เรื่อง-ภาพ: นที ยืนยงวัฒนากูล
ในยุคที่การแสดงออกเพื่อความเท่าเทียมเป็นประเด็นหลักซึ่งทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่ถูกกล่าวถึงและมีผู้เข้าร่วมมากมายทั่วโลก คงหนีไม่พ้นการเรียกร้องสิทธิเพื่อความเท่าเทียมของผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือชาว LGBTQ โดยได้มีการตั้งให้เดือนมิถุนายน เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ Pride Month ของชาว LGBTQ มาตั้งแต่ปี 2000
เกือบ 20 ปีผ่านไป คำว่า LGBTQ ยังคงถูกใช้เคลื่อนไหวเชิงการเมืองเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียม แต่ขณะเดียวกัน มันกลับเป็นดาบสองคม เพราะคนอีกมากยังไม่เข้าใจความหมายในการต่อรองเชิงอำนาจของคำว่า LGBTQ ที่ตั้งใจเป็นขั้วตรงข้ามกับ หญิง-ชาย แต่มองว่า LGBTQ คือการนิยามความหลากหลายทางเพศต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย L-Lesbian ผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิงและมีความพึงใจกับผู้มีเพศสภาพหญิงด้วยกัน G-Gay ผู้ที่มีเพศสภาพเป็นชายและมีความพึงใจกับผู้มีเพศสภาพชายด้วยกัน B-Bisexual ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศพึงใจกับผู้ที่มีเพศสภาพทั้งชายและหญิง T-Transgender หรือ T-Transsexual ผู้ที่ทำการผ่าตัดเพื่อให้มีเพศสภาพที่ตรงกับรสนิยมและความรู้สึกภายในใจ
เมื่อการรับรู้ในสังคมเป็นเช่นนี้ การมีอยู่ของคำว่า LGBTQ จึงกลายเป็นการกดดันให้ผู้คนรู้สึกว่าต้องการมีคำเรียกขานอัตลักษณ์ของตน หรือหลายครั้งก็ไม่แน่ใจว่าตนเองอยู่ในกลุ่มที่นิยามว่าเป็น LGBTQ หรือไม่
นั่นคืออีกความหมายที่ซ่อนอยู่ของ Q ที่พ่วงท้ายใน LGBTQ ตัวอักษร Q นอกจากจะหมายถึง Queer อันได้แก่ผู้ที่ไม่ต้องการจำกัดความรสนิยมทางเพศของตนด้วยเพศใดเพศหนึ่งแล้ว ยังหมายถึง Questioning หรือกลุ่มผู้ที่ยังค้นหาและไม่มั่นใจในรสนิยมและลักษณะทางเพศของตน ส่งผลให้ไม่กล้าที่จะนิยามรสนิยมทางเพศด้วยคำนิยามใดๆ ที่มี
แม้แต่กลุ่มคนที่ยังไม่แน่ใจในการนิยามตนเองก็ยังมีคำนิยาม เหมือนกับมีกล่องที่แปะป้ายชื่อด้วยคำนิยามและพยายามบรรจุเขาเหล่านั้นลงไป ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กล่าวว่า ไม่มีทางที่เราจะสามารถนิยามคนในทุกลักษณะรสนิยมหรือพฤติกรรมได้หมด เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนมีลักษณะพฤติกรรมที่ต่างกัน
ต่อให้สร้างกล่องขึ้นมาเพื่อนิยาม มนุษย์ก็สามารถกระโดดหนีออกนอกกล่องได้อยู่ตลอด
แต่กล่องเหล่านั้นก็หาได้ไร้ประโยชน์หรือเป็นสิ่งที่แย่เสียทีเดียว หลายครั้งการมีกล่องนิยามก็เป็นเหมือนการสร้างความอุ่นใจที่ได้มีตัวตน การอยู่ในกล่องยังเป็นการรวบรวมคนที่มีลักษณะร่วมให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม เพื่อทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน แชร์ประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน และเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอะไรบางอย่าง เหมือนที่กล่องของ LGBTQ ถูกใช้เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียม เรียกร้องการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
การนิยามคำขึ้นมาบ่งชี้รสนิยมทางเพศ มีฐานคิดแบบ Binary Opposition ที่มองทุกอย่างแบบมีขั้วตรงข้ามเสมอ เช่น ทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดว่าเป็นเพศใด หญิงหรือชาย รุกหรือรับ ทอมหรือดี้ แต่หากพิจารณาในอีกแง่รสนิยมหรือลักษณะพฤติกรรมทางเพศนั้นเป็นสิ่งที่ลื่นไหลและสามารถมีเพิ่มได้เรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด และยากเกินกว่าจะนิยามให้ครอบคลุมได้
ภายหลังจึงเกิดแนวคิดแบบ Non-Binary ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดข้างต้น โดยเชื่อว่าทุกคนล้วนแตกต่างและไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำนิยามในรสนิยมทางเพศก็ได้ หากเรามองรสนิยมทางเพศตามแนวคิดแบบ Non-Binary แล้ว ก็จะไม่มีคำอย่าง Questioning ที่เป็นผลของความกดดันจากแนวคิดที่ว่าทุกคนต้องมีคำนิยามในการเรียกรสนิยมทางเพศไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
นฤพนธ์ยังกล่าวอีกว่า ในช่วงชีวิตของคนหนึ่งคนสามารถกระโดดข้ามกล่องที่ใช้เรียกเพศได้ตลอดเวลา การมีกล่องเป็นเพียงเครื่องมือที่มีนัยยะทางการเมืองเพื่อใช้ต่อรองกับสังคม แต่เมื่อออกจากการต่อรองนั้นๆ เราสามารถที่จะจัดการกับการอยู่ในกล่องหรือนอกกล่องได้เสมอตามความต้องการ เช่น ในบางเวลาอยู่ในกล่องของ LGBTQ เพื่อการเรียกร้องกฎหมายความเท่าเทียม แต่ไม่ได้จำเป็นว่าเมื่อจบจากการเคลื่อนไหวนั้นแล้วเราจะต้องอยู่ในกล่องนั้นตลอดไป
นั่นหมายความว่า เราต่างไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลหรือกดดันตัวเองในการนิยามมากนัก เพียงรู้เท่าทันการมีอยู่ รู้ประโยชน์จากการทำงานของกล่อง และไม่ตึงเครียดกับกล่องเหล่านั้นมากเกินไป
เพราะแม้เราจะพยายามนิยามรสนิยมทางเพศของตัวเองในขณะนี้ให้ชัดเจนเพียงใด ก็ไม่แน่ว่าในปีหน้า เดือนหน้า วันหน้า หรืออาจจะในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าเราจะยังมีรสนิยมแบบเดิมอยู่หรือไม่ เพราะรสนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ลื่นไหล ดังที่นฤพนธ์กล่าวว่าเราสามารถจัดการและประนีประนอมกับกล่องได้ตลอดเวลา
กล่อง หรือคำนิยามเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง อย่าให้ผลผลิตเหล่านั้นมาครอบงำและกำหนดความต้องการหรือรสนิยมในชีวิตที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน หลากหลาย และลื่นไหล
เพราะสุดท้ายแล้วเราจะเป็นอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องมีชื่อเรียก
Like this:
Like Loading...
เรื่อง-ภาพ: นที ยืนยงวัฒนากูล
ในยุคที่การแสดงออกเพื่อความเท่าเทียมเป็นประเด็นหลักซึ่งทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่ถูกกล่าวถึงและมีผู้เข้าร่วมมากมายทั่วโลก คงหนีไม่พ้นการเรียกร้องสิทธิเพื่อความเท่าเทียมของผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือชาว LGBTQ โดยได้มีการตั้งให้เดือนมิถุนายน เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ Pride Month ของชาว LGBTQ มาตั้งแต่ปี 2000
เกือบ 20 ปีผ่านไป คำว่า LGBTQ ยังคงถูกใช้เคลื่อนไหวเชิงการเมืองเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียม แต่ขณะเดียวกัน มันกลับเป็นดาบสองคม เพราะคนอีกมากยังไม่เข้าใจความหมายในการต่อรองเชิงอำนาจของคำว่า LGBTQ ที่ตั้งใจเป็นขั้วตรงข้ามกับ หญิง-ชาย แต่มองว่า LGBTQ คือการนิยามความหลากหลายทางเพศต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย L-Lesbian ผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิงและมีความพึงใจกับผู้มีเพศสภาพหญิงด้วยกัน G-Gay ผู้ที่มีเพศสภาพเป็นชายและมีความพึงใจกับผู้มีเพศสภาพชายด้วยกัน B-Bisexual ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศพึงใจกับผู้ที่มีเพศสภาพทั้งชายและหญิง T-Transgender หรือ T-Transsexual ผู้ที่ทำการผ่าตัดเพื่อให้มีเพศสภาพที่ตรงกับรสนิยมและความรู้สึกภายในใจ
เมื่อการรับรู้ในสังคมเป็นเช่นนี้ การมีอยู่ของคำว่า LGBTQ จึงกลายเป็นการกดดันให้ผู้คนรู้สึกว่าต้องการมีคำเรียกขานอัตลักษณ์ของตน หรือหลายครั้งก็ไม่แน่ใจว่าตนเองอยู่ในกลุ่มที่นิยามว่าเป็น LGBTQ หรือไม่
นั่นคืออีกความหมายที่ซ่อนอยู่ของ Q ที่พ่วงท้ายใน LGBTQ ตัวอักษร Q นอกจากจะหมายถึง Queer อันได้แก่ผู้ที่ไม่ต้องการจำกัดความรสนิยมทางเพศของตนด้วยเพศใดเพศหนึ่งแล้ว ยังหมายถึง Questioning หรือกลุ่มผู้ที่ยังค้นหาและไม่มั่นใจในรสนิยมและลักษณะทางเพศของตน ส่งผลให้ไม่กล้าที่จะนิยามรสนิยมทางเพศด้วยคำนิยามใดๆ ที่มี
แม้แต่กลุ่มคนที่ยังไม่แน่ใจในการนิยามตนเองก็ยังมีคำนิยาม เหมือนกับมีกล่องที่แปะป้ายชื่อด้วยคำนิยามและพยายามบรรจุเขาเหล่านั้นลงไป ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กล่าวว่า ไม่มีทางที่เราจะสามารถนิยามคนในทุกลักษณะรสนิยมหรือพฤติกรรมได้หมด เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนมีลักษณะพฤติกรรมที่ต่างกัน
แต่กล่องเหล่านั้นก็หาได้ไร้ประโยชน์หรือเป็นสิ่งที่แย่เสียทีเดียว หลายครั้งการมีกล่องนิยามก็เป็นเหมือนการสร้างความอุ่นใจที่ได้มีตัวตน การอยู่ในกล่องยังเป็นการรวบรวมคนที่มีลักษณะร่วมให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม เพื่อทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน แชร์ประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน และเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอะไรบางอย่าง เหมือนที่กล่องของ LGBTQ ถูกใช้เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียม เรียกร้องการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
การนิยามคำขึ้นมาบ่งชี้รสนิยมทางเพศ มีฐานคิดแบบ Binary Opposition ที่มองทุกอย่างแบบมีขั้วตรงข้ามเสมอ เช่น ทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดว่าเป็นเพศใด หญิงหรือชาย รุกหรือรับ ทอมหรือดี้ แต่หากพิจารณาในอีกแง่รสนิยมหรือลักษณะพฤติกรรมทางเพศนั้นเป็นสิ่งที่ลื่นไหลและสามารถมีเพิ่มได้เรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด และยากเกินกว่าจะนิยามให้ครอบคลุมได้
ภายหลังจึงเกิดแนวคิดแบบ Non-Binary ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดข้างต้น โดยเชื่อว่าทุกคนล้วนแตกต่างและไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำนิยามในรสนิยมทางเพศก็ได้ หากเรามองรสนิยมทางเพศตามแนวคิดแบบ Non-Binary แล้ว ก็จะไม่มีคำอย่าง Questioning ที่เป็นผลของความกดดันจากแนวคิดที่ว่าทุกคนต้องมีคำนิยามในการเรียกรสนิยมทางเพศไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
นฤพนธ์ยังกล่าวอีกว่า ในช่วงชีวิตของคนหนึ่งคนสามารถกระโดดข้ามกล่องที่ใช้เรียกเพศได้ตลอดเวลา การมีกล่องเป็นเพียงเครื่องมือที่มีนัยยะทางการเมืองเพื่อใช้ต่อรองกับสังคม แต่เมื่อออกจากการต่อรองนั้นๆ เราสามารถที่จะจัดการกับการอยู่ในกล่องหรือนอกกล่องได้เสมอตามความต้องการ เช่น ในบางเวลาอยู่ในกล่องของ LGBTQ เพื่อการเรียกร้องกฎหมายความเท่าเทียม แต่ไม่ได้จำเป็นว่าเมื่อจบจากการเคลื่อนไหวนั้นแล้วเราจะต้องอยู่ในกล่องนั้นตลอดไป
เพราะแม้เราจะพยายามนิยามรสนิยมทางเพศของตัวเองในขณะนี้ให้ชัดเจนเพียงใด ก็ไม่แน่ว่าในปีหน้า เดือนหน้า วันหน้า หรืออาจจะในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าเราจะยังมีรสนิยมแบบเดิมอยู่หรือไม่ เพราะรสนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ลื่นไหล ดังที่นฤพนธ์กล่าวว่าเราสามารถจัดการและประนีประนอมกับกล่องได้ตลอดเวลา
กล่อง หรือคำนิยามเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง อย่าให้ผลผลิตเหล่านั้นมาครอบงำและกำหนดความต้องการหรือรสนิยมในชีวิตที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน หลากหลาย และลื่นไหล
เพราะสุดท้ายแล้วเราจะเป็นอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องมีชื่อเรียก
Share this:
Like this: