เรื่อง: สิทธิเดช มั่นทอง ภาพ: พีรณัฐ หล่อวงศ์กมล
การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การพัฒนานี้ก็ได้เปิดโอกาสต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเช่นกัน
มีการคัดลอกหรือทำซ้ำผลงานที่มีลิขสิทธิ์ และยังนำมาเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะการ์ตูนมังงะซึ่งเป็นผลงานที่มีกฎหมายคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์และมีบทลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน แต่ในกลุ่มผู้บริโภคก็ยังมีการถกเถียงกันถึงความชอบธรรมในการเสพผลงาน “มังงะแปลเถื่อน” เหล่านี้อยู่
มังงะคืออะไร?
“มังงะ (Manga)” คือการ์ตูนช่องของญี่ปุ่น เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ มีการผลิตในรูปแบบหนังสือและอีบุ๊กส์ โดยที่ญี่ปุ่นในปี 2561 มีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ 441,400 ล้านเยน (ตัวเลขจาก DEXNEWS) นอกจากนี้ยังต่อยอดเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น แอนิเมชัน ฟิกเกอร์ และเสื้อผ้า
ในประเทศไทย มีผู้ติดตามการ์ตูนมังงะมาหลายสิบปีแล้ว ในปี 2562 ประเทศไทยมีมูลค่าการตลาดจากสื่อการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 3,000 ล้านบาท (ตัวเลขจากประชาชาติธุรกิจ)
จากงานวิจัยเรื่องการนำเสนอเนื้อหานิตยสารการ์ตูนและความสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ตามกรอบนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว ของธีรติร์ บรรเทิง ในปี 2553 อธิบายว่าการ์ตูนมังงะนอกจากจะสร้างพื้นที่แห่งจินตนาการ สร้างความหวัง ความฝัน ที่โลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่สามารถมอบให้ได้ ยังเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้หลายช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก มังงะจะช่วยสอดแทรกและปลูกฝังค่านิยมที่ดี เช่น ความสามัคคี การให้ความสำคัญกับมิตรภาพ และความพยายามในการต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรค เพื่อสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพให้กับสังคม
ณัฏฐ์ธรณ์ ทวีมงคลสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดของสำนักพิมพ์รักพิมพ์ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มังงะหลายเรื่องในประเทศไทยกล่าวว่า “คนหลายคนมีความฝันที่อยากจะพัฒนาตนเองตามการ์ตูนที่ได้อ่าน บางคนโตขึ้นเป็นนักเตะระดับโลกเพราะได้อ่านเรื่องกัปตันสึบาสะ หรือบางคนกลายเป็นเชฟเพราะตอนเด็กชอบอ่านการ์ตูนทำอาหาร ผมมองว่าการ์ตูนเป็นอีกช่องทางในการสื่อสารอะไรบางอย่างจากคนเขียนไปสู่คนอ่าน แล้วพอคนอ่านสามารถต่อยอดในรูปแบบที่ดีได้ มันก็เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ต่อไป”
มังงะแปลเถื่อนคืออะไร?
“มังงะแปลเถื่อน” คือการนำการ์ตูนมังงะที่มีลิขสิทธิ์ มาลบคำพูดภาษาญี่ปุ่นออก ใส่คำแปลภาษาไทยลงไป แล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ในประเทศไทยผู้แปลเถื่อนส่วนใหญ่จะรอมังงะที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน (โดยไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์) จากนั้นจึงแปลเป็นภาษาไทย
จุดประสงค์ในการแปลเถื่อนนั้น จากงานวิจัยเรื่องการตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชั่นญี่ปุ่นออนไลน์ ของดารารัตน์ ภูธร ในปี 2560 อธิบายว่าผู้แปลส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เพื่อฝึกประสบการณ์ หรือแปลเพราะอยากให้มังงะที่ตนชอบเป็นที่รู้จัก ขณะเดียวกันการแปลเถื่อนที่ทำเป็นธุรกิจก็ปรากฏให้เห็นในรูปแบบเว็บไซต์ซึ่งจะมีมังงะทั้งที่มีและไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ซึ่งเว็บไซต์จะมีรายได้จากค่าโฆษณา สังเกตได้จากแถบโฆษณาที่ขึ้นด้านข้างตลอดขณะอ่านมังงะในเว็บไซต์ประเภทนี้
ตัวอย่างเว็บไซต์มังงะแปลเถื่อน
“บางเรื่องสำนักพิมพ์เขาซื้อลิขสิทธิ์มา พอขายไม่ดีก็พิมพ์เล่มใหม่ช้า หรือไม่พิมพ์อีกเลย เราก็ต้องไปอ่านเถื่อนแทน”
ไทกะ (นามสมมติ) เป็นผู้อ่านมังงะมากว่า 10 ปี เขาเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้บางครั้ง เขาก็ทำให้ต้องยอมอ่านแบบผิดลิขสิทธิ์เพื่อให้ได้อรรถรสอย่างต่อเนื่อง
เมื่อการเผยแพร่มังงะแปลเถื่อนทำลายวงการมากกว่าส่งเสริม
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 เพจสำนักพิมพ์รักพิมพ์ออกมาโพสต์แถลงการณ์ว่า เว็บสแกนแปลเถื่อนไม่ได้ช่วยในการประชาสัมพันธ์หรือช่วยวัดกระแสตอบรับจากผู้อ่าน แต่เป็นการทำลายวงการการ์ตูนลิขสิทธิ์ “คุณคิดว่าสนพ. เราไม่มีกองบ.ก. ไว้คัดเนื้อเรื่องในการขอลิขสิทธิ์ เลยต้องไปสำรวจว่าเรื่องไหนในเวปสแกนเป็นที่นิยมแล้วก็ไปซื้อมาหรือครับ? หลายๆ เรื่องเราไม่สนใจเอา LC เข้ามา ก็เพราะพวกเว็บสแกนนั่นแหละ”
โพสต์บนเพจของสำนักพิมพ์รักพิมพ์ต่อกรณีเว็บมังงะแปลเถื่อน เมื่อ 2 สิงหาคม 2561
หัวหน้าฝ่ายการตลาดของรักพิมพ์อธิบายว่า สำหรับวงการมังงะนั้น จะใช้วิธีคิดแบบวงการเพลงไม่ได้ เพราะมังงะหลายเรื่องเขียนมาเพื่ออ่านให้สนุกที่สุดเพียงครั้งเดียว ถ้ารู้เนื้อเรื่องแล้วอ่านครั้งต่อไปจะสนุกไม่เท่าครั้งแรก ไม่เหมือนวงการเพลงที่สามารถเสพซ้ำได้หลายครั้งแล้วความเพราะไม่ลดลงไป ซึ่งเรื่องนี้กระทบต่อยอดขายที่ควรจะเป็นไปได้ของสำนักพิมพ์โดยตรง
“อย่างเช่นเรื่อง ชมรมคนไร้เพื่อน ในเล่มจบ ที่ตอนแรกยอดขายเรื่องนี้ก็ทำได้ดี แต่มีการหลุดสปอยล์เนื้อเรื่องตอนจบนิดหน่อยก่อนเราวางขาย ซึ่งมันไม่เป็นอย่างที่นักอ่านเขาอยากให้เป็น ทำให้ยอดขายตกอย่างชัดเจน” ณัฏฐ์ธรณ์เสริม
หัวหน้าฝ่ายการตลาดของรักพิมพ์อธิบายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อ่าน หากมีการบริโภคมังงะแปลเถื่อน จนทำให้ยอดขายของมังงะถูกลิขสิทธิ์ลดลงไปว่า ถ้ารายได้เรื่องไหนน้อย สำนักพิมพ์ก็คงไม่ไปซื้อลิขสิทธิ์เล่มต่อไปมาพิมพ์ต่อ มังงะเรื่องไหนที่สำนักพิมพ์ต่างประเทศไม่ขอซื้อไปพิมพ์ สำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ญี่ปุ่นก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดัง ทำให้การโปรโมท และการสนับสนุนผลงานนั้นต่ำลง บางครั้งอาจทำให้ผู้เขียนเรื่องนั้นเลิกเขียนไปเลยเพราะไม่คุ้มกับที่เขาลงแรงสร้างมังงะเรื่องนั้นขึ้นมา สุดท้าย ผลมันก็ย้อนกลับมาที่ผู้อ่านเองที่จะไม่ได้เสพผลงานนั้นต่อไป
ชโยดม สรรพศรี ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบายว่า ลิขสิทธิ์มีไว้เพื่อปกป้องผู้ที่คิดค้นผลงาน ปกป้องสิ่งที่เกิดจากความคิด ประสบการณ์ การลงทุน และการฝึกฝนของเขา เพื่อให้สามารถสร้างรายได้จุนเจือตัวเองและครอบครัว การละเมิดลิขสิทธิ์จึงเป็นดั่งการขโมยผลงาน ขโมยรายได้ไปจากนักเขียนและครอบครัวเช่นกัน
“มันก็เหมือนกับคุณจะไปกินพิซซ่า คุณเดินเข้าไปร้านพิซซ่าแล้วขอเขาชิมชิ้นหนึ่งก่อนได้ไหม ถ้าอร่อยเดี๋ยวจะซื้อเพิ่ม ถ้าไม่อร่อยจะไม่ซื้อ คิดว่าเขาจะให้ไหม นักเขียนเขาเขียนขึ้นมาเขามีการจ่ายต้นทุน ผู้บริโภคจะไปลองอ่านผลงานเขาก็ต้องมีการจ่ายต้นทุนเช่นกัน และการละเมิดลิขสิทธิ์นี่ยิ่งกว่า คุณไปขโมยพิซซ่าของเขามาโดยที่ไม่ได้ขออนุญาตด้วยซ้ำ แล้วยังเอาสูตรเขา รสชาติของเขาแบบเหมือนกันเป๊ะๆ มาเปิดร้านเองหารายได้เข้าตัวอีก” ชโยดมเปรียบเทียบ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อคนในวงการสร้างสรรค์มังงะ
ชโยดมอธิบายผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแปลเถื่อนว่า “มันก็กระทบกันไปหมดนั่นแหละครับ ถ้าสำนักพิมพ์รายได้ลดลง คนที่อยู่ในกระบวนการผลิตทั้งหมดรายได้ก็ลดลงไปด้วย ทั้งโรงพิมพ์ ร้านหมึก ร้านกระดาษ พนักงานของพวกเขาทั้งหมด อีกไม่รู้กี่ร้อยกี่พันคนก็รายได้ลดลงไปด้วย มันกระทบไปทั้งอุตสาหกรรม”
“ถ้าสำนักพิมพ์หายไปทั้งหมด พี่ก็คงต้องไปเป็นยาม”
สมบัติ มาศปกรณ์ ช่างแต่งภาพขาวดำประจำสำนักพิมพ์เฟิร์ส เพจ โปร ผู้ทำอาชีพนี้มากว่า 20 ปี กล่าวอย่างเสียดสีถึงอนาคตของตน
“ทำอาชีพนี้มาเป็น 10 ปี ถ้าไม่ได้ทำขาวดำแล้ว รายได้ก็คงหายไปเยอะมากแน่ๆ ” โอ๊ต (นามสมมติ) ช่างแต่งภาพขาวดำฟรีแลนซ์กล่าวถึงประเด็นเดียวกัน
อาชีพ “แต่งภาพขาวดำ” เป็นหัวใจหลักในวงการมังงะ โดยมีหน้าที่แต่งภาพต้นฉบับให้มีความสวยงามมากขึ้น และแก้คำที่อยู่ในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นทั้งหมดให้อยู่ในภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น ข้อความคำพูด ตัวอักษรทุกตัวในภาพ รวมไปถึงตัวอักษรเสริมหรืออธิบายเสียงประกอบฉากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ยากและใช้เวลานานที่สุดในการทำในแต่ละหน้า
สมบัติ มาศปกรณ์ ช่างแต่งภาพขาวดำกำลังเขียนเสียงประกอบฉาก
ปัญหามา ปัญญาเกิด
เมื่อจุดเด่นที่สุดของมังงะแปลเถื่อนคือการที่สามารถอ่านได้สะดวกและรวดเร็วเท่าต้นฉบับ สำนักพิมพ์จะต้องปรับตัวอย่างไร เพื่ออยู่รอดต่อไปบนอุตสาหกรรมนี้
“การมาของแปลเถื่อนก็ทำให้สำนักพิมพ์ต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นรายได้ก็ลด ก็อยู่ไม่ได้ ต้องล้มหายกันไป” อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์เสริม
“แทนที่จะไปไล่ปราบปรามมังงะ (แปลเถื่อน) บางเรื่องตอนนี้ เราได้ลงเป็นรายตอนในแอป MangaQube คู่กับแบบเล่มเพื่อให้เร็วเท่าต้นฉบับญี่ปุ่น ทั้งรายเดือนและรายสัปดาห์ และในอนาคตก็จะมีเรื่องอื่นๆ ลงแบบรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดีครับ” ณัฏฐ์ธรณ์กล่าวถึงกลยุทธ์ที่รักพิมพ์เลือกใช้ในการปรับตัวทางธุรกิจ
แอปพลิเคชัน MangaQube
สอดคล้องกับสำนักพิมพ์ชื่อดังอย่าง Shueisha ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มังงะที่เป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศญี่ปุ่น เช่น One piece และ Attack On Titan ก็ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Manga Plus ที่จะลงมังงะในรูปแบบอีบุ๊กส์ ซึ่งมีการแปลในหลายภาษา หนึ่งในนั้นคือภาษาไทย โดยฉบับแปลไทยจะออกช้ากว่าฉบับภาษาญี่ปุ่นประมาณ 3 วัน ซึ่งสามารถอ่านได้ฟรี แต่จะมีเพียง 3 ตอนเท่านั้น คือตอนปัจจุบันและสองตอนก่อนหน้า เมื่ออัปเดตตอนใหม่ก็จะลบสองตอนก่อนหน้าทิ้งไป และสำนักพิมพ์จะมีรายได้จากการโฆษณา
หัวหน้าฝ่ายการตลาดของรักพิมพ์กล่าวว่า เมื่อสินค้าต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมา ลิขสิทธิ์ก็เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ผลิต ถ้าผู้บริโภคทุกคนหันมาอ่านมังงะที่ถูกลิขสิทธิ์ แฟนคลับของผลงานนั้นๆ ก็จะได้ผลตอบแทนคืนมา เพราะพวกเขาสามารถสร้างผลงานออกมาได้ต่อไปเรื่อยๆ
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: สิทธิเดช มั่นทอง ภาพ: พีรณัฐ หล่อวงศ์กมล
การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การพัฒนานี้ก็ได้เปิดโอกาสต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเช่นกัน
มีการคัดลอกหรือทำซ้ำผลงานที่มีลิขสิทธิ์ และยังนำมาเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะการ์ตูนมังงะซึ่งเป็นผลงานที่มีกฎหมายคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์และมีบทลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน แต่ในกลุ่มผู้บริโภคก็ยังมีการถกเถียงกันถึงความชอบธรรมในการเสพผลงาน “มังงะแปลเถื่อน” เหล่านี้อยู่
มังงะคืออะไร?
“มังงะ (Manga)” คือการ์ตูนช่องของญี่ปุ่น เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ มีการผลิตในรูปแบบหนังสือและอีบุ๊กส์ โดยที่ญี่ปุ่นในปี 2561 มีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ 441,400 ล้านเยน (ตัวเลขจาก DEXNEWS) นอกจากนี้ยังต่อยอดเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น แอนิเมชัน ฟิกเกอร์ และเสื้อผ้า
ในประเทศไทย มีผู้ติดตามการ์ตูนมังงะมาหลายสิบปีแล้ว ในปี 2562 ประเทศไทยมีมูลค่าการตลาดจากสื่อการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 3,000 ล้านบาท (ตัวเลขจากประชาชาติธุรกิจ)
จากงานวิจัยเรื่องการนำเสนอเนื้อหานิตยสารการ์ตูนและความสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ตามกรอบนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว ของธีรติร์ บรรเทิง ในปี 2553 อธิบายว่าการ์ตูนมังงะนอกจากจะสร้างพื้นที่แห่งจินตนาการ สร้างความหวัง ความฝัน ที่โลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่สามารถมอบให้ได้ ยังเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้หลายช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก มังงะจะช่วยสอดแทรกและปลูกฝังค่านิยมที่ดี เช่น ความสามัคคี การให้ความสำคัญกับมิตรภาพ และความพยายามในการต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรค เพื่อสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพให้กับสังคม
ณัฏฐ์ธรณ์ ทวีมงคลสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดของสำนักพิมพ์รักพิมพ์ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มังงะหลายเรื่องในประเทศไทยกล่าวว่า “คนหลายคนมีความฝันที่อยากจะพัฒนาตนเองตามการ์ตูนที่ได้อ่าน บางคนโตขึ้นเป็นนักเตะระดับโลกเพราะได้อ่านเรื่องกัปตันสึบาสะ หรือบางคนกลายเป็นเชฟเพราะตอนเด็กชอบอ่านการ์ตูนทำอาหาร ผมมองว่าการ์ตูนเป็นอีกช่องทางในการสื่อสารอะไรบางอย่างจากคนเขียนไปสู่คนอ่าน แล้วพอคนอ่านสามารถต่อยอดในรูปแบบที่ดีได้ มันก็เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ต่อไป”
มังงะแปลเถื่อนคืออะไร?
“มังงะแปลเถื่อน” คือการนำการ์ตูนมังงะที่มีลิขสิทธิ์ มาลบคำพูดภาษาญี่ปุ่นออก ใส่คำแปลภาษาไทยลงไป แล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ในประเทศไทยผู้แปลเถื่อนส่วนใหญ่จะรอมังงะที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน (โดยไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์) จากนั้นจึงแปลเป็นภาษาไทย
จุดประสงค์ในการแปลเถื่อนนั้น จากงานวิจัยเรื่องการตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชั่นญี่ปุ่นออนไลน์ ของดารารัตน์ ภูธร ในปี 2560 อธิบายว่าผู้แปลส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เพื่อฝึกประสบการณ์ หรือแปลเพราะอยากให้มังงะที่ตนชอบเป็นที่รู้จัก ขณะเดียวกันการแปลเถื่อนที่ทำเป็นธุรกิจก็ปรากฏให้เห็นในรูปแบบเว็บไซต์ซึ่งจะมีมังงะทั้งที่มีและไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ซึ่งเว็บไซต์จะมีรายได้จากค่าโฆษณา สังเกตได้จากแถบโฆษณาที่ขึ้นด้านข้างตลอดขณะอ่านมังงะในเว็บไซต์ประเภทนี้
ไทกะ (นามสมมติ) เป็นผู้อ่านมังงะมากว่า 10 ปี เขาเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้บางครั้ง เขาก็ทำให้ต้องยอมอ่านแบบผิดลิขสิทธิ์เพื่อให้ได้อรรถรสอย่างต่อเนื่อง
เมื่อการเผยแพร่มังงะแปลเถื่อนทำลายวงการมากกว่าส่งเสริม
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 เพจสำนักพิมพ์รักพิมพ์ออกมาโพสต์แถลงการณ์ว่า เว็บสแกนแปลเถื่อนไม่ได้ช่วยในการประชาสัมพันธ์หรือช่วยวัดกระแสตอบรับจากผู้อ่าน แต่เป็นการทำลายวงการการ์ตูนลิขสิทธิ์ “คุณคิดว่าสนพ. เราไม่มีกองบ.ก. ไว้คัดเนื้อเรื่องในการขอลิขสิทธิ์ เลยต้องไปสำรวจว่าเรื่องไหนในเวปสแกนเป็นที่นิยมแล้วก็ไปซื้อมาหรือครับ? หลายๆ เรื่องเราไม่สนใจเอา LC เข้ามา ก็เพราะพวกเว็บสแกนนั่นแหละ”
หัวหน้าฝ่ายการตลาดของรักพิมพ์อธิบายว่า สำหรับวงการมังงะนั้น จะใช้วิธีคิดแบบวงการเพลงไม่ได้ เพราะมังงะหลายเรื่องเขียนมาเพื่ออ่านให้สนุกที่สุดเพียงครั้งเดียว ถ้ารู้เนื้อเรื่องแล้วอ่านครั้งต่อไปจะสนุกไม่เท่าครั้งแรก ไม่เหมือนวงการเพลงที่สามารถเสพซ้ำได้หลายครั้งแล้วความเพราะไม่ลดลงไป ซึ่งเรื่องนี้กระทบต่อยอดขายที่ควรจะเป็นไปได้ของสำนักพิมพ์โดยตรง
“อย่างเช่นเรื่อง ชมรมคนไร้เพื่อน ในเล่มจบ ที่ตอนแรกยอดขายเรื่องนี้ก็ทำได้ดี แต่มีการหลุดสปอยล์เนื้อเรื่องตอนจบนิดหน่อยก่อนเราวางขาย ซึ่งมันไม่เป็นอย่างที่นักอ่านเขาอยากให้เป็น ทำให้ยอดขายตกอย่างชัดเจน” ณัฏฐ์ธรณ์เสริม
หัวหน้าฝ่ายการตลาดของรักพิมพ์อธิบายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อ่าน หากมีการบริโภคมังงะแปลเถื่อน จนทำให้ยอดขายของมังงะถูกลิขสิทธิ์ลดลงไปว่า ถ้ารายได้เรื่องไหนน้อย สำนักพิมพ์ก็คงไม่ไปซื้อลิขสิทธิ์เล่มต่อไปมาพิมพ์ต่อ มังงะเรื่องไหนที่สำนักพิมพ์ต่างประเทศไม่ขอซื้อไปพิมพ์ สำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ญี่ปุ่นก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดัง ทำให้การโปรโมท และการสนับสนุนผลงานนั้นต่ำลง บางครั้งอาจทำให้ผู้เขียนเรื่องนั้นเลิกเขียนไปเลยเพราะไม่คุ้มกับที่เขาลงแรงสร้างมังงะเรื่องนั้นขึ้นมา สุดท้าย ผลมันก็ย้อนกลับมาที่ผู้อ่านเองที่จะไม่ได้เสพผลงานนั้นต่อไป
ชโยดม สรรพศรี ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบายว่า ลิขสิทธิ์มีไว้เพื่อปกป้องผู้ที่คิดค้นผลงาน ปกป้องสิ่งที่เกิดจากความคิด ประสบการณ์ การลงทุน และการฝึกฝนของเขา เพื่อให้สามารถสร้างรายได้จุนเจือตัวเองและครอบครัว การละเมิดลิขสิทธิ์จึงเป็นดั่งการขโมยผลงาน ขโมยรายได้ไปจากนักเขียนและครอบครัวเช่นกัน
“มันก็เหมือนกับคุณจะไปกินพิซซ่า คุณเดินเข้าไปร้านพิซซ่าแล้วขอเขาชิมชิ้นหนึ่งก่อนได้ไหม ถ้าอร่อยเดี๋ยวจะซื้อเพิ่ม ถ้าไม่อร่อยจะไม่ซื้อ คิดว่าเขาจะให้ไหม นักเขียนเขาเขียนขึ้นมาเขามีการจ่ายต้นทุน ผู้บริโภคจะไปลองอ่านผลงานเขาก็ต้องมีการจ่ายต้นทุนเช่นกัน และการละเมิดลิขสิทธิ์นี่ยิ่งกว่า คุณไปขโมยพิซซ่าของเขามาโดยที่ไม่ได้ขออนุญาตด้วยซ้ำ แล้วยังเอาสูตรเขา รสชาติของเขาแบบเหมือนกันเป๊ะๆ มาเปิดร้านเองหารายได้เข้าตัวอีก” ชโยดมเปรียบเทียบ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อคนในวงการสร้างสรรค์มังงะ
ชโยดมอธิบายผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแปลเถื่อนว่า “มันก็กระทบกันไปหมดนั่นแหละครับ ถ้าสำนักพิมพ์รายได้ลดลง คนที่อยู่ในกระบวนการผลิตทั้งหมดรายได้ก็ลดลงไปด้วย ทั้งโรงพิมพ์ ร้านหมึก ร้านกระดาษ พนักงานของพวกเขาทั้งหมด อีกไม่รู้กี่ร้อยกี่พันคนก็รายได้ลดลงไปด้วย มันกระทบไปทั้งอุตสาหกรรม”
สมบัติ มาศปกรณ์ ช่างแต่งภาพขาวดำประจำสำนักพิมพ์เฟิร์ส เพจ โปร ผู้ทำอาชีพนี้มากว่า 20 ปี กล่าวอย่างเสียดสีถึงอนาคตของตน
“ทำอาชีพนี้มาเป็น 10 ปี ถ้าไม่ได้ทำขาวดำแล้ว รายได้ก็คงหายไปเยอะมากแน่ๆ ” โอ๊ต (นามสมมติ) ช่างแต่งภาพขาวดำฟรีแลนซ์กล่าวถึงประเด็นเดียวกัน
อาชีพ “แต่งภาพขาวดำ” เป็นหัวใจหลักในวงการมังงะ โดยมีหน้าที่แต่งภาพต้นฉบับให้มีความสวยงามมากขึ้น และแก้คำที่อยู่ในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นทั้งหมดให้อยู่ในภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น ข้อความคำพูด ตัวอักษรทุกตัวในภาพ รวมไปถึงตัวอักษรเสริมหรืออธิบายเสียงประกอบฉากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ยากและใช้เวลานานที่สุดในการทำในแต่ละหน้า
ปัญหามา ปัญญาเกิด
เมื่อจุดเด่นที่สุดของมังงะแปลเถื่อนคือการที่สามารถอ่านได้สะดวกและรวดเร็วเท่าต้นฉบับ สำนักพิมพ์จะต้องปรับตัวอย่างไร เพื่ออยู่รอดต่อไปบนอุตสาหกรรมนี้
“การมาของแปลเถื่อนก็ทำให้สำนักพิมพ์ต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นรายได้ก็ลด ก็อยู่ไม่ได้ ต้องล้มหายกันไป” อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์เสริม
“แทนที่จะไปไล่ปราบปรามมังงะ (แปลเถื่อน) บางเรื่องตอนนี้ เราได้ลงเป็นรายตอนในแอป MangaQube คู่กับแบบเล่มเพื่อให้เร็วเท่าต้นฉบับญี่ปุ่น ทั้งรายเดือนและรายสัปดาห์ และในอนาคตก็จะมีเรื่องอื่นๆ ลงแบบรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดีครับ” ณัฏฐ์ธรณ์กล่าวถึงกลยุทธ์ที่รักพิมพ์เลือกใช้ในการปรับตัวทางธุรกิจ
สอดคล้องกับสำนักพิมพ์ชื่อดังอย่าง Shueisha ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มังงะที่เป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศญี่ปุ่น เช่น One piece และ Attack On Titan ก็ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Manga Plus ที่จะลงมังงะในรูปแบบอีบุ๊กส์ ซึ่งมีการแปลในหลายภาษา หนึ่งในนั้นคือภาษาไทย โดยฉบับแปลไทยจะออกช้ากว่าฉบับภาษาญี่ปุ่นประมาณ 3 วัน ซึ่งสามารถอ่านได้ฟรี แต่จะมีเพียง 3 ตอนเท่านั้น คือตอนปัจจุบันและสองตอนก่อนหน้า เมื่ออัปเดตตอนใหม่ก็จะลบสองตอนก่อนหน้าทิ้งไป และสำนักพิมพ์จะมีรายได้จากการโฆษณา
หัวหน้าฝ่ายการตลาดของรักพิมพ์กล่าวว่า เมื่อสินค้าต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมา ลิขสิทธิ์ก็เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ผลิต ถ้าผู้บริโภคทุกคนหันมาอ่านมังงะที่ถูกลิขสิทธิ์ แฟนคลับของผลงานนั้นๆ ก็จะได้ผลตอบแทนคืนมา เพราะพวกเขาสามารถสร้างผลงานออกมาได้ต่อไปเรื่อยๆ
Share this:
Like this: