เรื่อง : ตระการตา วิวัฒนะอมรชัย ภาพ : ศุภกานต์ ผดุงใจ
โลกของโซเชียลมีเดียกำกับให้คนจำนวนไม่น้อยต้องหวังผลลัพธ์ จากกิจกรรมที่ทำบนพื้นที่เสมือนจริงนี้ บ่อยครั้งต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อสานสัมพันธ์กับผู้อื่น อันมักจะนำไปสู่การเผชิญหน้ากับความกดดันแอบแฝงจากสังคม เพราะหากไม่ได้รับการตอบสนองหรือคำชมจากผู้อื่น อาจส่งผลกระทบถึงจิตใจและความเป็นตัวตน
งานวิจัยหลายชิ้นกล่าวถึงข้อเสียของโซเชียลมีเดีย ที่มีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดโรคเครียดและโรคซึมเศร้า ซึ่งมาจากภาวะ ‘เสียศูนย์’ ที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน ทั้งจากการถูกประเมิน การยอมรับ ความสัมพันธ์ หรือการสูญเสีย
แต่ขณะเดียวกัน อีกหลายคนบนโลกออนไลน์ กลับใช้ “แอคหลุม” บนแอปพลิเคชันอินสตาแกรมเป็นหนึ่งในช่องทางที่ช่วยบรรเทาสุขภาพจิตของผู้ใช้ให้ดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์
แอคหลุม = หลุมหลบภัย
“แอคหลุม” หรือในภาษาอังกฤษว่า Finstagram มาจากคำว่า Friends only หรือ Fake Instagram หมายถึงบัญชีลับที่ถูกสร้างขึ้นมาเพิ่มจากบัญชีที่ใช้อยู่เป็นประจำ และถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่แพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น
แอคหลุมมีหลายประเภท และถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับทำร้ายผู้อื่น หรือเพื่อแอบซ่อนตัวตน อย่างไรก็ตาม แอคหลุมได้กลายเป็น “หลุมหลบภัย” สำหรับคนจำนวนมาก เพื่อใช้แสดงตัวตนออกมาได้อย่างเต็มที่
อะนา โฮมายูน (Ana Homayoun) นักเขียนผู้สนใจประเด็นวัยรุ่นและการศึกษาในสหรัฐอเมริกา อธิบายหน้าที่ของ แอคหลุม ไว้ในบทความเรื่อง The Secret Social Media Lives of Teenagers จาก The New York Times ว่า แอคหลุมคือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ “Less edited, less filtered” อันหมายถึง ลดการแก้ไขและการกลั่นกรองข้อมูลต่างๆ ที่นำเสนอลง และนำมาสู่ความจริงที่เป็นตัวเรามากที่สุด ซึ่งต่างจากจากผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยทั่วไปที่มักแสดงเพียงภาพลักษณ์ที่อยากให้คนรับรู้ในแอคเคาท์หลักซึ่งมีจำนวนผู้ติดตามมากกว่า
ทั้งนี้ ความกังวลต่อภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอสู่สังคม สัมพันธ์กับอาการทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า “สปอตไลท์ เอฟเฟค” ( Spotlight Effect ) ซึ่งอธิบายถึง การที่มนุษย์ชอบคิดไปเองว่าคนอื่นจ้องมองเราอยู่ เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง จึงต้องใส่ใจสายตาคนนอกอยู่ตลอด จนไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้
ในขณะที่แอคหลุมนั้นเปิดโอกาสให้เราได้เผยความคิดส่วนลึกสุดผ่านคำพูดและการกระทำ ที่บางครั้งอาจไม่มีความมั่นใจ และมักกลัวว่าจะถูกคนอื่นมองในแง่ลบ
แค่ระบายออกก็ดีขึ้น
“เราเป็นคนไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลย กังวลว่าคนจะมองยังไง เวลาเราโพสต์ลงไป ช่วงที่รู้สึกแย่มาก เราคิดว่าระบายอะไรบางอย่างออกไป แอคหลุมเลยเป็นทางออกที่ดี ลึกๆ เราก็อยากให้ใครสักคนมาเห็น แค่มีหนึ่งคนทักมาถามว่าโอเคไหม แค่นั้นก็ทำให้เราดีขึ้นเยอะแล้ว” ธัญวรัตม์ บุตรแสงดี หรือออม หญิงสาววัย 22 ปี กล่าว เธอคือหนึ่งในผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้าและสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากมาได้ผ่านการเล่นแอคหลุม
ณัฐสุดา เต้พันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า “การเปลี่ยน ‘ความรู้สึก’ ให้กลายเป็น ‘คำ’ หรือที่เรียกว่า ‘ความสามารถในการระบุความรู้สึก’ เป็นเรื่องที่ดี และทำให้เราสบายใจขึ้น เพราะกระบวนการนี้จะช่วยให้เราเข้าใจในเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นกับตนเองมากขึ้น ได้มองปัญหาในมิติใหม่ และสามารถจัดเรียงปัญหาได้”
ณัฐสุดา เต้พันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“อย่างน้อยแค่กระบวนการแรกของการที่ตระหนักรู้ได้ว่าเรารู้สึกอะไรก็ดีมากแล้ว”
ณัฐสุดา เต้พันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ หากมองในเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ สมองส่วนอะมิกดะลา (Amygdala) เป็นสมองที่ทำหน้าที่ในการรับรู้และจัดการความทรงจำทางด้านอารมณ์ เมื่อเจอเรื่องเศร้าหรือสะเทือนใจ อะมิกดะลาจะเริ่มทำงานและส่งสัญญาณไปให้ส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เพื่อบันทึกความรู้สึกนี้ไว้และเก็บเป็นความทรงจำระยะยาว ดังนั้นความรู้สึกจะถูกจดจำตลอดไม่เคยหายไปจากสมองเรา คนเราจึงจำเป็นต้องระบายออกไปเพื่อบรรเทาความเครียด เพราะเมื่อไหร่ที่สมองได้รับการกระตุ้น ก็สามารถทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจได้เสมอ
สนิทใจถึงกล้าบอก
หากเรื่องที่อยากถ่ายทอดนั้นกำพร้าผู้รับฟัง ก็เหมือนขาดองค์ประกอบที่สำคัญไป ผู้เล่นแอคหลุมจึงต้องคัดกรองกลุ่มคนที่เข้ามาติดตาม ซึ่งต้องสนิทใจและไว้ใจที่จะเล่าเรื่องส่วนตัวของกันและกันให้ฟัง
ณิชาพัชร์ สุภัณวงษ์ อายุ 22 ปี หนึ่งในผู้ใช้แอคหลุม กล่าวว่า “ใครๆ ก็อยากให้คนอื่นรู้ว่าเรามีความสุขดี มีชีวิตที่ดี กินอาหารอิ่ม ได้ไปเที่ยว เราไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรมันทำให้เราต้องทำแบบนั้น พอเจอเรื่องที่จะทำให้เราดูไม่ดี ก็เลือกจะไปลงแอคหลุมดีกว่า เพราะเรารู้ว่าคนในนี้ไม่ตัดสินเรา”
เช่นเดียวกับ วริษฐา ศรีจันทร์วงศ์ หรือแก้ม อายุ 23 ปี หนึ่งในผู้ที่ใช้แอคหลุมสำหรับการลงรูปเพื่อบำบัดความรู้สึกตนเอง เล่าให้ฟังว่า “สำหรับเรามันยากนะที่จะเปิดใจเล่าให้ใครฟัง เรากังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวมาก ไม่ค่อยอยากให้คนอื่นรู้เท่าไหร่ว่าเรากำลังทำอะไร ”
“สิ่งที่พวกเขาทำคือการมีแอคเคาท์หนึ่งที่เขารู้สึกว่ามันเป็นส่วนตัวและรู้สึกปลอดภัย ที่จะสื่อสารหรือแสดงความคิด ความรู้สึกตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าใครจะมาตัดสิน แล้วคนที่เข้ามาก็พร้อมที่จะสนับสนุน และเป็นคนที่เรามั่นใจว่าเขาเข้าใจจริงๆ ซึ่งในบางครั้งอาจไม่ได้เข้าใจเนื้อเรื่อง แต่แค่เข้าใจความรู้สึก พร้อมที่จะรับฟังในสิ่งที่เราแสดงออกไป นั่นก็เพียงพอแล้ว” ณัฐสุดา นักวิชาการด้านจิตวิทยา กล่าว
อิสริยะ ไพรีพ่าย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทบล็อกนัน (Blognone) เว็บไซต์ข่าวสารเทคโนโลยี
สอดคล้องกับ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบล็อกนัน (Blognone) เว็บไซต์ข่าวสารเทคโนโลยี ที่อธิบายถึงช่วงอายุกับโซเชียลมีเดียว่า “ตอนนี้โลกออนไลน์กับโลกออฟไลน์มันทับซ้อนเข้าหากันเรื่อยๆ แต่ก่อนอินเทอร์เน็ตมีแต่วัยรุ่นใช้ เล่นอะไรก็ไม่มีใครสนใจ แต่พอผู้ใหญ่ที่อายุเยอะๆ เข้ามาสู่อินเทอร์เน็ต มาอยู่แพลตฟอร์มเดียวกันกับวัยรุ่น มันก็อยู่กันยาก ทางออกจึงเป็นการอพยพของคนอายุน้อยไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ หรือต้องไปมีตัวตนอีกตัวตนหนึ่งที่สบายใจแทน”
โซเชียลมีเดียเองก็ได้ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอินสตาแกรมที่เปิดตัวเครื่องมือใหม่ ชื่อว่า “เพื่อนสนิท” (Close Friends) ในอินสตาแกรมสตอรี่ (IG Sory) ที่ผู้ใช้สามารถแบ่งปันเรื่องราวให้เฉพาะเพื่อนสนิทได้
รูปภาพบำบัดความรู้สึก
แอคหลุมอินสตาแกรมเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเพื่อใช้ภาพบำบัดความรู้สึก
การแสดงความรู้สึกของมนุษย์ต้องผ่านกระบวนการทำงานของสมอง เพื่อกลั่นกรองมันออกมาเป็นคำ แต่ถ้ายังมีความรู้สึกที่เราเองไม่รู้ว่าจะพูดออกมาเป็นคำอย่างไร บางครั้งการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านภาพถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการบอกความรู้สึกได้เช่นกัน
ในฐานะผู้ใช้แอคหลุมอินสตาแกรม แก้มอธิบายว่า เธอเกรงว่าการพิมพ์ผ่านตัวอักษรจะโดนคนอื่นตัดสินอยู่ดี “เราถ่ายรูปออกมามันเหมือนเป็นการสะท้อนความรู้สึกและความหมายของเราอยู่แล้ว เวลาลงรูปเหมือนเป็นบอกว่ารู้สึกแบบนี้อยู่ แต่แค่ไม่อยากพูดออกมา”
ในบทความวิชาการชื่อ “Play therapy and photo-elicitation : A narrative examination of children’s grief” โดย ไดแอน สตูเตย์ (Diane Stutey) จากวารสารวิชาการ International Journal of Play Therapy ได้ทำการทดลองกับเด็กอายุระหว่าง 6-9 ปี ที่เพิ่งสูญเสียคนสำคัญ 3-18 เดือนก่อนเข้าร่วมการทดลอง โดยให้พวกเขาถ่ายภาพเพื่อสะท้อนอารมณ์ โดยปราศจากคำพูดหรือตัวอักษร ได้ข้อสรุปว่าพวกเขาสามารถแบ่งปันประสบการณ์ทางอารมณ์ผ่านรูปที่พวกเขาถ่ายได้ซึ่งปรากฏสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์และการสูญเสีย
สุดท้ายแล้ว ปัญหาทางจิตใจจะตามมาต่อเมื่อเรื่องที่เราเก็บไว้เป็นสิ่งที่ตัวเองรู้สึกไม่ชอบ ไม่เห็นค่า หรือรู้สึกว่าถ้าพูดออกไปคนจะมองในทางไม่ดี ทั้งหมดเป็นเรื่องการไม่เห็นค่าในตัวเอง ดังนั้นการระบายออกไปบ้าง ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด กับใคร คงทำให้ผ่อนคลายขึ้น นับว่าเป็นการดูแลจิตใจง่ายๆ ที่หลายคนมักมองข้าม
“โซเชียลมีเดียเป็นเพียงเครื่องมือ อยู่ที่ว่าเราสร้างมันขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ถ้าเรามองว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาได้ มันก็ช่วยได้จริง ๆ” ณัฐสุดา เต้พันธ์ กล่าว
Like this: Like Loading...
เรื่อง: ตระการตา วิวัฒนะอมรชัย ภาพ: ศุภกานต์ ผดุงใจ
โลกของโซเชียลมีเดียกำกับให้คนจำนวนไม่น้อยต้องหวังผลลัพธ์ จากกิจกรรมที่ทำบนพื้นที่เสมือนจริงนี้ บ่อยครั้งต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อสานสัมพันธ์กับผู้อื่น อันมักจะนำไปสู่การเผชิญหน้ากับความกดดันแอบแฝงจากสังคม เพราะหากไม่ได้รับการตอบสนองหรือคำชมจากผู้อื่น อาจส่งผลกระทบถึงจิตใจและความเป็นตัวตน
งานวิจัยหลายชิ้นกล่าวถึงข้อเสียของโซเชียลมีเดีย ที่มีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดโรคเครียดและโรคซึมเศร้า ซึ่งมาจากภาวะ ‘เสียศูนย์’ ที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน ทั้งจากการถูกประเมิน การยอมรับ ความสัมพันธ์ หรือการสูญเสีย
แต่ขณะเดียวกัน อีกหลายคนบนโลกออนไลน์ กลับใช้ “แอคหลุม” บนแอปพลิเคชันอินสตาแกรมเป็นหนึ่งในช่องทางที่ช่วยบรรเทาสุขภาพจิตของผู้ใช้ให้ดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์
แอคหลุม = หลุมหลบภัย
“แอคหลุม” หรือในภาษาอังกฤษว่า Finstagram มาจากคำว่า Friends only หรือ Fake Instagram หมายถึงบัญชีลับที่ถูกสร้างขึ้นมาเพิ่มจากบัญชีที่ใช้อยู่เป็นประจำ และถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่แพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น
แอคหลุมมีหลายประเภท และถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับทำร้ายผู้อื่น หรือเพื่อแอบซ่อนตัวตน อย่างไรก็ตาม แอคหลุมได้กลายเป็น “หลุมหลบภัย” สำหรับคนจำนวนมาก เพื่อใช้แสดงตัวตนออกมาได้อย่างเต็มที่
อะนา โฮมายูน (Ana Homayoun) นักเขียนผู้สนใจประเด็นวัยรุ่นและการศึกษาในสหรัฐอเมริกา อธิบายหน้าที่ของ แอคหลุม ไว้ในบทความเรื่อง The Secret Social Media Lives of Teenagers จาก The New York Times ว่า แอคหลุมคือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ “Less edited, less filtered” อันหมายถึง ลดการแก้ไขและการกลั่นกรองข้อมูลต่างๆ ที่นำเสนอลง และนำมาสู่ความจริงที่เป็นตัวเรามากที่สุด ซึ่งต่างจากจากผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยทั่วไปที่มักแสดงเพียงภาพลักษณ์ที่อยากให้คนรับรู้ในแอคเคาท์หลักซึ่งมีจำนวนผู้ติดตามมากกว่า
ทั้งนี้ ความกังวลต่อภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอสู่สังคม สัมพันธ์กับอาการทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า “สปอตไลท์ เอฟเฟค” ( Spotlight Effect ) ซึ่งอธิบายถึง การที่มนุษย์ชอบคิดไปเองว่าคนอื่นจ้องมองเราอยู่ เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง จึงต้องใส่ใจสายตาคนนอกอยู่ตลอด จนไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้
ในขณะที่แอคหลุมนั้นเปิดโอกาสให้เราได้เผยความคิดส่วนลึกสุดผ่านคำพูดและการกระทำ ที่บางครั้งอาจไม่มีความมั่นใจ และมักกลัวว่าจะถูกคนอื่นมองในแง่ลบ
แค่ระบายออกก็ดีขึ้น
“เราเป็นคนไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลย กังวลว่าคนจะมองยังไง เวลาเราโพสต์ลงไป ช่วงที่รู้สึกแย่มาก เราคิดว่าระบายอะไรบางอย่างออกไป แอคหลุมเลยเป็นทางออกที่ดี ลึกๆ เราก็อยากให้ใครสักคนมาเห็น แค่มีหนึ่งคนทักมาถามว่าโอเคไหม แค่นั้นก็ทำให้เราดีขึ้นเยอะแล้ว” ธัญวรัตม์ บุตรแสงดี หรือออม หญิงสาววัย 22 ปี กล่าว เธอคือหนึ่งในผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้าและสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากมาได้ผ่านการเล่นแอคหลุม
ณัฐสุดา เต้พันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า “การเปลี่ยน ‘ความรู้สึก’ ให้กลายเป็น ‘คำ’ หรือที่เรียกว่า ‘ความสามารถในการระบุความรู้สึก’ เป็นเรื่องที่ดี และทำให้เราสบายใจขึ้น เพราะกระบวนการนี้จะช่วยให้เราเข้าใจในเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นกับตนเองมากขึ้น ได้มองปัญหาในมิติใหม่ และสามารถจัดเรียงปัญหาได้”
นอกจากนี้ หากมองในเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ สมองส่วนอะมิกดะลา (Amygdala) เป็นสมองที่ทำหน้าที่ในการรับรู้และจัดการความทรงจำทางด้านอารมณ์ เมื่อเจอเรื่องเศร้าหรือสะเทือนใจ อะมิกดะลาจะเริ่มทำงานและส่งสัญญาณไปให้ส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เพื่อบันทึกความรู้สึกนี้ไว้และเก็บเป็นความทรงจำระยะยาว ดังนั้นความรู้สึกจะถูกจดจำตลอดไม่เคยหายไปจากสมองเรา คนเราจึงจำเป็นต้องระบายออกไปเพื่อบรรเทาความเครียด เพราะเมื่อไหร่ที่สมองได้รับการกระตุ้น ก็สามารถทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจได้เสมอ
สนิทใจถึงกล้าบอก
หากเรื่องที่อยากถ่ายทอดนั้นกำพร้าผู้รับฟัง ก็เหมือนขาดองค์ประกอบที่สำคัญไป ผู้เล่นแอคหลุมจึงต้องคัดกรองกลุ่มคนที่เข้ามาติดตาม ซึ่งต้องสนิทใจและไว้ใจที่จะเล่าเรื่องส่วนตัวของกันและกันให้ฟัง
ณิชาพัชร์ สุภัณวงษ์ อายุ 22 ปี หนึ่งในผู้ใช้แอคหลุม กล่าวว่า “ใครๆ ก็อยากให้คนอื่นรู้ว่าเรามีความสุขดี มีชีวิตที่ดี กินอาหารอิ่ม ได้ไปเที่ยว เราไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรมันทำให้เราต้องทำแบบนั้น พอเจอเรื่องที่จะทำให้เราดูไม่ดี ก็เลือกจะไปลงแอคหลุมดีกว่า เพราะเรารู้ว่าคนในนี้ไม่ตัดสินเรา”
เช่นเดียวกับ วริษฐา ศรีจันทร์วงศ์ หรือแก้ม อายุ 23 ปี หนึ่งในผู้ที่ใช้แอคหลุมสำหรับการลงรูปเพื่อบำบัดความรู้สึกตนเอง เล่าให้ฟังว่า “สำหรับเรามันยากนะที่จะเปิดใจเล่าให้ใครฟัง เรากังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวมาก ไม่ค่อยอยากให้คนอื่นรู้เท่าไหร่ว่าเรากำลังทำอะไร ”
“สิ่งที่พวกเขาทำคือการมีแอคเคาท์หนึ่งที่เขารู้สึกว่ามันเป็นส่วนตัวและรู้สึกปลอดภัย ที่จะสื่อสารหรือแสดงความคิด ความรู้สึกตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าใครจะมาตัดสิน แล้วคนที่เข้ามาก็พร้อมที่จะสนับสนุน และเป็นคนที่เรามั่นใจว่าเขาเข้าใจจริงๆ ซึ่งในบางครั้งอาจไม่ได้เข้าใจเนื้อเรื่อง แต่แค่เข้าใจความรู้สึก พร้อมที่จะรับฟังในสิ่งที่เราแสดงออกไป นั่นก็เพียงพอแล้ว” ณัฐสุดา นักวิชาการด้านจิตวิทยา กล่าว
สอดคล้องกับ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบล็อกนัน (Blognone) เว็บไซต์ข่าวสารเทคโนโลยี ที่อธิบายถึงช่วงอายุกับโซเชียลมีเดียว่า “ตอนนี้โลกออนไลน์กับโลกออฟไลน์มันทับซ้อนเข้าหากันเรื่อยๆ แต่ก่อนอินเทอร์เน็ตมีแต่วัยรุ่นใช้ เล่นอะไรก็ไม่มีใครสนใจ แต่พอผู้ใหญ่ที่อายุเยอะๆ เข้ามาสู่อินเทอร์เน็ต มาอยู่แพลตฟอร์มเดียวกันกับวัยรุ่น มันก็อยู่กันยาก ทางออกจึงเป็นการอพยพของคนอายุน้อยไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ หรือต้องไปมีตัวตนอีกตัวตนหนึ่งที่สบายใจแทน”
โซเชียลมีเดียเองก็ได้ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอินสตาแกรมที่เปิดตัวเครื่องมือใหม่ ชื่อว่า “เพื่อนสนิท” (Close Friends) ในอินสตาแกรมสตอรี่ (IG Sory) ที่ผู้ใช้สามารถแบ่งปันเรื่องราวให้เฉพาะเพื่อนสนิทได้
รูปภาพบำบัดความรู้สึก
การแสดงความรู้สึกของมนุษย์ต้องผ่านกระบวนการทำงานของสมอง เพื่อกลั่นกรองมันออกมาเป็นคำ แต่ถ้ายังมีความรู้สึกที่เราเองไม่รู้ว่าจะพูดออกมาเป็นคำอย่างไร บางครั้งการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านภาพถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการบอกความรู้สึกได้เช่นกัน
ในฐานะผู้ใช้แอคหลุมอินสตาแกรม แก้มอธิบายว่า เธอเกรงว่าการพิมพ์ผ่านตัวอักษรจะโดนคนอื่นตัดสินอยู่ดี “เราถ่ายรูปออกมามันเหมือนเป็นการสะท้อนความรู้สึกและความหมายของเราอยู่แล้ว เวลาลงรูปเหมือนเป็นบอกว่ารู้สึกแบบนี้อยู่ แต่แค่ไม่อยากพูดออกมา”
ในบทความวิชาการชื่อ “Play therapy and photo-elicitation : A narrative examination of children’s grief” โดย ไดแอน สตูเตย์ (Diane Stutey) จากวารสารวิชาการ International Journal of Play Therapy ได้ทำการทดลองกับเด็กอายุระหว่าง 6-9 ปี ที่เพิ่งสูญเสียคนสำคัญ 3-18 เดือนก่อนเข้าร่วมการทดลอง โดยให้พวกเขาถ่ายภาพเพื่อสะท้อนอารมณ์ โดยปราศจากคำพูดหรือตัวอักษร ได้ข้อสรุปว่าพวกเขาสามารถแบ่งปันประสบการณ์ทางอารมณ์ผ่านรูปที่พวกเขาถ่ายได้ซึ่งปรากฏสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์และการสูญเสีย
สุดท้ายแล้ว ปัญหาทางจิตใจจะตามมาต่อเมื่อเรื่องที่เราเก็บไว้เป็นสิ่งที่ตัวเองรู้สึกไม่ชอบ ไม่เห็นค่า หรือรู้สึกว่าถ้าพูดออกไปคนจะมองในทางไม่ดี ทั้งหมดเป็นเรื่องการไม่เห็นค่าในตัวเอง ดังนั้นการระบายออกไปบ้าง ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด กับใคร คงทำให้ผ่อนคลายขึ้น นับว่าเป็นการดูแลจิตใจง่ายๆ ที่หลายคนมักมองข้าม
“โซเชียลมีเดียเป็นเพียงเครื่องมือ อยู่ที่ว่าเราสร้างมันขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ถ้าเรามองว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาได้ มันก็ช่วยได้จริง ๆ” ณัฐสุดา เต้พันธ์ กล่าว
Share this:
Like this: