เรื่อง-ภาพ: พชร คำชำนาญ
ในยามค่ำคืนดึกสงัดกลางป่าเขา ชาวปกาเกอะญอแห่งอำเภอสะเมิงจมอยู่ในห้วงนิทรารมณ์อันแสนสุข พลันสรรพเสียงยามราตรีเริ่มเปลี่ยนไป กลิ่นเผาไหม้และฝุ่นควันลอยคละคลุ้งตามแรงลม เมื่อออกมานอกชานเรือนจึงได้เห็นท้องฟ้าที่ควรจะเป็นสีหมึกเข้มกลายเป็นสีแดงฉาน เป็นสัญญาณเร่งด่วนว่า พวกเราต้องออกไปดับ “ไฟป่า” กันอีกครา
แต่ดับไฟป่าครั้งแล้วครั้งเล่า สุดท้ายต้องตกเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ฝุ่นควันกระทบคนในเมือง
เด็กชายร่วมดับไฟป่าที่กำลังลุกไหม้ในตอนกลางวัน
สถิติจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2562 ระบุว่า อำเภอสะเมิงเป็นอำเภอที่มีจุดความร้อน (Hotspots) ขึ้นมาแล้ว 32 จุด มากเป็นอันดับที่เจ็ดของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีไฟไหม้ในพื้นที่ป่าหลายครั้ง
ผลที่ตามมาคือ ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่อาศัยและทำกินอยู่ในป่าเขาของอำเภอสะเมิงจึงยังไม่สามารถขออนุญาตเผาพื้นที่ทำกินตามวิถีการทำไร่หมุนเวียนที่สืบทอดมาจากรุ่นต่อรุ่นได้ ซ้ำยังตกเป็นจำเลยสังคมเพราะถูกชี้ว่าเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดไฟป่าและควันพิษในภาคเหนือ
ไฟ: ปัจจัยในการดำรงชีวิตของชาวปกาเกอะญอ
ชาวปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าบนพื้นที่สูง โดยเฉพาะชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่หนึ่งและสองในภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ ตลอดจนเป็นพื้นที่ต้นน้ำ โดยส่วนใหญ่ชาวปกาเกอะญอจะอาศัยและทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สั่งสมวิถีวัฒนธรรมส่งต่อกันมาสู่ลูกหลาน
พะตีตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ วัย 70 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งบ้านสบลาน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธาตุทั้งสี่ที่อยู่ในร่างกายของทุกคน ตลอดจนสถิตอยู่ในธรรมชาติด้วย ซึ่งคนไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสิ่งใดสำคัญมากน้อยกว่ากัน เพราะทั้งสี่สิ่งล้วนเป็นธาตุหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตทั้งมวล แม้แต่ “ไฟ” ก็เช่นกัน
พะตีตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งบ้านสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
“จริงๆ แล้วไฟรักษาป่า เพราะจะมีพืชบางอย่างในภูเขาที่คนเฒ่าคนแก่บอกว่า ถ้าไฟไม่ไหม้พืชพวกนั้นจะสูญพันธุ์ไปเลยภายในสามปี อีกอย่างคือ ไม้แดง ลูกไม้แดงเวลาไฟไม่ไหม้จะไม่แตก แต่ถ้าไฟไหม้ 2-3 วันก็จะแตก หรือไม้สักที่ถ้าไฟไม่ไหม้ก็จะไม่ออกลูกเลย แต่พวกนี้ต้องเป็นไฟธรรมชาติ” พะตีตาแยะกล่าว
นอกจากนั้น ไฟยังสำคัญต่อระบบเกษตรกรรมแบบ “ไร่หมุนเวียน” ของชาวปกาเกอะญออย่างมาก หากไม่ใช้ไฟในการเผาเตรียมพื้นที่จะไม่มีปุ๋ยเป็นสารอาหารให้พืชไร่ และจะไม่สามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตพอกินในครัวเรือนตลอดทั้งปี อนุรัญช์ อุแสง วัย 36 ปี ชาวบ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ อธิบายว่า ชาวบ้านต้องทำ “แนวกันไฟ” เพื่อจัดการไฟและป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่าทุกครั้ง
“ไม่ใช่อยู่ๆ เราจะเผายังไงก็ได้ เราต้องดูว่าไฟระดับไหนที่เราคุมได้ พื้นที่อื่นนอกเหนือจากไร่หมุนเวียนให้เราดูที่ความเหมาะสมจากการประมาณค่าไฟ เราไม่ควรประมาท เรามีข้อสังเกตและระวังว่า พอเราทำแนวกันไฟเสร็จเราต้องจุดเริ่มต้นจากแนวข้างบน ให้ขยับลงมาถึงประมาณมากกว่าสี่เมตร เพื่อป้องกันให้ไม่ลามไปพื้นที่ข้างนอก นี่คือวิถีชีวิตดั้งเดิมตั้งแต่เราเรียนรู้ตอนเป็นเด็ก” อนุรัญช์อธิบาย
เมื่อจัดทำแนวกันไฟเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะเริ่มจุดเผาบริเวณล่างของแปลงทำไร่ เพื่อให้ไฟลามไปบรรจบกันกับไฟด้านบน วิธีนี้จะทำให้ไฟอ่อนแรงลง ง่ายต่อการคุมไฟ นอกจากนี้ ในระหว่างการเผาไร่ ชาวบ้านจะร่วมแรงกันเดินสำรวจรอบๆ แปลงไร่เพื่อกันไม่ให้ไฟกระโดดข้ามแนวกันไฟ ทั้งหมดนี้เป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษตามวิถีชีวิตดั้งเดิม
อนุรัญช์ อุแสง ชาวบ้านแม่ลานคำ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
“เราไม่สามารถหยุดใช้ไฟได้ เพราะเราไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออื่น เงินเราน้อย การเผาจะทำให้สารอาหารในต้นไม้กลายเป็นขี้เถ้า เป็นปุ๋ยให้พืชที่เราปลูก ไฟจึงสำคัญกับวิถีชีวิตของปกาเกอะญอมาก” ชาวบ้านแม่ลานคำย้ำ
“เขากล่าวหาทั้งนั้น”
แม้ไฟที่ชาวบ้านเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อนทำไร่หมุนเวียนจะควบคุมได้ แต่ไฟอีกประเภทอยู่เหนือการควบคุม นั่นคือไฟป่า
สาเหตุของการเกิดไฟป่าแบ่งเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการเสียดสีของกิ่งไม้จนเกิดเป็นความร้อนและสะเก็ดไฟ ประเภทที่สองคือไฟป่าที่เกิดจากมนุษย์ เช่น เผาเพื่อหาของป่า เผาเพื่อล่าสัตว์ หรือเผาเพื่อกลั่นแกล้งหรือสร้างสถานการณ์ ไฟป่านี้ยากต่อการควบคุม เพราะป่าไม่มีขอบเขตแน่ชัดและไม่มีแนวกันไฟเหมือนที่ชาวบ้านทำไว้ในการทำไร่หมุนเวียน หรือบางกรณีชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปดับไฟซึ่งเกิดในพื้นที่ที่กันไว้เพื่อการอนุรักษ์และประชาชนไม่สามารถเข้าไปได้ เมื่อควบคุมไฟป่าไม่ได้ บางครั้งทั้งไฟและควันไฟก็ลุกลามมาถึงชุมชน
ไฟไหม้จะเกิดมากเป็นพิเศษในป่าเต็งรังที่มีใบ้ไม้และกิ่งไม้แห้งทับถม
ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงต้องตั้งรับดับไฟป่า ตั้งแต่ต้นปี 2562 จนถึงวันนี้ พะตีตาแยะให้ข้อมูลว่ามีไฟเกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้ชุมชนมาแล้ว 12 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยแต่ละครั้งชาวบ้านจะช่วยกันเกณฑ์กำลังไปดับไฟประมาณ 30-40 คน ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมแต่อย่างใด
“เราจะเรียกกัน ประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านมารวมตัวกันแล้วไปดับไฟ เวลาดับเราจะไปดูเชื้อเพลิง ถ้าเชื้อเพลิงเยอะๆ เราต้องทำแนวกันไฟไกลๆ แล้วเผาให้ไฟชนกัน เพราะถ้าเราเข้าไปดับเองเราอาจตายได้ ถ้าเป็นไฟกองเล็กๆ เราก็กวาดๆ เอาน้ำไปด้วยแล้วเอาไปดับ เวลาดับไฟอันตรายมาก เพราะในป่างูเยอะมาก วันนั้นชาวบ้านเจองูหนีไฟหลายตัวมาก เกือบโดนกัดกันไปหลายคน” ผู้นำทางแห่งจิตวิญญาณอธิบาย
การดับไฟป่าในตอนกลางคืนเต็มไปด้วยอันตราย
อย่างไรก็ตาม พะตีตาแยะเห็นว่า ชาวบ้านบนพื้นที่สูงต้องตกเป็นจำเลยสังคมเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ฝุ่นควัน หรือดินสไลด์ แม้ชาวบ้านจะมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรที่ดีเยี่ยม และชาวบ้านยังไม่ได้เผาเพื่อทำไร่หมุนเวียนเลย บางส่วนก็อ้างว่าชาวบ้านเผาป่าเพื่อให้เก็บเห็ดถอบและผักหวานในป่าได้สะดวก ซึ่งพะตีตาแยะแย้งว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากชาวบ้านต้องลงแรงทำแนวกันไฟปีละประมาณ 12 กิโลเมตร ตลอดจนการดับไฟแต่ละครั้งมีความเสี่ยง การเผาเพื่อแลกกับเห็ดจึงไม่คุ้มค่าสำหรับชาวปกาเกอะญอ ในทางกลับกัน ชาวบ้านไม่ได้ให้ความสำคัญกับเห็ดและผักหวานมากเท่าไม้ยืนต้นที่จะเติบโตชึ้นมาเป็นป่า
“เขากล่าวหาทั้งนั้น เขาคิดอะไรไม่ออกเขาก็พูดอย่างนั้น อย่างเรื่องเห็ดนี่ไฟไหม้ก็ออกจริง ไม่ใช่แค่เห็ด มันมีพืชที่ต้องการไฟ คือเราไม่ได้ไปเผาเพื่อเอาเห็ดหรือผักหวานมากกว่ากัน จริงๆ เราไม่ได้สนใจเห็ดหรือผักหวานมากเท่าพืชยืนต้นที่ชอบไฟ มันเป็นวงจรของไฟ คนที่ปฏิเสธไฟเขาไม่รู้อะไรเลย เพราะไฟคือส่วนหนึ่งของชีวิต” พะตีตาแยะกล่าว
ส่วนเรื่องควันไฟที่ทำให้เกิดฝุ่นขนาด PM 2.5 ที่ปกคลุมภาคเหนือในขณะนี้ ผู้นำทางจิตวิญญานของบ้านสบลานมองว่าเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุม แต่ควันไฟนั้นไม่ได้เกิดจากการเผาเพื่อทำไร่หมุนเวียนโดยเด็ดขาด เพราะชาวบ้านยังไม่ได้รับอนุญาตจากอำเภอให้เผาจนถึงปัจจุบัน
“ควันนี่จัดการไม่ได้ ไม่มีมนุษย์คนไหนจัดการควันได้ คือไฟนี้มันไหม้มาจากข้างล่าง เขาเผามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว แล้วมันสะสม ซึ่งจริงๆ แล้วไฟที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าที่ดูดซับคาร์บอนได้มากจะไม่อันตราย ไฟที่อันตรายคือควันรถ ควันโรงงาน ควันเผาพืชที่โล่งอย่างข้าวโพด” พะตีตาแยะย้ำ
มาตรการจัดการไฟจากรัฐ ตัดวงจรชีวิตชุมชน
สำนักข่าวประชาไทรายงานเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และมีมาตรการให้หน่วยงานราชการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย เหล่าทัพ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ร่วมกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เร่งแก้ปัญหาโดยด่วนภายในเจ็ดวัน
“…จะเร่งหามาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องเข้มงวดในการใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำความผิดเพื่อแก้ไขปัญหาในการลักลอบเผาป่า ขอให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมมือร่วมใจช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งภาครัฐต้องทำงานแบบบูรณาการมากขึ้น ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเฝ้าระวัง พร้อมกับขอให้ติดตามผลการดำเนินการอย่างใกล้ชิด และปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่…” สำนักข่าวประชาไทรายงานโดยอ้างคำพูดของนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยังรายงานเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 ว่า อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยึดถือแนวทางตามมาตรการของนายกรัฐมนตรีให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเล็งขึ้นบัญชีดำ 20 ตำบลในเก้าจังหวัดภาคเหนือที่มีจุดความร้อนขึ้น และจะตัดสิทธิตามนโยบายการจัดสรรที่ดินให้ชุมชนโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
อนุรัญช์ อุแสง ชาวบ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่า มาตรการของรัฐบาลเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด กดขี่ชาวบ้าน และอาจทำให้สถานการณ์ไฟป่าและฝุ่นควันในภาคเหนือรุนแรงกว่าเดิม
“การใช้มาตรการแบบนี้เป็นการครอบงำชุมชน เป็นการปิดกั้นโอกาสของชุมชนที่จะเข้าไปสำรวจพื้นที่ว่ามีไฟเกิดขึ้นหรือไม่ ตอนนี้เรามีการวางแผนว่าทุกครั้งที่เราจะลงไปสำรวจพื้นที่ต้องไปกันหลายๆ คน ตอนนี้ไม่ให้เอาไฟแช็กเข้าไปด้วยซ้ำ แล้วเวลาเราจะสูบบุหรี่จะทำยังไง มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ห้ามกันไม่ได้ คนที่เอาไฟไปบางคนเขาก็ไปสำรวจไฟป่า เขาไปดูพื้นที่ สุดท้ายถ้าไฟป่าเกิดขึ้นเราจะตกเป็นจำเลย ผมมองว่าเป็นมาตรการเพื่อปิดปากหรือเล่นงานคนในพื้นที่ ทำให้พวกเราเป็นแพะ” อนุรัญช์กล่าว
ในตอนกลางคืนก็เกิดไฟป่าได้
หลังจากที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ใช้กฎหมายบังคับอย่างเคร่งครัด อนุรัญช์ให้ข้อมูลว่ามีชาวบ้านถูกจับกุมบ้างแล้ว บางคนถูกจับกุมในพื้นที่เกษตรของตนเอง บ้างถูกจับกุมขณะเข้าไปหาของกินประทังชีวิตในป่า หรือบางคนก็ถูกจับกุมในขณะกำลังดับไฟไม่ให้รุกเข้ามาในพื้นที่เกษตรของตนเอง
“มันจะมีใครบ้างที่เข้าไปจุดไฟ แล้วมาดับไฟเอง เหนื่อยจะตาย เราก็อยากรักษา คนที่จุดไม่ใช่คนที่ดับหรอก เราไปดับไฟพื้นที่ไหน เราก็คำนึงถึงสังคมกว้าง เราไปดับเพื่อให้ทางผู้ใหญ่หรือเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาความสำคัญของการมีอยู่ของชุมชน ว่าเราจัดการกันได้ เราดูแลป่าได้ จัดการไฟป่าได้ แต่เราก็รู้ๆ กันอยู่ หน่วยงานของรัฐรับประกันอะไรให้เราไม่ได้ เจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นก็ต้องรับนโยบายรัฐเข้ามา แต่นโยบายพวกนี้กำลังทำลายสิทธิชุมชน” ชาวบ้านแม่ลานคำย้ำ
ด้านพะตีตาแยะ ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งบ้านสบลาน เห็นว่ามาตรการเช่นนี้จะยิ่งทวีความขัดแย้ง ทำให้ชาวบ้านที่ดูแลป่าและช่วยดับไฟถูกกล่าวหา เป็นมาตรการที่ไม่เข้าใจวิถีคนที่อยู่กับป่า
“มันเป็นเรื่องของคนที่ไม่เข้าใจกัน เป็นเรื่องของการไม่เข้าใจธรรมชาติ ตั้งแต่พะตีเรียนรู้มาตั้งแต่เป็นเด็ก พะตีเรียนรู้เรื่องไฟว่าเมื่อก่อนเป็นไฟอีกแบบหนึ่ง เป็นไฟธรรมชาติ แต่ตอนนี้มันเป็นไฟในใจของคน เวลาเกิดวิกฤตขึ้นมาก็จะพูดกันไปอย่างนั้นอย่างนี้” พะตีตาแยะกล่าว
พะตีตาแยะยังย้ำว่าชาวบ้านมีภูมิปัญญาในการจัดการไฟป่าจริง และมีความชอบธรรมในการอยู่ในป่าในฐานะผู้ดูแลรักษาและผู้ใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม แม้ดูแลรักษาอย่างไรภาครัฐก็ไม่เคยมองเห็น
“จริงๆ แล้วภาครัฐออกนโยบายมาไม่ถูก เอาเปรียบคนที่ไม่รู้กฎหมายไปเรื่อยๆ ไม่มีใครตอบโต้ เขาอาจจะอยากได้งบประมาณ สุดท้ายปัญหาก็ลงมาที่ชาวบ้าน ชาวบ้านไปดับไฟจะตายอยู่แล้ว บางคนก็ตาย แต่สุดท้ายก็มาด่าชาวบ้าน บางคนเขาไม่เคยเห็นไฟ ไม่เคยอยู่ป่า เขาจัดการไฟไม่ถูก เราอยู่กับป่ามาตลอดชีวิต เรารู้ว่าเราต้องจัดการป่ายังไง” พะตีตาแยะย้ำ
นักวิชาการ-เอ็นจีโอชี้ ความไม่เข้าใจชุมชนไม่ช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเวทีวิชาการ “เชียงใหม่ หมอกควัน การเชื่อมโยงช่องว่างองค์ความรู้เพื่อหาทางออกอย่างยั่งยืน” ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีนักวิชาการ นักการเมือง ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ป่าเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนระดมความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนในกรณีปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่า ปัจจุบันประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่มีความทุกข์ 3 ประการ ได้แก่ การต้องเผชิญฝุ่นควันโดยไม่ทราบสาเหตุ การที่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา และการอยู่ท่ามกลางความไม่รู้
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“หลายคนบอกว่าไฟป่าเกิดขึ้นช่วงนี้เพราะชาวบ้านไปเผาป่าเพื่อเก็บเห็ด เก็บผักหวาน คนบนดอยจุดไฟขึ้นมาเพื่อสร้างสถานการณ์
เราไม่รู้แน่ชัดว่าหมอกควันมาจากการเผาป่า หรือเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด หรือหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้านที่บางบริษัทเข้าไปส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ และบรรยากาศที่นิ่งทำให้ไม่มีการถ่ายเท นอกจากนั้นเราไม่ได้มองเลยว่า เมื่อก่อนไม่มีหมอกควันแบบนี้เลยทั้งๆ ที่มีการเผาไร่หมุนเวียนเหมือนกัน” นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์กล่าว
ด้าน ดร.โอลิวิเยร์ เอฟราร์ด จากสถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศฝรั่งเศส กล่าวถึงปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือว่า ภาคเหนือตอนบนอยู่ในแอ่งกระทะ หุบเขา ซึ่งจะเก็บหมอกควันเอาไว้ในนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหานานาชาติ กระทบกันทั่วภูมิภาค มีสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้ขยะอินทรีย์ หรือมลภาวะทางการขนส่ง รวมถึงการผลิตพลังงานด้วย หมายความว่า ไม่ใช่เพียงชาวบ้านบนพื้นที่สูงเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของปัญหามลภาวะทางอากาศ
“พื้นที่สีเขียวมันมีน้อยลงเรื่อยๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องไฟป่า เพราะพื้นที่ในเมืองแต่เดิมก็เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะอยู่แล้ว นี่คือสิ่งที่ผมสนใจ ในมุมมองของความสัมพันธ์ของชุมชนเมืองและชนบท กิจกรรมบนพื้นที่สูงหรือพื้นที่ราบ ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่ข้าวโพดหรือการหาเห็ด เราจะไม่มองจากพื้นที่สูง แต่เราจะลงมาบนพื้นแล้วมองความสัมพันธ์นี้ที่เทคโนโลยีจุดความร้อนมองไม่เห็น” ดร.โอลิวิเยร์กล่าว
ส่วน วิศรุต ศรีจันทร์ จากมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เห็นว่าหน่วยงานรัฐต้องจำแนกไฟให้ถูก ว่าไฟไร่หมุนเวียนกับไฟป่าต่างกัน และไฟที่อยู่ในป่าในพื้นที่อนุรักษ์อย่างเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นไฟที่ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ เพราะเป็นพื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
“รัฐและคนในสังคมไม่เข้าใจ คนส่วนมากคิดว่าในป่าต้องไม่มีไฟ แต่จริงๆ ในฤดูร้อนไฟป่าต้องเข้าทุกปี ถ้าปีไหนไม่เข้ามันจะสะสมและไหม้เยอะเหมือนปีนี้ เมื่อไฟไหม้อุทยานฯ ก็อาจใช้ตรงนี้ทำลายความชอบธรรมชาวบ้านว่าดูแลไม่ได้แล้วประกาศเป็นอุทยานฯ โดยเฉพาะพื้นที่สะเมิงที่อยู่ในเขตเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าใครกันแน่ที่เผา” วิศรุตกล่าว
ชาวบ้านสบลานทำแนวกันไฟเพื่อดับไฟป่า
นี่ไม่ใช่ปีแรกที่ชาวภาคเหนือต้องเผชิญปัญหาฝุ่นควัน ไม่ใช่ปีแรกที่เกิดไฟป่าบ่อยครั้ง และไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวบ้านปกาเกอะญอต้องถูกตีตรา แต่ชาวบ้านก็ยังยืนหยัดในแนวทางการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน เชื่อมั่นในภูมิปัญญาการจัดการไฟป่าที่ส่งต่อกันมาหลายร้อยปี หวังพิสูจน์ตนเองให้หน่วยงานรัฐเห็นว่าพวกตนมีศักยภาพเพียงพอในการดูแลป่าไม้ที่หวงแหน
“แม้กระทั่งเราไม่มีเงินเดือน แต่เราก็เต็มใจ เพื่อจะสร้างความชอบธรรมเรื่องไร่หมุนเวียนเราด้วย ทุกวันนี้ไร่หมุนเวียนของเราเป็นไร่เลื่อนลอยในสายตาคนนอก เขาไม่อยากให้เราทำ แต่การดับไฟนี้คือการทำให้เห็นว่าเราจะไม่ทำลายป่า เราอยากรักษาป่า เราอยากทำไร่หมุนเวียนต่อไป สุดท้ายเราก็กลายเป็นต้นเหตุ เป็นแพะ ถ้าคนบนดอยเป็นต้นเหตุจริงๆ ป่าจะมีเยอะขนาดนี้ไหม ป่าที่เหลืออยู่ทุกวันนี้ก็มีคนอยู่ทั้งนั้น” อนุรัญช์ อุแสง ชาวบ้านแม่ลานคำย้ำ
Like this:
Like Loading...
เรื่อง-ภาพ: พชร คำชำนาญ
ในยามค่ำคืนดึกสงัดกลางป่าเขา ชาวปกาเกอะญอแห่งอำเภอสะเมิงจมอยู่ในห้วงนิทรารมณ์อันแสนสุข พลันสรรพเสียงยามราตรีเริ่มเปลี่ยนไป กลิ่นเผาไหม้และฝุ่นควันลอยคละคลุ้งตามแรงลม เมื่อออกมานอกชานเรือนจึงได้เห็นท้องฟ้าที่ควรจะเป็นสีหมึกเข้มกลายเป็นสีแดงฉาน เป็นสัญญาณเร่งด่วนว่า พวกเราต้องออกไปดับ “ไฟป่า” กันอีกครา
แต่ดับไฟป่าครั้งแล้วครั้งเล่า สุดท้ายต้องตกเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ฝุ่นควันกระทบคนในเมือง
สถิติจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2562 ระบุว่า อำเภอสะเมิงเป็นอำเภอที่มีจุดความร้อน (Hotspots) ขึ้นมาแล้ว 32 จุด มากเป็นอันดับที่เจ็ดของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีไฟไหม้ในพื้นที่ป่าหลายครั้ง
ผลที่ตามมาคือ ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่อาศัยและทำกินอยู่ในป่าเขาของอำเภอสะเมิงจึงยังไม่สามารถขออนุญาตเผาพื้นที่ทำกินตามวิถีการทำไร่หมุนเวียนที่สืบทอดมาจากรุ่นต่อรุ่นได้ ซ้ำยังตกเป็นจำเลยสังคมเพราะถูกชี้ว่าเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดไฟป่าและควันพิษในภาคเหนือ
ไฟ: ปัจจัยในการดำรงชีวิตของชาวปกาเกอะญอ
ชาวปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าบนพื้นที่สูง โดยเฉพาะชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่หนึ่งและสองในภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ ตลอดจนเป็นพื้นที่ต้นน้ำ โดยส่วนใหญ่ชาวปกาเกอะญอจะอาศัยและทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สั่งสมวิถีวัฒนธรรมส่งต่อกันมาสู่ลูกหลาน
พะตีตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ วัย 70 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งบ้านสบลาน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธาตุทั้งสี่ที่อยู่ในร่างกายของทุกคน ตลอดจนสถิตอยู่ในธรรมชาติด้วย ซึ่งคนไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสิ่งใดสำคัญมากน้อยกว่ากัน เพราะทั้งสี่สิ่งล้วนเป็นธาตุหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตทั้งมวล แม้แต่ “ไฟ” ก็เช่นกัน
“จริงๆ แล้วไฟรักษาป่า เพราะจะมีพืชบางอย่างในภูเขาที่คนเฒ่าคนแก่บอกว่า ถ้าไฟไม่ไหม้พืชพวกนั้นจะสูญพันธุ์ไปเลยภายในสามปี อีกอย่างคือ ไม้แดง ลูกไม้แดงเวลาไฟไม่ไหม้จะไม่แตก แต่ถ้าไฟไหม้ 2-3 วันก็จะแตก หรือไม้สักที่ถ้าไฟไม่ไหม้ก็จะไม่ออกลูกเลย แต่พวกนี้ต้องเป็นไฟธรรมชาติ” พะตีตาแยะกล่าว
นอกจากนั้น ไฟยังสำคัญต่อระบบเกษตรกรรมแบบ “ไร่หมุนเวียน” ของชาวปกาเกอะญออย่างมาก หากไม่ใช้ไฟในการเผาเตรียมพื้นที่จะไม่มีปุ๋ยเป็นสารอาหารให้พืชไร่ และจะไม่สามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตพอกินในครัวเรือนตลอดทั้งปี อนุรัญช์ อุแสง วัย 36 ปี ชาวบ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ อธิบายว่า ชาวบ้านต้องทำ “แนวกันไฟ” เพื่อจัดการไฟและป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่าทุกครั้ง
เมื่อจัดทำแนวกันไฟเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะเริ่มจุดเผาบริเวณล่างของแปลงทำไร่ เพื่อให้ไฟลามไปบรรจบกันกับไฟด้านบน วิธีนี้จะทำให้ไฟอ่อนแรงลง ง่ายต่อการคุมไฟ นอกจากนี้ ในระหว่างการเผาไร่ ชาวบ้านจะร่วมแรงกันเดินสำรวจรอบๆ แปลงไร่เพื่อกันไม่ให้ไฟกระโดดข้ามแนวกันไฟ ทั้งหมดนี้เป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษตามวิถีชีวิตดั้งเดิม
“เราไม่สามารถหยุดใช้ไฟได้ เพราะเราไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออื่น เงินเราน้อย การเผาจะทำให้สารอาหารในต้นไม้กลายเป็นขี้เถ้า เป็นปุ๋ยให้พืชที่เราปลูก ไฟจึงสำคัญกับวิถีชีวิตของปกาเกอะญอมาก” ชาวบ้านแม่ลานคำย้ำ
“เขากล่าวหาทั้งนั้น”
แม้ไฟที่ชาวบ้านเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อนทำไร่หมุนเวียนจะควบคุมได้ แต่ไฟอีกประเภทอยู่เหนือการควบคุม นั่นคือไฟป่า
สาเหตุของการเกิดไฟป่าแบ่งเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการเสียดสีของกิ่งไม้จนเกิดเป็นความร้อนและสะเก็ดไฟ ประเภทที่สองคือไฟป่าที่เกิดจากมนุษย์ เช่น เผาเพื่อหาของป่า เผาเพื่อล่าสัตว์ หรือเผาเพื่อกลั่นแกล้งหรือสร้างสถานการณ์ ไฟป่านี้ยากต่อการควบคุม เพราะป่าไม่มีขอบเขตแน่ชัดและไม่มีแนวกันไฟเหมือนที่ชาวบ้านทำไว้ในการทำไร่หมุนเวียน หรือบางกรณีชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปดับไฟซึ่งเกิดในพื้นที่ที่กันไว้เพื่อการอนุรักษ์และประชาชนไม่สามารถเข้าไปได้ เมื่อควบคุมไฟป่าไม่ได้ บางครั้งทั้งไฟและควันไฟก็ลุกลามมาถึงชุมชน
ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงต้องตั้งรับดับไฟป่า ตั้งแต่ต้นปี 2562 จนถึงวันนี้ พะตีตาแยะให้ข้อมูลว่ามีไฟเกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้ชุมชนมาแล้ว 12 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยแต่ละครั้งชาวบ้านจะช่วยกันเกณฑ์กำลังไปดับไฟประมาณ 30-40 คน ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมแต่อย่างใด
“เราจะเรียกกัน ประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านมารวมตัวกันแล้วไปดับไฟ เวลาดับเราจะไปดูเชื้อเพลิง ถ้าเชื้อเพลิงเยอะๆ เราต้องทำแนวกันไฟไกลๆ แล้วเผาให้ไฟชนกัน เพราะถ้าเราเข้าไปดับเองเราอาจตายได้ ถ้าเป็นไฟกองเล็กๆ เราก็กวาดๆ เอาน้ำไปด้วยแล้วเอาไปดับ เวลาดับไฟอันตรายมาก เพราะในป่างูเยอะมาก วันนั้นชาวบ้านเจองูหนีไฟหลายตัวมาก เกือบโดนกัดกันไปหลายคน” ผู้นำทางแห่งจิตวิญญาณอธิบาย
อย่างไรก็ตาม พะตีตาแยะเห็นว่า ชาวบ้านบนพื้นที่สูงต้องตกเป็นจำเลยสังคมเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ฝุ่นควัน หรือดินสไลด์ แม้ชาวบ้านจะมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรที่ดีเยี่ยม และชาวบ้านยังไม่ได้เผาเพื่อทำไร่หมุนเวียนเลย บางส่วนก็อ้างว่าชาวบ้านเผาป่าเพื่อให้เก็บเห็ดถอบและผักหวานในป่าได้สะดวก ซึ่งพะตีตาแยะแย้งว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากชาวบ้านต้องลงแรงทำแนวกันไฟปีละประมาณ 12 กิโลเมตร ตลอดจนการดับไฟแต่ละครั้งมีความเสี่ยง การเผาเพื่อแลกกับเห็ดจึงไม่คุ้มค่าสำหรับชาวปกาเกอะญอ ในทางกลับกัน ชาวบ้านไม่ได้ให้ความสำคัญกับเห็ดและผักหวานมากเท่าไม้ยืนต้นที่จะเติบโตชึ้นมาเป็นป่า
“เขากล่าวหาทั้งนั้น เขาคิดอะไรไม่ออกเขาก็พูดอย่างนั้น อย่างเรื่องเห็ดนี่ไฟไหม้ก็ออกจริง ไม่ใช่แค่เห็ด มันมีพืชที่ต้องการไฟ คือเราไม่ได้ไปเผาเพื่อเอาเห็ดหรือผักหวานมากกว่ากัน จริงๆ เราไม่ได้สนใจเห็ดหรือผักหวานมากเท่าพืชยืนต้นที่ชอบไฟ มันเป็นวงจรของไฟ คนที่ปฏิเสธไฟเขาไม่รู้อะไรเลย เพราะไฟคือส่วนหนึ่งของชีวิต” พะตีตาแยะกล่าว
ส่วนเรื่องควันไฟที่ทำให้เกิดฝุ่นขนาด PM 2.5 ที่ปกคลุมภาคเหนือในขณะนี้ ผู้นำทางจิตวิญญานของบ้านสบลานมองว่าเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุม แต่ควันไฟนั้นไม่ได้เกิดจากการเผาเพื่อทำไร่หมุนเวียนโดยเด็ดขาด เพราะชาวบ้านยังไม่ได้รับอนุญาตจากอำเภอให้เผาจนถึงปัจจุบัน
“ควันนี่จัดการไม่ได้ ไม่มีมนุษย์คนไหนจัดการควันได้ คือไฟนี้มันไหม้มาจากข้างล่าง เขาเผามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว แล้วมันสะสม ซึ่งจริงๆ แล้วไฟที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าที่ดูดซับคาร์บอนได้มากจะไม่อันตราย ไฟที่อันตรายคือควันรถ ควันโรงงาน ควันเผาพืชที่โล่งอย่างข้าวโพด” พะตีตาแยะย้ำ
มาตรการจัดการไฟจากรัฐ ตัดวงจรชีวิตชุมชน
สำนักข่าวประชาไทรายงานเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และมีมาตรการให้หน่วยงานราชการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย เหล่าทัพ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ร่วมกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เร่งแก้ปัญหาโดยด่วนภายในเจ็ดวัน
“…จะเร่งหามาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องเข้มงวดในการใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำความผิดเพื่อแก้ไขปัญหาในการลักลอบเผาป่า ขอให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมมือร่วมใจช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งภาครัฐต้องทำงานแบบบูรณาการมากขึ้น ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเฝ้าระวัง พร้อมกับขอให้ติดตามผลการดำเนินการอย่างใกล้ชิด และปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่…” สำนักข่าวประชาไทรายงานโดยอ้างคำพูดของนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยังรายงานเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 ว่า อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยึดถือแนวทางตามมาตรการของนายกรัฐมนตรีให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเล็งขึ้นบัญชีดำ 20 ตำบลในเก้าจังหวัดภาคเหนือที่มีจุดความร้อนขึ้น และจะตัดสิทธิตามนโยบายการจัดสรรที่ดินให้ชุมชนโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
อนุรัญช์ อุแสง ชาวบ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่า มาตรการของรัฐบาลเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด กดขี่ชาวบ้าน และอาจทำให้สถานการณ์ไฟป่าและฝุ่นควันในภาคเหนือรุนแรงกว่าเดิม
“การใช้มาตรการแบบนี้เป็นการครอบงำชุมชน เป็นการปิดกั้นโอกาสของชุมชนที่จะเข้าไปสำรวจพื้นที่ว่ามีไฟเกิดขึ้นหรือไม่ ตอนนี้เรามีการวางแผนว่าทุกครั้งที่เราจะลงไปสำรวจพื้นที่ต้องไปกันหลายๆ คน ตอนนี้ไม่ให้เอาไฟแช็กเข้าไปด้วยซ้ำ แล้วเวลาเราจะสูบบุหรี่จะทำยังไง มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ห้ามกันไม่ได้ คนที่เอาไฟไปบางคนเขาก็ไปสำรวจไฟป่า เขาไปดูพื้นที่ สุดท้ายถ้าไฟป่าเกิดขึ้นเราจะตกเป็นจำเลย ผมมองว่าเป็นมาตรการเพื่อปิดปากหรือเล่นงานคนในพื้นที่ ทำให้พวกเราเป็นแพะ” อนุรัญช์กล่าว
หลังจากที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ใช้กฎหมายบังคับอย่างเคร่งครัด อนุรัญช์ให้ข้อมูลว่ามีชาวบ้านถูกจับกุมบ้างแล้ว บางคนถูกจับกุมในพื้นที่เกษตรของตนเอง บ้างถูกจับกุมขณะเข้าไปหาของกินประทังชีวิตในป่า หรือบางคนก็ถูกจับกุมในขณะกำลังดับไฟไม่ให้รุกเข้ามาในพื้นที่เกษตรของตนเอง
“มันจะมีใครบ้างที่เข้าไปจุดไฟ แล้วมาดับไฟเอง เหนื่อยจะตาย เราก็อยากรักษา คนที่จุดไม่ใช่คนที่ดับหรอก เราไปดับไฟพื้นที่ไหน เราก็คำนึงถึงสังคมกว้าง เราไปดับเพื่อให้ทางผู้ใหญ่หรือเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาความสำคัญของการมีอยู่ของชุมชน ว่าเราจัดการกันได้ เราดูแลป่าได้ จัดการไฟป่าได้ แต่เราก็รู้ๆ กันอยู่ หน่วยงานของรัฐรับประกันอะไรให้เราไม่ได้ เจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นก็ต้องรับนโยบายรัฐเข้ามา แต่นโยบายพวกนี้กำลังทำลายสิทธิชุมชน” ชาวบ้านแม่ลานคำย้ำ
ด้านพะตีตาแยะ ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งบ้านสบลาน เห็นว่ามาตรการเช่นนี้จะยิ่งทวีความขัดแย้ง ทำให้ชาวบ้านที่ดูแลป่าและช่วยดับไฟถูกกล่าวหา เป็นมาตรการที่ไม่เข้าใจวิถีคนที่อยู่กับป่า
พะตีตาแยะยังย้ำว่าชาวบ้านมีภูมิปัญญาในการจัดการไฟป่าจริง และมีความชอบธรรมในการอยู่ในป่าในฐานะผู้ดูแลรักษาและผู้ใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม แม้ดูแลรักษาอย่างไรภาครัฐก็ไม่เคยมองเห็น
“จริงๆ แล้วภาครัฐออกนโยบายมาไม่ถูก เอาเปรียบคนที่ไม่รู้กฎหมายไปเรื่อยๆ ไม่มีใครตอบโต้ เขาอาจจะอยากได้งบประมาณ สุดท้ายปัญหาก็ลงมาที่ชาวบ้าน ชาวบ้านไปดับไฟจะตายอยู่แล้ว บางคนก็ตาย แต่สุดท้ายก็มาด่าชาวบ้าน บางคนเขาไม่เคยเห็นไฟ ไม่เคยอยู่ป่า เขาจัดการไฟไม่ถูก เราอยู่กับป่ามาตลอดชีวิต เรารู้ว่าเราต้องจัดการป่ายังไง” พะตีตาแยะย้ำ
นักวิชาการ-เอ็นจีโอชี้ ความไม่เข้าใจชุมชนไม่ช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเวทีวิชาการ “เชียงใหม่ หมอกควัน การเชื่อมโยงช่องว่างองค์ความรู้เพื่อหาทางออกอย่างยั่งยืน” ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีนักวิชาการ นักการเมือง ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ป่าเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนระดมความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนในกรณีปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่า ปัจจุบันประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่มีความทุกข์ 3 ประการ ได้แก่ การต้องเผชิญฝุ่นควันโดยไม่ทราบสาเหตุ การที่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา และการอยู่ท่ามกลางความไม่รู้
“หลายคนบอกว่าไฟป่าเกิดขึ้นช่วงนี้เพราะชาวบ้านไปเผาป่าเพื่อเก็บเห็ด เก็บผักหวาน คนบนดอยจุดไฟขึ้นมาเพื่อสร้างสถานการณ์
ด้าน ดร.โอลิวิเยร์ เอฟราร์ด จากสถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศฝรั่งเศส กล่าวถึงปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือว่า ภาคเหนือตอนบนอยู่ในแอ่งกระทะ หุบเขา ซึ่งจะเก็บหมอกควันเอาไว้ในนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหานานาชาติ กระทบกันทั่วภูมิภาค มีสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้ขยะอินทรีย์ หรือมลภาวะทางการขนส่ง รวมถึงการผลิตพลังงานด้วย หมายความว่า ไม่ใช่เพียงชาวบ้านบนพื้นที่สูงเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของปัญหามลภาวะทางอากาศ
“พื้นที่สีเขียวมันมีน้อยลงเรื่อยๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องไฟป่า เพราะพื้นที่ในเมืองแต่เดิมก็เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะอยู่แล้ว นี่คือสิ่งที่ผมสนใจ ในมุมมองของความสัมพันธ์ของชุมชนเมืองและชนบท กิจกรรมบนพื้นที่สูงหรือพื้นที่ราบ ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่ข้าวโพดหรือการหาเห็ด เราจะไม่มองจากพื้นที่สูง แต่เราจะลงมาบนพื้นแล้วมองความสัมพันธ์นี้ที่เทคโนโลยีจุดความร้อนมองไม่เห็น” ดร.โอลิวิเยร์กล่าว
ส่วน วิศรุต ศรีจันทร์ จากมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เห็นว่าหน่วยงานรัฐต้องจำแนกไฟให้ถูก ว่าไฟไร่หมุนเวียนกับไฟป่าต่างกัน และไฟที่อยู่ในป่าในพื้นที่อนุรักษ์อย่างเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นไฟที่ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ เพราะเป็นพื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
“รัฐและคนในสังคมไม่เข้าใจ คนส่วนมากคิดว่าในป่าต้องไม่มีไฟ แต่จริงๆ ในฤดูร้อนไฟป่าต้องเข้าทุกปี ถ้าปีไหนไม่เข้ามันจะสะสมและไหม้เยอะเหมือนปีนี้ เมื่อไฟไหม้อุทยานฯ ก็อาจใช้ตรงนี้ทำลายความชอบธรรมชาวบ้านว่าดูแลไม่ได้แล้วประกาศเป็นอุทยานฯ โดยเฉพาะพื้นที่สะเมิงที่อยู่ในเขตเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าใครกันแน่ที่เผา” วิศรุตกล่าว
นี่ไม่ใช่ปีแรกที่ชาวภาคเหนือต้องเผชิญปัญหาฝุ่นควัน ไม่ใช่ปีแรกที่เกิดไฟป่าบ่อยครั้ง และไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวบ้านปกาเกอะญอต้องถูกตีตรา แต่ชาวบ้านก็ยังยืนหยัดในแนวทางการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน เชื่อมั่นในภูมิปัญญาการจัดการไฟป่าที่ส่งต่อกันมาหลายร้อยปี หวังพิสูจน์ตนเองให้หน่วยงานรัฐเห็นว่าพวกตนมีศักยภาพเพียงพอในการดูแลป่าไม้ที่หวงแหน
“แม้กระทั่งเราไม่มีเงินเดือน แต่เราก็เต็มใจ เพื่อจะสร้างความชอบธรรมเรื่องไร่หมุนเวียนเราด้วย ทุกวันนี้ไร่หมุนเวียนของเราเป็นไร่เลื่อนลอยในสายตาคนนอก เขาไม่อยากให้เราทำ แต่การดับไฟนี้คือการทำให้เห็นว่าเราจะไม่ทำลายป่า เราอยากรักษาป่า เราอยากทำไร่หมุนเวียนต่อไป สุดท้ายเราก็กลายเป็นต้นเหตุ เป็นแพะ ถ้าคนบนดอยเป็นต้นเหตุจริงๆ ป่าจะมีเยอะขนาดนี้ไหม ป่าที่เหลืออยู่ทุกวันนี้ก็มีคนอยู่ทั้งนั้น” อนุรัญช์ อุแสง ชาวบ้านแม่ลานคำย้ำ
Share this:
Like this: