เรื่อง : ณิชาภา ขจรโกวิทย์ ภาพ : เกวลิน พันธารีย์
ผิดหรือไม่ที่ไม่อยากไปเช็งเม้งแล้ว เมื่อคนรุ่นใหม่มองว่ามีวิธีแสดงความกตัญญูรูปแบบอื่นอีกมากมาย แต่กลับขัดกับความเชื่อถือศรัทธาของผู้ใหญ่ในครอบครัว ความไม่เข้าใจกันของคนสองวัยจะมาบรรจบกันได้อย่างไร
กลิ่นธูป และควันที่ลอยคลุ้งในมวลอากาศยามเช้า พร้อมของไหว้ตามความเชื่อมากมาย คือสิ่งที่เรามักจะได้เห็นกันเป็นภาพชินตาตามสุสานของคนจีน ในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะทราบกันดีว่าเมื่อถึงช่วงเวลานี้ จะต้องเตรียมตัวตื่นเช้าเพื่อเดินทางไปยังฮวงซุ้ยอหรือ สุสานของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปเเล้ว และร่วมเทศกาล “เช็งเม้ง” (Ging Ming) หรือ “เทศกาลกวาดสุสาน” ซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน
เทศกาลเช็งเม้งเป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของชาวจีนที่สืบทอดกันต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบัน โดยมีความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 2,500 ปีชาวจีนจะต้องไปรวมตัวกันที่ฮวงซุ้ยของตระกูล เพื่อทำความสะอาด และทำพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษด้วยอาหารคาวหวาน โดยเชื่อว่าเป็นการส่งอาหารไปให้บรรพบุรุษที่อยู่อีกภพหนึ่ง
ลูกหลานต้องเตรียมพร้อมของไหว้ เช่น ธูป เทียน ชา เหล้า กระดาษเงิน กระดาษทอง รวมถึงอาหารสำหรับประกอบพิธีกรรม เช่น ไก่ต้ม หมูสามชั้น บะหมี่ ขนมสามอย่าง สัปปะรด และอีกมากมายตามความเชื่อ
เครื่องเซ่นไหว้ที่ต้องเตรียมในเทศกาลเช็งเม้ง
ในปัจจุบันที่ความเชื่อดั้งเดิมเริ่มมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตน้อยลง คนรุ่นใหม่จึงตั้งคำถามถึงความจำเป็นของการที่ต้องตื่นแต่เช้า ตระเตรียมข้าวของสำหรับพิธีกรรมไม่ให้ขาดตกบกพร่อง รวมทั้งใช้เวลาเดินทางที่บางครอบครัวก็ต้องอยู่บนท้องถนนหลายชั่วโมง เพื่อไปให้ถึงยังสุสานของบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้วในต่างจังหวัด ยังไม่รวมถึงการที่ต้องลางาน หยุดเรียน หรือละทิ้งจากการทำธุรกิจที่อาจจะสร้างเงินจำนวนไม่น้อย เพื่อไปทำพิธีกรรมในเทศกาลเช็งเม้ง
“เราคิดว่ามันเป็นความเคยชินของผู้ใหญ่ ที่ทำพิธีกรรมนี้มาเป็น 10-20 ปี ก่อนหน้าเรา รุ่นพ่อรุ่นแม่ก็ทำกันมาก่อน ซึ่งเราคิดว่าความเคยชินนี้น่ากลัว ความเคยชินมันทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เราไม่อยากทดลองทำอะไรใหม่ๆ” คือคำบอกเล่าของ พิสุทธิ์ มโนรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่สี่ ชายหนุ่มเชื้อสายจีน ซึ่งเคยเข้าร่วมเทศกาลเช็งเม้งมาตลอด 20 ปี
พิสุทธิ์มองว่าตัวเขานั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทศกาลเช็งเม้งมากหนัก เเละคิดว่าวัฒนธรรมนี้สนับสนุนค่านิยมให้ผู้ชายยังคงเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงเหมือนในอดีต เพราะผู้หญิงต้องทำหน้าที่จัดการขั้นตอนต่างๆ ในเทศกาล “เวลาไปเช็งเม้งแต่ละครั้ง ผู้ชายจะไม่ค่อยได้ทำอะไร ป้าๆ ก็จะเรียกใช้แต่พี่ๆ น้องๆ ที่เป็นผู้หญิง หลานๆ ผู้ชาย หรือแม้แต่ลุงหลายๆ คนก็ไม่ได้เข้าใจว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนไหน ทำเพื่ออะไร และขั้นตอนต่อไปคืออะไร”
เมื่อถามว่าถ้าไม่ไปเช็งเม้งแล้ว จะระลึกถึงบรรพบุรุษอย่างไรได้บ้าง คำตอบจากนักศึกษาปีสี่ ทำให้ต้องฉุกคิดอยู่ไม่น้อย
“เราสามารถแสดงความคิดถึงและอาลัยต่อผู้ล่วงลับได้อย่างไรบ้าง สำหรับบางคนก็อาจจะอยากไปหาที่บ้านหลังสุดท้ายหรือก็คือที่หลุมศพ แต่สำหรับบางคนแล้ว การได้ไปกินข้าวในร้านที่ผู้ล่วงลับชื่นชอบ ก็เป็นการแสดงความคิดถึงได้แล้ว เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วการแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับมีเยอะมาก และเราไม่อยากให้มันจำกัดอยู่ที่เช็งเม้ง”
พิสุทธิ์ ให้คำตอบ
เมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่เริ่มมีความคิดที่เป็นอิสระมากขึ้น การใช้ชีวิตที่ไม่ยึดติดในกรอบเดิมๆ ทำให้คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีความเห็นเกี่ยวกับการต้องไปเช็งเม้งว่า ควรเกิดขึ้นจากความสมัครใจ ไม่ควรบังคับกัน และไม่จำเป็นจะต้องแสดงความรักหรือความเคารพแก่บรรพบุรุษด้วยการต้องเดินทางไปกราบไหว้ถึงสุสานแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับ ธนกฤต ขจรโกวิทย์ นักศึกษาซึ่งเพิ่งจบปริญญาโทหมาดๆ วัย 27 ปีที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน สร้างครอบครัวอย่างเต็มตัว มองว่า “หากเราต้องการแสดงความรักต่อบรรพบุรุษ ไม่เห็นจะต้องใช้ความลำบาก ตื่นแต่เช้า เตรียมข้าวเตรียมของ เพื่อพิสูจน์ถึงความรักที่มีต่อบรรพบุรุษเลยก็ได้ เมื่อก่อนเราเองก็เคยโดยบังคับและรู้สึกไม่เคยพอใจกับสิ่งที่ตัวเองต้องทำเลยด้วยซ้ำ จนวันนี้เราเองก็พิสูจน์แล้วว่า ความรักที่มีต่อบรรพบุรุษไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการกราบไหว้ เคารพเพียงอย่างเดียว”
ธนกฤตยังเชื่อว่า การที่ใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้เดินทางไปร่วมในเทศกาลเช็งเม้ง ก็ไม่ควรที่จะถูกตีตราว่าเป็นคนไม่กตัญญู หากแต่ความกตัญญูที่แท้จริง ควรเป็นเรื่องของการกระทำ หรือการแสดงความเคารพในด้านอื่นมากกว่า “เมื่อวันที่ลูกผมโตขึ้น ผมคงไม่บังคับให้เขามาแสดงความรัก ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษเขาด้วยการไปเชงเม้งแบบที่ผมเคยโดน แต่ผมคงจะต้องปลูกฝังความกตัญญูให้กับเขาเหมือนอย่างที่พ่อแม่ผมเคยทำเช่นกัน”
เริ่มพิธีเซ่นไหว้ด้วยการจุดธูปและกล่าวเชื้อเชิญดวงวิญญาณของเหล่าบรรพบุรุษให้มารับเครื่องเซ่นไหว้
เมื่อมองย้อนกลับไป อะไรที่ทำให้เทศกาลอย่างเช็งเม้ง กลายเป็น ‘มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชาติ’ กันแน่ อาจเป็นเพราะเทศกาลนี้ เป็นส่วนหนึ่งใน ปรัชญาของขงจื้อ หรือ 儒家思想 ( ru jia si xiang) ซึ่งเน้นเรื่องความกตัญญู 祭祀不可不诚 (Ji si bu ke bu cheng) การไหว้ก็ต้องจริงใจ ตอกย้ำให้ทุกคนไม่ลืมว่ารากเหง้าของตัวเองมาจากไหน ถ้าเราไม่มีพ่อแม่ก็คงไม่มีเรา หรือถ้าไม่มีปู่ย่าก็คงไม่มีพ่อแม่เรา ดังนั้นจึงควรคิดถึงบรรพบุรุษ และความยากลำบากของพวกท่านที่เลี้ยงดูเรามา ถึงแม้ว่าพวกท่านจะเสียไปแล้ว แต่บุญคุณยังคงอยู่ จึงต้องไปกราบไหว้
นอกเหนือจากนั้น เช็งเม้งยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องทุกคนในครอบครัวได้รวมตัวกัน พบปะ พูดคุย ถามไถ่ถึงความเป็นไปของชีวิต แลกเปลี่ยนทัศนคติในด้านต่างๆ ที่สำคัญยังเป็นการเตือนสติถึงการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท และยอมรับในเรื่องของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เป็นเรื่องที่ธรรมดาที่สุดของชีวิต นี่เองคือคุณค่าของการไปร่วมเทศกาลเช็งเม้ง
“สำคัญสิ ทุกคนในตระกูลก็ควรจะไปกันหมด ลูกหลานต้องรู้จักความกตัญญู คนไม่กตัญญูไม่มีวันเจริญ”
สมจิตต์ อาศัยธรรม วัย 56 ปี ให้คำตอบ
สมจิตต์ เป็นหลานรุ่นสุดท้ายที่ยังสามารถจัดแจงองค์ประกอบต่างๆ ของพิธีได้อย่างถูกต้องแม่นยำเพียงคนเดียวในตระกูล คำตอบของเขาทำให้มองเห็นถึงการให้ความสำคัญของคำว่ากตัญญูกับเทศกาลเช็งเม้งได้มากขึ้น เพราะในมุมมองของผู้สูงอายุแล้ว เช็งเม้งคงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมากับความกตัญญูมากกว่าสิ่งอื่นใด และคงยากที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองในเรื่องนี้ได้
สมาชิกครอบครัวทำพิธีเซ่นไหว้และปัดกวาดหลุมศพบรรพบุรุษ
ท่ามกลางความเชื่อที่สวนทางของคนต่างวัย อำพัน เจริญสุขลาภ หรือ อาเม้ง ป.ปลา ผู้กำกับผู้คร่ำหวอดในวงการงิ้วเมืองไทย และ ผู้จัดการศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน ให้ความเห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว
“อยู่ที่แต่ละบุคคลหรือแต่ละครอบครัวจะเข้าใจวัฒนธรรมจีนมากน้อยแค่ไหน และอยากปฏิบัติไหม เรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่ได้รู้สึกกตัญญู ก็ไม่มีประโยชน์ … เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะสอนลูกอย่างไร เน้นเรื่องกตัญญู คุณธรรม ก็เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังรุ่นต่อรุ่น” อำพันกล่าว
หากเทศกาลเช็งเม้งจะค่อยๆหายไป เพราะคนรุ่นใหม่เองไม่ได้เกิดความผูกพันกับบรรพบุรุษของตัวเอง เพราะเขาไม่รู้จัก ไม่เคยเจอกันด้วยซ้ำ พวกเขานั้นก็ไม่ผิด หรือรุ่นอากง อาม่าที่บังคับให้เราไปเช็งเม้ง เพราะพวกเขาล้วนมีความรักที่ดีต่อบรรพบุรุษของตัวเอง พวกเขาก็ไม่ผิดเช่นกัน ดังนั้นทุกคนก็ล้วนมีเหตุผลของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือ พ่อแม่ปัจจุบัน เราต้องกตัญญู ห้ามลืมรากเหง้าของตัวเองเป็นอัดขาด
เช่นเดียวกับทุกวัฒนธรรมบนโลกที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือแม้กระทั่งเลือนรางไปตามกระแสของเวลาที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ท้ายที่สุดก็ควรขึ้นอยู่กับความคิดของคนทั้งสองรุ่นที่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเพื่ออยู่ร่วมกัน รวมถึงสามารถนำคุณค่าของวัฒนธรรม ประเพณี มาใช้ได้อย่างมีความสุขได้
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : ณิชาภา ขจรโกวิทย์ ภาพ : เกวลิน พันธารีย์
ผิดหรือไม่ที่ไม่อยากไปเช็งเม้งแล้ว เมื่อคนรุ่นใหม่มองว่ามีวิธีแสดงความกตัญญูรูปแบบอื่นอีกมากมาย แต่กลับขัดกับความเชื่อถือศรัทธาของผู้ใหญ่ในครอบครัว ความไม่เข้าใจกันของคนสองวัยจะมาบรรจบกันได้อย่างไร
กลิ่นธูป และควันที่ลอยคลุ้งในมวลอากาศยามเช้า พร้อมของไหว้ตามความเชื่อมากมาย คือสิ่งที่เรามักจะได้เห็นกันเป็นภาพชินตาตามสุสานของคนจีน ในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะทราบกันดีว่าเมื่อถึงช่วงเวลานี้ จะต้องเตรียมตัวตื่นเช้าเพื่อเดินทางไปยังฮวงซุ้ยอหรือ สุสานของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปเเล้ว และร่วมเทศกาล “เช็งเม้ง” (Ging Ming) หรือ “เทศกาลกวาดสุสาน” ซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน
เทศกาลเช็งเม้งเป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของชาวจีนที่สืบทอดกันต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบัน โดยมีความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 2,500 ปีชาวจีนจะต้องไปรวมตัวกันที่ฮวงซุ้ยของตระกูล เพื่อทำความสะอาด และทำพิธีกราบไหว้บรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษด้วยอาหารคาวหวาน โดยเชื่อว่าเป็นการส่งอาหารไปให้บรรพบุรุษที่อยู่อีกภพหนึ่ง
ลูกหลานต้องเตรียมพร้อมของไหว้ เช่น ธูป เทียน ชา เหล้า กระดาษเงิน กระดาษทอง รวมถึงอาหารสำหรับประกอบพิธีกรรม เช่น ไก่ต้ม หมูสามชั้น บะหมี่ ขนมสามอย่าง สัปปะรด และอีกมากมายตามความเชื่อ
ในปัจจุบันที่ความเชื่อดั้งเดิมเริ่มมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตน้อยลง คนรุ่นใหม่จึงตั้งคำถามถึงความจำเป็นของการที่ต้องตื่นแต่เช้า ตระเตรียมข้าวของสำหรับพิธีกรรมไม่ให้ขาดตกบกพร่อง รวมทั้งใช้เวลาเดินทางที่บางครอบครัวก็ต้องอยู่บนท้องถนนหลายชั่วโมง เพื่อไปให้ถึงยังสุสานของบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้วในต่างจังหวัด ยังไม่รวมถึงการที่ต้องลางาน หยุดเรียน หรือละทิ้งจากการทำธุรกิจที่อาจจะสร้างเงินจำนวนไม่น้อย เพื่อไปทำพิธีกรรมในเทศกาลเช็งเม้ง
“เราคิดว่ามันเป็นความเคยชินของผู้ใหญ่ ที่ทำพิธีกรรมนี้มาเป็น 10-20 ปี ก่อนหน้าเรา รุ่นพ่อรุ่นแม่ก็ทำกันมาก่อน ซึ่งเราคิดว่าความเคยชินนี้น่ากลัว ความเคยชินมันทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เราไม่อยากทดลองทำอะไรใหม่ๆ” คือคำบอกเล่าของ พิสุทธิ์ มโนรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่สี่ ชายหนุ่มเชื้อสายจีน ซึ่งเคยเข้าร่วมเทศกาลเช็งเม้งมาตลอด 20 ปี
พิสุทธิ์มองว่าตัวเขานั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทศกาลเช็งเม้งมากหนัก เเละคิดว่าวัฒนธรรมนี้สนับสนุนค่านิยมให้ผู้ชายยังคงเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงเหมือนในอดีต เพราะผู้หญิงต้องทำหน้าที่จัดการขั้นตอนต่างๆ ในเทศกาล “เวลาไปเช็งเม้งแต่ละครั้ง ผู้ชายจะไม่ค่อยได้ทำอะไร ป้าๆ ก็จะเรียกใช้แต่พี่ๆ น้องๆ ที่เป็นผู้หญิง หลานๆ ผู้ชาย หรือแม้แต่ลุงหลายๆ คนก็ไม่ได้เข้าใจว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนไหน ทำเพื่ออะไร และขั้นตอนต่อไปคืออะไร”
เมื่อถามว่าถ้าไม่ไปเช็งเม้งแล้ว จะระลึกถึงบรรพบุรุษอย่างไรได้บ้าง คำตอบจากนักศึกษาปีสี่ ทำให้ต้องฉุกคิดอยู่ไม่น้อย
“เราสามารถแสดงความคิดถึงและอาลัยต่อผู้ล่วงลับได้อย่างไรบ้าง สำหรับบางคนก็อาจจะอยากไปหาที่บ้านหลังสุดท้ายหรือก็คือที่หลุมศพ แต่สำหรับบางคนแล้ว การได้ไปกินข้าวในร้านที่ผู้ล่วงลับชื่นชอบ ก็เป็นการแสดงความคิดถึงได้แล้ว เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วการแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับมีเยอะมาก และเราไม่อยากให้มันจำกัดอยู่ที่เช็งเม้ง”
พิสุทธิ์ ให้คำตอบ
เมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่เริ่มมีความคิดที่เป็นอิสระมากขึ้น การใช้ชีวิตที่ไม่ยึดติดในกรอบเดิมๆ ทำให้คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีความเห็นเกี่ยวกับการต้องไปเช็งเม้งว่า ควรเกิดขึ้นจากความสมัครใจ ไม่ควรบังคับกัน และไม่จำเป็นจะต้องแสดงความรักหรือความเคารพแก่บรรพบุรุษด้วยการต้องเดินทางไปกราบไหว้ถึงสุสานแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับ ธนกฤต ขจรโกวิทย์ นักศึกษาซึ่งเพิ่งจบปริญญาโทหมาดๆ วัย 27 ปีที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน สร้างครอบครัวอย่างเต็มตัว มองว่า “หากเราต้องการแสดงความรักต่อบรรพบุรุษ ไม่เห็นจะต้องใช้ความลำบาก ตื่นแต่เช้า เตรียมข้าวเตรียมของ เพื่อพิสูจน์ถึงความรักที่มีต่อบรรพบุรุษเลยก็ได้ เมื่อก่อนเราเองก็เคยโดยบังคับและรู้สึกไม่เคยพอใจกับสิ่งที่ตัวเองต้องทำเลยด้วยซ้ำ จนวันนี้เราเองก็พิสูจน์แล้วว่า ความรักที่มีต่อบรรพบุรุษไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการกราบไหว้ เคารพเพียงอย่างเดียว”
ธนกฤตยังเชื่อว่า การที่ใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้เดินทางไปร่วมในเทศกาลเช็งเม้ง ก็ไม่ควรที่จะถูกตีตราว่าเป็นคนไม่กตัญญู หากแต่ความกตัญญูที่แท้จริง ควรเป็นเรื่องของการกระทำ หรือการแสดงความเคารพในด้านอื่นมากกว่า “เมื่อวันที่ลูกผมโตขึ้น ผมคงไม่บังคับให้เขามาแสดงความรัก ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษเขาด้วยการไปเชงเม้งแบบที่ผมเคยโดน แต่ผมคงจะต้องปลูกฝังความกตัญญูให้กับเขาเหมือนอย่างที่พ่อแม่ผมเคยทำเช่นกัน”
เมื่อมองย้อนกลับไป อะไรที่ทำให้เทศกาลอย่างเช็งเม้ง กลายเป็น ‘มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชาติ’ กันแน่ อาจเป็นเพราะเทศกาลนี้ เป็นส่วนหนึ่งใน ปรัชญาของขงจื้อ หรือ 儒家思想 ( ru jia si xiang) ซึ่งเน้นเรื่องความกตัญญู 祭祀不可不诚 (Ji si bu ke bu cheng) การไหว้ก็ต้องจริงใจ ตอกย้ำให้ทุกคนไม่ลืมว่ารากเหง้าของตัวเองมาจากไหน ถ้าเราไม่มีพ่อแม่ก็คงไม่มีเรา หรือถ้าไม่มีปู่ย่าก็คงไม่มีพ่อแม่เรา ดังนั้นจึงควรคิดถึงบรรพบุรุษ และความยากลำบากของพวกท่านที่เลี้ยงดูเรามา ถึงแม้ว่าพวกท่านจะเสียไปแล้ว แต่บุญคุณยังคงอยู่ จึงต้องไปกราบไหว้
นอกเหนือจากนั้น เช็งเม้งยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องทุกคนในครอบครัวได้รวมตัวกัน พบปะ พูดคุย ถามไถ่ถึงความเป็นไปของชีวิต แลกเปลี่ยนทัศนคติในด้านต่างๆ ที่สำคัญยังเป็นการเตือนสติถึงการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท และยอมรับในเรื่องของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เป็นเรื่องที่ธรรมดาที่สุดของชีวิต นี่เองคือคุณค่าของการไปร่วมเทศกาลเช็งเม้ง
“สำคัญสิ ทุกคนในตระกูลก็ควรจะไปกันหมด ลูกหลานต้องรู้จักความกตัญญู คนไม่กตัญญูไม่มีวันเจริญ”
สมจิตต์ อาศัยธรรม วัย 56 ปี ให้คำตอบ
สมจิตต์ เป็นหลานรุ่นสุดท้ายที่ยังสามารถจัดแจงองค์ประกอบต่างๆ ของพิธีได้อย่างถูกต้องแม่นยำเพียงคนเดียวในตระกูล คำตอบของเขาทำให้มองเห็นถึงการให้ความสำคัญของคำว่ากตัญญูกับเทศกาลเช็งเม้งได้มากขึ้น เพราะในมุมมองของผู้สูงอายุแล้ว เช็งเม้งคงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมากับความกตัญญูมากกว่าสิ่งอื่นใด และคงยากที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองในเรื่องนี้ได้
ท่ามกลางความเชื่อที่สวนทางของคนต่างวัย อำพัน เจริญสุขลาภ หรือ อาเม้ง ป.ปลา ผู้กำกับผู้คร่ำหวอดในวงการงิ้วเมืองไทย และ ผู้จัดการศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน ให้ความเห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว
“อยู่ที่แต่ละบุคคลหรือแต่ละครอบครัวจะเข้าใจวัฒนธรรมจีนมากน้อยแค่ไหน และอยากปฏิบัติไหม เรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่ได้รู้สึกกตัญญู ก็ไม่มีประโยชน์ … เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะสอนลูกอย่างไร เน้นเรื่องกตัญญู คุณธรรม ก็เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังรุ่นต่อรุ่น” อำพันกล่าว
หากเทศกาลเช็งเม้งจะค่อยๆหายไป เพราะคนรุ่นใหม่เองไม่ได้เกิดความผูกพันกับบรรพบุรุษของตัวเอง เพราะเขาไม่รู้จัก ไม่เคยเจอกันด้วยซ้ำ พวกเขานั้นก็ไม่ผิด หรือรุ่นอากง อาม่าที่บังคับให้เราไปเช็งเม้ง เพราะพวกเขาล้วนมีความรักที่ดีต่อบรรพบุรุษของตัวเอง พวกเขาก็ไม่ผิดเช่นกัน ดังนั้นทุกคนก็ล้วนมีเหตุผลของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือ พ่อแม่ปัจจุบัน เราต้องกตัญญู ห้ามลืมรากเหง้าของตัวเองเป็นอัดขาด
เช่นเดียวกับทุกวัฒนธรรมบนโลกที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือแม้กระทั่งเลือนรางไปตามกระแสของเวลาที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ท้ายที่สุดก็ควรขึ้นอยู่กับความคิดของคนทั้งสองรุ่นที่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเพื่ออยู่ร่วมกัน รวมถึงสามารถนำคุณค่าของวัฒนธรรม ประเพณี มาใช้ได้อย่างมีความสุขได้
Share this:
Like this: