เรื่อง : ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์
ภาพ : ศุภกานต์ ผดุงใจ เเละ ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์
“ร้องเพลงชาติไม่ชัด เป็นพม่ารึเปล่า” วลีคุ้นหูที่พยายามสร้างอารมณ์ขันนี้ สะท้อนอคติทางชาติพันธุ์ อันตั้งอยู่บนฐานของการสร้างความเป็นอื่น จากการหล่อหลอมของสื่อในรูปแบบต่างๆ หรือกระทั่งจากบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ยังคงปลูกฝังว่าพม่า หรือเมียนมา เป็นศัตรูของชาติไทย
อคติที่เกิดขึ้นทำให้เราลืมที่จะมองเห็นชาวเมียนมาอย่างเข้าใจ ในวันนั้นที่เขาและเธออยู่ในวัยเดียวกับเรา อะไรจูงใจให้พวกเขาตัดสินใจห่างบ้านมาไกลเพื่อมาใช้แรงงานในประเทศไทย หรือเพราะความฝันที่เราล้วนมีไม่ต่างกัน
เมื่อฉันต้องห่างบ้าน
บ่ายเเก่วันหนึ่ง ในบ้านของหญิงชราย่านเยาวราช Nan Cam Kuu หรือ มิ้น หญิงสาวชาวปะโอ กลุ่มชาติพันธุ์จากเมียนมา วัย 30 ปี ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยตั้งแต่อายุ 22 กำลังเริ่มต้นงานใหม่อย่างกระตือรือร้นเเละใส่ใจด้วยสีหน้าเเจ่มใสเมื่อเจ้าของบ้านเรียกขอบางสิ่ง
มิ้น ขณะจับมืออาม่าที่กำลังหลับพักผ่อนยามบ่าย
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่เมียนมาแบ่งออกเป็นสิบชั้นก่อนระดับอุดมศึกษา มิ้นได้เรียนถึงชั้นปีที่เก้าก่อนออกมาทำงาน โดยเงินเดือนของคนที่จบการศึกษาระดับปริญญานั้นจะตกอยู่ประมาณหนึ่งล้านจ๊าดพม่า หรือประมาณ 24,000 บาทไทย ในขณะที่คนไม่สำเร็จการศึกษาอย่างเธอจะได้ค่าจ้างมากสุดเพียง 150,000 จ๊าดพม่าหรือประมาณ 3,600 บาทไทยเท่านั้น การเลือกเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหางานและเงินจึงเป็นคำตอบสำหรับเธอ
เช่นเดียวกับมิ้น ชาวเมียนมาจำนวนมากออกเดินทางหางานในหลายประเทศ โดยจุดหมายที่นิยมที่สุดก็คือประเทศไทย เนื่องจากพรมแดนที่ติดกัน ทำให้สะดวกกว่าไปทำงานไกลถึงมาเลเซียหรือสิงคโปร์
มิ้นเล่าว่าเมื่อก่อนคนในหมู่บ้านมองหญิงสาวที่ไปทำงานต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยว่า “จะไปขายตัว” แต่เมื่อได้รับข้อมูลมากขึ้น ความคิดก็เริ่มเปลี่ยนไป
“เดี๋ยวนี้ก็มาทุกบ้านเลย … บ้านไหนมีคนมาไทยก็จะเจริญ”
มิ้น
แม้จะผ่านมากว่าแปดปี แต่มิ้นยังจำความรู้สึกของก้าวแรกที่ห่างบ้านได้อย่างชัดเจน “ออกจากบ้านก็ไม่ได้ร้องไห้อะไร เพื่อนคนอื่นๆ ก็ร้องไห้กัน แต่พี่มิ้นไม่ร้อง เพราะก็ต้องไปหาตังค์ วันหนึ่งก็ต้องกลับไปหาพ่อแม่อยู่ดี” เธอเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ ถึงกระนั้นก็พบว่าสภาพความเป็นอยู่ที่นี่ย่ำแย่กว่าที่เธอคาดไว้ อีกทั้งยังต้องมีชีวิตท่ามกลางสังคมต่างถิ่น ต่างภาษา เครื่องยึดเหนี่ยวเดียวที่พอจะทำให้เธอก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ก็คือญาติพี่น้อง ผู้เข้ามาทำงานในประเทศไทยก่อนหน้า
ช่วงเวลาที่เหนื่อยล้าและท้อแท้ที่สุดของมิ้นคือวันที่เธอตกงาน “ถ้าตกงานก็จะท้อ จะกลับบ้าน แต่ตังค์ก็ไม่ค่อยมี กลับไม่ได้ บางทีก็ท้อ ต้องหา ติดต่อกับเพื่อนบ้าง คนนู้นคนนี้ก็ต้องโทรหา ไม่รู้จักก็ต้องโทร ว่ามีงานไหม อะไรก็ได้ ต้องทำหมด”
ปัจจุบันมิ้นประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุ ตลอดแปดปีที่ผ่านมาเธอเคยทำมาแล้วสารพัด ทั้งทำงานบ้าน ทำกับข้าว ขายของ รวมไปถึงการเป็นช่างทาสีเช่นเดียวกับน้องชายทั้งสองของเธอ ในวันหยุดพักผ่อน เธอเลือกที่จะกลับห้องพักย่านลำสาลี แหล่งรวมชาวปะโอที่อาศัยอยู่ในไทย เพื่อใช้เวลาร่วมกับกับญาติพี่น้องของตน “ไปเที่ยว ไปกินข้าว ส่วนมากก็ไปเที่ยวห้าง เดอะมอลล์บางกะปิ ไปกิน ไม่ได้ของแพงอะไรหรอก ส่วนมากก็เคเอฟซี พิซซ่า เท่านั้นแหละ” การได้พบเจอกับพี่น้องที่คุ้นเคยในสังคมที่ไม่คุ้นชินจึงเป็นหนึ่งในการเยียวยาความคิดถึงบ้านได้บ้าง
ฉันเป็นมากกว่าแรงงาน
การใช้ชีวิตไกลบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย Saw Day Kwar หรือ เดย์ ชายเมียนมา วัย 33 ปี อาศัยอยู่ในเมืองไทยมามากกว่าครึ่งชีวิต จนคุ้นเคยกับที่นี่เป็นอย่างดี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาลืมบ้านเกิดของตนเลย เดย์ยังคงคิดถึงที่นั่นเสมอ “ก็จะทำงานเก็บเงิน แล้วก็ไม่เที่ยว จะได้มีครบทุกอย่างแล้วกลับบ้านทีเดียว ไม่ต้องเป็นลูกน้องใครแล้ว” เดย์เล่าอย่างมุ่งมั่น
“ทำงานแรกๆ ได้เดือนละ 4,000 ทุกวันนี้ได้หมื่นกว่า” ปัจจุบันเดย์เป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารจีนแห่งหนึ่งย่านเยาวราช แต่นั่นไม่ใช่รายรับเพียงทางเดียวของเดย์ เพราะเขายังขายเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านกลุ่มในเฟซบุ๊กแหล่งรวมแรงงานชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
โพสต์ประกาศขายเสื้อผ้าของเดย์
“อยู่แบบนี้มันเสียเวลา ไม่อยากให้เสียเวลาแบบนี้ มันไม่ได้อะไร” เมื่อเดย์เห็นโอกาสในการเพิ่มรายรับ เขาจึงไม่รอช้าที่จะเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ ของตนบนโลกออนไลน์
เดย์จะโพสต์รูปเสื้อผ้าหลากหลายลายพร้อมราคาลงในกลุ่มเพื่อเปิดรับสั่งซื้อล่วงหน้า หรือพรีออเดอร์ เมื่อมีลูกค้าสนใจและสั่งซื้อเข้ามา เดย์จะรวมไว้จนกว่ายอดสั่งซื้อจะมากพอ และสามารถซื้อจากตลาดโบ๊เบ๊ได้ในราคาขายส่งที่ถูกลง โดยจะไม่เสี่ยงซื้อเสื้อผ้ามาเก็บไว้เป็นสต็อกเพื่อรอลูกค้า นี่จึงเป็นเหตุที่ธุรกิจเล็กๆ ของเดย์นั้นมั่นคง
เดย์กำลังเลือกซื้อเสื้อผ้าตามคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้าที่ตลาดโบ๊เบ๊
เมื่อได้สินค้ามาแล้วเดย์จะนัดหมายกับลูกค้าเพื่อนำเสื้อไปส่งเอง เพื่อรับประกันว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าพร้อมกับรับเงิน “ได้เงินไม่เยอะแต่ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ได้ทำ”
เดย์เดินทางไปทุกแห่งในกรุงเทพที่ลูกค้าของเขาอาศัย ทั้งบางนา บางแค พระรามสอง หรือแม้กระทั่งปากน้ำด้วยรถเมล์ เมื่อถามเดย์ว่ารู้ได้อย่างไร ว่าต้องเดินทางด้วยรถเมล์สายไหน เดย์กลับตอบเหมือนเป็นเรื่องที่ง่ายดาย เพราะเขาจำคำภาษาไทยเป็นภาพ “ถ่ายรูปไว้ เขียนภาษาไทย แล้วก็ดูเอาเอง ว่าคันนั้นเขียนว่าอะไร แล้วก็ขึ้น” เเรกๆ อาจมีผิดสายบ้าง แต่เดินทางยิ่งบ่อยก็ยิ่งชำนาญเเละคุ้นชินมากขึ้น
เดย์ยังเล่าต่ออีกว่า ตลอดเวลาที่ทำงานในไทยเขาไม่เคยท้อแท้ เพราะเขาเชื่อว่า “มีเงินเยอะแล้วสร้างชีวิตใหม่ได้”
“คิดอย่างเดียวว่าลำบากขนาดนี้ ก็จะลำบากคนเดียว …
เหนื่อยแค่ไหนก็อดทนไหว เพื่อที่บ้านจะได้ไม่ลำบาก”
เดย์
เวลา 02.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ตลาดโบ๊เบ๊ เดย์กำลังเดินซื้อเสื้อผ้าอย่างเร่งรีบ
เพื่อที่จะได้กลับไปพักผ่อนก่อนจะเริ่มงานอีกครั้งใน 07.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
ที่บ้านสบายดี
Thein Zaw หรือ ลีซอ ชายหนุ่มร่างเล็กแต่กำยำชาวเมียนมาผู้ทำงานในไทยมาเป็นปีที่แปด ปัจจุบันเขาเป็นพนักงานในร้านอาหารร้านเดียวกับเดย์ ลีซอเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยพูดจา และมักจะได้ยินเพียงคำว่า “ครับ” ขานตอบเพียงอย่างเดียว อาจด้วยกังวลที่จะสนทนาด้วยภาษาไทย แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคในการทำงานของเขา เพราะลีซอขยันเเละกระตือรือร้นเสมอจนใครๆ ในร้านต่างชื่นชม
ลีซอกำลังทำความสะอาดครัวในตอนเย็นหลังปิดร้าน
“ทำงานก็ไม่โดนแดด ดีกว่าพม่าเยอะ หาเงินก็ง่าย” ลีซอกล่าวถึงความเชื่อที่ขับเคลื่อนเขาเพื่อมาทำงานยังต่างแดน
“มันไม่เหมือนที่บ้าน มันน่ากลัว ที่บ้านบ้านก็ติดกัน ถนนไม่ใหญ่ พอมาที่ไทย ที่โรงงาน คนก็เยอะ มันน่ากลัว” ลีซอเล่าถึงความรู้สึกแรกเมื่อถึงประเทศไทยอย่างกระท่อนกระเเท่น ชีวิตของชายร่างเล็กในมหานครใหญ่เริ่มต้นกับงานแรกที่โรงงานเย็บผ้าย่านบางบัวทอง เนื่องจากพี่สาวทำงานอยู่ก่อนแล้ว
ลีซอเล่าว่าเขาไม่ค่อยคิดถึงบ้านเพราะว่า สองถึงสามปีก็จะกลับบ้านครั้งตามที่แม่ขอ อีกทั้งที่บ้านทุกคนก็อยู่กันสบายดีจากเงินที่ลีซอส่งกลับไป หากแม่ไม่สบายก็มีน้องสาวคอยดูแล เมื่อหมดห่วงเรื่องที่บ้านก็ทำให้เขาคลายความคิดถึง และความกังวลลงได้มาก นอกจากนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ไม่หยุดยั้ง ก็ทำให้ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคของความคิดถึงอีกต่อไป เพราะต่อให้แม่จะอยู่ไกลแค่ไหน ทุกคืนแม่สามารถอยู่ใกล้ลีซอได้ผ่านวิดีโอคอล
เเม่เเละน้องสาวของลีซอผ่านวีดิโอคอลจากที่บ้าน
เมืองสะเทิม รัฐมอญ สาธารณรัฐเเห่งสหภาพเมียนมา
“จริงๆ ก็ไม่อยากกลับบ่อย เพราะอยู่ที่ไทยเงินเดือนออกทุกเดือน” หากกลับบ้านทีก็ไม่ได้เงิน การส่งเงินกลับบ้านก็มีอยู่หลายวิธีทั้งผ่านทาง “ธนาคารกัมโพชะ (Kanbawza)” ธนาคารพาณิชย์เอกชนที่ใหญ่สุดของเมียนมาหรือจะโอนเงินผ่านทาง “ธนาคารคน” โดยการโอนเงินผ่าน ธนาคารไทยไปให้คนที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นคนที่แม่สอดจะติดต่อกับอีกคนที่ฝั่งเมียนมา เพื่อนำเงินสดให้กับปลายทาง เหมือนการโอนเงินสดผ่านคนรู้จักนั่นเอง
กระนั้น การห่างบ้านมา ก็ทำให้คนท้องถิ่นอย่างเขากลับกลายเป็นคนแปลกหน้าในหมู่บ้าน ตลอดเวลาที่ห่างบ้านมา ดูเหมือนที่นั่นจะมีอะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อนบ้านและความสะดวกสบาย ลีซอเล่าว่าที่บ้านเดี๋ยวนี้มีไฟฟ้าใช้แล้ว ถนนก็ดีขึ้นเรื่อยๆ คนสร้างบ้านกันใหญ่ขึ้น คนก็เยอะขึ้นเช่นเดียวกัน
ขณะที่ราคาข้าวของเครื่องใช้ก็แพงขึ้นตาม “ตอนนั้นกลับบ้านไปหนึ่งเดือน รู้สึกแต่อยากกลับมาเมืองไทย เพราะที่บ้านอะไรก็แพง ลูกอมลูกละร้อย ตอนที่พี่มิ้นมาแรกๆ แค่ 10-20 จ๊าดเอง ห้าปีกลับบ้านมาก็ร้อยแล้ว แพงขึ้นมากๆ” มิ้นให้ความเห็นในทำนองเดียวกับเพื่อนร่วมชาติ
ความหวังสุดท้ายที่บ้านของฉัน
ตลอดเวลายาวนานที่ต้องห่างบ้าน ผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมาต่างอดทนทำงาน เก็บเงิน เเละเฝ้ารอวันที่เขาจะได้กลับบ้านเพื่อใช้เงินนั้นสร้างให้ความฝันเเละความหวังของพวกเขาเป็นจริง
จากความพยายามในการสร้างเนื้อสร้างตัวตลอด 20 ปีในประเทศไทย เดย์สามารถสร้างบ้านให้พี่สาวและยายได้สำเร็จ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ในหมู่บ้านซึ่งเขาปล่อยเช่าสำหรับทำนาข้าว เดย์วางแผนที่จะย้ายกลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดของตนในอีกสองปีข้างหน้า โดยตั้งใจจะสร้างบ้านและเปิดร้านอาหารของตนเองในที่ดินผืนนั้น เมื่อวันนั้นมาถึง เดย์จะได้พ้นสภาพจากการเป็นเเรงงานสักที
“อยากหางาน หาเงิน แล้วก็ช่วยหมู่บ้าน” ลีซอกล่าวถึงอีกสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจมาเมืองไทย แปดปีที่ผ่านมา ลีซอได้เป็นส่วนหนึ่งของการระดมเงิน เพื่อสร้างวัดและโรงเรียนให้กับหมู่บ้าน เด็กน้อยจะได้ไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อไปเรียนหนังสืออีก เขาหวังและอยากเห็นหมู่บ้านเกิดของตนเจริญเหมือนประเทศไทย
ไม่ต่างไปจากลีซอนัก มิ้นก็หวังให้หมู่บ้านของเธอบนเขาสูงทางตอนเหนือของเมียนมา ได้
พบกับผู้นำสักคนที่ดีและจริงใจที่จะมาพัฒนาบ้านเกิดของเธอ
“บ้าน” ความภูมิใจสูงสุดของมิ้น
ความภูมิใจที่สุดของมิ้น คือการที่เธอและน้องชายอีกสองคนร่วมกันสร้างบ้านให้พ่อกับแม่ได้สำเร็จ เธอหยิบโทรศัพท์มือถือมาเปิดรูปให้ดู พร้อมเสริมว่า “ทุกวันนี้พ่อกับแม่แยกกันอยู่ มิ้นอยากให้พ่อแม่กลับมาอยู่ด้วยกัน” เธอกำลังเฝ้ารอด้วยความหวังว่า บ้านหลังนี้จะสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ของพ่อและแม่ให้กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง
รอบตัวเรา อาจมีสักคนที่เป็นหนึ่งในนักสู้ไกลบ้าน ลองทำความรู้จักเขาเหล่านี้ให้ลึกลงไปกว่าที่เคย แล้วเราอาจพบหรือได้รู้จักมุมใหม่ๆ ของคนที่(เคย)เป็นอื่น
อ่านรายงานฉบับภาษาพม่าได้ที่
https://nisitjournal.press/2020/12/29/myanmar_workers_hopes-and-dreams/
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์
ภาพ : ศุภกานต์ ผดุงใจ เเละ ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์
“ร้องเพลงชาติไม่ชัด เป็นพม่ารึเปล่า” วลีคุ้นหูที่พยายามสร้างอารมณ์ขันนี้ สะท้อนอคติทางชาติพันธุ์ อันตั้งอยู่บนฐานของการสร้างความเป็นอื่น จากการหล่อหลอมของสื่อในรูปแบบต่างๆ หรือกระทั่งจากบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ยังคงปลูกฝังว่าพม่า หรือเมียนมา เป็นศัตรูของชาติไทย
อคติที่เกิดขึ้นทำให้เราลืมที่จะมองเห็นชาวเมียนมาอย่างเข้าใจ ในวันนั้นที่เขาและเธออยู่ในวัยเดียวกับเรา อะไรจูงใจให้พวกเขาตัดสินใจห่างบ้านมาไกลเพื่อมาใช้แรงงานในประเทศไทย หรือเพราะความฝันที่เราล้วนมีไม่ต่างกัน
เมื่อฉันต้องห่างบ้าน
บ่ายเเก่วันหนึ่ง ในบ้านของหญิงชราย่านเยาวราช Nan Cam Kuu หรือ มิ้น หญิงสาวชาวปะโอ กลุ่มชาติพันธุ์จากเมียนมา วัย 30 ปี ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยตั้งแต่อายุ 22 กำลังเริ่มต้นงานใหม่อย่างกระตือรือร้นเเละใส่ใจด้วยสีหน้าเเจ่มใสเมื่อเจ้าของบ้านเรียกขอบางสิ่ง
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่เมียนมาแบ่งออกเป็นสิบชั้นก่อนระดับอุดมศึกษา มิ้นได้เรียนถึงชั้นปีที่เก้าก่อนออกมาทำงาน โดยเงินเดือนของคนที่จบการศึกษาระดับปริญญานั้นจะตกอยู่ประมาณหนึ่งล้านจ๊าดพม่า หรือประมาณ 24,000 บาทไทย ในขณะที่คนไม่สำเร็จการศึกษาอย่างเธอจะได้ค่าจ้างมากสุดเพียง 150,000 จ๊าดพม่าหรือประมาณ 3,600 บาทไทยเท่านั้น การเลือกเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหางานและเงินจึงเป็นคำตอบสำหรับเธอ
เช่นเดียวกับมิ้น ชาวเมียนมาจำนวนมากออกเดินทางหางานในหลายประเทศ โดยจุดหมายที่นิยมที่สุดก็คือประเทศไทย เนื่องจากพรมแดนที่ติดกัน ทำให้สะดวกกว่าไปทำงานไกลถึงมาเลเซียหรือสิงคโปร์
มิ้นเล่าว่าเมื่อก่อนคนในหมู่บ้านมองหญิงสาวที่ไปทำงานต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยว่า “จะไปขายตัว” แต่เมื่อได้รับข้อมูลมากขึ้น ความคิดก็เริ่มเปลี่ยนไป
แม้จะผ่านมากว่าแปดปี แต่มิ้นยังจำความรู้สึกของก้าวแรกที่ห่างบ้านได้อย่างชัดเจน “ออกจากบ้านก็ไม่ได้ร้องไห้อะไร เพื่อนคนอื่นๆ ก็ร้องไห้กัน แต่พี่มิ้นไม่ร้อง เพราะก็ต้องไปหาตังค์ วันหนึ่งก็ต้องกลับไปหาพ่อแม่อยู่ดี” เธอเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ ถึงกระนั้นก็พบว่าสภาพความเป็นอยู่ที่นี่ย่ำแย่กว่าที่เธอคาดไว้ อีกทั้งยังต้องมีชีวิตท่ามกลางสังคมต่างถิ่น ต่างภาษา เครื่องยึดเหนี่ยวเดียวที่พอจะทำให้เธอก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ก็คือญาติพี่น้อง ผู้เข้ามาทำงานในประเทศไทยก่อนหน้า
ช่วงเวลาที่เหนื่อยล้าและท้อแท้ที่สุดของมิ้นคือวันที่เธอตกงาน “ถ้าตกงานก็จะท้อ จะกลับบ้าน แต่ตังค์ก็ไม่ค่อยมี กลับไม่ได้ บางทีก็ท้อ ต้องหา ติดต่อกับเพื่อนบ้าง คนนู้นคนนี้ก็ต้องโทรหา ไม่รู้จักก็ต้องโทร ว่ามีงานไหม อะไรก็ได้ ต้องทำหมด”
ปัจจุบันมิ้นประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุ ตลอดแปดปีที่ผ่านมาเธอเคยทำมาแล้วสารพัด ทั้งทำงานบ้าน ทำกับข้าว ขายของ รวมไปถึงการเป็นช่างทาสีเช่นเดียวกับน้องชายทั้งสองของเธอ ในวันหยุดพักผ่อน เธอเลือกที่จะกลับห้องพักย่านลำสาลี แหล่งรวมชาวปะโอที่อาศัยอยู่ในไทย เพื่อใช้เวลาร่วมกับกับญาติพี่น้องของตน “ไปเที่ยว ไปกินข้าว ส่วนมากก็ไปเที่ยวห้าง เดอะมอลล์บางกะปิ ไปกิน ไม่ได้ของแพงอะไรหรอก ส่วนมากก็เคเอฟซี พิซซ่า เท่านั้นแหละ” การได้พบเจอกับพี่น้องที่คุ้นเคยในสังคมที่ไม่คุ้นชินจึงเป็นหนึ่งในการเยียวยาความคิดถึงบ้านได้บ้าง
ฉันเป็นมากกว่าแรงงาน
การใช้ชีวิตไกลบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย Saw Day Kwar หรือ เดย์ ชายเมียนมา วัย 33 ปี อาศัยอยู่ในเมืองไทยมามากกว่าครึ่งชีวิต จนคุ้นเคยกับที่นี่เป็นอย่างดี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาลืมบ้านเกิดของตนเลย เดย์ยังคงคิดถึงที่นั่นเสมอ “ก็จะทำงานเก็บเงิน แล้วก็ไม่เที่ยว จะได้มีครบทุกอย่างแล้วกลับบ้านทีเดียว ไม่ต้องเป็นลูกน้องใครแล้ว” เดย์เล่าอย่างมุ่งมั่น
“ทำงานแรกๆ ได้เดือนละ 4,000 ทุกวันนี้ได้หมื่นกว่า” ปัจจุบันเดย์เป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารจีนแห่งหนึ่งย่านเยาวราช แต่นั่นไม่ใช่รายรับเพียงทางเดียวของเดย์ เพราะเขายังขายเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านกลุ่มในเฟซบุ๊กแหล่งรวมแรงงานชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
“อยู่แบบนี้มันเสียเวลา ไม่อยากให้เสียเวลาแบบนี้ มันไม่ได้อะไร” เมื่อเดย์เห็นโอกาสในการเพิ่มรายรับ เขาจึงไม่รอช้าที่จะเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ ของตนบนโลกออนไลน์
เดย์จะโพสต์รูปเสื้อผ้าหลากหลายลายพร้อมราคาลงในกลุ่มเพื่อเปิดรับสั่งซื้อล่วงหน้า หรือพรีออเดอร์ เมื่อมีลูกค้าสนใจและสั่งซื้อเข้ามา เดย์จะรวมไว้จนกว่ายอดสั่งซื้อจะมากพอ และสามารถซื้อจากตลาดโบ๊เบ๊ได้ในราคาขายส่งที่ถูกลง โดยจะไม่เสี่ยงซื้อเสื้อผ้ามาเก็บไว้เป็นสต็อกเพื่อรอลูกค้า นี่จึงเป็นเหตุที่ธุรกิจเล็กๆ ของเดย์นั้นมั่นคง
เมื่อได้สินค้ามาแล้วเดย์จะนัดหมายกับลูกค้าเพื่อนำเสื้อไปส่งเอง เพื่อรับประกันว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าพร้อมกับรับเงิน “ได้เงินไม่เยอะแต่ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ได้ทำ”
เดย์เดินทางไปทุกแห่งในกรุงเทพที่ลูกค้าของเขาอาศัย ทั้งบางนา บางแค พระรามสอง หรือแม้กระทั่งปากน้ำด้วยรถเมล์ เมื่อถามเดย์ว่ารู้ได้อย่างไร ว่าต้องเดินทางด้วยรถเมล์สายไหน เดย์กลับตอบเหมือนเป็นเรื่องที่ง่ายดาย เพราะเขาจำคำภาษาไทยเป็นภาพ “ถ่ายรูปไว้ เขียนภาษาไทย แล้วก็ดูเอาเอง ว่าคันนั้นเขียนว่าอะไร แล้วก็ขึ้น” เเรกๆ อาจมีผิดสายบ้าง แต่เดินทางยิ่งบ่อยก็ยิ่งชำนาญเเละคุ้นชินมากขึ้น
เดย์ยังเล่าต่ออีกว่า ตลอดเวลาที่ทำงานในไทยเขาไม่เคยท้อแท้ เพราะเขาเชื่อว่า “มีเงินเยอะแล้วสร้างชีวิตใหม่ได้”
เพื่อที่จะได้กลับไปพักผ่อนก่อนจะเริ่มงานอีกครั้งใน 07.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
ที่บ้านสบายดี
Thein Zaw หรือ ลีซอ ชายหนุ่มร่างเล็กแต่กำยำชาวเมียนมาผู้ทำงานในไทยมาเป็นปีที่แปด ปัจจุบันเขาเป็นพนักงานในร้านอาหารร้านเดียวกับเดย์ ลีซอเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยพูดจา และมักจะได้ยินเพียงคำว่า “ครับ” ขานตอบเพียงอย่างเดียว อาจด้วยกังวลที่จะสนทนาด้วยภาษาไทย แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคในการทำงานของเขา เพราะลีซอขยันเเละกระตือรือร้นเสมอจนใครๆ ในร้านต่างชื่นชม
“ทำงานก็ไม่โดนแดด ดีกว่าพม่าเยอะ หาเงินก็ง่าย” ลีซอกล่าวถึงความเชื่อที่ขับเคลื่อนเขาเพื่อมาทำงานยังต่างแดน
“มันไม่เหมือนที่บ้าน มันน่ากลัว ที่บ้านบ้านก็ติดกัน ถนนไม่ใหญ่ พอมาที่ไทย ที่โรงงาน คนก็เยอะ มันน่ากลัว” ลีซอเล่าถึงความรู้สึกแรกเมื่อถึงประเทศไทยอย่างกระท่อนกระเเท่น ชีวิตของชายร่างเล็กในมหานครใหญ่เริ่มต้นกับงานแรกที่โรงงานเย็บผ้าย่านบางบัวทอง เนื่องจากพี่สาวทำงานอยู่ก่อนแล้ว
ลีซอเล่าว่าเขาไม่ค่อยคิดถึงบ้านเพราะว่า สองถึงสามปีก็จะกลับบ้านครั้งตามที่แม่ขอ อีกทั้งที่บ้านทุกคนก็อยู่กันสบายดีจากเงินที่ลีซอส่งกลับไป หากแม่ไม่สบายก็มีน้องสาวคอยดูแล เมื่อหมดห่วงเรื่องที่บ้านก็ทำให้เขาคลายความคิดถึง และความกังวลลงได้มาก นอกจากนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ไม่หยุดยั้ง ก็ทำให้ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคของความคิดถึงอีกต่อไป เพราะต่อให้แม่จะอยู่ไกลแค่ไหน ทุกคืนแม่สามารถอยู่ใกล้ลีซอได้ผ่านวิดีโอคอล
เมืองสะเทิม รัฐมอญ สาธารณรัฐเเห่งสหภาพเมียนมา
“จริงๆ ก็ไม่อยากกลับบ่อย เพราะอยู่ที่ไทยเงินเดือนออกทุกเดือน” หากกลับบ้านทีก็ไม่ได้เงิน การส่งเงินกลับบ้านก็มีอยู่หลายวิธีทั้งผ่านทาง “ธนาคารกัมโพชะ (Kanbawza)” ธนาคารพาณิชย์เอกชนที่ใหญ่สุดของเมียนมาหรือจะโอนเงินผ่านทาง “ธนาคารคน” โดยการโอนเงินผ่าน ธนาคารไทยไปให้คนที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นคนที่แม่สอดจะติดต่อกับอีกคนที่ฝั่งเมียนมา เพื่อนำเงินสดให้กับปลายทาง เหมือนการโอนเงินสดผ่านคนรู้จักนั่นเอง
กระนั้น การห่างบ้านมา ก็ทำให้คนท้องถิ่นอย่างเขากลับกลายเป็นคนแปลกหน้าในหมู่บ้าน ตลอดเวลาที่ห่างบ้านมา ดูเหมือนที่นั่นจะมีอะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อนบ้านและความสะดวกสบาย ลีซอเล่าว่าที่บ้านเดี๋ยวนี้มีไฟฟ้าใช้แล้ว ถนนก็ดีขึ้นเรื่อยๆ คนสร้างบ้านกันใหญ่ขึ้น คนก็เยอะขึ้นเช่นเดียวกัน
ขณะที่ราคาข้าวของเครื่องใช้ก็แพงขึ้นตาม “ตอนนั้นกลับบ้านไปหนึ่งเดือน รู้สึกแต่อยากกลับมาเมืองไทย เพราะที่บ้านอะไรก็แพง ลูกอมลูกละร้อย ตอนที่พี่มิ้นมาแรกๆ แค่ 10-20 จ๊าดเอง ห้าปีกลับบ้านมาก็ร้อยแล้ว แพงขึ้นมากๆ” มิ้นให้ความเห็นในทำนองเดียวกับเพื่อนร่วมชาติ
ความหวังสุดท้ายที่บ้านของฉัน
ตลอดเวลายาวนานที่ต้องห่างบ้าน ผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมาต่างอดทนทำงาน เก็บเงิน เเละเฝ้ารอวันที่เขาจะได้กลับบ้านเพื่อใช้เงินนั้นสร้างให้ความฝันเเละความหวังของพวกเขาเป็นจริง
จากความพยายามในการสร้างเนื้อสร้างตัวตลอด 20 ปีในประเทศไทย เดย์สามารถสร้างบ้านให้พี่สาวและยายได้สำเร็จ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ในหมู่บ้านซึ่งเขาปล่อยเช่าสำหรับทำนาข้าว เดย์วางแผนที่จะย้ายกลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดของตนในอีกสองปีข้างหน้า โดยตั้งใจจะสร้างบ้านและเปิดร้านอาหารของตนเองในที่ดินผืนนั้น เมื่อวันนั้นมาถึง เดย์จะได้พ้นสภาพจากการเป็นเเรงงานสักที
“อยากหางาน หาเงิน แล้วก็ช่วยหมู่บ้าน” ลีซอกล่าวถึงอีกสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจมาเมืองไทย แปดปีที่ผ่านมา ลีซอได้เป็นส่วนหนึ่งของการระดมเงิน เพื่อสร้างวัดและโรงเรียนให้กับหมู่บ้าน เด็กน้อยจะได้ไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อไปเรียนหนังสืออีก เขาหวังและอยากเห็นหมู่บ้านเกิดของตนเจริญเหมือนประเทศไทย
ไม่ต่างไปจากลีซอนัก มิ้นก็หวังให้หมู่บ้านของเธอบนเขาสูงทางตอนเหนือของเมียนมา ได้
พบกับผู้นำสักคนที่ดีและจริงใจที่จะมาพัฒนาบ้านเกิดของเธอ
ความภูมิใจที่สุดของมิ้น คือการที่เธอและน้องชายอีกสองคนร่วมกันสร้างบ้านให้พ่อกับแม่ได้สำเร็จ เธอหยิบโทรศัพท์มือถือมาเปิดรูปให้ดู พร้อมเสริมว่า “ทุกวันนี้พ่อกับแม่แยกกันอยู่ มิ้นอยากให้พ่อแม่กลับมาอยู่ด้วยกัน” เธอกำลังเฝ้ารอด้วยความหวังว่า บ้านหลังนี้จะสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ของพ่อและแม่ให้กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง
รอบตัวเรา อาจมีสักคนที่เป็นหนึ่งในนักสู้ไกลบ้าน ลองทำความรู้จักเขาเหล่านี้ให้ลึกลงไปกว่าที่เคย แล้วเราอาจพบหรือได้รู้จักมุมใหม่ๆ ของคนที่(เคย)เป็นอื่น
อ่านรายงานฉบับภาษาพม่าได้ที่
https://nisitjournal.press/2020/12/29/myanmar_workers_hopes-and-dreams/
Share this:
Like this: