ถอดบทเรียนการต่อสู้ของภาคประชาชนในโครงการของรัฐ ในวันที่คนทั้งชุมชนลุกขึ้นมาคัดง้างและขอมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องในบ้านของพวกเขาเอง

1.โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน หินกรูด-บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2535
หลังคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติหรือ รสช. รัฐประหารรัฐบาลของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ปี 2534 และเข้ามาเป็นรัฐบาลที่ไม่มีฝ่ายค้านนี้ รสช. ก็ได้ผลักดันนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (Independent Power Producers:IPP) จนนำไปสู่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอกชนจำนวน 2 แห่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก ของบริษัท กัลป์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลบ่อนอก มีโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน หินกรูด ของบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านโคกตาหอม หมู่ 9 ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน มีเงินลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
แต่โครงการทั้งสองนี้ถูกคัดค้านอย่างดุเดือดเนื่องจากชาวบ้านเกรงผลกระทบต่อชุมชนและระบบนิเวศ ประกอบกับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่นี้ไม่ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ท้ายที่สุดแม้สามารถยุติโครงการนี้ได้ แต่ต้องสูญเสียแกนนำคนสำคัญอย่าง เจริญ วัดอักษร ไปเมื่อ 21 มิถุนายน 2547
“เจริญมักพูดเสมอว่า ถ้าชุมชนเข้มแข็ง เราก็จะเข้มแข็งด้วย กล้าที่จะลุกขึ้นมาคัดง้างกับนโยบายรัฐและกลุ่มทุนที่ไม่เข้าท่า ไม่เป็นธรรม”
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ตัวแทนกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก ภรรยาของเจริญ วัดอักษร
ที่มา Greenpeace
2.โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ปี 2538
วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท ดำเนินการสร้างไปกว่า 95 % ขณะที่ผลการศึกษาของบริษัทมอนต์โกเมอรี่ วัตสัน เอเชีย (ทุน ADB) พบว่า พื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการสร้าง เนื่องจากดินอ่อนเหลว พื้นที่โครงการอยู่ห่างจากชุมชนต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อท่อส่งน้ำเสีย ปริมาณน้ำบำบัด 525,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันทำให้น้ำทะเลบริเวณคลองด่านจืด ปลาจึงอยู่อาศัยไม่ได้ ส่งผลให้ชาวประมงรายย่อยไม่สามารถหาปลาได้
ภาคประชาชนยังเรียกร้องให้ตรวจสอบการดำเนินโครงการที่ไม่โปร่งใส เช่น การรวบรวมที่ดินโดยมิชอบและออกโฉนดทับที่สาธารณะประโยชน์ และการเปลี่ยนรายละเอียดโครงการจากการสร้างบนที่ดินสองผืนมาเป็นที่ดินผืนเดียว ทำให้กิจการร่วมค้า NVPKSG ชนะการประมูล เพราะบริษัทอื่นไม่สามารถหาที่ดินทัน
ในปี 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรวจสอบโครงการ พบว่ามีการทุจริตจริง จึงสั่งยุติโครงการและระงับการจ่ายเงิน เป็นเหตุให้เจ้าของโครงการยื่นคำร้องให้อนุญาตโตตุลาการเข้ามาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติ โดยเฉพาะการเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จ่ายเงินที่เหลืออยู่ ศาลพิพากษาให้จ่ายเงินแก่กิจการร่วมค้า NVPSKG เป็นเงินกว่า 9.6 พันล้านบาท ปัจจุบันที่ดินบริเวณนั้นถูกทิ้งรกร้าง
“โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ควรสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชน รวมถึงต้องรับฟังความเห็นจากนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ให้ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อไม่เปิดช่องให้มีการทุจริต”
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา Thai Publica
3.โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา ปี 2539
ภายหลังการลงนามบันทึกความเข้าใจในพื้นที่เหลื่อมล้ำที่ทั้งไทยและมาเลเซียเคยอ้างสิทธิ์ในอดีต กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ( Malaysia-Thailand Joint Development Area : JDA) ในปี 2522 และร่วมก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia – Thailand Joint Authority : MTJA) ขึ้นในปี 2533 เพื่อ สำรวจและแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม กระทั่งปี 2540 บริษัท ปตท. จำกัด และ บริษัท ปิโตรนาส จำกัด (บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย) ได้ร่วมทุนในอัตราส่วน 50 : 50 เป็นบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามใน Head of Agreement หรือ HOA ในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติฝ่ายละ 50 % เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ในประเทศของตน
แต่เมื่อโครงการท่อส่งก๊าซและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่เป็นที่รับรู้ในหมู่ชาวบ้านและนักศึกษา โครงการนี้จึงถูกวิจารณ์และคัดค้านอย่างหนักเพราะไม่เห็นถึงความจำเป็นในการใช้ก๊าซ และความกังวลเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ชาวบ้านและองค์กรต่างๆ มีการออกมาต่อต้านเคลื่อนไหวชุมนุม ยื่นหนังสือคัดค้าน เรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์ ทว่าเหตุการณ์กลับเลยเถิดจนเป็นเหตุการณ์สลายการชุมชนของกลุ่มชาวบ้านที่มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายต่อหลายครั้ง
วันที่ 21 ตุลาคม 2543 มีการทำประชาพิจารณ์โครงการฯ ครั้งที่ 2 แม้กลุ่มผู้คัดค้านโครงการฯ ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเล็กน้อย แต่การทำประชาพิจารณ์ก็สามารถดำเนินผ่านไปได้โดยเป็นไปอย่างรวบรัด จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 400 คน จากประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมรับฟังจำนวน 13,000 คน ทั้งยังใช้เวลาในการประชาพิจารณ์เพียง 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีถามความเห็นว่ามีใครเห็นด้วย และมีใครคัดค้านหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังเดินหน้าโครงการต่อไป กระทั่งปี 2546 การสร้างท่อส่งก๊าซระหว่างไทย-มาเลเซียและโรงแยกก๊าซก็แล้วเสร็จ ดำเนินกิจการในปี 2547 เป็นต้นมา โดย ศุภวรรณ ชนะสงคราม นักพัฒนาเอกชนในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุว่า ผลกระทบจากโครงการฯ นั้น เริ่มตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างที่มีการกันพื้นที่ทางทะเลเพื่อขุดวางท่อก๊าซ ซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน และเมื่อเริ่มเดินเครื่องโครงการก็มีปัญหาเกิดขึ้นบ้างแล้ว เช่น กรณีกลิ่นเหม็นจากโรงแยกก๊าซ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ถูกยกเลิกการว่าจ้าง มลพิษทางเสียงที่มีเป็นระยะ และกรณีของก๊าซรั่ว เป็นต้น
“ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เคยหยุดนิ่งในการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิด ปกป้องทรัพยากรที่สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด เอาไว้ให้ลูกหลาน”
สุไรด๊ะห์ โต๊ะหลี แกนนำเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย- มาเลเซีย
ที่มา Prachatai
4.โครงการศึกษาสำรวจและออกแบบกระเช้าลอยฟ้า จ.เชียงใหม่ ปี 2548
เมื่อปี 2530 องค์การบริหารองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน) (อพท.) เคยคุยหารือเรื่องการสร้างกระเช้าลอยฟ้าที่ จ.เชียงใหม่ อย่างคร่าวๆ ก่อนจะเงียบหายไป กระทั่งปี 2548 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปล่อยโครงการออกแบบรายละเอียดกระเช้าลอยฟ้าเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมบริเวณดอยสุเทพ ซึ่งอยู่ในแผนแม่บทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชียงใหม่
ปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีแผนเชื่อมโยงพื้นที่แนวราบจากบริเวณสถานที่จัดงานพืชสวนโลก ผ่านไนท์ซาฟารี อุทยานช้างที่กำลังจะดำเนินการ ผ่านสวนสัตว์เชียงใหม่ ส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า ไปสิ้นสุดที่บริเวณน้ำตกห้วยแก้ว ใกล้อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย แต่โครงการก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากชาวบ้านและคณะสงฆ์เชียงใหม่เพราะกังวลต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต เนื่องจากพื้นที่โครงการอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ดอยปุย อีกทั้งรัฐไม่เปิดให้คนเชียงใหม่มีส่วนร่วมอย่างโปร่งใส ปราศจากการสอบถามความต้องการโครงการของคนในชุมชนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง โครงการจึงถูกยกเลิกไปในปี 2548 โดยรัฐชี้แจงเหตุผลที่ล้มเลิกโครงการว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุนเพราะระหว่างเส้นทางจากเชียงใหม่ถึงเชียงดาวไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจมากพอ แต่หากอนาคตการท่องเที่ยวบนเส้นทางนี้พัฒนาอาจหวนทำโครงการ
ต่อมาปี 2557 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (สพค.) ก่อตั้งขึ้น เพื่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกับเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กลับหยิบยกโครงการดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับเปลี่ยนเส้นทางกระเช้าลอยฟ้าเป็นเส้นทางเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี-ดอยปุย-ดอยคำ โดยมอบให้คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท เทสโก้ จำกัด ดำเนินการศึกษาสำรวจออกแบบและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
แม้ผลการศึกษาและผลการประชาพิจารณ์จะแล้วเสร็จในปี 2558 แต่โครงการยังไม่ได้ดำเนินการขั้นต่อไปเนื่องจาก สพค. ยังไม่ได้เสนอของบประมาณจากรัฐบาล คสช. และ สคพ. กำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในหน่วยงานตามที่ ปัจจุบันจึงมีเพียงผลการศึกษาโครงการฯ ที่ยังไม่มีวี่แววดำเนินการสร้าง
“เรากำลังพูดถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ แต่โครงการเหล่านี้ หล่นตูมมาที่ชาวบ้านโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว สำคัญที่สุดก็คือว่า เมื่อเราพูดถึงการพัฒนา บางทีการพัฒนาที่มันยั่งยืนเราควรจะพูดถึงทางรอดด้วย ไม่ใช่แค่ทางเลือก”
พระมหาพีระพงษ์ พลวีโร ผู้จัดการสถาบันโพธิยาลัย วัดสวนดอก
ที่มา Manager Online, Komchadluek, Change.org, สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
Like this:
Like Loading...
ถอดบทเรียนการต่อสู้ของภาคประชาชนในโครงการของรัฐ ในวันที่คนทั้งชุมชนลุกขึ้นมาคัดง้างและขอมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องในบ้านของพวกเขาเอง
1.โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน หินกรูด-บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2535
หลังคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติหรือ รสช. รัฐประหารรัฐบาลของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ปี 2534 และเข้ามาเป็นรัฐบาลที่ไม่มีฝ่ายค้านนี้ รสช. ก็ได้ผลักดันนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (Independent Power Producers:IPP) จนนำไปสู่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอกชนจำนวน 2 แห่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก ของบริษัท กัลป์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลบ่อนอก มีโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน หินกรูด ของบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านโคกตาหอม หมู่ 9 ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน มีเงินลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
แต่โครงการทั้งสองนี้ถูกคัดค้านอย่างดุเดือดเนื่องจากชาวบ้านเกรงผลกระทบต่อชุมชนและระบบนิเวศ ประกอบกับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่นี้ไม่ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ท้ายที่สุดแม้สามารถยุติโครงการนี้ได้ แต่ต้องสูญเสียแกนนำคนสำคัญอย่าง เจริญ วัดอักษร ไปเมื่อ 21 มิถุนายน 2547
ที่มา Greenpeace
2.โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ปี 2538
วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท ดำเนินการสร้างไปกว่า 95 % ขณะที่ผลการศึกษาของบริษัทมอนต์โกเมอรี่ วัตสัน เอเชีย (ทุน ADB) พบว่า พื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการสร้าง เนื่องจากดินอ่อนเหลว พื้นที่โครงการอยู่ห่างจากชุมชนต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อท่อส่งน้ำเสีย ปริมาณน้ำบำบัด 525,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันทำให้น้ำทะเลบริเวณคลองด่านจืด ปลาจึงอยู่อาศัยไม่ได้ ส่งผลให้ชาวประมงรายย่อยไม่สามารถหาปลาได้
ภาคประชาชนยังเรียกร้องให้ตรวจสอบการดำเนินโครงการที่ไม่โปร่งใส เช่น การรวบรวมที่ดินโดยมิชอบและออกโฉนดทับที่สาธารณะประโยชน์ และการเปลี่ยนรายละเอียดโครงการจากการสร้างบนที่ดินสองผืนมาเป็นที่ดินผืนเดียว ทำให้กิจการร่วมค้า NVPKSG ชนะการประมูล เพราะบริษัทอื่นไม่สามารถหาที่ดินทัน
ในปี 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรวจสอบโครงการ พบว่ามีการทุจริตจริง จึงสั่งยุติโครงการและระงับการจ่ายเงิน เป็นเหตุให้เจ้าของโครงการยื่นคำร้องให้อนุญาตโตตุลาการเข้ามาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติ โดยเฉพาะการเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จ่ายเงินที่เหลืออยู่ ศาลพิพากษาให้จ่ายเงินแก่กิจการร่วมค้า NVPSKG เป็นเงินกว่า 9.6 พันล้านบาท ปัจจุบันที่ดินบริเวณนั้นถูกทิ้งรกร้าง
ที่มา Thai Publica
3.โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา ปี 2539
ภายหลังการลงนามบันทึกความเข้าใจในพื้นที่เหลื่อมล้ำที่ทั้งไทยและมาเลเซียเคยอ้างสิทธิ์ในอดีต กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ( Malaysia-Thailand Joint Development Area : JDA) ในปี 2522 และร่วมก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia – Thailand Joint Authority : MTJA) ขึ้นในปี 2533 เพื่อ สำรวจและแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม กระทั่งปี 2540 บริษัท ปตท. จำกัด และ บริษัท ปิโตรนาส จำกัด (บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย) ได้ร่วมทุนในอัตราส่วน 50 : 50 เป็นบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามใน Head of Agreement หรือ HOA ในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติฝ่ายละ 50 % เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ในประเทศของตน
แต่เมื่อโครงการท่อส่งก๊าซและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่เป็นที่รับรู้ในหมู่ชาวบ้านและนักศึกษา โครงการนี้จึงถูกวิจารณ์และคัดค้านอย่างหนักเพราะไม่เห็นถึงความจำเป็นในการใช้ก๊าซ และความกังวลเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ชาวบ้านและองค์กรต่างๆ มีการออกมาต่อต้านเคลื่อนไหวชุมนุม ยื่นหนังสือคัดค้าน เรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์ ทว่าเหตุการณ์กลับเลยเถิดจนเป็นเหตุการณ์สลายการชุมชนของกลุ่มชาวบ้านที่มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายต่อหลายครั้ง
วันที่ 21 ตุลาคม 2543 มีการทำประชาพิจารณ์โครงการฯ ครั้งที่ 2 แม้กลุ่มผู้คัดค้านโครงการฯ ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเล็กน้อย แต่การทำประชาพิจารณ์ก็สามารถดำเนินผ่านไปได้โดยเป็นไปอย่างรวบรัด จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 400 คน จากประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมรับฟังจำนวน 13,000 คน ทั้งยังใช้เวลาในการประชาพิจารณ์เพียง 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีถามความเห็นว่ามีใครเห็นด้วย และมีใครคัดค้านหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังเดินหน้าโครงการต่อไป กระทั่งปี 2546 การสร้างท่อส่งก๊าซระหว่างไทย-มาเลเซียและโรงแยกก๊าซก็แล้วเสร็จ ดำเนินกิจการในปี 2547 เป็นต้นมา โดย ศุภวรรณ ชนะสงคราม นักพัฒนาเอกชนในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุว่า ผลกระทบจากโครงการฯ นั้น เริ่มตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างที่มีการกันพื้นที่ทางทะเลเพื่อขุดวางท่อก๊าซ ซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน และเมื่อเริ่มเดินเครื่องโครงการก็มีปัญหาเกิดขึ้นบ้างแล้ว เช่น กรณีกลิ่นเหม็นจากโรงแยกก๊าซ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ถูกยกเลิกการว่าจ้าง มลพิษทางเสียงที่มีเป็นระยะ และกรณีของก๊าซรั่ว เป็นต้น
ที่มา Prachatai
4.โครงการศึกษาสำรวจและออกแบบกระเช้าลอยฟ้า จ.เชียงใหม่ ปี 2548
เมื่อปี 2530 องค์การบริหารองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน) (อพท.) เคยคุยหารือเรื่องการสร้างกระเช้าลอยฟ้าที่ จ.เชียงใหม่ อย่างคร่าวๆ ก่อนจะเงียบหายไป กระทั่งปี 2548 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปล่อยโครงการออกแบบรายละเอียดกระเช้าลอยฟ้าเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมบริเวณดอยสุเทพ ซึ่งอยู่ในแผนแม่บทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชียงใหม่
ปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีแผนเชื่อมโยงพื้นที่แนวราบจากบริเวณสถานที่จัดงานพืชสวนโลก ผ่านไนท์ซาฟารี อุทยานช้างที่กำลังจะดำเนินการ ผ่านสวนสัตว์เชียงใหม่ ส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า ไปสิ้นสุดที่บริเวณน้ำตกห้วยแก้ว ใกล้อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย แต่โครงการก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากชาวบ้านและคณะสงฆ์เชียงใหม่เพราะกังวลต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต เนื่องจากพื้นที่โครงการอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ดอยปุย อีกทั้งรัฐไม่เปิดให้คนเชียงใหม่มีส่วนร่วมอย่างโปร่งใส ปราศจากการสอบถามความต้องการโครงการของคนในชุมชนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง โครงการจึงถูกยกเลิกไปในปี 2548 โดยรัฐชี้แจงเหตุผลที่ล้มเลิกโครงการว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุนเพราะระหว่างเส้นทางจากเชียงใหม่ถึงเชียงดาวไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจมากพอ แต่หากอนาคตการท่องเที่ยวบนเส้นทางนี้พัฒนาอาจหวนทำโครงการ
ต่อมาปี 2557 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (สพค.) ก่อตั้งขึ้น เพื่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกับเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กลับหยิบยกโครงการดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับเปลี่ยนเส้นทางกระเช้าลอยฟ้าเป็นเส้นทางเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี-ดอยปุย-ดอยคำ โดยมอบให้คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท เทสโก้ จำกัด ดำเนินการศึกษาสำรวจออกแบบและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
แม้ผลการศึกษาและผลการประชาพิจารณ์จะแล้วเสร็จในปี 2558 แต่โครงการยังไม่ได้ดำเนินการขั้นต่อไปเนื่องจาก สพค. ยังไม่ได้เสนอของบประมาณจากรัฐบาล คสช. และ สคพ. กำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในหน่วยงานตามที่ ปัจจุบันจึงมีเพียงผลการศึกษาโครงการฯ ที่ยังไม่มีวี่แววดำเนินการสร้าง
ที่มา Manager Online, Komchadluek, Change.org, สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
Like this: