เรื่องและภาพ: ชลณิชา ทะภูมินทร์
ตลาดน้อย ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเล แต่นอกจากตึกแถวโบราณที่เรียงรายติดกัน รวมถึงเศษวัสดุจากร้านเซียงกงที่นักท่องเที่ยวบางคนใช้เป็นพื้นหลังถ่ายภาพ รอบ ๆ ย่านตลาดน้อยก็ยังมีแมวไร้เจ้าของเดินเล่นไปมาตามตรอกซอกซอย
ถ้าไม่เจอตัวเป็น ๆ ก็จะพบเห็นหลักฐานการมีอยู่ของแมวเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นจานข้าวแมวที่มีอาหารเม็ดสีแดงเข้มกองพูน แม้กระทั่งอุจจาระหรือกลิ่นปัสสาวะ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า พวกมันอยู่กับคนในชุมชนอย่างไรในพื้นที่เล็ก ๆ แห่งนี้
กลางซอยวานิช 2 เราพบบ้านชวนสะดุดตาคูหาหนึ่ง ใต้ถุนบ้านมีกรงพลาสติกสีดำ 2 ชั้น กว้างประมาณ 3 ตารางเมตร ภายในมีแมวทั้งตัวเล็กและใหญ่วิ่งเล่นไปมาอยู่ราวๆ 10 ตัว
บ้านหลังนี้คือบ้านของ ลัดดา ประพันธวงศ์ หรือ ป้าอุ๊ วัย 70 ปี เธอประกอบอาชีพหมอดูอยู่ที่หน้าวัดหัวลำโพง ก่อนที่จะออกไปทำงานในช่วงค่ำของแต่ละวัน เธอมักใช้เวลาไปกับการเลี้ยงแมวจรจัดกว่า 80 ตัวที่เก็บมาเลี้ยงที่บ้าน และนำอาหารไปเลี้ยงแมวจรจัดที่ถูกทำหมันแล้วที่วัดมหาพฤฒารามซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง
ป้าอุ๊กับลูกแมวจรจัดตาบอดที่เก็บมาดูแล
ป้าอุ๊เล่าว่าจุดเริ่มต้นการเลี้ยงแมวจรจัดว่า “ด้วยความที่เราอยู่ตัวคนเดียว เวลาที่เราไม่อยู่บ้าน คนอื่นเขาก็เริ่มเอาลูกแมวมาทิ้งและเขาไม่ได้ทิ้งทีละตัว เขาทิ้งเป็นครอก ใส่กล่อง ใส่ลังมา สภาพลูกแมวที่มายังตัวเล็กมาก เขาไม่สามารถกินข้าวเองได้ เราก็เอามาป้อนนม เลี้ยงรอดบ้าง ไม่รอดบ้าง เพราะว่าพื้นฐานเราเลี้ยงหมามาก่อน ก็เข้าใจว่ามันคงคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่ เพราะหมาจะมีความอดทนมากกว่า แมวร่างกายจะอ่อนแอกว่า”
เธอบอกว่าในตลาดน้อยมีร้านขายอะไหล่เครื่องยนต์เก่าอยู่มาก ร้านเหล่านี้มักนำขี้เลื่อยมากลบบริเวณที่มีคราบน้ำมันจากเศษอะไหล่ที่กองเรียงรายอยู่ทั่วไปเพื่อไม่ให้ถนนลื่นและเลอะคราบ จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมแมวของป้าอุ๊ การจัดการเช่นนี้มักดึงดูดให้แมวไปขับถ่าย นอกจากนี้ กองเศษลังกระดาษตามข้างทางก็เป็นจุดเรียกความสนใจของแมวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การดูแลแมวจรจัดก็สร้างภาระทั้งเวลาและการเงินให้กับป้าอุ๊ไม่น้อย “ปัญหาของเราคือเรื่องอาหารและเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาของแมว วัน ๆ นึง เราหมดเวลาไปกับการดูแลพวกเขา (แมวจรจัด) เกือบหมด เวลาที่จะออกไปทำมาหากินแทบไม่มีเลย เพราะฉะนั้นรายได้เราก็ค่อนข้างแย่ แล้วช่วงโควิดนี่จะแย่มาก”
“สภาพตอนนี้ก็คือว่า เวลาที่แมวป่วย เราก็หมดกำลังที่จะรักษาเขา บางครั้งเราก็ต้องดูแลเขาด้วยจิตใจที่ทรมานอ่ะ เพราะว่าเราไม่รู้จะทำยังไง”
ลัดดา ประพันธวงศ์ หนึ่งในผู้เลี้ยงแมวจรจัดในตลาดน้อย
“เดี๋ยวนี้แม้แต่สัตวแพทย์นะ เขาก็รักษาสัตว์ตามกำลังทรัพย์ของเจ้าของ เขาก็ไม่ได้รักษาตามอาการของแมวที่ป่วยจริง ๆ” ป้าอุ๊เล่าจากประสบการณ์
ป้าอุ๊ยังเสริมอีกว่า เคยมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือมาอยู่บ้าง แต่ความช่วยเหลือเหล่านั้นอาจส่งผลเสียมากกว่าเป็นผลดีกับเหล่าแมวจรจัดที่ป้าอุ๊เก็บมาเลี้ยง เช่น มีคนเคยนำอาหารมาบริจาค แต่อาหารที่ได้จากร้านเป็นอาหารที่เกรดไม่ดี แมวไม่ยอมกิน ป้าอุ๊พยายามต่อรองให้ร้านเปลี่ยนอาหารเป็นเกรดที่ดีกว่าและแมวกินได้มาให้ แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป ป้าอุ๊ก็ต้องนำอาหารเม็ดเกรดไม่ดีที่เหลือไปแบ่งให้นกพิราบกินแทน
แมวไร้เจ้าของในย่านตลาดน้อย
ด้าน อพิญา สิทธิดำรงกุล หรือ พี่ลี่ วัย 53 ปี ชาวบ้านในแฟลตทรัพย์สินที่ตั้งใจอยากช่วยเหลือชุมชนที่ตนอยู่อาศัยด้วยการควบคุมประชากรแมวจรจัด เธอยังเป็นจิตอาสาให้กับชุมชนไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) พี่ลี่จึงเสนอโครงการของบประมาณกับภาคเอกชนเพื่อผลักดันเรื่องการทำหมันแมวจรจัดในชุมชนให้เกิดขึ้นจริง
พี่ลี่เล่าว่า เธออธิบายให้คนในชุมชนว่าการทำหมันแมวจรจัดเป็นการควบคุมประชากรแมวที่ดี เพราะเมื่อจำนวนแมวลดลงก็จะทำให้อุจจาระหรือปัสสาวะจากแมวจรจัดที่ส่งกลิ่นรบกวนน้อยลงไปด้วย คนในชุมชนจึงค่อนข้างเห็นด้วยกับโครงการที่พี่ลี่เสนอและให้ความร่วมมือ เมื่อปลายปี 2563 พี่ลี่จึงสามารถนำแมวจรจัดจำนวน 9 ตัว ในละแวกตลาดน้อยไปทำหมันและพักฟื้นที่โรงพยาบาลสัตว์เอกชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน
แต่กว่าจะนำแมวมาทำหมันได้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแมวจรจัดค่อนข้างจับตัวยาก ด้วยนิสัยรักอิสระและระแวดระวังสิ่งรอบข้างอยู่ตลอดเวลา “เราเน้นทำหมันให้แมวที่ยอมให้จับตัวมากกว่า ไม่ใช่พวกที่อยู่บนหลังคาเพราะแมวพวกนั้นจะจับยาก ส่วนใหญ่มันมักจะเป็นแมวตัวผู้ แต่อย่างน้อยพอเราทำหมันตัวที่อยู่ได้ล่างไปได้ส่วนหนึ่ง แมวมันก็เกิดน้อยลงเพราะหลัก ๆ ที่เราทำหมันให้คือเราเน้นทำให้แมวตัวเมียมากกว่า” พี่ลี่อธิบาย
“เคยมีช่วงนึง มี ส.ส. เข้ามาทำหมันแมวให้ภายในชุมชน แต่เรารู้สึกเหมือนแมวที่ทำหมันรอบนี้ไม่ค่อยปลอดภัย เพราะแมวไม่ได้มีการพักฟื้นหลังจากทำหมันเสร็จ ทั้งที่แมวมันต้องพักฟื้นทันทีหลังจากที่ทำเสร็จ ต้องให้แมวเขาเก็บตัว เพราะเชื้อโรคมันอาจจะเข้าร่างกายได้ง่าย พักฟื้นประมาณ 7 วัน แล้วถึงจะรับกลับ ปล่อยให้มันไปนู่นไปนี่ได้” พี่ลี่พูดเสริมถึงขั้นตอนที่ต้องใส่ใจหลังจากจับแมวจรจัดไปทำหมันเรียบร้อยแล้ว
แมวไร้บ้านสองตัวนอนหลับอย่างสบายใจอยู่บนรถเข็นขายของ
พี่ลี่ยังเล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อหลายปีก่อน ทางชุมชนเคยไปแจ้งกับทางสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ เพื่อให้มาลงพื้นที่ทำหมันแมวจรจัดในตลาดน้อย แต่ได้รับแจ้งว่า ไม่มีงบประมาณในการทำหมันสัตว์จรจัด ชุมชนจึงเน้นการจัดการและดูแลกันเองมากกว่าการพึ่งพาภาครัฐ โดยอาศัยเครือข่ายคนในชุมชนที่ปกติเป็นคนให้อาหารแมวจรจัดช่วยกันเป็นหูเป็นตา
ด้านป้าอุ๊เห็นว่า ข้อบังคับด้านสาธารณสุขที่กำหนดว่าบุคคลหรือชุมชนต้องนำแมวจรจัดมารวมกัน 30 ตัวแล้วจึงจะประสานให้กรมปศุสัตว์ส่งทีมมาทำหมันให้ได้นั้น ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากธรรมชาติของแมวเป็นสัตว์สันโดษ จึงเป็นเรื่องยากที่คนที่ไม่คุ้นเคยจะจับแมวมาอยู่รวมกันได้ตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาทำหมันให้
พี่ลี่เสนอวิธีการจากประสบการณ์ทำโครงการทำหมันแมวจรจัดในชุมชนตลาดน้อย
“น่าจะมีภาครัฐมาช่วยจัดการในเรื่องนี้ กฏหมายเรื่องแมวจร หาหมอฟรี เพราะค่าหมอแพงมาก คนมีสิทธิรักษาแบบบัตรทอง หมาแมวเองก็น่าจะได้รับสิทธิแบบนั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งที่ศูนย์ฯ (ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา) ไม่เต็มประสิทธิภาพ”
อพิญา สิทธิดำรงกุล อสม. และ อสส. ประจำตลาดน้อย
ป้าอุ๊เสริมว่า รัฐควรทำงานเชิงรุก ให้ความรู้กับคนในชุมชนบริเวณที่มีแมวจรจัดจำนวนมากเพื่อมาวางแผนในการช่วยให้แมวได้ทำหมันซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรสัตว์จรจัดที่ดีที่สุด รวมถึงต้องให้ความรู้กับคนที่ไม่ชอบแมวด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสร้างสุขภาวะที่ดีกับชุมชนต่อไป นอกจากนี้ กฎหมายต้องจริงจังมากขึ้นด้วย เช่น ถ้ามีคนนำแมวมาปล่อยต้องมีการจับหรือปรับอย่างจริงจัง
แมวสองตัวนั่งหมอบอยู่กลางซอยย่านที่พักอาศัยในตลาดน้อย
ด้าน สพญ.กิติกา แฉ่ฉาย หรือ หมอมิ้น ผู้จัดการคลินิกของมูลนิธิสุนัขในซอย (Soi Dog) ศูนย์กรุงเทพฯ ให้ความเห็นต่อการจัดการปัญหาแมวจรจัดในชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นว่า
“เราอาจจะเน้นไปที่การอยู่ร่วมกัน ถ้าเกิดว่าแมวเขาก่อปัญหา ดุ หรืออะไรอย่างนี้ ถ้าเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราอาจจะแจ้งไปที่เขต ส่วนถ้าเป็นต่างจังหวัดเราอาจจะแจ้งไปที่องค์กรบริหารท้องถิ่น ในการที่จะไกล่เกลี่ยหรือช่วยกันหาทางออกว่าเราจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างไร” นอกจากนี้ยังเสนอแนะให้ชาวชุมชนประสานงานกับองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านนี้
หมอมิ้นยังเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐว่า “ปัจจุบันนี้ หน่วยงานรัฐก็จะมีโครงการเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าอยู่แล้ว การที่พวกเขาเทรนคนในชุมชนหรือคนในหน่วยงานองค์กรบริหารท้องถิ่นให้ไปฉีดยาพิษสุนัขบ้าให้น้องหมา ซึ่งเขาเน้นไปที่น้องหมาเป็นหลัก เขาอาจจะเพิ่มในเรื่องของ (ทักษะ) ฉีดยาพิษสุนัขบ้าให้แมวไปด้วย เพราะแมวมีจำนวนค่อนข้างเยอะ เราก็ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือในการทำหมันแมวเข้ามาเรื่อยๆ ถ้าเกิดว่าเพิ่ม (ทักษะ) ในด้านนี้ได้ เขาก็จะได้ฝึกฉีดยาพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในหมาและแมว มันก็จะค่อนข้างครอบคลุม”
“จริงๆ ทางภาครัฐหรือกรมออกไปช่วยทำหมันเป็นรอบๆ อยู่แล้ว อาจจะต้องเน้นในเรื่องของการทำหมันแมวเข้ามาด้วย ช่วยๆ เสริมในเรื่องตรงนี้” หมอมิ้นกล่าว
การควบคุมประชากรแมวจรจัดจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หรือเป็นงานของผู้ใจบุญ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณและนโยบายจากภาครัฐ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยของทั้งคนและแมวในชุมชน
Like this:
Like Loading...
เรื่องและภาพ: ชลณิชา ทะภูมินทร์
ตลาดน้อย ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเล แต่นอกจากตึกแถวโบราณที่เรียงรายติดกัน รวมถึงเศษวัสดุจากร้านเซียงกงที่นักท่องเที่ยวบางคนใช้เป็นพื้นหลังถ่ายภาพ รอบ ๆ ย่านตลาดน้อยก็ยังมีแมวไร้เจ้าของเดินเล่นไปมาตามตรอกซอกซอย
ถ้าไม่เจอตัวเป็น ๆ ก็จะพบเห็นหลักฐานการมีอยู่ของแมวเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นจานข้าวแมวที่มีอาหารเม็ดสีแดงเข้มกองพูน แม้กระทั่งอุจจาระหรือกลิ่นปัสสาวะ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า พวกมันอยู่กับคนในชุมชนอย่างไรในพื้นที่เล็ก ๆ แห่งนี้
กลางซอยวานิช 2 เราพบบ้านชวนสะดุดตาคูหาหนึ่ง ใต้ถุนบ้านมีกรงพลาสติกสีดำ 2 ชั้น กว้างประมาณ 3 ตารางเมตร ภายในมีแมวทั้งตัวเล็กและใหญ่วิ่งเล่นไปมาอยู่ราวๆ 10 ตัว
บ้านหลังนี้คือบ้านของ ลัดดา ประพันธวงศ์ หรือ ป้าอุ๊ วัย 70 ปี เธอประกอบอาชีพหมอดูอยู่ที่หน้าวัดหัวลำโพง ก่อนที่จะออกไปทำงานในช่วงค่ำของแต่ละวัน เธอมักใช้เวลาไปกับการเลี้ยงแมวจรจัดกว่า 80 ตัวที่เก็บมาเลี้ยงที่บ้าน และนำอาหารไปเลี้ยงแมวจรจัดที่ถูกทำหมันแล้วที่วัดมหาพฤฒารามซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง
ป้าอุ๊เล่าว่าจุดเริ่มต้นการเลี้ยงแมวจรจัดว่า “ด้วยความที่เราอยู่ตัวคนเดียว เวลาที่เราไม่อยู่บ้าน คนอื่นเขาก็เริ่มเอาลูกแมวมาทิ้งและเขาไม่ได้ทิ้งทีละตัว เขาทิ้งเป็นครอก ใส่กล่อง ใส่ลังมา สภาพลูกแมวที่มายังตัวเล็กมาก เขาไม่สามารถกินข้าวเองได้ เราก็เอามาป้อนนม เลี้ยงรอดบ้าง ไม่รอดบ้าง เพราะว่าพื้นฐานเราเลี้ยงหมามาก่อน ก็เข้าใจว่ามันคงคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่ เพราะหมาจะมีความอดทนมากกว่า แมวร่างกายจะอ่อนแอกว่า”
เธอบอกว่าในตลาดน้อยมีร้านขายอะไหล่เครื่องยนต์เก่าอยู่มาก ร้านเหล่านี้มักนำขี้เลื่อยมากลบบริเวณที่มีคราบน้ำมันจากเศษอะไหล่ที่กองเรียงรายอยู่ทั่วไปเพื่อไม่ให้ถนนลื่นและเลอะคราบ จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมแมวของป้าอุ๊ การจัดการเช่นนี้มักดึงดูดให้แมวไปขับถ่าย นอกจากนี้ กองเศษลังกระดาษตามข้างทางก็เป็นจุดเรียกความสนใจของแมวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การดูแลแมวจรจัดก็สร้างภาระทั้งเวลาและการเงินให้กับป้าอุ๊ไม่น้อย “ปัญหาของเราคือเรื่องอาหารและเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาของแมว วัน ๆ นึง เราหมดเวลาไปกับการดูแลพวกเขา (แมวจรจัด) เกือบหมด เวลาที่จะออกไปทำมาหากินแทบไม่มีเลย เพราะฉะนั้นรายได้เราก็ค่อนข้างแย่ แล้วช่วงโควิดนี่จะแย่มาก”
“เดี๋ยวนี้แม้แต่สัตวแพทย์นะ เขาก็รักษาสัตว์ตามกำลังทรัพย์ของเจ้าของ เขาก็ไม่ได้รักษาตามอาการของแมวที่ป่วยจริง ๆ” ป้าอุ๊เล่าจากประสบการณ์
ป้าอุ๊ยังเสริมอีกว่า เคยมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือมาอยู่บ้าง แต่ความช่วยเหลือเหล่านั้นอาจส่งผลเสียมากกว่าเป็นผลดีกับเหล่าแมวจรจัดที่ป้าอุ๊เก็บมาเลี้ยง เช่น มีคนเคยนำอาหารมาบริจาค แต่อาหารที่ได้จากร้านเป็นอาหารที่เกรดไม่ดี แมวไม่ยอมกิน ป้าอุ๊พยายามต่อรองให้ร้านเปลี่ยนอาหารเป็นเกรดที่ดีกว่าและแมวกินได้มาให้ แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป ป้าอุ๊ก็ต้องนำอาหารเม็ดเกรดไม่ดีที่เหลือไปแบ่งให้นกพิราบกินแทน
ด้าน อพิญา สิทธิดำรงกุล หรือ พี่ลี่ วัย 53 ปี ชาวบ้านในแฟลตทรัพย์สินที่ตั้งใจอยากช่วยเหลือชุมชนที่ตนอยู่อาศัยด้วยการควบคุมประชากรแมวจรจัด เธอยังเป็นจิตอาสาให้กับชุมชนไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) พี่ลี่จึงเสนอโครงการของบประมาณกับภาคเอกชนเพื่อผลักดันเรื่องการทำหมันแมวจรจัดในชุมชนให้เกิดขึ้นจริง
พี่ลี่เล่าว่า เธออธิบายให้คนในชุมชนว่าการทำหมันแมวจรจัดเป็นการควบคุมประชากรแมวที่ดี เพราะเมื่อจำนวนแมวลดลงก็จะทำให้อุจจาระหรือปัสสาวะจากแมวจรจัดที่ส่งกลิ่นรบกวนน้อยลงไปด้วย คนในชุมชนจึงค่อนข้างเห็นด้วยกับโครงการที่พี่ลี่เสนอและให้ความร่วมมือ เมื่อปลายปี 2563 พี่ลี่จึงสามารถนำแมวจรจัดจำนวน 9 ตัว ในละแวกตลาดน้อยไปทำหมันและพักฟื้นที่โรงพยาบาลสัตว์เอกชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน
แต่กว่าจะนำแมวมาทำหมันได้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแมวจรจัดค่อนข้างจับตัวยาก ด้วยนิสัยรักอิสระและระแวดระวังสิ่งรอบข้างอยู่ตลอดเวลา “เราเน้นทำหมันให้แมวที่ยอมให้จับตัวมากกว่า ไม่ใช่พวกที่อยู่บนหลังคาเพราะแมวพวกนั้นจะจับยาก ส่วนใหญ่มันมักจะเป็นแมวตัวผู้ แต่อย่างน้อยพอเราทำหมันตัวที่อยู่ได้ล่างไปได้ส่วนหนึ่ง แมวมันก็เกิดน้อยลงเพราะหลัก ๆ ที่เราทำหมันให้คือเราเน้นทำให้แมวตัวเมียมากกว่า” พี่ลี่อธิบาย
“เคยมีช่วงนึง มี ส.ส. เข้ามาทำหมันแมวให้ภายในชุมชน แต่เรารู้สึกเหมือนแมวที่ทำหมันรอบนี้ไม่ค่อยปลอดภัย เพราะแมวไม่ได้มีการพักฟื้นหลังจากทำหมันเสร็จ ทั้งที่แมวมันต้องพักฟื้นทันทีหลังจากที่ทำเสร็จ ต้องให้แมวเขาเก็บตัว เพราะเชื้อโรคมันอาจจะเข้าร่างกายได้ง่าย พักฟื้นประมาณ 7 วัน แล้วถึงจะรับกลับ ปล่อยให้มันไปนู่นไปนี่ได้” พี่ลี่พูดเสริมถึงขั้นตอนที่ต้องใส่ใจหลังจากจับแมวจรจัดไปทำหมันเรียบร้อยแล้ว
พี่ลี่ยังเล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อหลายปีก่อน ทางชุมชนเคยไปแจ้งกับทางสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ เพื่อให้มาลงพื้นที่ทำหมันแมวจรจัดในตลาดน้อย แต่ได้รับแจ้งว่า ไม่มีงบประมาณในการทำหมันสัตว์จรจัด ชุมชนจึงเน้นการจัดการและดูแลกันเองมากกว่าการพึ่งพาภาครัฐ โดยอาศัยเครือข่ายคนในชุมชนที่ปกติเป็นคนให้อาหารแมวจรจัดช่วยกันเป็นหูเป็นตา
ด้านป้าอุ๊เห็นว่า ข้อบังคับด้านสาธารณสุขที่กำหนดว่าบุคคลหรือชุมชนต้องนำแมวจรจัดมารวมกัน 30 ตัวแล้วจึงจะประสานให้กรมปศุสัตว์ส่งทีมมาทำหมันให้ได้นั้น ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากธรรมชาติของแมวเป็นสัตว์สันโดษ จึงเป็นเรื่องยากที่คนที่ไม่คุ้นเคยจะจับแมวมาอยู่รวมกันได้ตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาทำหมันให้
พี่ลี่เสนอวิธีการจากประสบการณ์ทำโครงการทำหมันแมวจรจัดในชุมชนตลาดน้อย
ป้าอุ๊เสริมว่า รัฐควรทำงานเชิงรุก ให้ความรู้กับคนในชุมชนบริเวณที่มีแมวจรจัดจำนวนมากเพื่อมาวางแผนในการช่วยให้แมวได้ทำหมันซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรสัตว์จรจัดที่ดีที่สุด รวมถึงต้องให้ความรู้กับคนที่ไม่ชอบแมวด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสร้างสุขภาวะที่ดีกับชุมชนต่อไป นอกจากนี้ กฎหมายต้องจริงจังมากขึ้นด้วย เช่น ถ้ามีคนนำแมวมาปล่อยต้องมีการจับหรือปรับอย่างจริงจัง
ด้าน สพญ.กิติกา แฉ่ฉาย หรือ หมอมิ้น ผู้จัดการคลินิกของมูลนิธิสุนัขในซอย (Soi Dog) ศูนย์กรุงเทพฯ ให้ความเห็นต่อการจัดการปัญหาแมวจรจัดในชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นว่า
“เราอาจจะเน้นไปที่การอยู่ร่วมกัน ถ้าเกิดว่าแมวเขาก่อปัญหา ดุ หรืออะไรอย่างนี้ ถ้าเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราอาจจะแจ้งไปที่เขต ส่วนถ้าเป็นต่างจังหวัดเราอาจจะแจ้งไปที่องค์กรบริหารท้องถิ่น ในการที่จะไกล่เกลี่ยหรือช่วยกันหาทางออกว่าเราจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างไร” นอกจากนี้ยังเสนอแนะให้ชาวชุมชนประสานงานกับองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านนี้
หมอมิ้นยังเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐว่า “ปัจจุบันนี้ หน่วยงานรัฐก็จะมีโครงการเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าอยู่แล้ว การที่พวกเขาเทรนคนในชุมชนหรือคนในหน่วยงานองค์กรบริหารท้องถิ่นให้ไปฉีดยาพิษสุนัขบ้าให้น้องหมา ซึ่งเขาเน้นไปที่น้องหมาเป็นหลัก เขาอาจจะเพิ่มในเรื่องของ (ทักษะ) ฉีดยาพิษสุนัขบ้าให้แมวไปด้วย เพราะแมวมีจำนวนค่อนข้างเยอะ เราก็ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือในการทำหมันแมวเข้ามาเรื่อยๆ ถ้าเกิดว่าเพิ่ม (ทักษะ) ในด้านนี้ได้ เขาก็จะได้ฝึกฉีดยาพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในหมาและแมว มันก็จะค่อนข้างครอบคลุม”
“จริงๆ ทางภาครัฐหรือกรมออกไปช่วยทำหมันเป็นรอบๆ อยู่แล้ว อาจจะต้องเน้นในเรื่องของการทำหมันแมวเข้ามาด้วย ช่วยๆ เสริมในเรื่องตรงนี้” หมอมิ้นกล่าว
การควบคุมประชากรแมวจรจัดจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หรือเป็นงานของผู้ใจบุญ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณและนโยบายจากภาครัฐ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยของทั้งคนและแมวในชุมชน
Share this:
Like this: