ท่ามกลางความขัดแย้งของปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน หนึ่งในประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดหลายครั้งคือ “ความมั่นคงทางพลังงาน” ไม่ว่าจะในประเด็นไฟฟ้าไม่พอจริงหรือไม่ ประเทศไทยต้องการไฟฟ้าอีกเท่าไร และใครต้องเป็นผู้รับโชคได้โรงไฟฟ้าไปตั้งอยู่ใกล้บ้าน แท้จริงแล้วนั้นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดคือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 หรือ แผน PDP2015 นิสิตนักศึกษาจะพาไปไขข้อสงสัย คลายข้อข้องใจเพื่อให้เรารู้เท่ากันว่าอะไรคือ PDP2015 ค่ะ
แผน PDP คืออะไร
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) เป็นแผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว 15 -20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคง และความเพียงพอต่อความต้องการใช้ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แผน PDP ฉบับปัจจุบัน คือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 หรือ PDP2015
ใครเขียน PDP2015
คณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
เป้าหมายที่ระบุไว้ใน PDP2015
เป้าหมายที่ระบุไว้ใน PDP2015 มีส่วนหลัก 3 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงทางพลังงาน โดยย่อคือระบุว่า พลังงานไฟฟ้าในประเทศต้องเพียงพอต่อความต้องการ ใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย และลดความเสี่ยงจากการ พึ่งพาเชื้อเพลงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป ด้านที่ 2 คือ ด้านเศรษฐกิจ จะต้องมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและคำนึงถึงการใช้ ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเศรษฐกิจต่างๆ และด้านสุดท้าย คือ ด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในการผลิต
สัดส่วนพลังงานเป้าหมาย

ขั้นตอนการจัดทำ PDP2015
- คณะอนุกรรมการฯ จัดทำค่าพยากรณ์ ความต้องการใช้ไฟฟ้า (Load Forecast) ประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทย หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาค (GRP) การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าสอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน
- คณะอนุกรรมการฯ จัดทำสมมติฐานหลัก ในการจัดทำแผน PDP ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เช่น กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง การกระจายเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ด้านการจัดหาไฟฟ้าใน อนาคต เช่น การเลือกประเภทโรงไฟฟ้า เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ เป็นต้น
- คณะอนุกรรมการฯ เสนอแผน PDP ต่อกระทรวง พลังงาน จัดทำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความเห็น จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- คณะอนุกรรมการฯ เสนอคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ
- คณะอนุกรรมการฯ เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ
PDP 2015 เกี่ยวอะไรกับภาคใต้
PDP2015 ระบุไว้ในในส่วนของ “การพิจารณาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้” ว่า เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าของภาคใต้เพิ่มเฉลี่ย ร้อยละ 3 ต่อปี กำหนดให้เพิ่มโรงไฟฟ้า 3 โรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา กำลังการผลิต 1000 เมกะวัตต์ 2 โรง
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าสำรอง

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าสำรอง

Update : ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อปรับแผน PDP ฉบับใหม่ เนื่องจาก PDP 2015 มีส่วนที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 3 จุดใหญ่ๆ 1.ปริมาณความ ต้องการไฟฟ้าที่พยากรณ์ไว้ 2.การเพิ่มบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยมากขึ้น 3.เทคโนโลยีพลังงานที่ อยู่ในแผน PDP2015 มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่รวดเร็ว เช่น ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนนั้นถูกลงอย่างมาก เป็นต้น
ที่มา
เว็บไซต์กระทรวงพลังงานแห่งชาติและแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า ฉบับ พ.ศ. 2558-2579
รองศาสตราจารย์เรณู เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร
ว่าที่ พันตรี อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำรนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ.
Like this:
Like Loading...
ท่ามกลางความขัดแย้งของปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน หนึ่งในประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดหลายครั้งคือ “ความมั่นคงทางพลังงาน” ไม่ว่าจะในประเด็นไฟฟ้าไม่พอจริงหรือไม่ ประเทศไทยต้องการไฟฟ้าอีกเท่าไร และใครต้องเป็นผู้รับโชคได้โรงไฟฟ้าไปตั้งอยู่ใกล้บ้าน แท้จริงแล้วนั้นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดคือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 หรือ แผน PDP2015 นิสิตนักศึกษาจะพาไปไขข้อสงสัย คลายข้อข้องใจเพื่อให้เรารู้เท่ากันว่าอะไรคือ PDP2015 ค่ะ
แผน PDP คืออะไร
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) เป็นแผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว 15 -20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคง และความเพียงพอต่อความต้องการใช้ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แผน PDP ฉบับปัจจุบัน คือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 หรือ PDP2015
ใครเขียน PDP2015
คณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
เป้าหมายที่ระบุไว้ใน PDP2015
เป้าหมายที่ระบุไว้ใน PDP2015 มีส่วนหลัก 3 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงทางพลังงาน โดยย่อคือระบุว่า พลังงานไฟฟ้าในประเทศต้องเพียงพอต่อความต้องการ ใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย และลดความเสี่ยงจากการ พึ่งพาเชื้อเพลงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป ด้านที่ 2 คือ ด้านเศรษฐกิจ จะต้องมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและคำนึงถึงการใช้ ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเศรษฐกิจต่างๆ และด้านสุดท้าย คือ ด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในการผลิต
สัดส่วนพลังงานเป้าหมาย
ขั้นตอนการจัดทำ PDP2015
PDP 2015 เกี่ยวอะไรกับภาคใต้
PDP2015 ระบุไว้ในในส่วนของ “การพิจารณาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้” ว่า เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าของภาคใต้เพิ่มเฉลี่ย ร้อยละ 3 ต่อปี กำหนดให้เพิ่มโรงไฟฟ้า 3 โรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา กำลังการผลิต 1000 เมกะวัตต์ 2 โรง
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าสำรอง
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าสำรอง
Update : ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อปรับแผน PDP ฉบับใหม่ เนื่องจาก PDP 2015 มีส่วนที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 3 จุดใหญ่ๆ 1.ปริมาณความ ต้องการไฟฟ้าที่พยากรณ์ไว้ 2.การเพิ่มบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยมากขึ้น 3.เทคโนโลยีพลังงานที่ อยู่ในแผน PDP2015 มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่รวดเร็ว เช่น ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนนั้นถูกลงอย่างมาก เป็นต้น
ที่มา
เว็บไซต์กระทรวงพลังงานแห่งชาติและแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า ฉบับ พ.ศ. 2558-2579
รองศาสตราจารย์เรณู เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร
ว่าที่ พันตรี อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำรนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ.
Share this:
Like this: