรวดเร็วสุด ๆ ถือเป็นความสามารถที่ทำเจ้าของบ้านตะลึงเลยทีเดียว
ภาพวาดที่ต่อเติมจากภาพร้านกาแฟบนผนังเดิม โดยศิลปินใหม่ (มีนาคม 2565)
สตรีทอาร์ตตลาดน้อยในมุมมองของชุมชน
จือหมง แซ่โค้ว ชาวชุมชนตลาดน้อยที่เกิดและเติบโตที่นี่มากว่า 65 ปีกล่าวว่า “สตรีทอาร์ตมันดีนะ เมื่อก่อนไม่มีนักท่องเที่ยวไทยเข้ามาในชุมชน มีแต่ฝรั่งเข้ามา ตอนนั้นไม่มีรูปภาพอะไรเลย ทีนี้เขามาวาดรูป นักท่องเที่ยวก็มากันเยอะขึ้น ก็ได้เข้ามาดูบ้านเก่าบ้านโบราณด้วย”
“สตรีทอาร์ตในชุมชนมันก็ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามานะ ก่อนหน้าที่จะมีสตรีทอาร์ต นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนก็มีเหมือนกัน แต่ไม่เยอะมาก พอมีสตรีทอาร์ตแล้ววัยรุ่นก็เข้ามาถ่ายรูปเยอะ มันก็ช่วยพัฒนานะ เพราะทำให้ชุมชนมีรายได้” วิมล เหลืองอรุณ กรรมการชุมชนตลาดน้อย แสดงความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน
ขณะที่ รุ่งจันทร์ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย กล่าวว่า “สตรีทอาร์ตทำให้ซอยในชุมชนบรรยากาศครึกครื้นขึ้น สะอาดขึ้น ไม่เปลี่ยวไม่น่ากลัว ผู้สูงอายุในซอยมีกิจกรรมขายน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาก็มีความสุข สดชื่นที่ได้พบปะผู้คน ดีกว่าเมื่อก่อนที่ไม่มีเลย เป็นซอยที่เงียบ
“การมีสตรีทอาร์ตส่งผลให้ปัจเจกบุคคลมีการพัฒนาด้วย อย่างที่รู้ว่าเดี๋ยวนี้บางบ้านก็บอกว่า ‘มาวาดบ้านฉันสิ’ เขาก็เริ่มมีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้น เพราะเขาก็เริ่มรู้แล้วว่าเราเล่าเรื่องอะไรให้คนนอกชุมชน รูปสตรีทอาร์ตมันมีความหมายอะไร มันสื่อให้คนภายนอกได้รู้ได้เห็นอะไรแบบนี้ของบ้านเรานะ”
รุ่งจันทร์ เฉลิมวิริยะ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย
เหรียญย่อมมีสองด้าน การมีอยู่ของสตรีทอาร์ตก็เช่นกัน
“เราดีใจที่นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูป เข้ามาเที่ยวในชุมชนนะ มีหลายครั้งที่นักท่องเที่ยววางอาหารทิ้งไว้แล้วไปถ่ายรูป พอถ่ายเสร็จก็ลืมนำกลับไปด้วย แต่เราก็เข้าใจได้ เพราะมันก็เป็นเรื่องปกติ แต่มันก็มีปัญหาที่ตามมาเหมือนกัน คือในซอยแมวจรมันเยอะ บางทีคนงานเราลืมเก็บขยะแล้วแมวเข้ามาฉีกถุงจะกิน มันเลยสกปรกบ้าง ยิ่งถ้ามันบูดจะส่งกลิ่นเหม็น แต่อย่างที่บอกมันไม่เหนือบ่ากว่าแรงเรา เราไม่ได้ซีเรียสเรื่องพวกนี้เลย” มณี เจ้าของบ้านที่มีภาพวาดร้านกาแฟเปิดใจ
รุ่งจันทร์ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย เล่าประสบการณ์เพิ่มเติมว่า “นักท่องเที่ยวมักเข้ามาเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณส่งเสียงดังตลอดเวลา คนแก่ก็นอนกลางวันไม่ได้ เรื่องพ้อยต์เท้าถ่ายรูปด้วย ถ้าคุณพ้อยต์แล้วทำผนังบ้านเขาเปื้อนก็อยากให้ช่วยกันเช็ดหน่อย เพราะเจ้าของบ้านเขาต้องมาคอยเช็ดให้ตลอด”
“แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ การถ่ายรูปคนในชุมชนโดยไม่ขออนุญาต บางคนก็นั่งกินข้าวในบ้าน นั่งซักผ้า ซึ่งสภาพเขาอาจจะไม่พร้อมที่จะอยู่ในภาพ แต่คุณดูแล้วอาร์ต คุณก็ไปถ่ายรูปเขา ถ้าอยากถ่ายรูปขอให้บอกกันหน่อยได้ไหม ถ้าเขาให้ถ่ายคุณก็ถ่ายไป แต่ถ้าเขาไม่ให้ถ่าย คุณก็ไม่ควรไปถ่ายเขา” รุ่งจันทร์บอก
คุณค่าของสตรีทอาร์ตที่ตลาดน้อยไม่ได้มีเพียงความสวยงาม แต่ยังแฝงไปด้วยเรื่องเล่าและความรู้สึกของชุมชน หากมองให้ลึกเข้าไปก็อาจพบเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใต้ภาพวาดสีสันต่าง ๆ หรืออาจพบคุณลุงคุณป้ามาขายน้ำระหว่างทางด้วยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้มาเยือนควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องรักษาความสะอาดและมารยาทอยู่เสมอเมื่อเข้าไปท่องเที่ยวในชุมชน เพราะที่นี่คือบ้านที่มีผู้คนเหมือนกับพวกเราอาศัยอยู่
Like this:
Like Loading...
เรื่องและภาพ: ชัญญานุช อินตา
“สตรีทอาร์ตก็ดีนะ แต่ถ้าเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ ก็ดีเหมือนกัน” อมรรัตน์ สมกมลสกุล เจ้าของร้าน Blacksmith Cafe ในย่านตลาดน้อยพูดถึงสตรีทอาร์ตที่อยู่ในซอยข้างร้านของเธอพลางหัวเราะ
ซอยศาลเจ้าโรงเกือกและซอยดวงตะวันมีชิ้นงานสตรีทอาร์ตที่ถูกวาดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 โดยศิลปิน 7 ชีวิต จากโครงการ ‘สาดสีสร้างศิลป์’ ของนักศึกษาคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“ถ้ามีอะไรที่แปลกใหม่กว่าเดิมก็ดีค่ะ อยากให้มีไอเดียใหม่ ๆ เข้ามาผลัดเปลี่ยนบ้าง คิดว่าปีนึงหรือปีครึ่งก็น่าจะเปลี่ยนได้แล้วนะ” อมรรัตน์กล่าวเสริม
ปัจจุบันตลาดน้อยเป็นที่รู้จักในฐานะชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรม เป็นย่านธุรกิจเซียงกง รวมถึงมีร้านกาแฟใหม่ ๆ สตรีทอาร์ตก็เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด
“สตรีทอาร์ตชุดแรกเกิดขึ้นเพราะซอยของชุมชนมืดและเปลี่ยว ตอนเริ่มทำเรื่องท่องเที่ยวเราก็ไปดูงานที่สงขลา ดูเรื่องสตรีทอาร์ตทางด้านนู้น ที่สงขลากับปีนัง แล้วเราก็ ‘เออ เราน่าจะทำสตรีทอาร์ตบ้าง’ เราเลยหาจุดว่าควรทำตรงไหนดี แล้วเรามองว่ากำแพงของกรมเจ้าท่าเป็นกำแพงยาว ซึ่งน่าจะของ่ายกว่าที่อื่น แล้วก็จริง เราขอทีเดียวได้ตรงนั้นเลย” รุ่งจันทร์ เฉลิมวิริยะ พาย้อนวันวานอย่างสนุกสนาน เธอเกิดและเติบโตที่นี่ ปัจจุบันเป็นประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย
“พอกรมเจ้าท่าอนุญาต เราก็หาศิลปินให้มาช่วยวาด เมื่อก่อนมันเป็นท่าเรือ เลยวาดรูปเรือสำเภาอั้ง เถ้า จุ้ง (เรือสำเภาหัวแดง) ตรงกำแพง”
รุ่งจันทร์กล่าวอย่างภูมิใจว่า สตรีทอาร์ตของตลาดน้อยไม่ได้เป็นเพียงศิลปะข้างถนนธรรมดา แต่แฝงไปด้วยเรื่องราวในชุมชน
สตรีทอาร์ตตลาดน้อยในมุมมองของผู้สร้างสรรค์
อัครพล มณฑาทอง หรือ Bonus TMC เล่าว่า เขาทราบมาว่าตลาดน้อยเป็นจุดกำเนิดของคณะสิงโตเชิดในไทย ภาพสิงโตทอง จึงถูกวาดขึ้นมาเพื่อสื่อว่าสิงโตของที่นี่คือเจ้าแห่งสิงโต ภาพยังบอกเล่าเรื่องราวของเทศกาลกินเจซึ่งเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวชุมชนตลาดน้อยไปพร้อมกันด้วย
อัครพล แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “สตรีทอาร์ตช่วยขับเคลื่อนวัฒนธรรมได้ เป็นแหล่งความรู้ได้ เพราะมันร่วมสมัย เห็นได้ทุกเพศทุกวัย ถ้าเกิดเรามองคุณค่าด้านความสวยงาม มันก็จะสวยงาม แต่ถ้ามองลึกกว่านั้นก็จะมีข้อมูล มีคอนเซ็ปต์อยู่ข้างในภาพ” เขาบอกว่าคนรุ่นใหม่อย่างเขายังได้สัมผัสประวัติศาสตร์ของตลาดน้อยผ่านการวาดภาพนี้ด้วย
ตลาดน้อยยังมีประเพณี ‘หง่วนเซียว’ ที่ในวันเพ็ญแรกของปี นับจากวันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยจะนำ ‘ขนมเต่า’ ขนมปังที่ปั้นเป็นรูปเต่าอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน มาไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าประจำย่านนี้ และเขียนคำมงคล 4 คำคู่กับขนมเต่า ภาพเต่ามงคล จึงถูกวาดขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวนี้ ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนี้ คือ DR.CAS หนึ่งในผู้ประสานงานโครงการ ‘สาดสีสร้างศิลป์’ เขาทำงานกราฟฟิตี้มากว่า 10 ปี ปัจจุบันเปิดสตูดิโอกึ่งแกลอรี่ที่เชียงใหม่ และยังเป็นหนึ่งในผู้จัดเทศกาล ‘กลิ่นหอม ตอมม่วน’ ณ ชุมชนควรค่าม้า จังหวัดเชียงใหม่
DR.CAS เห็นว่า “สตรีทอาร์ตส่งผลทั้งด้านจิตใจและความภูมิใจในอัตลักษณ์ชุมชนนะ งานที่เราวาดถูกแชร์กันด้วยความรู้สึกของผู้คนในชุมชนนั้นจริง ๆ แล้วศิลปะมันสื่อสารได้หลากหลายรูปแบบ แต่ตัวเนื้อหาต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ”
“สิ่งที่เราเห็นคือตอนที่เราทำงานอยู่ ตอนที่เราเสร็จงาน เราสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่ชุมชนส่งมอบให้กับเรา ณ ช่วงเวลานั้น เขาอาจจะไม่ได้ไปแปะประกาศ หรือไปโฆษณา แต่เรารับรู้ได้ด้วยความรู้สึก” DR.CAS บอก
พื้นที่สร้างศิลป์ของคนในชุมชน
“จุดเริ่มต้นคือคุณแม่ของคุณ Lan Laoha! (ศิลปิน) มาขอเช่ากำแพงให้ลูกเขาวาด เราก็อนุญาตให้เขาทำตามที่อยากทำได้ทั้งหมด เพราะเราแค่อยากให้เขาได้ใช้พลังงานของเขาเท่านั้นเอง ปรากฏว่าพอวาดไปเรื่อย ๆ เขาก็วาดเต็มกำแพงเลย เราก็โอเคนะ เข้าใจ เพราะเราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรตรงข้างฝาโกดังนอกจากเก็บของอยู่แล้ว” มณี วัฒนประการชัย เจ้าของตึกแถวโกดังที่มีภาพวาดร้านกาแฟอยู่บนผนังเล่าที่มาของสตรีทอาร์ตชิ้นนี้
“ภาพแรกที่ผมวาดคือร่มไทยพาณิชย์ เพราะธนาคารไทยพาณิชย์แห่งแรกของไทยตั้งขึ้นที่ตลาดน้อย ส่วนภาพถัดมาคือรถเข็นไอติมไผ่ทอง ผมชอบกินมาตั้งแต่เด็ก เป็นไอศกรีมคนไทยที่คุณภาพดี ตอนนั้นก็วาด ๆ ลบ ๆ หลายครั้งเลย”
ศิลปิน Len Laoha! วัย 21 ปี เล่าไปพร้อมกับนึกถึงวันวาน เขาคือผู้สร้างสรรค์ผนังของภาพวาดร้านกาแฟทั้งหมด โดยเริ่มวาดภาพแรกตั้งแต่อายุ 14 ปี และแต่งเติมมาเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลากว่า 7 ปี เขาเป็นอดีตสมาชิกรุ่นเยาว์ในชุมชนที่วาดภาพสื่อความหมายของตลาดน้อยออกมาในรูปแบบของตัวเอง
“ส่วนภาพร้านกาแฟ ตอนนั้นผมวาดรูปไปประมาณสักประมาณครึ่งกำแพงแล้ว ผมก็เริ่มได้ข่าวว่า mother roaster ร้านกาแฟนี้ปังมาก ๆ พอผมลองขึ้นไปดูร้านกาแฟข้างบนก็ โอ้โห มันเป็นลอฟต์ เราอยากโปรโมตให้เขานะ แต่เขาไม่ได้ต้องการภาพที่ใหญ่ เราเลยคิดว่าเราวาดไปเลยละกัน ทำให้มันเด่นไปเลย ต้องทำให้คนเข้าไปถ่ายรูปตรงนั้นได้ มันเลยเป็นจุดเด่นของตลาดน้อยครับ”
แม้ว่าปัจจุบันภาพร้านกาแฟจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่ก็ยังพอมีเค้าโครงเดิมให้เห็น มณี วัฒนประการชัย เล่าว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีศิลปินอีกคนติดต่อขอวาดภาพเพิ่มเติมจากของเดิม โดยใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น มณีเล่าอย่างตื่นเต้นว่า วันแรกศิลปินคนใหม่ใช้สเปรย์พ่นจนเต็มกำแพงแบบไม่ลงสีพื้น แต่วาดภาพได้เลย ส่วนวันที่สองก็มาเก็บรายละเอียดงาน เรียกได้ว่าเก่งและรวดเร็วสุด ๆ ถือเป็นความสามารถที่ทำเจ้าของบ้านตะลึงเลยทีเดียว
สตรีทอาร์ตตลาดน้อยในมุมมองของชุมชน
จือหมง แซ่โค้ว ชาวชุมชนตลาดน้อยที่เกิดและเติบโตที่นี่มากว่า 65 ปีกล่าวว่า “สตรีทอาร์ตมันดีนะ เมื่อก่อนไม่มีนักท่องเที่ยวไทยเข้ามาในชุมชน มีแต่ฝรั่งเข้ามา ตอนนั้นไม่มีรูปภาพอะไรเลย ทีนี้เขามาวาดรูป นักท่องเที่ยวก็มากันเยอะขึ้น ก็ได้เข้ามาดูบ้านเก่าบ้านโบราณด้วย”
“สตรีทอาร์ตในชุมชนมันก็ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามานะ ก่อนหน้าที่จะมีสตรีทอาร์ต นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนก็มีเหมือนกัน แต่ไม่เยอะมาก พอมีสตรีทอาร์ตแล้ววัยรุ่นก็เข้ามาถ่ายรูปเยอะ มันก็ช่วยพัฒนานะ เพราะทำให้ชุมชนมีรายได้” วิมล เหลืองอรุณ กรรมการชุมชนตลาดน้อย แสดงความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน
ขณะที่ รุ่งจันทร์ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย กล่าวว่า “สตรีทอาร์ตทำให้ซอยในชุมชนบรรยากาศครึกครื้นขึ้น สะอาดขึ้น ไม่เปลี่ยวไม่น่ากลัว ผู้สูงอายุในซอยมีกิจกรรมขายน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาก็มีความสุข สดชื่นที่ได้พบปะผู้คน ดีกว่าเมื่อก่อนที่ไม่มีเลย เป็นซอยที่เงียบ
เหรียญย่อมมีสองด้าน การมีอยู่ของสตรีทอาร์ตก็เช่นกัน
“เราดีใจที่นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูป เข้ามาเที่ยวในชุมชนนะ มีหลายครั้งที่นักท่องเที่ยววางอาหารทิ้งไว้แล้วไปถ่ายรูป พอถ่ายเสร็จก็ลืมนำกลับไปด้วย แต่เราก็เข้าใจได้ เพราะมันก็เป็นเรื่องปกติ แต่มันก็มีปัญหาที่ตามมาเหมือนกัน คือในซอยแมวจรมันเยอะ บางทีคนงานเราลืมเก็บขยะแล้วแมวเข้ามาฉีกถุงจะกิน มันเลยสกปรกบ้าง ยิ่งถ้ามันบูดจะส่งกลิ่นเหม็น แต่อย่างที่บอกมันไม่เหนือบ่ากว่าแรงเรา เราไม่ได้ซีเรียสเรื่องพวกนี้เลย” มณี เจ้าของบ้านที่มีภาพวาดร้านกาแฟเปิดใจ
รุ่งจันทร์ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย เล่าประสบการณ์เพิ่มเติมว่า “นักท่องเที่ยวมักเข้ามาเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณส่งเสียงดังตลอดเวลา คนแก่ก็นอนกลางวันไม่ได้ เรื่องพ้อยต์เท้าถ่ายรูปด้วย ถ้าคุณพ้อยต์แล้วทำผนังบ้านเขาเปื้อนก็อยากให้ช่วยกันเช็ดหน่อย เพราะเจ้าของบ้านเขาต้องมาคอยเช็ดให้ตลอด”
“แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ การถ่ายรูปคนในชุมชนโดยไม่ขออนุญาต บางคนก็นั่งกินข้าวในบ้าน นั่งซักผ้า ซึ่งสภาพเขาอาจจะไม่พร้อมที่จะอยู่ในภาพ แต่คุณดูแล้วอาร์ต คุณก็ไปถ่ายรูปเขา ถ้าอยากถ่ายรูปขอให้บอกกันหน่อยได้ไหม ถ้าเขาให้ถ่ายคุณก็ถ่ายไป แต่ถ้าเขาไม่ให้ถ่าย คุณก็ไม่ควรไปถ่ายเขา” รุ่งจันทร์บอก
คุณค่าของสตรีทอาร์ตที่ตลาดน้อยไม่ได้มีเพียงความสวยงาม แต่ยังแฝงไปด้วยเรื่องเล่าและความรู้สึกของชุมชน หากมองให้ลึกเข้าไปก็อาจพบเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใต้ภาพวาดสีสันต่าง ๆ หรืออาจพบคุณลุงคุณป้ามาขายน้ำระหว่างทางด้วยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้มาเยือนควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องรักษาความสะอาดและมารยาทอยู่เสมอเมื่อเข้าไปท่องเที่ยวในชุมชน เพราะที่นี่คือบ้านที่มีผู้คนเหมือนกับพวกเราอาศัยอยู่
Share this:
Like this: