เรื่องและภาพ ศุภกานต์ ผดุงใจ
“แถวนี้ขายกระดาษมากว่า 100 ปีแล้ว เป็นอาชีพที่ทำมาหากินตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะว่าชุมชนเราอยู่ใกล้วัด พึ่งพาอาศัยกัน พวกพี่โตได้ก็เพราะกระดาษ หม่าม้าส่งลูกเรียนสี่คนได้ก็เพราะธุรกิจแบบนี้แหละ สมัยก่อนนึกถึงกระดาษคุณก็ต้องมาที่นี่ที่เดียว” ธัญดา สารพันธ์ อายุ 49 ปี เจ้าของร้านกระดาษไหว้เจ้าในชุมชนเจริญไชย กล่าว
เจริญไชย หรือที่ชาวจีนโบราณเรียกกันว่า ตรอกตงเฮงโกย เป็นชุมชนจีนโบราณที่ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงตอนบน เป็นตึกแถวชุดเดียวกันประมาณ 60 ห้อง สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
เดิมผู้ที่อาศัยบริเวณชุมชนนี้ส่วนใหญ่คือคนจีนเชื้อสายกวางตุ้งที่อพยพมาจากเมืองจีน ภายหลังคนจีนเชื้อสายกวางตุ้งอพยพไปอยู่ที่อื่นและมีคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น
ชุมชนเจริญไชยถือว่าเป็นแหล่งขายกระดาษไหว้เจ้าเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในเมืองไทย เนื่องจากรายล้อมไปด้วยศาลเจ้าสำคัญๆ ถึงห้าแห่ง ได้แก่ วัดมังกรกมลาวาส ศาลเจ้ากวางตุ้ง ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ และศาลเจ้าไต่ฮงกง ความเชี่ยวชาญของชุมชนนี้ยังเป็นที่รู้จักในจีน เมื่อเดือนกันยายน ปี 2555 ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ทางสถานี CCTV ของจีนมาขอให้ชุมชนจำลองการจัดโต๊ะไหว้พระจันทร์ตามประเพณีดั้งเดิมเพื่อนำไปออกอากาศในประเทศ
“คุณค่าของชุมชนตรงนี้ไม่เหมือนที่อื่นเพราะว่าเรามีเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีที่ชัดเจน แม้แต่รายการของประเทศจีนยังมาขอให้เราตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์จำลองเพื่อที่จะนำไปออกอากาศที่ประเทศจีนให้ เพราะเป็นเวลากว่า 100 ปีที่วัฒนธรรมของเขาหายไป ศาลเจ้าและวัดถูกปิดจากการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่คนจากเมืองจีนที่อพยพมาอยู่ที่ชุมชนเจริญไชยได้เอาวัฒนธรรมนี้มาสืบทอดต่อ” ศิริณี อุรุนานนท์ หนึ่งในคณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย กล่าว
นอกจากนั้นหนังสือ บันทึกเจริญไชย คนจีนสยาม ที่ชาวบ้านช่วยกันรวบรวมข้อมูลและตีพิมพ์ อธิบายว่าตึกแถวในย่านเจริญไชยมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมสูง เพราะเป็นหลักฐานการวางผังชุมชนทางการค้ายุคแรกของสยาม ที่ออกแบบชุมชนโดยคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยทางการค้าอย่างสูงสุด โดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้างตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
การเข้ามาของรถไฟฟ้ากับความมั่นคงทางจิตใจที่หายไปของชุมชน
เมื่อปี 2554 ตึกแถวบางส่วนในชุมชนเจริญไชยถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางขึ้น-ลง รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร ส่วนที่ไม่ถูกเวนคืน มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ เจ้าของที่ดิน
ก็ยกเลิกสัญญาเช่ารายปี และเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าแบบเดือนต่อเดือนแทน โดยให้เหตุผลกับชาวชุมชนว่า การสร้างสถานีรถไฟฟ้าอาจทำให้ต้องปรับปรุงสภาพพื้นที่รอบๆ ตามแผนการสร้างสถานีของรัฐ จึงไม่สามารถรับประกันการเช่าพื้นที่ระยะยาวได้เหมือนเดิม
รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกรเมื่อมองจากพิพิธภัณฑ์ชุมชน ‘บ้านเก่าเล่าเรื่อง’
“จ่ายเป็นค่าเช่าเดือนต่อเดือนมันกระทบต่อความมั่นคงทางจิตใจเลยแหละ เหมือนเราอยู่บ้านโดยที่ไม่รู้ว่าอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร คุณจะให้เราไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้”
ธัญดาอธิบายว่าทางมูลนิธิเจ้าของที่ดิน ไม่เคยส่งตัวแทนเข้ามาเจรจาหรือทำความเข้าใจคนในชุมชน ทำให้ชุมชนไม่มั่นใจกับอนาคตของตัวเอง
อีกปัจจัยที่ทำให้ชาวบ้านเห็นว่าการปักหลักที่ชุมชนเจริญไชยยิ่งเป็นไปได้ยาก คือเมื่อมีข่าวว่าจะมีการประกาศใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครในปี 2556 ซึ่งกำหนดให้พื้นที่ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้ามีสิทธิในการ “พัฒนาเป็นพิเศษ” กล่าวคือ พื้นที่ชุมชนเจริญไชยซึ่งอยู่ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้าวัดมังกร อาจนำไปสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ โรงแรม หรือที่พักอาศัยขนาดใหญ่ เหมือนพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าจุดอื่นๆ ก็ได้
เมื่อสมาชิกชุมชนเห็นว่าตึกแถวที่ตนอยู่อาศัยมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมีแนวโน้มจะถูกเปลี่ยนเป็นทำเลทองกลางเยาวราช และตนต้องย้ายออกไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ จึงรวมกลุ่มกันเป็น ‘กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย’ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน และตั้งคำถามต่อแนวทางการจัดการที่ดินว่าควรให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือการพัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อาจทำกำไรมหาศาล
นอกจากคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชนจีนโบราณ ชาวชุมชนเจริญไชยมองว่า การที่ร้านกระดาษไหว้เจ้ามาอยู่รวมกันในย่านใกล้ศาลเจ้าก็เป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ดังประโยคที่ว่า “รวมกันเราอยู่ เเยกหมู่เราตาย” เพราะการค้าขายในเเหล่งชุมชนกระดาษไหว้เจ้า ย่อมดีกว่าการเเยกไปขายรายเดียว “ถ้าให้ไปขายกระดาษที่อื่น ก็ไม่เหมือนเราอยู่ ณ ที่ตรงนี้ เพราะมันเอื้อกันไปเอื้อกันมา เพราะว่าชุมชนอยู่ใกล้วัด พึ่งพาอาศัยกัน” ธัญดาจากร้านกระดาษไหว้เจ้าบอก
โบราณสถานบนที่ดินส่วนบุคคล
แบบก่อสร้างอาคารชุมชนเจริญไชยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าบนถนนเจริญกรุงตอนบน โดย ยงธนิศร์ พิมลเสถียร รองศาสตราจารย์ทางด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาเเละอนุรักษ์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2552 วิเคราะห์ว่า โครงการรถไฟฟ้าจะทำให้มูลค่าที่ดินในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น นักลงทุนและเจ้าของที่ดินจึงต้องการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาคารขนาดใหญ่และสูงเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต ปัจจัยนี้จึงกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การอนุรักษ์อาคารที่เป็นทรัพย์สินของเอกชนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้เห็นความสำคัญถึงคุณค่าของอาคาร ขณะเดียวกัน กรมศิลปากรก็มักจะไม่ขึ้นทะเบียนอาคารของเอกชนเป็นโบราณสถานเช่นกัน
ตั้งแต่ปี 2554 กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชยได้ยื่นจดหมายถึงกรมศิลปากร สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอิโคโมสไทยเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการประเมินคุณค่าอาคารตึกแถวประวัติศาตร์ ย่านชุมชนเจริญไชย หลายต่อหลายครั้ง
“เราส่งหนังสือหากรมศิลป์ฯ รอบแรกแล้วก็หายไปเป็นปีไม่มาทำอะไรเลย จนกระทั่งเราส่งหนังสือเรื่องผังเมืองไปถึงกรรมการสิทธิฯ (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) เรียกแต่ละหน่วยงานมาคุยกัน กรมศิลป์ฯ ถึงได้ให้เจ้าหน้าที่มาดู” ศิริณี อุรุนานนท์ หนึ่งในคณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย บอก
“เราทำทุกอย่างแล้ว ทั้งยื่นกฏหมายคัดค้าน ถึงผังเมือง กรมศิลป์ฯ กรรมการสิทธิฯ กทม. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ เรายื่นหมดแล้ว ไม่รู้จะยื่นอะไรแล้ว รออย่างเดียวว่า ที่เราทำไปจะออกมาเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่” ศิริณี กล่าว
ความหวังและอนาคตของชุมชนเจริญไชย
ผู้จัดการมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินชุมชนเจริญไชยในปัจจุบัน แจ้งว่า ทางมูลนิธิยังไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาที่ดินชุมชนเจริญไชยในอนาคต
ส่วนกลุ่มอนุรักษ์ฯ หวังว่า ร่างกฎหมายใหม่เกี่ยวกับอาคารควรอนุรักษ์ในส่วนต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งอาจส่งผลให้นโยบายรัฐต่อการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าบนที่ดินส่วนบุคคลเกิดขึ้นได้
“เราก็ไม่รู้ว่าไปถึงขั้นตอนไหนอะไรยังไงแล้ว ถ้าจะให้เราไปประชุมกับหน่วยงานนี้ หน่วยงานนั้น เราไม่ไปแล้ว เพราะประชุมเสร็จก็เป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่เราไม่รู้ว่าไปไหนต่อ ทุกคนที่อยู่ตรงนี้มีอาชีพของตัวเองที่ต้องทำมาหากิน” ศิริณีกล่าว
ภาพตึกแถวชุมชนเจริญไชยในอดีตที่ถูกจัดแสดงใน ‘บ้านเก่าเล่าเรื่อง’
อย่างไรก็ตาม ชาวชุมชนยังกังวลว่า หากกฏหมายดังกล่าวถูกบังคับใช้จริง จะเป็นการอนุรักษ์แค่ตัวอาคาร แต่คนในชุมชนอาจถูกไล่ทางอ้อมด้วยการขึ้นค่าเช่าจนไม่สามารถอยู่ได้
ศิริณีมองว่า ถึงแม้ว่าตัวตึกแถวของชุมชนเจริญไชยเป็นอาคารเก่าที่ควรอนุรักษ์ แต่การอนุรักษ์เพียงอาคารอย่างเดียวก็ไม่มีประโยชน์ “เราไม่ได้บอกว่าให้คุณเก็บแต่ตึกเพราะคนที่อยู่ก็สำคัญเพราะเขาเป็นคนสืบทอดวัฒนธรรมตรงนี้ ถ้าคนหายไปก็ไม่มีคุณค่าไม่มีอะไร”
เจตนาในการอนุรักษ์ของชุมชนจึงหมายถึงการคงไว้ทั้งตึกและผู้อยู่อาศัยดั้งเดิม เพื่อให้วัฒนธรรมเก่าแก่อย่างการค้าและประเพณีเกี่ยวกับกระดาษไหว้เจ้ายังคงอยู่ต่อไป
เธอทิ้งท้ายว่า “อยากให้หน่วยงานรัฐบาลทำอะไรให้ว่องไวและทันต่อการพัฒนา ถ้าจะอนุรักษ์ก็ควรจะทำกฏหมายการอนุรักษ์ให้รวดเร็ว เพราะการพัฒนามันไปเร็ว คุณทุบตึกหนึ่งใช้เวลาไม่นาน แต่กว่าคุณจะสร้างตึกหนึ่งขึ้นมาให้คนรู้สึกว่ามีคุณค่านั้นใช้เวลาเป็นร้อยปี”
Like this:
Like Loading...
เรื่องและภาพ ศุภกานต์ ผดุงใจ
“แถวนี้ขายกระดาษมากว่า 100 ปีแล้ว เป็นอาชีพที่ทำมาหากินตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะว่าชุมชนเราอยู่ใกล้วัด พึ่งพาอาศัยกัน พวกพี่โตได้ก็เพราะกระดาษ หม่าม้าส่งลูกเรียนสี่คนได้ก็เพราะธุรกิจแบบนี้แหละ สมัยก่อนนึกถึงกระดาษคุณก็ต้องมาที่นี่ที่เดียว” ธัญดา สารพันธ์ อายุ 49 ปี เจ้าของร้านกระดาษไหว้เจ้าในชุมชนเจริญไชย กล่าว
เจริญไชย หรือที่ชาวจีนโบราณเรียกกันว่า ตรอกตงเฮงโกย เป็นชุมชนจีนโบราณที่ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงตอนบน เป็นตึกแถวชุดเดียวกันประมาณ 60 ห้อง สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
เดิมผู้ที่อาศัยบริเวณชุมชนนี้ส่วนใหญ่คือคนจีนเชื้อสายกวางตุ้งที่อพยพมาจากเมืองจีน ภายหลังคนจีนเชื้อสายกวางตุ้งอพยพไปอยู่ที่อื่นและมีคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น
ชุมชนเจริญไชยถือว่าเป็นแหล่งขายกระดาษไหว้เจ้าเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในเมืองไทย เนื่องจากรายล้อมไปด้วยศาลเจ้าสำคัญๆ ถึงห้าแห่ง ได้แก่ วัดมังกรกมลาวาส ศาลเจ้ากวางตุ้ง ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ และศาลเจ้าไต่ฮงกง ความเชี่ยวชาญของชุมชนนี้ยังเป็นที่รู้จักในจีน เมื่อเดือนกันยายน ปี 2555 ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ทางสถานี CCTV ของจีนมาขอให้ชุมชนจำลองการจัดโต๊ะไหว้พระจันทร์ตามประเพณีดั้งเดิมเพื่อนำไปออกอากาศในประเทศ
“คุณค่าของชุมชนตรงนี้ไม่เหมือนที่อื่นเพราะว่าเรามีเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีที่ชัดเจน แม้แต่รายการของประเทศจีนยังมาขอให้เราตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์จำลองเพื่อที่จะนำไปออกอากาศที่ประเทศจีนให้ เพราะเป็นเวลากว่า 100 ปีที่วัฒนธรรมของเขาหายไป ศาลเจ้าและวัดถูกปิดจากการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่คนจากเมืองจีนที่อพยพมาอยู่ที่ชุมชนเจริญไชยได้เอาวัฒนธรรมนี้มาสืบทอดต่อ” ศิริณี อุรุนานนท์ หนึ่งในคณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย กล่าว
นอกจากนั้นหนังสือ บันทึกเจริญไชย คนจีนสยาม ที่ชาวบ้านช่วยกันรวบรวมข้อมูลและตีพิมพ์ อธิบายว่าตึกแถวในย่านเจริญไชยมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมสูง เพราะเป็นหลักฐานการวางผังชุมชนทางการค้ายุคแรกของสยาม ที่ออกแบบชุมชนโดยคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยทางการค้าอย่างสูงสุด โดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้างตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
การเข้ามาของรถไฟฟ้ากับความมั่นคงทางจิตใจที่หายไปของชุมชน
เมื่อปี 2554 ตึกแถวบางส่วนในชุมชนเจริญไชยถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางขึ้น-ลง รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร ส่วนที่ไม่ถูกเวนคืน มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ เจ้าของที่ดิน
ก็ยกเลิกสัญญาเช่ารายปี และเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าแบบเดือนต่อเดือนแทน โดยให้เหตุผลกับชาวชุมชนว่า การสร้างสถานีรถไฟฟ้าอาจทำให้ต้องปรับปรุงสภาพพื้นที่รอบๆ ตามแผนการสร้างสถานีของรัฐ จึงไม่สามารถรับประกันการเช่าพื้นที่ระยะยาวได้เหมือนเดิม
“จ่ายเป็นค่าเช่าเดือนต่อเดือนมันกระทบต่อความมั่นคงทางจิตใจเลยแหละ เหมือนเราอยู่บ้านโดยที่ไม่รู้ว่าอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร คุณจะให้เราไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้”
ธัญดาอธิบายว่าทางมูลนิธิเจ้าของที่ดิน ไม่เคยส่งตัวแทนเข้ามาเจรจาหรือทำความเข้าใจคนในชุมชน ทำให้ชุมชนไม่มั่นใจกับอนาคตของตัวเอง
อีกปัจจัยที่ทำให้ชาวบ้านเห็นว่าการปักหลักที่ชุมชนเจริญไชยยิ่งเป็นไปได้ยาก คือเมื่อมีข่าวว่าจะมีการประกาศใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครในปี 2556 ซึ่งกำหนดให้พื้นที่ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้ามีสิทธิในการ “พัฒนาเป็นพิเศษ” กล่าวคือ พื้นที่ชุมชนเจริญไชยซึ่งอยู่ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้าวัดมังกร อาจนำไปสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ โรงแรม หรือที่พักอาศัยขนาดใหญ่ เหมือนพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าจุดอื่นๆ ก็ได้
เมื่อสมาชิกชุมชนเห็นว่าตึกแถวที่ตนอยู่อาศัยมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมีแนวโน้มจะถูกเปลี่ยนเป็นทำเลทองกลางเยาวราช และตนต้องย้ายออกไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ จึงรวมกลุ่มกันเป็น ‘กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย’ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน และตั้งคำถามต่อแนวทางการจัดการที่ดินว่าควรให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือการพัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อาจทำกำไรมหาศาล
นอกจากคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชนจีนโบราณ ชาวชุมชนเจริญไชยมองว่า การที่ร้านกระดาษไหว้เจ้ามาอยู่รวมกันในย่านใกล้ศาลเจ้าก็เป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ดังประโยคที่ว่า “รวมกันเราอยู่ เเยกหมู่เราตาย” เพราะการค้าขายในเเหล่งชุมชนกระดาษไหว้เจ้า ย่อมดีกว่าการเเยกไปขายรายเดียว “ถ้าให้ไปขายกระดาษที่อื่น ก็ไม่เหมือนเราอยู่ ณ ที่ตรงนี้ เพราะมันเอื้อกันไปเอื้อกันมา เพราะว่าชุมชนอยู่ใกล้วัด พึ่งพาอาศัยกัน” ธัญดาจากร้านกระดาษไหว้เจ้าบอก
โบราณสถานบนที่ดินส่วนบุคคล
โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าบนถนนเจริญกรุงตอนบน โดย ยงธนิศร์ พิมลเสถียร รองศาสตราจารย์ทางด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาเเละอนุรักษ์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2552 วิเคราะห์ว่า โครงการรถไฟฟ้าจะทำให้มูลค่าที่ดินในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น นักลงทุนและเจ้าของที่ดินจึงต้องการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาคารขนาดใหญ่และสูงเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต ปัจจัยนี้จึงกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การอนุรักษ์อาคารที่เป็นทรัพย์สินของเอกชนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้เห็นความสำคัญถึงคุณค่าของอาคาร ขณะเดียวกัน กรมศิลปากรก็มักจะไม่ขึ้นทะเบียนอาคารของเอกชนเป็นโบราณสถานเช่นกัน
ตั้งแต่ปี 2554 กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชยได้ยื่นจดหมายถึงกรมศิลปากร สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอิโคโมสไทยเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการประเมินคุณค่าอาคารตึกแถวประวัติศาตร์ ย่านชุมชนเจริญไชย หลายต่อหลายครั้ง
“เราส่งหนังสือหากรมศิลป์ฯ รอบแรกแล้วก็หายไปเป็นปีไม่มาทำอะไรเลย จนกระทั่งเราส่งหนังสือเรื่องผังเมืองไปถึงกรรมการสิทธิฯ (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) เรียกแต่ละหน่วยงานมาคุยกัน กรมศิลป์ฯ ถึงได้ให้เจ้าหน้าที่มาดู” ศิริณี อุรุนานนท์ หนึ่งในคณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย บอก
“เราทำทุกอย่างแล้ว ทั้งยื่นกฏหมายคัดค้าน ถึงผังเมือง กรมศิลป์ฯ กรรมการสิทธิฯ กทม. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ เรายื่นหมดแล้ว ไม่รู้จะยื่นอะไรแล้ว รออย่างเดียวว่า ที่เราทำไปจะออกมาเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่” ศิริณี กล่าว
ความหวังและอนาคตของชุมชนเจริญไชย
ผู้จัดการมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินชุมชนเจริญไชยในปัจจุบัน แจ้งว่า ทางมูลนิธิยังไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาที่ดินชุมชนเจริญไชยในอนาคต
ส่วนกลุ่มอนุรักษ์ฯ หวังว่า ร่างกฎหมายใหม่เกี่ยวกับอาคารควรอนุรักษ์ในส่วนต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งอาจส่งผลให้นโยบายรัฐต่อการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าบนที่ดินส่วนบุคคลเกิดขึ้นได้
“เราก็ไม่รู้ว่าไปถึงขั้นตอนไหนอะไรยังไงแล้ว ถ้าจะให้เราไปประชุมกับหน่วยงานนี้ หน่วยงานนั้น เราไม่ไปแล้ว เพราะประชุมเสร็จก็เป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่เราไม่รู้ว่าไปไหนต่อ ทุกคนที่อยู่ตรงนี้มีอาชีพของตัวเองที่ต้องทำมาหากิน” ศิริณีกล่าว
อย่างไรก็ตาม ชาวชุมชนยังกังวลว่า หากกฏหมายดังกล่าวถูกบังคับใช้จริง จะเป็นการอนุรักษ์แค่ตัวอาคาร แต่คนในชุมชนอาจถูกไล่ทางอ้อมด้วยการขึ้นค่าเช่าจนไม่สามารถอยู่ได้
ศิริณีมองว่า ถึงแม้ว่าตัวตึกแถวของชุมชนเจริญไชยเป็นอาคารเก่าที่ควรอนุรักษ์ แต่การอนุรักษ์เพียงอาคารอย่างเดียวก็ไม่มีประโยชน์ “เราไม่ได้บอกว่าให้คุณเก็บแต่ตึกเพราะคนที่อยู่ก็สำคัญเพราะเขาเป็นคนสืบทอดวัฒนธรรมตรงนี้ ถ้าคนหายไปก็ไม่มีคุณค่าไม่มีอะไร”
เจตนาในการอนุรักษ์ของชุมชนจึงหมายถึงการคงไว้ทั้งตึกและผู้อยู่อาศัยดั้งเดิม เพื่อให้วัฒนธรรมเก่าแก่อย่างการค้าและประเพณีเกี่ยวกับกระดาษไหว้เจ้ายังคงอยู่ต่อไป
เธอทิ้งท้ายว่า “อยากให้หน่วยงานรัฐบาลทำอะไรให้ว่องไวและทันต่อการพัฒนา ถ้าจะอนุรักษ์ก็ควรจะทำกฏหมายการอนุรักษ์ให้รวดเร็ว เพราะการพัฒนามันไปเร็ว คุณทุบตึกหนึ่งใช้เวลาไม่นาน แต่กว่าคุณจะสร้างตึกหนึ่งขึ้นมาให้คนรู้สึกว่ามีคุณค่านั้นใช้เวลาเป็นร้อยปี”
Share this:
Like this: