เรื่อง : สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์, พชร คำชำนาญ ภาพ : เมธาวจี สาระคุณ
โครงการปฏิรูปรถไฟรางเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกพูดถึงอย่างมากในปี 2560
‘นิสิตนักศึกษา’ สำรวจโครงการรัฐที่ถูกพูดถึงมากในปี 2560 ทั้งโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการปฏิรูปรถไฟราง และระบบการรับและชำระเงินด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด ว่าปัจจุบันดำเนินการถึงไหนแล้ว
มหานครสายไฟใต้ดิน ตอนนี้ถึงไหน?
หลังจากเมื่อกลางปี 2559 ที่ บิล เกตส์ มหาเศรษฐีโลก ได้โพสต์ภาพสายไฟฟ้าที่พันกันยุ่งเหยิงในประเทศไทยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว หลายคนก็หันมาพูดถึงนโยบายเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวงอีกครั้ง
นโยบายนี้มีมาตั้งแต่ปี 2527 โดยรัฐบาลในขณะนั้นมีแผนจะนำสายไฟลงดิน 88.3 กิโลเมตร แต่ผ่านมา 33 ปี แล้วเสร็จไปเพียง 41.9 กิโลเมตรเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 รัฐบาล คสช. มีมติให้นำสายไฟลงดินเพื่อให้เป็นไปตามโครงการรองรับมหานครอาเซียน โดยตั้งเป้าว่า จะนำสายไฟลงดิน 127 กิโลเมตร ในสามจังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ให้เสร็จภายในห้าปี ตามแผนนี้นอกจากจะนำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว ยังคิดจะนำสายสื่อสารและสายสาธารณูปโภคอื่นๆ ลงดินด้วย แต่ทำได้ไม่ง่ายนักเพราะเหมือนเป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการบริการเหล่านี้ต้องจ่ายเงินเช่าท่อใต้ดินของการไฟฟ้า เพื่อพาสายต่างๆ ลงดินไปด้วย
เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ทีโอที รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้าน ได้เสนอให้รัฐบาลสั่งการให้ผู้ประกอบการต่างๆ มาเช่าท่อของทีโอที เพื่อนำสายไฟลงดิน มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า ถ้าทำตามนี้โครงการนำสายไฟลงดินจะใช้เวลาไม่เกินสามปี
ปฎิรูปรถไฟราง ถกกันถึงไหนแล้ว?
ในปี 2560 รัฐบาล คสช. ยังมีโครงการปฏิรูปรถไฟรางในประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสองโครงการ คือ รถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่ร่วมมือกับจีน ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่า การปฏิรูปรถไฟรางเป็นหนึ่งในการปฏิรูปภาคบริการที่จะช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้โตขึ้นกว่าร้อยละ 4 ในระยะยาวได้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการรถไฟความเร็วสูงจากจีน โดยตั้งคำถามว่า ประเทศไทยต้องการรถไฟความเร็วสูงซึ่งรัฐบาล คสช. ใช้มาตรา 44 ผลักดันให้เกิดขึ้นจริงหรือ รวมถึงมีการศึกษาหรือยังว่า การนำรถไฟความเร็วสูงเข้ามาในประเทศไทยจะคุ้มค่าและมีคนใช้จริง เพราะเพียงรถไฟรางคู่ที่ราคาถูกกว่ามากก็อาจเพียงพอสำหรับคนไทยแล้ว
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในงานเสวนา “รถไฟไทย-จีน: ใครได้ ใครเสีย” เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2560 ว่า โครงการนี้มีโอกาสขาดทุนสูง เพราะยังไม่มีนโยบายรองรับให้ระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับระบบคมนาคมขนส่งอื่นๆ ทำให้เดินทางได้ไม่สะดวกถ้าเทียบกับราคาต่อหัวที่สูง อีกทั้งยังชี้ให้มองรอบด้านถึงผู้คนในพื้นที่ที่ต้องเสียผลประโยชน์ หากถูกเวนคืนที่ไปทำทางรถไฟ
QR Payment พาไทยสู่สังคมไร้เงินสดถึงไหนแล้ว?
เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จับมือกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่เปิดตัว QR Payment หรือระบบการรับและชำระเงินด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ผ่านแอปพลิเคชั่น โดยระบุว่า ระบบนี้จะเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับประชาชนในการจ่ายและโอนเงิน ลดปัญหาผู้ค้าไม่มีเงินทอน หรือขั้นตอนที่ยุ่งยากของเครื่องรูดบัตร รวมถึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เพราะผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงการเปิดข้อมูลส่วนตัวอย่างเลขที่บัญชีได้
QR Payment เป็นโครงการของ ธปท. ต่อเนื่องจากโครงการพร้อมเพย์ (PromtPay) ที่ช่วยลดรายจ่ายจากกิจกรรมทางการเงิน เพื่อนำไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด แต่จากผลสำรวจของกรุงเทพโพล ในหัวข้อ “คนไทยพร้อมหรือไม่กับการใช้ PromptPay และ QR Code ชำระเงิน” พบว่า มีประชาชนเพียงร้อยละ 57.4 ที่ทราบข่าวและเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบดังกล่าว แต่อีกร้อยละ 42.6 ไม่ทราบข่าวและไม่เคยได้ยินมาก่อน
เมื่อสอบถามถึงความกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบดังกล่าว พบว่า ร้อยละ 52.6 กังวลเกี่ยวกับความครอบคลุมของร้านค้า ร้อยละ 52.2 กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย และร้อยละ 45 กังวลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการใช้ระบบ QR Code นอกจากนั้น ประชาชนร้อยละ 43.8 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ PromptPay และ QR Code ชำระเงิน
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์, พชร คำชำนาญ ภาพ : เมธาวจี สาระคุณ
‘นิสิตนักศึกษา’ สำรวจโครงการรัฐที่ถูกพูดถึงมากในปี 2560 ทั้งโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการปฏิรูปรถไฟราง และระบบการรับและชำระเงินด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด ว่าปัจจุบันดำเนินการถึงไหนแล้ว
มหานครสายไฟใต้ดิน ตอนนี้ถึงไหน?
หลังจากเมื่อกลางปี 2559 ที่ บิล เกตส์ มหาเศรษฐีโลก ได้โพสต์ภาพสายไฟฟ้าที่พันกันยุ่งเหยิงในประเทศไทยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว หลายคนก็หันมาพูดถึงนโยบายเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวงอีกครั้ง
นโยบายนี้มีมาตั้งแต่ปี 2527 โดยรัฐบาลในขณะนั้นมีแผนจะนำสายไฟลงดิน 88.3 กิโลเมตร แต่ผ่านมา 33 ปี แล้วเสร็จไปเพียง 41.9 กิโลเมตรเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 รัฐบาล คสช. มีมติให้นำสายไฟลงดินเพื่อให้เป็นไปตามโครงการรองรับมหานครอาเซียน โดยตั้งเป้าว่า จะนำสายไฟลงดิน 127 กิโลเมตร ในสามจังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ให้เสร็จภายในห้าปี ตามแผนนี้นอกจากจะนำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว ยังคิดจะนำสายสื่อสารและสายสาธารณูปโภคอื่นๆ ลงดินด้วย แต่ทำได้ไม่ง่ายนักเพราะเหมือนเป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการบริการเหล่านี้ต้องจ่ายเงินเช่าท่อใต้ดินของการไฟฟ้า เพื่อพาสายต่างๆ ลงดินไปด้วย
เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ทีโอที รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้าน ได้เสนอให้รัฐบาลสั่งการให้ผู้ประกอบการต่างๆ มาเช่าท่อของทีโอที เพื่อนำสายไฟลงดิน มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า ถ้าทำตามนี้โครงการนำสายไฟลงดินจะใช้เวลาไม่เกินสามปี
ปฎิรูปรถไฟราง ถกกันถึงไหนแล้ว?
ในปี 2560 รัฐบาล คสช. ยังมีโครงการปฏิรูปรถไฟรางในประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสองโครงการ คือ รถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่ร่วมมือกับจีน ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่า การปฏิรูปรถไฟรางเป็นหนึ่งในการปฏิรูปภาคบริการที่จะช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้โตขึ้นกว่าร้อยละ 4 ในระยะยาวได้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการรถไฟความเร็วสูงจากจีน โดยตั้งคำถามว่า ประเทศไทยต้องการรถไฟความเร็วสูงซึ่งรัฐบาล คสช. ใช้มาตรา 44 ผลักดันให้เกิดขึ้นจริงหรือ รวมถึงมีการศึกษาหรือยังว่า การนำรถไฟความเร็วสูงเข้ามาในประเทศไทยจะคุ้มค่าและมีคนใช้จริง เพราะเพียงรถไฟรางคู่ที่ราคาถูกกว่ามากก็อาจเพียงพอสำหรับคนไทยแล้ว
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในงานเสวนา “รถไฟไทย-จีน: ใครได้ ใครเสีย” เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2560 ว่า โครงการนี้มีโอกาสขาดทุนสูง เพราะยังไม่มีนโยบายรองรับให้ระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับระบบคมนาคมขนส่งอื่นๆ ทำให้เดินทางได้ไม่สะดวกถ้าเทียบกับราคาต่อหัวที่สูง อีกทั้งยังชี้ให้มองรอบด้านถึงผู้คนในพื้นที่ที่ต้องเสียผลประโยชน์ หากถูกเวนคืนที่ไปทำทางรถไฟ
QR Payment พาไทยสู่สังคมไร้เงินสดถึงไหนแล้ว?
เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จับมือกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่เปิดตัว QR Payment หรือระบบการรับและชำระเงินด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ผ่านแอปพลิเคชั่น โดยระบุว่า ระบบนี้จะเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับประชาชนในการจ่ายและโอนเงิน ลดปัญหาผู้ค้าไม่มีเงินทอน หรือขั้นตอนที่ยุ่งยากของเครื่องรูดบัตร รวมถึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เพราะผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงการเปิดข้อมูลส่วนตัวอย่างเลขที่บัญชีได้
QR Payment เป็นโครงการของ ธปท. ต่อเนื่องจากโครงการพร้อมเพย์ (PromtPay) ที่ช่วยลดรายจ่ายจากกิจกรรมทางการเงิน เพื่อนำไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด แต่จากผลสำรวจของกรุงเทพโพล ในหัวข้อ “คนไทยพร้อมหรือไม่กับการใช้ PromptPay และ QR Code ชำระเงิน” พบว่า มีประชาชนเพียงร้อยละ 57.4 ที่ทราบข่าวและเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบดังกล่าว แต่อีกร้อยละ 42.6 ไม่ทราบข่าวและไม่เคยได้ยินมาก่อน
เมื่อสอบถามถึงความกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบดังกล่าว พบว่า ร้อยละ 52.6 กังวลเกี่ยวกับความครอบคลุมของร้านค้า ร้อยละ 52.2 กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย และร้อยละ 45 กังวลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการใช้ระบบ QR Code นอกจากนั้น ประชาชนร้อยละ 43.8 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ PromptPay และ QR Code ชำระเงิน
Share this:
Like this: