นิสิตนักศึกษา คุยกับ รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าหากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นที่ ต.ปากบาง อ.เทพา จะมีผลกระทบต่ออาชีพของคนในพื้นที่อย่างไรบ้าง
รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทำประมงต่อไปได้หรือไม่
รศ.ดร.เรณู เห็นว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำให้ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง เพราะระหว่างการก่อสร้าง จะมีการขนส่งอุปกรณ์สร้างโรงไฟฟ้าทางเรือ ทำให้น้ำขุ่น สัตว์น้ำหนีออกจากพื้นที่ และเมื่อมีการปิดล้อมพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปใกล้บริเวณก่อสร้างโรงไฟฟ้า จะทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำประมงบริเวณเดิมได้
“ที่ตรงนี้น้ำไม่ลึกพอ เลยต้องสร้างสะพานออกไปไกล เรือใหญ่ถึงจะเข้าได้ พอสร้างไปสามกิโลเมตร แปลว่าเรือเล็กที่เคยวิ่งตรงนี้ก็วิ่งไม่ได้แล้ว และโดยทั่วไปท่าเทียบเรือขนาดนี้เวลาสร้างเขาจะวางทุ่นไปอีกให้มันห่าง เข้าไปไม่ได้ เกิดการแบ่งทะเลว่าคุณจะเข้าไปทำกินที่นี่ไม่ได้” รศ.ดร.เรณูกล่าว
นอกจากนั้น นักวิชาการด้านชีววิทยายังมองว่า ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และโลหะหนักที่ปนเปื้อนมาในน้ำทะเลยังทำให้สัตว์น้ำมีจำนวนน้อยลง เพราะตามแผนผังโรงไฟฟ้าจากรายงาน EHIA ฉบับปี 2560 น้ำเสียดังกล่าวจะถูกปล่อยลงสู่คลองตูหยง ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญของพื้นที่
อีกทั้งการสูบน้ำวันละ 21,700 ตันต่อวันเข้าไปหล่อเย็นเตาไฟฟ้าแล้วปล่อยคืนสู่ทะเล จะมีลูกสัตว์ติดเข้าไปด้วย หลังจากนั้นเมื่อปล่อยน้ำหล่อเย็นคืนสู่ทะเล สัตว์น้ำบริเวณนั้นจะตาย เพราะน้ำมีอุณหภูมิสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 32 องศาเซลเซียส
“พูดถึงเรื่องทิ้งน้ำ น้ำหล่อเย็น แปลว่าน้ำนี้จะร้อน คือเอาน้ำทะเลสูบขึ้นมาใช้ น้ำทะเลนี้ไม่ใช่น้ำเปล่า เป็นน้ำที่มีแพลงก์ตอน มีตัวอ่อนสัตว์น้ำ มีกุ้งเคย เสร็จแล้วเขาไปหล่อเย็น น้ำก็จะร้อน เขาก็มีที่อยู่ที่ไปพัก แต่จะพักยังไง ก็เขาต้องทำอย่างนี้ทุกวัน น้ำปริมาตรมันเยอะ” รศ.ดร.เรณูอธิบาย
เกษตรกรจะเป็นอย่างไร
“น้ำ” และ “ดิน” เป็นสองปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ดี รศ.ดร.เรณู มองว่า ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจะทำให้เกิดฝนกรด ฝนกรดนี้จะทำให้สภาพของดินเป็นกรดด้วย ซึ่งเป็นสภาพที่พืชเจริญเจิบโตได้ไม่ดี
“ถ้าเราไปดูที่มาบตาพุด ยอดอ่อนของต้นไม้เฉาบิดไปหมด มะม่วงหลังจากแก่เก็บได้ไม่นานก็เน่าหมดเลย มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงขี้เถ้าที่ไปจับใบไม้ในป่าชายเลน สิ่งที่เกิดขึ้นคืออัตราการสังเคราะห์แสงน้อยลง แล้วก็ตัวขี้เถ้าถ่านหินที่ตกลงไปมากๆ พอมันโดนน้ำมันแข็ง ไม้ป่าชายเลนที่ฝนตกไป มันจะงอกมันก็งอกไม่ได้” นักวิชาการด้านชีววิทยากล่าว
ส่วนขี้เถ้าถ่านหินที่เป็นเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น เมื่อจับบนเกสรตัวเมียของพืช จะมีผลให้เกสรตัวผู้ไม่สามารถจับบนเกสรตัวเมียแล้วเกิดการปฏิสนธิได้ เพราะโดยทั่วไปเกสรตัวเมียจะมีเมือกเหนียวๆ สำหรับจับเกสรตัวผู้ เมื่อขี้เถ้าถ่านหินไปจับจึงทำให้ความเหนียวลดลง นอกจากนั้น หากเถ้าลอยจับอยู่บนใบไม้ จะบดบังใบไม้ไม่ให้ได้รับแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ดีเท่าที่ควร
เหตุผลเหล่านี้สะท้อนฐานคิดในการทำรายงาน EHIA หรือวิธีเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ ว่ายังขาดการประเมินในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
“โดยหลักการแล้ว การจะสร้างโรงไฟฟ้าจะต้องมีการประเมินทางเลือก เช่น ทางเลือกที่ตั้ง ทางเลือกเชื้อเพลิง พอเราอ่าน EHIA ถึงบรรทัดสุดท้ายก็จะเห็นว่าประเมินจริงใช้เรื่องวิศวกรรม 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยใช้น้อยมาก” รศ.ดร.เรณูกล่าว
Like this:
Like Loading...
นิสิตนักศึกษา คุยกับ รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าหากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นที่ ต.ปากบาง อ.เทพา จะมีผลกระทบต่ออาชีพของคนในพื้นที่อย่างไรบ้าง
ทำประมงต่อไปได้หรือไม่
รศ.ดร.เรณู เห็นว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำให้ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง เพราะระหว่างการก่อสร้าง จะมีการขนส่งอุปกรณ์สร้างโรงไฟฟ้าทางเรือ ทำให้น้ำขุ่น สัตว์น้ำหนีออกจากพื้นที่ และเมื่อมีการปิดล้อมพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปใกล้บริเวณก่อสร้างโรงไฟฟ้า จะทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำประมงบริเวณเดิมได้
“ที่ตรงนี้น้ำไม่ลึกพอ เลยต้องสร้างสะพานออกไปไกล เรือใหญ่ถึงจะเข้าได้ พอสร้างไปสามกิโลเมตร แปลว่าเรือเล็กที่เคยวิ่งตรงนี้ก็วิ่งไม่ได้แล้ว และโดยทั่วไปท่าเทียบเรือขนาดนี้เวลาสร้างเขาจะวางทุ่นไปอีกให้มันห่าง เข้าไปไม่ได้ เกิดการแบ่งทะเลว่าคุณจะเข้าไปทำกินที่นี่ไม่ได้” รศ.ดร.เรณูกล่าว
นอกจากนั้น นักวิชาการด้านชีววิทยายังมองว่า ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และโลหะหนักที่ปนเปื้อนมาในน้ำทะเลยังทำให้สัตว์น้ำมีจำนวนน้อยลง เพราะตามแผนผังโรงไฟฟ้าจากรายงาน EHIA ฉบับปี 2560 น้ำเสียดังกล่าวจะถูกปล่อยลงสู่คลองตูหยง ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญของพื้นที่
อีกทั้งการสูบน้ำวันละ 21,700 ตันต่อวันเข้าไปหล่อเย็นเตาไฟฟ้าแล้วปล่อยคืนสู่ทะเล จะมีลูกสัตว์ติดเข้าไปด้วย หลังจากนั้นเมื่อปล่อยน้ำหล่อเย็นคืนสู่ทะเล สัตว์น้ำบริเวณนั้นจะตาย เพราะน้ำมีอุณหภูมิสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 32 องศาเซลเซียส
“พูดถึงเรื่องทิ้งน้ำ น้ำหล่อเย็น แปลว่าน้ำนี้จะร้อน คือเอาน้ำทะเลสูบขึ้นมาใช้ น้ำทะเลนี้ไม่ใช่น้ำเปล่า เป็นน้ำที่มีแพลงก์ตอน มีตัวอ่อนสัตว์น้ำ มีกุ้งเคย เสร็จแล้วเขาไปหล่อเย็น น้ำก็จะร้อน เขาก็มีที่อยู่ที่ไปพัก แต่จะพักยังไง ก็เขาต้องทำอย่างนี้ทุกวัน น้ำปริมาตรมันเยอะ” รศ.ดร.เรณูอธิบาย
เกษตรกรจะเป็นอย่างไร
“น้ำ” และ “ดิน” เป็นสองปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ดี รศ.ดร.เรณู มองว่า ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจะทำให้เกิดฝนกรด ฝนกรดนี้จะทำให้สภาพของดินเป็นกรดด้วย ซึ่งเป็นสภาพที่พืชเจริญเจิบโตได้ไม่ดี
“ถ้าเราไปดูที่มาบตาพุด ยอดอ่อนของต้นไม้เฉาบิดไปหมด มะม่วงหลังจากแก่เก็บได้ไม่นานก็เน่าหมดเลย มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงขี้เถ้าที่ไปจับใบไม้ในป่าชายเลน สิ่งที่เกิดขึ้นคืออัตราการสังเคราะห์แสงน้อยลง แล้วก็ตัวขี้เถ้าถ่านหินที่ตกลงไปมากๆ พอมันโดนน้ำมันแข็ง ไม้ป่าชายเลนที่ฝนตกไป มันจะงอกมันก็งอกไม่ได้” นักวิชาการด้านชีววิทยากล่าว
ส่วนขี้เถ้าถ่านหินที่เป็นเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น เมื่อจับบนเกสรตัวเมียของพืช จะมีผลให้เกสรตัวผู้ไม่สามารถจับบนเกสรตัวเมียแล้วเกิดการปฏิสนธิได้ เพราะโดยทั่วไปเกสรตัวเมียจะมีเมือกเหนียวๆ สำหรับจับเกสรตัวผู้ เมื่อขี้เถ้าถ่านหินไปจับจึงทำให้ความเหนียวลดลง นอกจากนั้น หากเถ้าลอยจับอยู่บนใบไม้ จะบดบังใบไม้ไม่ให้ได้รับแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ดีเท่าที่ควร
เหตุผลเหล่านี้สะท้อนฐานคิดในการทำรายงาน EHIA หรือวิธีเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ ว่ายังขาดการประเมินในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
“โดยหลักการแล้ว การจะสร้างโรงไฟฟ้าจะต้องมีการประเมินทางเลือก เช่น ทางเลือกที่ตั้ง ทางเลือกเชื้อเพลิง พอเราอ่าน EHIA ถึงบรรทัดสุดท้ายก็จะเห็นว่าประเมินจริงใช้เรื่องวิศวกรรม 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยใช้น้อยมาก” รศ.ดร.เรณูกล่าว
Share this:
Like this: