เรื่อง : ณันทรัฐ มาจุฬา
เชื่อหรือไม่ว่า หากนำอัลบั้ม ‘MAP OF THE SOUL: 7’ ของบีทีเอส (BTS) มาเรียงต่อกัน เราจะได้ถนนหนึ่งเส้นความยาว 112 กิโลเมตร จากหลักกิโลฯ ที่ 0 ใจกลางกรุงเทพฯ ไปถึงอุทยานมังกรสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ยอดขายอัลบั้มที่มากกว่า 4.8 ล้านแผ่นทั่วโลก ทำให้บีทีเอสถูกบันทึกไว้ว่าเป็นวงบอยกรุ๊ปที่มียอดขายสูงที่สุดในโลกปี 2563 ซึ่งสถิติดังกล่าวจัดเก็บโดยสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (IFPI) และเปิดเผยผ่านรายงานตลาดเพลงทั่วโลก ประจำปี 2564 รายงานข้างต้นยังบอกอีกว่าตลาดเพลงเค-ป๊อบเติบโตกว่า 44.8% และนับว่าเป็นตลาดเพลงที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ในขณะที่รายงานของสตาติสตา ระบุว่าคนไทยนิยมเค-ป๊อบสูงถึง 45.6% ในปี 2561 แสดงให้เห็นถึงคลื่นฮันรยู (Hallyu Wave) ที่ซัดเข้ามาในประเทศไทย และยังแผ่อิทธิพลอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายยุค 2000
ทว่าปัจจุบัน ช่องทางการซื้ออัลบั้มเพลงเค-ป๊อบที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภคชาวไทยคือการ “หิ้ว” และการ “พรีออเดอร์” ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าแบบฝากกันผ่านบุคคลที่ตั้งตนเป็นแม่ค้า ขณะที่การซื้ออัลบั้มเพลงผ่านร้านค้าในห้าง ร้านขายซีดี หรือตัวแทนจัดจำหน่ายในประเทศไทยกลับลดลง แม้ว่าร้านค้าเหล่านี้จะยังคงดำเนินกิจการอยู่ แต่ผู้บริโภคก็เลือกที่จะไม่ใช้บริการเหมือนร้านทาวเวอร์ เรคคอร์ดส์ (TOWER RECORDS) และเอชเอ็มวี (HMV) ในประเทศญี่ปุ่น หรือในสหรัฐอเมริกาที่มีโซนขายซีดีในห้างทาร์เก็ต (TARGET) โดยผู้บริโภคสามารถเข้าไปเลือกซื้ออัลบั้มเพลงเกาหลีได้ทันที
บรรยากาศร้านขายซีดีที่อยู่ในสภาวะซบเซา
ศรุต เตชะศิริไพบูลย์ หรือ โมสต์ นักศึกษาวัย 18 ปี แฟนคลับวงไอซ์วัน (IZ*ONE) เปิดเผยว่าที่เลือกซื้ออัลบั้มกับแม่ค้าร้านหิ้วหรือร้านพรีออเดอร์เพราะสามารถเลือกการ์ดรูปภาพศิลปินได้ ร้านค้าจะแกะพัสดุและเลือกการ์ดรูปภาพสมาชิกในวงที่ลูกค้าชื่นชอบให้เลย ไม่ต้องเสี่ยงดวงมาลุ้นเอาเอง หรือในบางทีโมสต์ก็เลือกที่จะฝากเพื่อนที่เป็นแฟนคลับด้วยกันสั่งซื้อจากประเทศเกาหลีใต้
เช่นกันกับณัฐณิชา ตั้งธีระสุนันท์ หรือ แบม นักศึกษาวัย 22 ปี เธอบอกว่าชอบที่จะสั่งซื้ออัลบั้มด้วยตนเองจากประเทศเกาหลีใต้โดยตรงมากกว่า แต่ถ้าไม่มีเพื่อนมาช่วยหารค่าส่ง เธอก็เลือกที่จะใช้บริการแม่ค้าร้านหิ้วเป็นหลัก
ส่องกำลังซื้อติ่ง จริงไหมที่ใครๆ ก็บอกติ่งรวย
ผลสำรวจความคิดเห็นเรื่องการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเค-ป๊อบ จากกลุ่มตัวอย่างแฟนเพลงจำนวน 305 คน พบว่า 74.8% มักซื้ออัลบั้มหรือสินค้าอื่นๆ จากประเทศเกาหลีใต้ผ่านแม่ค้าร้านหิ้ว ในขณะที่ 17.4% จะซื้อสินค้าด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสัญชาติเกาหลี อาทิ จีมาร์เก็ต (Gmarket) หรือเคทาวน์โฟร์ยู (Ktown4U) เป็นต้น โดยมีเพียง 6.6% เท่านั้นที่ซื้อสินค้าผ่านร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศ และอีก 1.3% ที่ยังคงซื้อจากร้านค้าทั่วไปที่เปิดมานานอย่างกิ๊ฟต์แชแนล เค-ป๊อบ ช็อบ (Giftchannel K-pop Shop) ในย่านสยามสแควร์ที่อยู่คู่แฟนเพลงมานานร่วม 15 ปี หรือบูมเมอแรง (Boomerang) ร้านขายซีดีชื่อดัง
ผลสำรวจความคิดเห็นออนไลน์เรื่องการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเค-ป๊อบ ระหว่างวันที่ 16-30 ตุลาคม 2564
ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างแฟนเพลงกว่าสองในสาม หรือ 68.8% ใช้จ่ายเงินไปกับอัลบั้มเพลงและผลิตภัณฑ์เค-ป๊อบปีละ 1,000-10,000 บาท ขณะที่อีก 20.7% ใช้จ่ายเกินปีละหมื่นบาท โดยมีเพียง 10.5% เท่านั้นที่ใช้จ่ายปีละต่ำกว่า 1,000 บาท สอดคล้องกับผลสำรวจที่ระบุว่าติ่งเกาหลีส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอุดมศึกษาและ First Jobber ซึ่งสะท้อนให้เห็นกำลังซื้อ ในขณะที่ราคาอัลบั้มส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง 300-1,400 บาท ส่วนค่าจัดส่งของเว็บไซต์เคทาวน์โฟร์ยูถูกคำนวนไว้สูงกว่า 1,000 บาท แม้ยอดการสั่งซื้อจากประเทศเกาหลีจะมีเพียงแค่ 1 ชิ้นเท่านั้น
ถึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการจ่ายเงิน แต่ก็ยังต้องมีการชำระภาษีศุลกากรเพิ่มอีกหากมีการสุ่มตรวจเจอเมื่อของถึงประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ ผู้ซื้อส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเข้าหาแม่ค้าหิ้วหรือพรีออเดอร์ เพราะแม่ค้าต้องรับความเสี่ยงเรื่องการชำระค่าภาษีเอง ทั้งยังเป็นเป็นการหารกันจ่ายค่าส่ง ยิ่งร้านไหนมีลูกค้าเยอะ จำนวนคนที่เข้ามาหารค่าส่งและภาษีก็จะมีมากขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือราคาอัลบั้มถูกลงอีกจนอยู่ในหลักสิบบาท
ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างแฟนเพลงยังพบอีกว่า ติ่งเกาหลี 55.7% เสียเงินไปกับการซื้อการ์ดรูปภาพที่แถมมากับอัลบั้ม โดย 72.9% ซื้อการ์ดราคาใบละ 100-300 บาท ตามมาด้วย 16.5% ซื้อการ์ดในช่วงราคา 300-600 บาท อีก 5.3% ซื้อการ์ดราคาต่ำกว่า 100 บาท 3.5% ซื้อการ์ดแพงกว่าพันบาท 1.2% ซื้อการ์ดราคา 600-800 บาท และ 0.6% ซื้อการ์ดที่ราคาใบละ 800-1,000 บาท จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการ์ดรูปภาพที่แถมมากับอัลบั้มนั้นมีราคาขายเฉลี่ยเกือบเท่าราคาอัลบั้ม 1 ชิ้นหรือมากกว่า
‘การ์ด’ ที่ระลึกทางใจแต่ไม่สบายกระเป๋า
“ซื้อการ์ด 900 นี่หนักสุดแล้ว ใบแรกและใบเดียว”
ธันย์ชนก เล่า
ธันย์ชนก ศิริชัยนฤมิตร หรือ ว่าน บอกว่าเธอเคยซื้อการ์ดที่เป็นของแถมจากอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบ โดยราคาที่ซื้อส่วนใหญ่มักอยู่ที่ 200-300 บาท แม้บางครั้งจะมีเกินงบประมาณที่ตั้งใจไว้บ้าง แต่ก็ไม่บ่อยนัก
หนึ่งในความสำเร็จของยอดขายอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบ คือการตลาดที่เน้นเพิ่มของแถมมากกว่าการจัดส่งซีดีเปล่าๆ ไปให้แฟนเพลง ‘การ์ด’ หรือรูปภาพศิลปินขนาดประมาณนามบัตร เป็นของแถมที่ดึงดูดใจให้ติ่งเกาหลีเลือกที่จะซื้ออัลบั้มจำนวนมากเพื่อให้ได้รูปภาพของสมาชิกในวงที่ตนชื่นชอบ ยิ่งวงที่มีสมาชิกมาก อัตราการสุ่มได้ดั่งหวังก็ยิ่งต่ำ จนสุดท้ายการขายการ์ดก็เป็นหนี่งในช่องทางทำเงินของแม่ค้าร้านหิ้ว
การ์ดรูปภาพสมาชิกวงอาสโทร (ASTRO) ที่ว่านสะสม ภาพ : ธันย์ชนก ศิริชัยนฤมิตร
จากการสำรวจทางออนไลน์ พบว่าเอ็นซีที 2020 (NCT2020) เป็นวงอันดับต้นๆ ที่แฟนคลับจัดให้เป็นวงที่มีเรตราคาขายการ์ดแพงที่สุด โดยอัลบั้ม Resonance Pt.1 เวอร์ชั่น Yearbook การ์ดรูปภาพของแจฮยอน 1 ใน 23 สมาชิกของวงมีราคาขายสูงสุดที่ 50,000 บาท เนื่องจากมีเพียง 50 ใบในโลก
ว่านเรียกตัวเองว่าเป็นอโลฮ่า (Aloha) ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มแฟนคลับของวงอาสโทร (ASTRO) เธอให้เหตุผลเพิ่มเติมว่าที่เลือกซื้อการ์ดเพราะไม่อยากเก็บอัลบั้มไว้กับตัวเป็นจำนวนเยอะๆ เพราะบางทีก็สุ่มเจอการ์ดที่ตนอยากได้บ้างไม่อยากได้บ้าง เลยเลือกที่จะซื้อการ์ดแยกต่างหาก แล้วซื้ออัลบั้มเพียง 1 ชิ้น ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่เก็บอัลบั้มในบ้าน
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ของสะสมทางใจอย่างเช่นการ์ดจะมีราคาขายต่อที่สูง เพราะอุตสาหกรรมเค-ป๊อบมักจะนำเสนอความใกล้ชิดและภาพลักษณ์ที่ดึงดูดแฟนเพลงได้แม้เห็นเพียงครั้งเดียว ว่านเองก็เป็นเช่นนั้น เธอเปิดเผยว่าที่เข้ามาเป็นแฟนคลับวงอาสโทรก็เพราะได้ดูซีรีส์เรื่อง Rookie Historian Goo Hae Ryung แล้วบังเอิญสะดุดตากับอึนอู นักแสดงนำของเรื่อง ซึ่งหลังจากสืบค้นว่านก็พบว่าเขาเป็นสมาชิกวงอาสโทร และได้ติดตามเรื่อยมา
ซีรีส์เรื่อง Rookie Historian Goo Hae Ryung ซึ่งอึนอู สมาชิกวงอาสโทร (ASTRO) นำแสดง
พจนานุกรมติ่ง
การ์ด หมายถึง รูปภาพเซลฟ์ฟี่ของศิลปินขนาดเท่านามบัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในของแถมที่มาพร้อมกับอัลบั้มเพลงเกาหลี มักมาในรูปแบบสุ่ม
‘รักแรกพบ’ ยาเสพติดทางสายตา ที่พาคนธรรมดามาเป็น ‘ติ่ง’
“บังเอิญตอนนั้นปิดเทอมก็เปิดทีวีไปเรื่อยเปื่อยสมัยนั้นเคเบิลทีวียูบีซี (UBC) ก็เปิดช่อง 48 แชแนลวีไทยแลนด์ (Channel V Thailand) ช่อง 49 เอ็มทีวี (MTV) ฟังเพลงดูเอ็มวี แล้วบังเอิญเจอเอสอีเอส (S.E.S) เพลงแบบแบ๊วใส น่ารักมาก เอ็มวีก็สวย สาวๆ ทั้งสามแบบ OMG Fairytale มาก คือแบบ Love at First Sight ก็เลยหลงรักไปโดยปริยาย วีเจเขาก็จะพูดว่าอัลบั้มมีขายที่นี่ๆ นะ”
คำบอกเล่าที่เปรียบเสมือนรักแรกพบของกิรพัฒน์ ศิริพงษ์ หรือ แพท แฟนคลับเค-ป๊อบผู้คร่ำหวอดมานานกว่า 20 ปี เขาเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของการเริ่มเป็นติ่ง ในยุคที่เพลงเกาหลีเป็นเพียงหน่วยย่อยเล็กๆ ของเพลงเอเชียน
แพทเป็นแฟนคลับตัวยงของโบอา (BoA) ศิลปินสาวมากความสามารถที่เปิดตัวในปี 2543 แต่ศิลปินแดนกิมจิที่ทำให้เขาเป็นติ่งเต็มตัวคือเอสอีเอส (S.E.S) แล้วหลังจากนั้นเขาก็ติดตามวงการเพลงเกาหลีเรื่อยมา แพทบอกกับเราว่า ในอดีตแฟนๆ ส่วนใหญ่จะต้องไปซื้ออัลบั้มกันที่ร้านขายซีดีตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ อาทิ ร้านวาเลนไทน์ หรือร้านทาวเวอร์ เรคคอร์ดส์ ที่สยามและมาบุญครอง โดยราคาอยู่ที่ 500 บาทขึ้นไป อีกทั้งแพคเกจก็ยังเป็นเพียงตลับพลาสติกบรรจุแผ่นซีดีข้างในธรรมดาๆ ในร้านก็จะไม่ได้แบ่งเป็นโซนเค-ป๊อบหรือเจ-ป๊อบ แต่จะอยู่รวมกันเป็นโซนเอเชีย
วงเอสอีเอส (S.E.S)
“ราคาก็ 500 อัพนะ แพงไหม พี่ว่าแพงกว่าสมัยนี้นะ แต่ถ้าสมัยนี้ก็แพคเกจสวย ของแถมเยอะแยะ มีการ์ดด้วย ราคาก็ 300-350 หลังๆ ที่พรีฯ มาอะไรอย่างเนี่ย มีโปสเตอร์อะไรอีก”
แพท เผย
กิรพัฒน์ ศิริพงษ์ หรือ แพท – แฟนคลับเค-ป๊อบรุ่นเก๋า
เขาสรุปให้ฟังว่าการติ่งปัจจุบันนี้ง่ายขึ้นมาก โลกอินเทอร์เน็ตทำให้แฟนคลับเลือกเสพผลงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการซัพพอร์ตอย่างเป็นรูปธรรมผ่านบ้านเบส ทำให้รู้ความเคลื่อนไหวของศิลปินได้ง่ายขึ้น และยังทำให้แฟนคลับรวมกลุ่มกันได้ง่าย มีสังคมที่ใหญ่และใกล้ชิดกัน
“อาจะเป็นความรู้สึกที่เข้าถึงง่ายมากกว่า สมัยก่อนก็ต้องเห็นผ่านนิตยสารหรือผ่านทีวี ตามซีดี แต่สมัยนี้ศิลปินเองสามารถเล่นโซเชียลเองได้ อัพฯ ไอจี อัพฯ รูป แฟนๆ ก็สามารถเข้าไปดู ไปกดไลก์ ไปคอมเม้นต์ได้ หรือว่ามีทวิตฯ หรืออะไรที่ศิลปินมาอัพฯ เอาใจแฟนๆ มีไลฟ์ไอจีอะไรแบบนี้ ทักทายมันก็รู้สึกเข้าถึงง่าย แล้วก็แบบรักขึ้นไหม ก็รักขึ้น เพราะก็เหมือนว่าเขาแฟนเซอร์วิสนะ ยังคิดถึง ยังอยากจะออกมาทักทายแฟนๆ ก็ดูน่ารักดี” แพทสรุป
รูปถ่ายของแพทกับวงเบบี้วอกซ์ (Baby V.O.X) ภาพ : กิรพัฒน์ ศิริพงษ์
พจนานุกรมติ่ง
บ้านเบส หมายถึง บัญชีโซเชียลของแฟนคลับที่เป็นตัวแทนในการอัพเดตข่าวสาร หรือรวบรวมเงินบริจาคทำโปรเจ็กต์ต่างๆ
เมื่อตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ กลายร่างเป็นแม่ค้าพรีฯ แบบไหนดีกับติ่งมากกว่ากัน?
ย้อนกลับไปในอดีต การจัดจำหน่ายอัลบั้มเพลงจากแดนโสมขาวส่วนใหญ่ถูกนำเข้าโดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อินเตอร์แนชชันแนล จำกัด (GMM GRAMMY International) บริษัทลูกของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GMM GRAMMY) ค่ายเพลงแถวหน้าของไทย หลายๆ อัลบั้มที่แพทซื้อในอดีตก็ถูกจัดจำหน่ายโดยตัวแทนรายนี้
แต่ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา แผ่นผีและการดาวน์โหลดเอ็มพีสาม (MP3) ระบาดหนักทั่วเอเชีย ส่งผลให้การซื้ออัลบั้มลิขสิทธิ์ซบเซาลงอย่างมาก ปัญหาดังกล่าวก็กระทบอุตสาหกรรมเพลงในประเทศเกาหลีใต้เช่นเดียวกัน ทำให้ในปี 2552 รัฐบาลของอีมย็องบัก ประธานาธิบดีในขณะนั้นต้องจัดสรรงบประมาณราว 3 พันล้านบาทเพื่ออุดหนุนไม่ให้ตลาดเพลงประสบสภาวะสุญญากาศ
ในช่วงเวลาเดียวกันที่ประเทศไทย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เองก็มีการปล่อยแคมเปญรณรงค์การต่อต้านแผ่นผีซีดีเถื่อน ผ่านการแจกใบปลิวและนำศิลปินชาวไทยเดินพบปะประชาชนตามท้องถนนในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามปัจจัยทั้งจากพฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการซื้อที่เปลี่ยนไป จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อินเตอร์แนชชันแนล จึงค่อยๆ ลดบทบาทการนำเข้าอัลบั้มเพลง และยุติกิจการไปในที่สุด
แต่ใช่ว่าผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดจะหายไปจนเหลือแค่แม่ค้าหิ้วหรือแม่ค้าพรีออเดอร์ จียอน (นามสมมติ) พนักงานในบริษัทอีคอมเมิร์ซรายหนึ่งเล่าว่า ความคิดที่บริษัทแอปฯ ท่าขายของออนไลน์จะทำร้านขายอัลบั้มเพลงบนแพลตฟอร์มของตนเองนั้นมีมานานราว 3-4 ปีแล้ว โดยบริษัทเพลงในเกาหลีใต้ก็พยายามหาช่องทางในตลาดต่างประเทศอย่างประเทศไทยมาตลอด แต่ขาดเพียงตัวแทนดำเนินการ โดยการติดต่อประสานงานเพื่อนำเข้าอัลบั้มก็จะมีทั้งการติดต่อกับค่ายเพลงโดยตรงและติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้
แม้จะบริษัทยักษ์ใหญ่จะลงมาเล่นในตลาดอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบ แต่จียอนให้ความเห็นว่าการเข้ามาร่วมแข่งขันของอีคอมเมิร์ซ มีจุดประสงค์ที่ต่างออกไปจากแค่ต้องการกำไร เนื่องจาก Marketing Activation หรือการตลาดเพื่อเปิดตัว คือจุดมุ่งหมายหลักของการดำเนินกิจการนี้ ทั้งยังบอกว่าร้านค้าหิ้วยังมีความยืดหยุ่นมากกว่าในด้านการซื้อการขาย รวมไปถึงการดันยอดอัลบั้มในสัปดาห์แรกเพื่อส่งให้ศิลปินเข้าชิงรางวัลในรายการจัดลำดับชาร์ตเพลงประจำสัปดาห์ ทั้งนี้เธอยังได้ระบุว่าในอนาคตมีอีคอมเมิร์ซอีกหลายเจ้าที่กำลังจะเข้าร่วมตลาดอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบด้วย เนื่องจากเล็งเห็นสภาพตลาดที่เป็นไปได้
“ถ้าถามถึงยอดขาย ก็อาจะสู้ได้ไม่ได้ในบางเคส ด้วยความว่าเราสั่งจากผู้ผลิตโดยตรง มันก็จะต่างจากที่ร้านพรีฯ กดเว็บเอง ซึ่งการที่ร้านพรีฯ กดเว็บเองคือเขาก็จะกดได้เรื่อยๆ จนกว่าอัลบั้มจะปล่อย แต่ในขณะที่เราทำธุรกิจกับทางเกาหลีโดยตรง เขาก็จะมีสโคปเวลาในการเปิดพรีออร์เดอร์ ซึ่งค่อนข้างสั้น ว่าเวลาเท่านี้ถึงเวลาเท่านี้ บางที 3 วัน” จียอน กล่าว
อย่างไรก็ดี ทัชระ ล่องประเสริฐ หรือ ปรุง ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเพลงและอุตสาหกรรมบันเทิงที่คลุกคลีในวงการเค-ป๊อบมากว่า 8 ปี ได้เสริมให้เห็นข้อจำกัดของการนำเข้าอัลบั้มในฐานะตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ว่าผู้ผลิตมีความต้องการที่จะกระจายสินค้าให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าการลงมาจำหน่ายแบบปลีกโดยตรงในประเทศต่างๆ ยังต้องคำนึงถึงขีดความสามารถด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือ Partnership เพื่อให้คุณภาพการบริการเป็นไปอย่างราบรื่น โดยผู้บริโภคมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการเลือกซื้ออัลบั้มที่ราคาถูกและมีคุณภาพดีที่สุดจากผู้ขายที่ตนพึงพอใจ
ทัชระ ล่องประเสริฐ หรือ ปรุง – ผู้เชี่ยวชาญตลาดเพลงเค-ป๊อบ ภาพ : ทัชระ ล่องประเสริฐ
ทว่าในประเทศไทยปัญหาเรื่องนโยบายของภาครัฐเป็นปัญหาสำคัญที่ยังทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจที่จะเข้ามาทำตลาด แม้ปริมาณการซื้อขายในหน่วยย่อยจะมีจำนวนมากก็ตาม โดยปรุงอธิบายให้เห็นภาพว่าภูมิทัศน์ทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อวงการเค-ป๊อบเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ในประเทศจีน นโยบายการกำกับดูแลควบคุมปริมาณการซื้ออัลบั้มที่เพิ่งกำหนดใช้เมื่อช่วงกันยายนที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในตัวอย่างของนโยบายรัฐที่กระทบต่อภาคการส่งออกของอุตสาหกรรมเค-ป๊อบเช่นเดียวกัน ซึ่งกฎเหล็กดังกล่าวจำกัดการเข้าถึงและปริมาณการซื้อของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ปริมาณการจัดจำหน่ายอัลบั้มเพลงจากเกาหลีใต้ชะลอตัวลง
พจนานุกรมติ่ง
รายการจัดลำดับชาร์ตเพลงประจำสัปดาห์ หมายถึง รายการแสดงดนตรีประจำสัปดาห์บนสถานีโทรทัศน์เกาหลีใต้ ออกอากาศสด 6 วัน 6 สถานีฯ ต่อสัปดาห์ โดยมีการจัดลำดับชาร์ตเพลงพร้อมให้ถ้วยรางวัลผู้ที่ชนะรางวัลที่ 1 ซึ่งคะแนนจะคิดจากยอดขายอัลบั้ม ยอดฟังเพลงในแอปพลิเคชันสตรีมมิ่ง คะแนนโหวตขณะถ่ายทอดสด เป็นต้น
กรรมก็เหมือน ‘ภาษี’ ไม่มีใครหนีได้
“มันคือความเอาแน่เอานอนไม่ได้อะ นึกออกไหม”
ดาวศิริ เปรย
ความในใจที่ไม่รู้ว่าวีนไหมของดาวศิริ หรือ ดาว แม่ค้าพรีออเดอร์รายใหญ่ที่ปักหลักขายอัลบั้มบนทวิตเตอร์มานานกว่า 4 ปี เธอเล่าว่าหนึ่งในปัญหาของการทำร้านค้าหิ้วคือความไม่แน่นอนในการคำนวนราคาภาษีอากรขาเข้า โดยในช่วงที่เธอเริ่มทำการค้าขายในปี 2561 สินค้านำเข้าประเภทอัลบั้มที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาทบางชิ้นจะไม่ถูกเก็บภาษี แต่เมื่อเดือนมีนาคม 2564 พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ชี้แจงว่าหากจะมีการนำเข้าสินค้าประเภทอัลบั้มหรือโฟโต้บุ๊คจากประเทศเกาหลีใต้ในราคาเกินกว่า 1,500 บาท ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการชำระค่าภาษีอากรขาเข้า 10% รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT อีก 7 เปอร์เซ็นต์ รวมเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มาตรการตรวจจับการนำเข้าของกรมศุลกากรเข้มงวดยิ่งขึ้น
“โดยส่วนใหญ่เขาจะประเมินเกินค่ะน้องสาวชาวเน็ต อย่างเช่นเราไปดีลหลังบ้านได้ส่วนลดจากเกาหลีมา แล้วขายราคาถูก แต่มาเจอภาษีที่แพงทีเดียว มันก็จบเลยนะ มีหลายรอบเลยที่ขาดทุน อย่างตอนนั้นขายอัลบั้ม ก็คำนวนไว้ว่าภาษี 10% บวกอีก 7% แต่พอของถึงไทยจริงๆ อะ มันเกินที่เราคำนวณไว้ไปเป็นหมื่นสองหมื่น ก็คือทำไรไม่ได้ ถ้าแย้งก็ต้องรอนาน ของไม่ออก ลูกค้าก็รอ” ดาวเผย
ด้วยเหตุนี้ดาวจึงต้องชำระค่าภาษีอากรปีละมากกว่าหนึ่งล้านบาท เพราะปริมาณการสั่งซื้อในร้านของเธอมีมาก ยอดขายหลังหักต้นทุนก็อยู่ที่ราว 6-7 หมื่นบาท โดยเธอยืนยันว่าเต็มใจที่จะชำระเงินในส่วนดังกล่าว แต่เพียงต้องการความแน่นอนในการประเมินราคาสินค้า อาทิ การประเมินราคาตามพัสดุจริงหน้ากล่อง ไม่ใช่การประเมินราคาสินค้าเกินไว้ก่อน เพราะเมื่อสินค้าถูกตีค่าว่าแพงกว่าความเป็นจริง ราคาภาษีก็จะเพิ่มขึ้นด้วย อย่างอัลบั้มล็อตล่าสุดยอดรวมกว่าหนึ่งล้านบาทที่ดาวสั่งเข้ามา ก็ยังคงค้างในโกดังเพราะมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ดาวศิริตั้งข้อสังเกตว่าที่สินค้าของเธอยังคงค้างอยู่เพราะช่วงประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคมจะเป็นช่วงเปลี่ยนตำแหน่งในกรมฯ ซึ่งการนำเข้าของจะเกิดปัญหาขึ้นได้ง่าย
ดาวศิริมีวิธีลดต้นทุนด้วยการให้ลูกค้าเลือกว่าจะส่งสินค้าจากเกาหลีใต้ผ่านช่องทางเรือ หรือเครื่องบิน เนื่องจากการขนส่งโดยเรือจะถูกกว่าขนส่งทางอากาศ แต่จะต้องรอสินค้านานกว่า เธอยังบอกอีกว่าถ้านำเข้าเสื้อผ้า ภาษีก็จะแพงกว่าอัลบั้ม ในอัตราภาษีอากรขาเข้า 30% บวกกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% รวมเป็น 37%
“ตอนนี้ภัยที่กลัวไม่ใช่นายทุน แต่กลัวว่าทวิตเตอร์จะล่มสลายจ้า” ดาวศิริบ่น
ปัจจุบันดาวศิริได้หาช่องทางอื่นในการค้าขายเพิ่มเติม เช่น ติ๊กตอก (TikTok) เพราะเธอคิดว่าอีกไม่นานทวิตเตอร์อาจไม่ใช่ช่องทางหลักของติ่งเกาหลีอีกต่อไป เพราะพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ พร้อมยืนยันอย่างหนักแน่นว่าไม่กลัวการเข้ามาของนายทุน เพราะร้านพรีฯ ยังมีข้อดีในเรื่องของการให้ความรู้สึกเหมือนซื้อกับเพื่อน และที่สำคัญคือการได้ดันยอดขายให้ศิลปินในสัปดาห์แรก ซึ่งจะเป็นคะแนนเข้าชิงรางวัลในรายการจัดลำดับชาร์ตเพลงประจำสัปดาห์
ขณะที่ผู้ค้ารายใหญ่ที่ปักหลักมานานอาจจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของกลไกตลาดและภาษีได้ แต่สำหรับรายเล็กที่เพิ่งเข้าวงการ ความท้าทายเหล่านี้อาจไม่ใช่เรื่องง่าย นภสร บุญพิทักษ์ หรือ ตวง แม่ค้าอัลบั้มพรีออเดอร์ที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่ถึง 7 เดือน แม้จะเปิดร้านได้ไม่นานแต่รายได้ของเธอก็อยู่ที่ประมาณเดือนละ 5,000 -10,000 บาท แต่ถ้าช่วงไหนที่ไม่มีศิลปินออกอัลบั้มใหม่ ก็จะไม่มีรายได้เพราะไม่ได้เปิดพรีออเดอร์ โดยเหตุผลที่ตวงเข้ามาทำกิจการเล็กๆ นี้ คือเริ่มต้นจากการที่เธอชอบที่จะซื้ออัลบั้มด้วยตนเองมากกว่า
ถึงรายได้หลังหักต้นทุนต่างๆ ไปแล้วจะดี แต่ตวงเปิดใจอย่างตรงไปตรงมาว่าเธอไม่คิดว่าจะทำอาชีพนี้ต่อหลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะรู้สึกว่ารายได้ไม่มั่นคง ทั้งยังไม่รู้ว่าจะอยู่กับวงการนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ที่สำคัญคือการเข้ามาร่วมเล่นในตลาดของนายทุนอีคอมเมิร์ซ ที่เธอรู้สึกว่าอาจจะสู้ไม่ไหว รวมไปถึงปัญหาเล็กน้อยมากมาย อาทิ การโกงกันในวงการติ่ง
นภสร บุญพิทักษ์ หรือ ตวง – แม่ค้าพรีออเดอร์หน้าใหม่
“การเข้ามาของนายทุนทำให้การบริการของเรามันกลายเป็นว่าไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น มันเหมือน Red Ocean ที่เราต้องถอยออกมาดูว่าเราจะต้องแก้ยังไง เราจะออกไปไหม ทำอะไรต่อ เพราะฉะนั้นยังคิดว่าเป็นอาชีพที่ไม่แน่ใจว่าจะตอบโจทย์เป็นอาชีพหลักได้ เพราะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเราจะได้ตังหรือเปล่า”
ตวง เผย
การเข้ามาร่วมตลาดของบริษัทอีคอมเมิร์ซต่างชาติ เธอยอมรับตามตรงว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจของเธอไม่มั่นคง เพราะคนซื้อสามารถซื้อเองจ่ายเองได้แล้ว แม่ค้าแบบเธอก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับติ่งเกาหลีอีกต่อไป แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังพอไปได้อยู่ ด้วยกลไกที่ใช้วิธีกันหารค่าส่ง หารค่าภาษี ตรงนี้เป็นจุดขายที่เธอมองว่ายังเป็นทางรอด
ตวงยังระบุว่าการประเมินภาษีศุลกากรก็เป็นอีกหนึ่งในปัญหาเหมือนกับร้านใหญ่ๆ เช่นเดียวกัน เธอบอกว่าตัวเองสามารถประมาณการณ์ภาษีล่วงหน้าได้ แต่สุดท้ายแล้วมักจะขึ้นอยู่กับเจ้าพนักงานผู้ประเมินภาษี ซึ่งส่วนใหญ่จะปัดราคาสินค้าขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ เช่น ของราคา 2,350 บาท แต่ผู้ประเมินก็จะระบุราคาของชิ้นนั้นที่ 2,500 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีออกมาจากฐานราคาสินค้าที่สูง เม็ดเงินที่ต้องจ่ายก็จะแพงกว่าความเป็นจริง โดยตอนนี้ตวงต้องเสียภาษีศุลกากร 10% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%
“ถ้าสั่งจากเว็บอลาดิน ที่ส่งโดยดีเอชแอล (DHL) ทางดีเอชแอลเขาก็จะประเมินภาษีให้เลย ว่ากล่องนี้ควรจะเท่าไหร่ ดูจากใบจ่าหน้าว่าของชิ้นนั้นคืออะไร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะดูจากขนาดกล่อง เช่น สั่งบั้มฯ มาแค่สองบั้มฯ แต่แถมโปสเตอร์กับกระบอกมา กล่องก็จะยาวใหญ่ เขาก็จะคิดว่าของนั้นแพง ภาษีก็จะเกินไปเลย” ตวงอธิบาย
ตำราเจ็ดหมัดตะวันแดงของแม่ค้าพรีฯ ที่ตัวแทนจำหน่ายกี่ที่ก็สู้ไม่ได้
“โอ๊ย อยากเห็นพี่ดาวไปลงไซน์ค่ะ เอ้า งงไหม เป็นแม่ค้านะ”
ดาวศิริเล่าให้เราฟังว่ามีแฟนคลับบางกลุ่มอยากให้เธอไปเข้ากิจกรรม ‘แฟนไซน์’ หรือกิจกรรมแจกลายเซ็นของศิลปินเกาหลีให้กับแฟนคลับที่ซื้ออัลบั้มจำนวนมาก แต่ตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กิจกรรมที่ว่าก็เปลี่ยนมาเป็นการเข้าวีดีโอคอลแทน ซึ่งหลังจบกิจกรรม แม่ค้าก็สามารถนำอัลบั้มนั้นมาขายต่อในราคาที่ถูกลงกว่าครึ่งได้ เพราะถือว่าเป็นอัลบั้มที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว แม้พลาสติกห่อจะยังไม่ถูกแกะก็ตาม
วงการติ่งเกาหลีมักตั้งเพดานราคาอัลบั้มที่ผ่านการเข้าไซน์ฯ กันเอง โดยมักคิดเป็นครึ่งหนึ่งของราคาเต็ม ไม่รวมภาษีและค่าจัดส่ง ด้วยราคาที่ถูกนี้ ติ่งเกาหลีจึงเลือกที่จะซื้ออัลบั้มไซน์ฯ เป็นส่วนใหญ่ โดยการตั้งเพดานราคานั้นเป็นเรื่องที่คนในวงการพยายามจะทำกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง เนื่องจากคนที่ไปเข้าไซน์ฯ ก็ได้ไปคุยกับศิลปิน แฟนคลับคนอื่นๆ ก็จะมองว่าคนที่ไปเข้าไซน์ฯ ได้ประโยชน์ หรือบางร้านจะใช้วิธีออกเงินเองครึ่งหนึ่ง ใช้เงินของลูกค้าจากการเปิดพรีออเดอร์อีกครึ่ง
แต่ดาวศิริใช้เงินทั้งหมดของเธอในการซื้ออัลบั้มจำนวนมากเพื่อไปเข้ากิจกรรมดังกล่าว ราคาอัลบั้มไซน์ฯ ในร้านเธอจึงไม่ได้ถูกเท่ากับร้านอื่น โดยเธอมองว่าราคาควรเป็นความพึงพอใจระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายมากกว่า และไม่เห็นด้วยกับการบังคับหรือด่าทอร้านที่ไม่ตั้งราคาตามมาตรฐาน
ในทางกลับกัน ร้านเล็กๆ อย่างตวงก็ต้องพยายามตั้งราคาขายของร้านเธอไม่ให้แพงเกินจากราคาอัลบั้มไซน์ฯ เท่าไหร่นัก
“ขายถูกเท่าบั้มไซน์ฯ ไม่ไหวหรอก เจ๊งพอดี” ตวงกล่าวแบบติดตลก
ตวงบอกว่าในปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคมักที่จะหาซื้ออัลบั้มที่เสร็จสิ้นจากกระบวนการเข้าไซน์ฯ มากกว่าการซื้ออัลบั้มตามร้านทั่วไป เพราะราคาถูกและยังได้ของไม่ต่างจากการซื้อในราคาปกติ โดยราคาอัลบั้มประเภทดังกล่าวนั้น ตวงยอมรับว่าปัจจุบันในวงการติ่งเกาหลีใช้วิธีการตั้งเพดานราคาขายกันเองจริงๆ แต่ในบางครั้งก็มีหลายร้านที่เอาอัลบั้มเข้าแฟนไซน์มาขายในราคาปกติ ซึ่งเธอยืนยันว่าส่วนใหญ่ถ้าโดนจับได้จะถูกลูกค้าด่า ในทวิตเตอร์เองก็มีแอคเคาท์ที่ตั้งขึ้นเพื่อสืบหรือตรวจสอบว่าอัลบั้มนั้นๆ ผ่านการเข้าไซน์ฯ มาหรือไม่
ถึงกระนั้น กลยุทธ์การขายอัลบั้มของตวงก็ยังทำให้เธออยู่รอดในสมรภูมิการค้านี้ได้ เธอเปิดใจว่าบางครั้งหากอัลบั้มขายไม่ออก ก็จะใช้วิธีชำแหละอัลบั้มออกมา แล้วขายอัลบั้มนั้นๆ ไปพร้อมการ์ดรูปภาพศิลปินที่ลูกค้าไม่ต้องมานั่งเทียนสุ่มเอง
“อย่างล่าสุดอัลบั้มเอสปา (aespa) ก็แกะบั้ม ออกมาเลย พอบอกลูกค้าว่าร้านเรามีอัลบั้มคู่กับการ์ดวินเทอร์นะ โอ้ย ขายออกอย่างเร็ว” ตวงเล่าด้วยความภูมิใจ
อัลบั้ม SAVAGE ของเอสปา (aespa)
แต่พอถามความเห็นของตวงเกี่ยวกับการ์ด เธอยืนยันทันทีว่าไม่เห็นด้วยกับปรากฎการณ์นี้ โดยให้เหตุผลว่ามันก่อให้เกิดกระบวนการ Mass Production หรือการผลิตเป็นจำนวนมาก คนซื้ออัลบั้มเยอะขึ้นเพราะอยากได้การ์ด ทำให้คุณค่าของตัวอัลบั้มถูกลดทอนลงไป ในขณะที่การ์ดเป็นของที่ถูกให้คุณค่ามากขึ้น ทั้งที่จริงแล้วอัลบั้มและเพลงควรจะเป็นสิ่งที่ถูกให้คุณค่ามากที่สุด
“มีร้านพรีฯ อัลบั้มบางร้านที่เลือกซื้ออัลบั้มจำนวนเยอะๆ แล้วส่งกลับมาแค่การ์ด แล้วทิ้งอัลบั้มไว้ สิ่งที่ศิลปินเขาอยากให้เรามองมากที่สุดควรจะเป็นเพลง ซีดี ที่เขาปล่อยออกมาหรือเปล่า” ตวงให้ความเห็น
มากกว่าการแกะอัลบั้มขาย อีกกลยุทธ์ของตวงก็คือการให้ลูกค้าวางเงินจองอัลบั้มไว้ได้ เหมือนกับร้านของดาวศิริที่เธออนุญาตให้ลูกค้าสามารถขอผ่อนจ่าย ขอเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงิน รวมถึงมีระบบมัดจำ เช่น อัลบั้มราคา 500 บาท แต่ลูกค้ามีเงินเท่าจำนวนค่าของ ถ้าไปกดเองกับอีคอมเมิร์ซ เงินก็จะหายไปทั้งหมด แต่ถ้ามาซื้อกับร้านพรีฯ ที่เพียงแค่มัดจำไว้ก่อนอัลบั้มละ 200 บาท ลูกค้าก็จะสามารถซื้อได้ 2 อัลบั้ม มัดจำ 400 บาท และยังเหลือเงินอีกด้วย
ข้อดีเหล่านี้ที่เป็นจุดแข็งของแม่ค้าหิ้วหรือแม่ค้าพรีออเดอร์ ช่วยดึงดูดให้ติ่งเกาหลีเข้ามาจับจ่ายภายในร้านของพวกเธอ แต่ในขณะเดียวกันข้อดีของการเข้ามาในตลาดอัลบั้มเพลงของอีคอมเมิร์ซคือการการันตีว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าตามกำหนดอย่างแน่นอน ต่างจากการซื้อกับแม่ค้าร้านหิ้วหรือร้านพรีฯ ที่ผู้บริโภคต้องมานั่งลุ้นว่าจะได้ของเมื่อไหร่ ถูกโกงหรือไม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ติ่งเกาหลียังหาทางออกไม่ได้ ไม่แน่ว่าในอนาคตจุดเด่นของอีคอมเมิร์ซข้อนี้อาจจะทำให้ติ่งเกาหลีหันมาจับจ่ายกับผู้ค้ารายใหญ่มากขึ้นหรือไม่
โดนโกงไม่ใช่โดนแกง กระเป๋าตังแห้งแถมไม่ได้ของ ติ่งร้องหมดหวังจับโจร
จากผลสำรวจยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่าง 38% บอกว่าเคยถูกโกงจากร้านค้าออนไลน์ที่รับหิ้วหรือรับพรีออเดอร์ โดย 95.5% บอกว่าคดีไม่คืบหน้าแม้แจ้งตำรวจ ในสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ก็ได้เกิดกรณีการประจานโจรที่ปลอมตัวเป็นแม่ค้า กรณีตัวอย่างคือ #อีแป้งเด็กเวร ที่ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 บนทวิตเตอร์ประเทศไทย จากการรวมตัวกันของผู้เสียหาย พร้อมกับการเปิดสเปซหรือห้องเสียงสนทนา และมีผู้เข้าฟังพร้อมกันร่วม 8 หมื่นคน
“คนโกงมากขึ้นเราจะทำไง เราจะทำไงให้เราผ่านกระแสคนโกงไปได้”
เสียงจากตวง แม่ค้าหิ้วรายเล็กที่เคยคิดจะปิดร้านเพราะคนโกงมีมากขึ้น เนื่องจากตำรวจไม่สามารถตามตัวคนร้ายที่โกงในคดีก่อนหน้าได้ จึงทำให้แนวโน้มคนที่จะโกงเงินมีมากยิ่งขึ้น แล้วตัวร้านของเธอเองก็ได้รับผลกระทบจากความไม่เชื่อใจของผู้ซื้อ ที่หันไปซื้อร้านใหญ่ๆ กันเสียมากกว่า
ร.ต.ท.เสงียม วันเนา ฝ่ายงานสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม ระบุว่าข้อจำกัดของการทำคดีส่วนใหญ่คือระยะเวลา เจ้าหน้าที่จะต้องขอข้อมูลการเปิดบัญชี เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นจากเอกชน ซึ่งจะใช้เวลานานในการตอบกลับ อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้บางทีไม่สามารถติดตามคนร้ายได้
เขายังยอมรับว่าขณะนี้คดีแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมาก ประกอบกับการทำคดีพวกนี้มีความซับซ้อน และคนร้ายมักจะเปลี่ยนวิธีการไปเรื่อยๆ การสนับสนุนข้อมูลเพื่อติดตามคนร้ายยังเป็นอุปสรรคกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจบางนายยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการของคนร้าย ผู้เสียหายเองก็ไม่ยอมแจ้งความเพราะเห็นว่าเกิดความยุ่งยาก หรือความเสียหายน้อย การจับกุมติดตามคนร้ายจึงยังไม่เป็นผลตามเป้าหมาย
ดังนั้นแฟนคลับส่วนใหญ่จึงมักที่จะสอดส่องและบอกต่อเรื่องการโกงเงินกันเองแบบปากต่อปาก ทั้งยังมีการรวบรวมและเปิดเผยชื่อที่ไม่น่าไว้วางใจหรือมีประวัติการโกงไว้เพื่อเตือนภัยผู้ซื้อคนอื่นๆ อีกด้วย
ถ้าโลกนี้ยังมี ติ่งเกาหลีไม่หายไป เค-ป๊อบมีลมหายใจ เพื่อปรับตัวสู่อนาคต
ในรายงานเรื่อง การส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงจากประเทศเกาหลีใต้ ของมุนฮโยจิน อาจารย์ประจำภาควิชาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซมย็อง ประเทศเกาหลีใต้ ชี้ให้ในเห็นว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ร่วม 4.5 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่ารวม 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 325 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 6 รองจากฮ่องกง
ตัวเลขดังกล่าวชี้ว่าประเทศไทยยังมีความหลงไหลในคลื่นฮันรยูอย่างต่อเนื่อง และจะยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตามรายงาน Global Hallyu Trends ของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างชาติ (KOFICE) ที่ระบุว่าตั้งแต่ปี 2556-2561 ประเทศไทยมีการรับรู้และรับเอาวัฒนธรรมเกาหลีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และยิ่งเพิ่มขึ้นหลังนโยบายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy-NSP) ของประธานาธิบดีมุนแจอิน
ในขณะที่ปรุง ผู้เชี่ยวชาญในตลาดเพลงเค-ป๊อบเห็นว่าปัจจุบันสภาพตลาดโดยรวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การที่แอปพลิเคชันฟังเพลงอย่างสปอติฟาย (Spotify) หรือแอปเปิลมิวสิค (Apple Music) มีหมวดหมู่เพลงประเภทเค-ป๊อบแยกออกมานั้น สะท้อนให้เห็นการบริโภคแนวเพลงดังกล่าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตบริษัทเพลงเกาหลียังได้วางแผนที่จะขยายความสามารถในการทำธุรกิจอีกด้วย เช่น ทรัพย์สินดิจิทัล หรือ NFTs เป็นต้น
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไฮบ์ (HYBE) ธุรกิจบันเทิงชั้นนำของเกาหลีใต้ ต้นสังกัดของบีทีเอส วงบอยแบนด์แถวหน้าของโลก ที่ประกาศแผนการเข้าซื้อหุ้นในกิจการแพลตฟอร์มการซื้อขายเงินในสกุลดิจิทัลของเกาหลีใต้ พร้อมเดินหน้าพัฒนาช่องทางการซื้อขาย NFTs เพื่อจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของศิลปินในรูปแบบดิจิทัลต่อไป
โปสเตอร์คอนเสิร์ต BTS WORLD TOUR ‘LOVE YOURSELF’ BANGKOK ของวงบีทีเอส (BTS) เมื่อปี 2562 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน
“มันอยู่กับเรามาเกือบทั้งชีวิตแล้ว ตอนนี้ก็อายุสามสิบกว่า เกาหลีเป็นแนวดนตรีนึงที่อยู่ในสายเลือด หลังๆ ก็มีวงใหม่ๆ ที่ถูกจริตเรา ก็คงจะตามเจน 4 5 6 ก็คงไม่เลิก เลิกยากของแบบนี้”
ประโยคที่แพทบอกก่อนจะจบการให้สัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่าเค-ป๊อบที่เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่อยู่คู่แฟนคลับชาวไทยมาเป็นระยะเวลานาน แม้สภาพของการซื้อการขาย ช่องทางจะเปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งปัญหาจะมากมายแค่ไหน แต่การบริโภคยังคงมีอยู่ตลอดไม่เปลี่ยนแปลง ราวกับสสารของน้ำที่ไม่หายไปจากโลกนี้
–
อ้างอิง
Korea Tourism Organization (KTO). 2019. Monthly Statistics. Seoul: Korea Tourism Organization Press.
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2013. The 3rd Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2014. The 4th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2015. The 5th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2016. The 6th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2017. The 7th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2018. The 8th Global Hallyu Trends
Semyung University. 2018. A Study on Export, Exchange and Cooperation for Broadcasting Contents between Korea and Thailand
Like this: Like Loading...
เรื่อง : ณันทรัฐ มาจุฬา
เชื่อหรือไม่ว่า หากนำอัลบั้ม ‘MAP OF THE SOUL: 7’ ของบีทีเอส (BTS) มาเรียงต่อกัน เราจะได้ถนนหนึ่งเส้นความยาว 112 กิโลเมตร จากหลักกิโลฯ ที่ 0 ใจกลางกรุงเทพฯ ไปถึงอุทยานมังกรสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ยอดขายอัลบั้มที่มากกว่า 4.8 ล้านแผ่นทั่วโลก ทำให้บีทีเอสถูกบันทึกไว้ว่าเป็นวงบอยกรุ๊ปที่มียอดขายสูงที่สุดในโลกปี 2563 ซึ่งสถิติดังกล่าวจัดเก็บโดยสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (IFPI) และเปิดเผยผ่านรายงานตลาดเพลงทั่วโลก ประจำปี 2564 รายงานข้างต้นยังบอกอีกว่าตลาดเพลงเค-ป๊อบเติบโตกว่า 44.8% และนับว่าเป็นตลาดเพลงที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ในขณะที่รายงานของสตาติสตา ระบุว่าคนไทยนิยมเค-ป๊อบสูงถึง 45.6% ในปี 2561 แสดงให้เห็นถึงคลื่นฮันรยู (Hallyu Wave) ที่ซัดเข้ามาในประเทศไทย และยังแผ่อิทธิพลอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายยุค 2000
ทว่าปัจจุบัน ช่องทางการซื้ออัลบั้มเพลงเค-ป๊อบที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภคชาวไทยคือการ “หิ้ว” และการ “พรีออเดอร์” ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าแบบฝากกันผ่านบุคคลที่ตั้งตนเป็นแม่ค้า ขณะที่การซื้ออัลบั้มเพลงผ่านร้านค้าในห้าง ร้านขายซีดี หรือตัวแทนจัดจำหน่ายในประเทศไทยกลับลดลง แม้ว่าร้านค้าเหล่านี้จะยังคงดำเนินกิจการอยู่ แต่ผู้บริโภคก็เลือกที่จะไม่ใช้บริการเหมือนร้านทาวเวอร์ เรคคอร์ดส์ (TOWER RECORDS) และเอชเอ็มวี (HMV) ในประเทศญี่ปุ่น หรือในสหรัฐอเมริกาที่มีโซนขายซีดีในห้างทาร์เก็ต (TARGET) โดยผู้บริโภคสามารถเข้าไปเลือกซื้ออัลบั้มเพลงเกาหลีได้ทันที
ศรุต เตชะศิริไพบูลย์ หรือ โมสต์ นักศึกษาวัย 18 ปี แฟนคลับวงไอซ์วัน (IZ*ONE) เปิดเผยว่าที่เลือกซื้ออัลบั้มกับแม่ค้าร้านหิ้วหรือร้านพรีออเดอร์เพราะสามารถเลือกการ์ดรูปภาพศิลปินได้ ร้านค้าจะแกะพัสดุและเลือกการ์ดรูปภาพสมาชิกในวงที่ลูกค้าชื่นชอบให้เลย ไม่ต้องเสี่ยงดวงมาลุ้นเอาเอง หรือในบางทีโมสต์ก็เลือกที่จะฝากเพื่อนที่เป็นแฟนคลับด้วยกันสั่งซื้อจากประเทศเกาหลีใต้
เช่นกันกับณัฐณิชา ตั้งธีระสุนันท์ หรือ แบม นักศึกษาวัย 22 ปี เธอบอกว่าชอบที่จะสั่งซื้ออัลบั้มด้วยตนเองจากประเทศเกาหลีใต้โดยตรงมากกว่า แต่ถ้าไม่มีเพื่อนมาช่วยหารค่าส่ง เธอก็เลือกที่จะใช้บริการแม่ค้าร้านหิ้วเป็นหลัก
ส่องกำลังซื้อติ่ง จริงไหมที่ใครๆ ก็บอกติ่งรวย
ผลสำรวจความคิดเห็นเรื่องการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเค-ป๊อบ จากกลุ่มตัวอย่างแฟนเพลงจำนวน 305 คน พบว่า 74.8% มักซื้ออัลบั้มหรือสินค้าอื่นๆ จากประเทศเกาหลีใต้ผ่านแม่ค้าร้านหิ้ว ในขณะที่ 17.4% จะซื้อสินค้าด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสัญชาติเกาหลี อาทิ จีมาร์เก็ต (Gmarket) หรือเคทาวน์โฟร์ยู (Ktown4U) เป็นต้น โดยมีเพียง 6.6% เท่านั้นที่ซื้อสินค้าผ่านร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศ และอีก 1.3% ที่ยังคงซื้อจากร้านค้าทั่วไปที่เปิดมานานอย่างกิ๊ฟต์แชแนล เค-ป๊อบ ช็อบ (Giftchannel K-pop Shop) ในย่านสยามสแควร์ที่อยู่คู่แฟนเพลงมานานร่วม 15 ปี หรือบูมเมอแรง (Boomerang) ร้านขายซีดีชื่อดัง
ระหว่างวันที่ 16-30 ตุลาคม 2564
ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างแฟนเพลงกว่าสองในสาม หรือ 68.8% ใช้จ่ายเงินไปกับอัลบั้มเพลงและผลิตภัณฑ์เค-ป๊อบปีละ 1,000-10,000 บาท ขณะที่อีก 20.7% ใช้จ่ายเกินปีละหมื่นบาท โดยมีเพียง 10.5% เท่านั้นที่ใช้จ่ายปีละต่ำกว่า 1,000 บาท สอดคล้องกับผลสำรวจที่ระบุว่าติ่งเกาหลีส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอุดมศึกษาและ First Jobber ซึ่งสะท้อนให้เห็นกำลังซื้อ ในขณะที่ราคาอัลบั้มส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง 300-1,400 บาท ส่วนค่าจัดส่งของเว็บไซต์เคทาวน์โฟร์ยูถูกคำนวนไว้สูงกว่า 1,000 บาท แม้ยอดการสั่งซื้อจากประเทศเกาหลีจะมีเพียงแค่ 1 ชิ้นเท่านั้น
ถึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการจ่ายเงิน แต่ก็ยังต้องมีการชำระภาษีศุลกากรเพิ่มอีกหากมีการสุ่มตรวจเจอเมื่อของถึงประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ ผู้ซื้อส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเข้าหาแม่ค้าหิ้วหรือพรีออเดอร์ เพราะแม่ค้าต้องรับความเสี่ยงเรื่องการชำระค่าภาษีเอง ทั้งยังเป็นเป็นการหารกันจ่ายค่าส่ง ยิ่งร้านไหนมีลูกค้าเยอะ จำนวนคนที่เข้ามาหารค่าส่งและภาษีก็จะมีมากขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือราคาอัลบั้มถูกลงอีกจนอยู่ในหลักสิบบาท
ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างแฟนเพลงยังพบอีกว่า ติ่งเกาหลี 55.7% เสียเงินไปกับการซื้อการ์ดรูปภาพที่แถมมากับอัลบั้ม โดย 72.9% ซื้อการ์ดราคาใบละ 100-300 บาท ตามมาด้วย 16.5% ซื้อการ์ดในช่วงราคา 300-600 บาท อีก 5.3% ซื้อการ์ดราคาต่ำกว่า 100 บาท 3.5% ซื้อการ์ดแพงกว่าพันบาท 1.2% ซื้อการ์ดราคา 600-800 บาท และ 0.6% ซื้อการ์ดที่ราคาใบละ 800-1,000 บาท จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการ์ดรูปภาพที่แถมมากับอัลบั้มนั้นมีราคาขายเฉลี่ยเกือบเท่าราคาอัลบั้ม 1 ชิ้นหรือมากกว่า
‘การ์ด’ ที่ระลึกทางใจแต่ไม่สบายกระเป๋า
ธันย์ชนก ศิริชัยนฤมิตร หรือ ว่าน บอกว่าเธอเคยซื้อการ์ดที่เป็นของแถมจากอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบ โดยราคาที่ซื้อส่วนใหญ่มักอยู่ที่ 200-300 บาท แม้บางครั้งจะมีเกินงบประมาณที่ตั้งใจไว้บ้าง แต่ก็ไม่บ่อยนัก
หนึ่งในความสำเร็จของยอดขายอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบ คือการตลาดที่เน้นเพิ่มของแถมมากกว่าการจัดส่งซีดีเปล่าๆ ไปให้แฟนเพลง ‘การ์ด’ หรือรูปภาพศิลปินขนาดประมาณนามบัตร เป็นของแถมที่ดึงดูดใจให้ติ่งเกาหลีเลือกที่จะซื้ออัลบั้มจำนวนมากเพื่อให้ได้รูปภาพของสมาชิกในวงที่ตนชื่นชอบ ยิ่งวงที่มีสมาชิกมาก อัตราการสุ่มได้ดั่งหวังก็ยิ่งต่ำ จนสุดท้ายการขายการ์ดก็เป็นหนี่งในช่องทางทำเงินของแม่ค้าร้านหิ้ว
ภาพ : ธันย์ชนก ศิริชัยนฤมิตร
จากการสำรวจทางออนไลน์ พบว่าเอ็นซีที 2020 (NCT2020) เป็นวงอันดับต้นๆ ที่แฟนคลับจัดให้เป็นวงที่มีเรตราคาขายการ์ดแพงที่สุด โดยอัลบั้ม Resonance Pt.1 เวอร์ชั่น Yearbook การ์ดรูปภาพของแจฮยอน 1 ใน 23 สมาชิกของวงมีราคาขายสูงสุดที่ 50,000 บาท เนื่องจากมีเพียง 50 ใบในโลก
ว่านเรียกตัวเองว่าเป็นอโลฮ่า (Aloha) ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มแฟนคลับของวงอาสโทร (ASTRO) เธอให้เหตุผลเพิ่มเติมว่าที่เลือกซื้อการ์ดเพราะไม่อยากเก็บอัลบั้มไว้กับตัวเป็นจำนวนเยอะๆ เพราะบางทีก็สุ่มเจอการ์ดที่ตนอยากได้บ้างไม่อยากได้บ้าง เลยเลือกที่จะซื้อการ์ดแยกต่างหาก แล้วซื้ออัลบั้มเพียง 1 ชิ้น ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่เก็บอัลบั้มในบ้าน
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ของสะสมทางใจอย่างเช่นการ์ดจะมีราคาขายต่อที่สูง เพราะอุตสาหกรรมเค-ป๊อบมักจะนำเสนอความใกล้ชิดและภาพลักษณ์ที่ดึงดูดแฟนเพลงได้แม้เห็นเพียงครั้งเดียว ว่านเองก็เป็นเช่นนั้น เธอเปิดเผยว่าที่เข้ามาเป็นแฟนคลับวงอาสโทรก็เพราะได้ดูซีรีส์เรื่อง Rookie Historian Goo Hae Ryung แล้วบังเอิญสะดุดตากับอึนอู นักแสดงนำของเรื่อง ซึ่งหลังจากสืบค้นว่านก็พบว่าเขาเป็นสมาชิกวงอาสโทร และได้ติดตามเรื่อยมา
พจนานุกรมติ่ง
การ์ด หมายถึง รูปภาพเซลฟ์ฟี่ของศิลปินขนาดเท่านามบัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในของแถมที่มาพร้อมกับอัลบั้มเพลงเกาหลี มักมาในรูปแบบสุ่ม
‘รักแรกพบ’ ยาเสพติดทางสายตา ที่พาคนธรรมดามาเป็น ‘ติ่ง’
“บังเอิญตอนนั้นปิดเทอมก็เปิดทีวีไปเรื่อยเปื่อยสมัยนั้นเคเบิลทีวียูบีซี (UBC) ก็เปิดช่อง 48 แชแนลวีไทยแลนด์ (Channel V Thailand) ช่อง 49 เอ็มทีวี (MTV) ฟังเพลงดูเอ็มวี แล้วบังเอิญเจอเอสอีเอส (S.E.S) เพลงแบบแบ๊วใส น่ารักมาก เอ็มวีก็สวย สาวๆ ทั้งสามแบบ OMG Fairytale มาก คือแบบ Love at First Sight ก็เลยหลงรักไปโดยปริยาย วีเจเขาก็จะพูดว่าอัลบั้มมีขายที่นี่ๆ นะ”
คำบอกเล่าที่เปรียบเสมือนรักแรกพบของกิรพัฒน์ ศิริพงษ์ หรือ แพท แฟนคลับเค-ป๊อบผู้คร่ำหวอดมานานกว่า 20 ปี เขาเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของการเริ่มเป็นติ่ง ในยุคที่เพลงเกาหลีเป็นเพียงหน่วยย่อยเล็กๆ ของเพลงเอเชียน
แพทเป็นแฟนคลับตัวยงของโบอา (BoA) ศิลปินสาวมากความสามารถที่เปิดตัวในปี 2543 แต่ศิลปินแดนกิมจิที่ทำให้เขาเป็นติ่งเต็มตัวคือเอสอีเอส (S.E.S) แล้วหลังจากนั้นเขาก็ติดตามวงการเพลงเกาหลีเรื่อยมา แพทบอกกับเราว่า ในอดีตแฟนๆ ส่วนใหญ่จะต้องไปซื้ออัลบั้มกันที่ร้านขายซีดีตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ อาทิ ร้านวาเลนไทน์ หรือร้านทาวเวอร์ เรคคอร์ดส์ ที่สยามและมาบุญครอง โดยราคาอยู่ที่ 500 บาทขึ้นไป อีกทั้งแพคเกจก็ยังเป็นเพียงตลับพลาสติกบรรจุแผ่นซีดีข้างในธรรมดาๆ ในร้านก็จะไม่ได้แบ่งเป็นโซนเค-ป๊อบหรือเจ-ป๊อบ แต่จะอยู่รวมกันเป็นโซนเอเชีย
เขาสรุปให้ฟังว่าการติ่งปัจจุบันนี้ง่ายขึ้นมาก โลกอินเทอร์เน็ตทำให้แฟนคลับเลือกเสพผลงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการซัพพอร์ตอย่างเป็นรูปธรรมผ่านบ้านเบส ทำให้รู้ความเคลื่อนไหวของศิลปินได้ง่ายขึ้น และยังทำให้แฟนคลับรวมกลุ่มกันได้ง่าย มีสังคมที่ใหญ่และใกล้ชิดกัน
“อาจะเป็นความรู้สึกที่เข้าถึงง่ายมากกว่า สมัยก่อนก็ต้องเห็นผ่านนิตยสารหรือผ่านทีวี ตามซีดี แต่สมัยนี้ศิลปินเองสามารถเล่นโซเชียลเองได้ อัพฯ ไอจี อัพฯ รูป แฟนๆ ก็สามารถเข้าไปดู ไปกดไลก์ ไปคอมเม้นต์ได้ หรือว่ามีทวิตฯ หรืออะไรที่ศิลปินมาอัพฯ เอาใจแฟนๆ มีไลฟ์ไอจีอะไรแบบนี้ ทักทายมันก็รู้สึกเข้าถึงง่าย แล้วก็แบบรักขึ้นไหม ก็รักขึ้น เพราะก็เหมือนว่าเขาแฟนเซอร์วิสนะ ยังคิดถึง ยังอยากจะออกมาทักทายแฟนๆ ก็ดูน่ารักดี” แพทสรุป
ภาพ : กิรพัฒน์ ศิริพงษ์
พจนานุกรมติ่ง
บ้านเบส หมายถึง บัญชีโซเชียลของแฟนคลับที่เป็นตัวแทนในการอัพเดตข่าวสาร หรือรวบรวมเงินบริจาคทำโปรเจ็กต์ต่างๆ
เมื่อตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ กลายร่างเป็นแม่ค้าพรีฯ แบบไหนดีกับติ่งมากกว่ากัน?
ย้อนกลับไปในอดีต การจัดจำหน่ายอัลบั้มเพลงจากแดนโสมขาวส่วนใหญ่ถูกนำเข้าโดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อินเตอร์แนชชันแนล จำกัด (GMM GRAMMY International) บริษัทลูกของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GMM GRAMMY) ค่ายเพลงแถวหน้าของไทย หลายๆ อัลบั้มที่แพทซื้อในอดีตก็ถูกจัดจำหน่ายโดยตัวแทนรายนี้
แต่ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา แผ่นผีและการดาวน์โหลดเอ็มพีสาม (MP3) ระบาดหนักทั่วเอเชีย ส่งผลให้การซื้ออัลบั้มลิขสิทธิ์ซบเซาลงอย่างมาก ปัญหาดังกล่าวก็กระทบอุตสาหกรรมเพลงในประเทศเกาหลีใต้เช่นเดียวกัน ทำให้ในปี 2552 รัฐบาลของอีมย็องบัก ประธานาธิบดีในขณะนั้นต้องจัดสรรงบประมาณราว 3 พันล้านบาทเพื่ออุดหนุนไม่ให้ตลาดเพลงประสบสภาวะสุญญากาศ
ในช่วงเวลาเดียวกันที่ประเทศไทย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เองก็มีการปล่อยแคมเปญรณรงค์การต่อต้านแผ่นผีซีดีเถื่อน ผ่านการแจกใบปลิวและนำศิลปินชาวไทยเดินพบปะประชาชนตามท้องถนนในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามปัจจัยทั้งจากพฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการซื้อที่เปลี่ยนไป จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อินเตอร์แนชชันแนล จึงค่อยๆ ลดบทบาทการนำเข้าอัลบั้มเพลง และยุติกิจการไปในที่สุด
แต่ใช่ว่าผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดจะหายไปจนเหลือแค่แม่ค้าหิ้วหรือแม่ค้าพรีออเดอร์ จียอน (นามสมมติ) พนักงานในบริษัทอีคอมเมิร์ซรายหนึ่งเล่าว่า ความคิดที่บริษัทแอปฯ ท่าขายของออนไลน์จะทำร้านขายอัลบั้มเพลงบนแพลตฟอร์มของตนเองนั้นมีมานานราว 3-4 ปีแล้ว โดยบริษัทเพลงในเกาหลีใต้ก็พยายามหาช่องทางในตลาดต่างประเทศอย่างประเทศไทยมาตลอด แต่ขาดเพียงตัวแทนดำเนินการ โดยการติดต่อประสานงานเพื่อนำเข้าอัลบั้มก็จะมีทั้งการติดต่อกับค่ายเพลงโดยตรงและติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้
แม้จะบริษัทยักษ์ใหญ่จะลงมาเล่นในตลาดอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบ แต่จียอนให้ความเห็นว่าการเข้ามาร่วมแข่งขันของอีคอมเมิร์ซ มีจุดประสงค์ที่ต่างออกไปจากแค่ต้องการกำไร เนื่องจาก Marketing Activation หรือการตลาดเพื่อเปิดตัว คือจุดมุ่งหมายหลักของการดำเนินกิจการนี้ ทั้งยังบอกว่าร้านค้าหิ้วยังมีความยืดหยุ่นมากกว่าในด้านการซื้อการขาย รวมไปถึงการดันยอดอัลบั้มในสัปดาห์แรกเพื่อส่งให้ศิลปินเข้าชิงรางวัลในรายการจัดลำดับชาร์ตเพลงประจำสัปดาห์ ทั้งนี้เธอยังได้ระบุว่าในอนาคตมีอีคอมเมิร์ซอีกหลายเจ้าที่กำลังจะเข้าร่วมตลาดอัลบั้มเพลงเค-ป๊อบด้วย เนื่องจากเล็งเห็นสภาพตลาดที่เป็นไปได้
“ถ้าถามถึงยอดขาย ก็อาจะสู้ได้ไม่ได้ในบางเคส ด้วยความว่าเราสั่งจากผู้ผลิตโดยตรง มันก็จะต่างจากที่ร้านพรีฯ กดเว็บเอง ซึ่งการที่ร้านพรีฯ กดเว็บเองคือเขาก็จะกดได้เรื่อยๆ จนกว่าอัลบั้มจะปล่อย แต่ในขณะที่เราทำธุรกิจกับทางเกาหลีโดยตรง เขาก็จะมีสโคปเวลาในการเปิดพรีออร์เดอร์ ซึ่งค่อนข้างสั้น ว่าเวลาเท่านี้ถึงเวลาเท่านี้ บางที 3 วัน” จียอน กล่าว
อย่างไรก็ดี ทัชระ ล่องประเสริฐ หรือ ปรุง ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเพลงและอุตสาหกรรมบันเทิงที่คลุกคลีในวงการเค-ป๊อบมากว่า 8 ปี ได้เสริมให้เห็นข้อจำกัดของการนำเข้าอัลบั้มในฐานะตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ว่าผู้ผลิตมีความต้องการที่จะกระจายสินค้าให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าการลงมาจำหน่ายแบบปลีกโดยตรงในประเทศต่างๆ ยังต้องคำนึงถึงขีดความสามารถด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือ Partnership เพื่อให้คุณภาพการบริการเป็นไปอย่างราบรื่น โดยผู้บริโภคมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการเลือกซื้ออัลบั้มที่ราคาถูกและมีคุณภาพดีที่สุดจากผู้ขายที่ตนพึงพอใจ
ภาพ : ทัชระ ล่องประเสริฐ
ทว่าในประเทศไทยปัญหาเรื่องนโยบายของภาครัฐเป็นปัญหาสำคัญที่ยังทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจที่จะเข้ามาทำตลาด แม้ปริมาณการซื้อขายในหน่วยย่อยจะมีจำนวนมากก็ตาม โดยปรุงอธิบายให้เห็นภาพว่าภูมิทัศน์ทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อวงการเค-ป๊อบเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ในประเทศจีน นโยบายการกำกับดูแลควบคุมปริมาณการซื้ออัลบั้มที่เพิ่งกำหนดใช้เมื่อช่วงกันยายนที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในตัวอย่างของนโยบายรัฐที่กระทบต่อภาคการส่งออกของอุตสาหกรรมเค-ป๊อบเช่นเดียวกัน ซึ่งกฎเหล็กดังกล่าวจำกัดการเข้าถึงและปริมาณการซื้อของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ปริมาณการจัดจำหน่ายอัลบั้มเพลงจากเกาหลีใต้ชะลอตัวลง
พจนานุกรมติ่ง
รายการจัดลำดับชาร์ตเพลงประจำสัปดาห์ หมายถึง รายการแสดงดนตรีประจำสัปดาห์บนสถานีโทรทัศน์เกาหลีใต้ ออกอากาศสด 6 วัน 6 สถานีฯ ต่อสัปดาห์ โดยมีการจัดลำดับชาร์ตเพลงพร้อมให้ถ้วยรางวัลผู้ที่ชนะรางวัลที่ 1 ซึ่งคะแนนจะคิดจากยอดขายอัลบั้ม ยอดฟังเพลงในแอปพลิเคชันสตรีมมิ่ง คะแนนโหวตขณะถ่ายทอดสด เป็นต้น
กรรมก็เหมือน ‘ภาษี’ ไม่มีใครหนีได้
ความในใจที่ไม่รู้ว่าวีนไหมของดาวศิริ หรือ ดาว แม่ค้าพรีออเดอร์รายใหญ่ที่ปักหลักขายอัลบั้มบนทวิตเตอร์มานานกว่า 4 ปี เธอเล่าว่าหนึ่งในปัญหาของการทำร้านค้าหิ้วคือความไม่แน่นอนในการคำนวนราคาภาษีอากรขาเข้า โดยในช่วงที่เธอเริ่มทำการค้าขายในปี 2561 สินค้านำเข้าประเภทอัลบั้มที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาทบางชิ้นจะไม่ถูกเก็บภาษี แต่เมื่อเดือนมีนาคม 2564 พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ชี้แจงว่าหากจะมีการนำเข้าสินค้าประเภทอัลบั้มหรือโฟโต้บุ๊คจากประเทศเกาหลีใต้ในราคาเกินกว่า 1,500 บาท ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการชำระค่าภาษีอากรขาเข้า 10% รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT อีก 7 เปอร์เซ็นต์ รวมเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มาตรการตรวจจับการนำเข้าของกรมศุลกากรเข้มงวดยิ่งขึ้น
“โดยส่วนใหญ่เขาจะประเมินเกินค่ะน้องสาวชาวเน็ต อย่างเช่นเราไปดีลหลังบ้านได้ส่วนลดจากเกาหลีมา แล้วขายราคาถูก แต่มาเจอภาษีที่แพงทีเดียว มันก็จบเลยนะ มีหลายรอบเลยที่ขาดทุน อย่างตอนนั้นขายอัลบั้ม ก็คำนวนไว้ว่าภาษี 10% บวกอีก 7% แต่พอของถึงไทยจริงๆ อะ มันเกินที่เราคำนวณไว้ไปเป็นหมื่นสองหมื่น ก็คือทำไรไม่ได้ ถ้าแย้งก็ต้องรอนาน ของไม่ออก ลูกค้าก็รอ” ดาวเผย
ด้วยเหตุนี้ดาวจึงต้องชำระค่าภาษีอากรปีละมากกว่าหนึ่งล้านบาท เพราะปริมาณการสั่งซื้อในร้านของเธอมีมาก ยอดขายหลังหักต้นทุนก็อยู่ที่ราว 6-7 หมื่นบาท โดยเธอยืนยันว่าเต็มใจที่จะชำระเงินในส่วนดังกล่าว แต่เพียงต้องการความแน่นอนในการประเมินราคาสินค้า อาทิ การประเมินราคาตามพัสดุจริงหน้ากล่อง ไม่ใช่การประเมินราคาสินค้าเกินไว้ก่อน เพราะเมื่อสินค้าถูกตีค่าว่าแพงกว่าความเป็นจริง ราคาภาษีก็จะเพิ่มขึ้นด้วย อย่างอัลบั้มล็อตล่าสุดยอดรวมกว่าหนึ่งล้านบาทที่ดาวสั่งเข้ามา ก็ยังคงค้างในโกดังเพราะมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ดาวศิริตั้งข้อสังเกตว่าที่สินค้าของเธอยังคงค้างอยู่เพราะช่วงประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคมจะเป็นช่วงเปลี่ยนตำแหน่งในกรมฯ ซึ่งการนำเข้าของจะเกิดปัญหาขึ้นได้ง่าย
ดาวศิริมีวิธีลดต้นทุนด้วยการให้ลูกค้าเลือกว่าจะส่งสินค้าจากเกาหลีใต้ผ่านช่องทางเรือ หรือเครื่องบิน เนื่องจากการขนส่งโดยเรือจะถูกกว่าขนส่งทางอากาศ แต่จะต้องรอสินค้านานกว่า เธอยังบอกอีกว่าถ้านำเข้าเสื้อผ้า ภาษีก็จะแพงกว่าอัลบั้ม ในอัตราภาษีอากรขาเข้า 30% บวกกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% รวมเป็น 37%
“ตอนนี้ภัยที่กลัวไม่ใช่นายทุน แต่กลัวว่าทวิตเตอร์จะล่มสลายจ้า” ดาวศิริบ่น
ปัจจุบันดาวศิริได้หาช่องทางอื่นในการค้าขายเพิ่มเติม เช่น ติ๊กตอก (TikTok) เพราะเธอคิดว่าอีกไม่นานทวิตเตอร์อาจไม่ใช่ช่องทางหลักของติ่งเกาหลีอีกต่อไป เพราะพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ พร้อมยืนยันอย่างหนักแน่นว่าไม่กลัวการเข้ามาของนายทุน เพราะร้านพรีฯ ยังมีข้อดีในเรื่องของการให้ความรู้สึกเหมือนซื้อกับเพื่อน และที่สำคัญคือการได้ดันยอดขายให้ศิลปินในสัปดาห์แรก ซึ่งจะเป็นคะแนนเข้าชิงรางวัลในรายการจัดลำดับชาร์ตเพลงประจำสัปดาห์
ขณะที่ผู้ค้ารายใหญ่ที่ปักหลักมานานอาจจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของกลไกตลาดและภาษีได้ แต่สำหรับรายเล็กที่เพิ่งเข้าวงการ ความท้าทายเหล่านี้อาจไม่ใช่เรื่องง่าย นภสร บุญพิทักษ์ หรือ ตวง แม่ค้าอัลบั้มพรีออเดอร์ที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่ถึง 7 เดือน แม้จะเปิดร้านได้ไม่นานแต่รายได้ของเธอก็อยู่ที่ประมาณเดือนละ 5,000 -10,000 บาท แต่ถ้าช่วงไหนที่ไม่มีศิลปินออกอัลบั้มใหม่ ก็จะไม่มีรายได้เพราะไม่ได้เปิดพรีออเดอร์ โดยเหตุผลที่ตวงเข้ามาทำกิจการเล็กๆ นี้ คือเริ่มต้นจากการที่เธอชอบที่จะซื้ออัลบั้มด้วยตนเองมากกว่า
ถึงรายได้หลังหักต้นทุนต่างๆ ไปแล้วจะดี แต่ตวงเปิดใจอย่างตรงไปตรงมาว่าเธอไม่คิดว่าจะทำอาชีพนี้ต่อหลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะรู้สึกว่ารายได้ไม่มั่นคง ทั้งยังไม่รู้ว่าจะอยู่กับวงการนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ที่สำคัญคือการเข้ามาร่วมเล่นในตลาดของนายทุนอีคอมเมิร์ซ ที่เธอรู้สึกว่าอาจจะสู้ไม่ไหว รวมไปถึงปัญหาเล็กน้อยมากมาย อาทิ การโกงกันในวงการติ่ง
การเข้ามาร่วมตลาดของบริษัทอีคอมเมิร์ซต่างชาติ เธอยอมรับตามตรงว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจของเธอไม่มั่นคง เพราะคนซื้อสามารถซื้อเองจ่ายเองได้แล้ว แม่ค้าแบบเธอก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับติ่งเกาหลีอีกต่อไป แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังพอไปได้อยู่ ด้วยกลไกที่ใช้วิธีกันหารค่าส่ง หารค่าภาษี ตรงนี้เป็นจุดขายที่เธอมองว่ายังเป็นทางรอด
ตวงยังระบุว่าการประเมินภาษีศุลกากรก็เป็นอีกหนึ่งในปัญหาเหมือนกับร้านใหญ่ๆ เช่นเดียวกัน เธอบอกว่าตัวเองสามารถประมาณการณ์ภาษีล่วงหน้าได้ แต่สุดท้ายแล้วมักจะขึ้นอยู่กับเจ้าพนักงานผู้ประเมินภาษี ซึ่งส่วนใหญ่จะปัดราคาสินค้าขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ เช่น ของราคา 2,350 บาท แต่ผู้ประเมินก็จะระบุราคาของชิ้นนั้นที่ 2,500 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีออกมาจากฐานราคาสินค้าที่สูง เม็ดเงินที่ต้องจ่ายก็จะแพงกว่าความเป็นจริง โดยตอนนี้ตวงต้องเสียภาษีศุลกากร 10% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%
“ถ้าสั่งจากเว็บอลาดิน ที่ส่งโดยดีเอชแอล (DHL) ทางดีเอชแอลเขาก็จะประเมินภาษีให้เลย ว่ากล่องนี้ควรจะเท่าไหร่ ดูจากใบจ่าหน้าว่าของชิ้นนั้นคืออะไร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะดูจากขนาดกล่อง เช่น สั่งบั้มฯ มาแค่สองบั้มฯ แต่แถมโปสเตอร์กับกระบอกมา กล่องก็จะยาวใหญ่ เขาก็จะคิดว่าของนั้นแพง ภาษีก็จะเกินไปเลย” ตวงอธิบาย
ตำราเจ็ดหมัดตะวันแดงของแม่ค้าพรีฯ ที่ตัวแทนจำหน่ายกี่ที่ก็สู้ไม่ได้
ดาวศิริเล่าให้เราฟังว่ามีแฟนคลับบางกลุ่มอยากให้เธอไปเข้ากิจกรรม ‘แฟนไซน์’ หรือกิจกรรมแจกลายเซ็นของศิลปินเกาหลีให้กับแฟนคลับที่ซื้ออัลบั้มจำนวนมาก แต่ตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กิจกรรมที่ว่าก็เปลี่ยนมาเป็นการเข้าวีดีโอคอลแทน ซึ่งหลังจบกิจกรรม แม่ค้าก็สามารถนำอัลบั้มนั้นมาขายต่อในราคาที่ถูกลงกว่าครึ่งได้ เพราะถือว่าเป็นอัลบั้มที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว แม้พลาสติกห่อจะยังไม่ถูกแกะก็ตาม
วงการติ่งเกาหลีมักตั้งเพดานราคาอัลบั้มที่ผ่านการเข้าไซน์ฯ กันเอง โดยมักคิดเป็นครึ่งหนึ่งของราคาเต็ม ไม่รวมภาษีและค่าจัดส่ง ด้วยราคาที่ถูกนี้ ติ่งเกาหลีจึงเลือกที่จะซื้ออัลบั้มไซน์ฯ เป็นส่วนใหญ่ โดยการตั้งเพดานราคานั้นเป็นเรื่องที่คนในวงการพยายามจะทำกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง เนื่องจากคนที่ไปเข้าไซน์ฯ ก็ได้ไปคุยกับศิลปิน แฟนคลับคนอื่นๆ ก็จะมองว่าคนที่ไปเข้าไซน์ฯ ได้ประโยชน์ หรือบางร้านจะใช้วิธีออกเงินเองครึ่งหนึ่ง ใช้เงินของลูกค้าจากการเปิดพรีออเดอร์อีกครึ่ง
แต่ดาวศิริใช้เงินทั้งหมดของเธอในการซื้ออัลบั้มจำนวนมากเพื่อไปเข้ากิจกรรมดังกล่าว ราคาอัลบั้มไซน์ฯ ในร้านเธอจึงไม่ได้ถูกเท่ากับร้านอื่น โดยเธอมองว่าราคาควรเป็นความพึงพอใจระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายมากกว่า และไม่เห็นด้วยกับการบังคับหรือด่าทอร้านที่ไม่ตั้งราคาตามมาตรฐาน
ในทางกลับกัน ร้านเล็กๆ อย่างตวงก็ต้องพยายามตั้งราคาขายของร้านเธอไม่ให้แพงเกินจากราคาอัลบั้มไซน์ฯ เท่าไหร่นัก
“ขายถูกเท่าบั้มไซน์ฯ ไม่ไหวหรอก เจ๊งพอดี” ตวงกล่าวแบบติดตลก
ตวงบอกว่าในปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคมักที่จะหาซื้ออัลบั้มที่เสร็จสิ้นจากกระบวนการเข้าไซน์ฯ มากกว่าการซื้ออัลบั้มตามร้านทั่วไป เพราะราคาถูกและยังได้ของไม่ต่างจากการซื้อในราคาปกติ โดยราคาอัลบั้มประเภทดังกล่าวนั้น ตวงยอมรับว่าปัจจุบันในวงการติ่งเกาหลีใช้วิธีการตั้งเพดานราคาขายกันเองจริงๆ แต่ในบางครั้งก็มีหลายร้านที่เอาอัลบั้มเข้าแฟนไซน์มาขายในราคาปกติ ซึ่งเธอยืนยันว่าส่วนใหญ่ถ้าโดนจับได้จะถูกลูกค้าด่า ในทวิตเตอร์เองก็มีแอคเคาท์ที่ตั้งขึ้นเพื่อสืบหรือตรวจสอบว่าอัลบั้มนั้นๆ ผ่านการเข้าไซน์ฯ มาหรือไม่
ถึงกระนั้น กลยุทธ์การขายอัลบั้มของตวงก็ยังทำให้เธออยู่รอดในสมรภูมิการค้านี้ได้ เธอเปิดใจว่าบางครั้งหากอัลบั้มขายไม่ออก ก็จะใช้วิธีชำแหละอัลบั้มออกมา แล้วขายอัลบั้มนั้นๆ ไปพร้อมการ์ดรูปภาพศิลปินที่ลูกค้าไม่ต้องมานั่งเทียนสุ่มเอง
“อย่างล่าสุดอัลบั้มเอสปา (aespa) ก็แกะบั้ม ออกมาเลย พอบอกลูกค้าว่าร้านเรามีอัลบั้มคู่กับการ์ดวินเทอร์นะ โอ้ย ขายออกอย่างเร็ว” ตวงเล่าด้วยความภูมิใจ
แต่พอถามความเห็นของตวงเกี่ยวกับการ์ด เธอยืนยันทันทีว่าไม่เห็นด้วยกับปรากฎการณ์นี้ โดยให้เหตุผลว่ามันก่อให้เกิดกระบวนการ Mass Production หรือการผลิตเป็นจำนวนมาก คนซื้ออัลบั้มเยอะขึ้นเพราะอยากได้การ์ด ทำให้คุณค่าของตัวอัลบั้มถูกลดทอนลงไป ในขณะที่การ์ดเป็นของที่ถูกให้คุณค่ามากขึ้น ทั้งที่จริงแล้วอัลบั้มและเพลงควรจะเป็นสิ่งที่ถูกให้คุณค่ามากที่สุด
“มีร้านพรีฯ อัลบั้มบางร้านที่เลือกซื้ออัลบั้มจำนวนเยอะๆ แล้วส่งกลับมาแค่การ์ด แล้วทิ้งอัลบั้มไว้ สิ่งที่ศิลปินเขาอยากให้เรามองมากที่สุดควรจะเป็นเพลง ซีดี ที่เขาปล่อยออกมาหรือเปล่า” ตวงให้ความเห็น
มากกว่าการแกะอัลบั้มขาย อีกกลยุทธ์ของตวงก็คือการให้ลูกค้าวางเงินจองอัลบั้มไว้ได้ เหมือนกับร้านของดาวศิริที่เธออนุญาตให้ลูกค้าสามารถขอผ่อนจ่าย ขอเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงิน รวมถึงมีระบบมัดจำ เช่น อัลบั้มราคา 500 บาท แต่ลูกค้ามีเงินเท่าจำนวนค่าของ ถ้าไปกดเองกับอีคอมเมิร์ซ เงินก็จะหายไปทั้งหมด แต่ถ้ามาซื้อกับร้านพรีฯ ที่เพียงแค่มัดจำไว้ก่อนอัลบั้มละ 200 บาท ลูกค้าก็จะสามารถซื้อได้ 2 อัลบั้ม มัดจำ 400 บาท และยังเหลือเงินอีกด้วย
ข้อดีเหล่านี้ที่เป็นจุดแข็งของแม่ค้าหิ้วหรือแม่ค้าพรีออเดอร์ ช่วยดึงดูดให้ติ่งเกาหลีเข้ามาจับจ่ายภายในร้านของพวกเธอ แต่ในขณะเดียวกันข้อดีของการเข้ามาในตลาดอัลบั้มเพลงของอีคอมเมิร์ซคือการการันตีว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าตามกำหนดอย่างแน่นอน ต่างจากการซื้อกับแม่ค้าร้านหิ้วหรือร้านพรีฯ ที่ผู้บริโภคต้องมานั่งลุ้นว่าจะได้ของเมื่อไหร่ ถูกโกงหรือไม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ติ่งเกาหลียังหาทางออกไม่ได้ ไม่แน่ว่าในอนาคตจุดเด่นของอีคอมเมิร์ซข้อนี้อาจจะทำให้ติ่งเกาหลีหันมาจับจ่ายกับผู้ค้ารายใหญ่มากขึ้นหรือไม่
โดนโกงไม่ใช่โดนแกง กระเป๋าตังแห้งแถมไม่ได้ของ ติ่งร้องหมดหวังจับโจร
จากผลสำรวจยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่าง 38% บอกว่าเคยถูกโกงจากร้านค้าออนไลน์ที่รับหิ้วหรือรับพรีออเดอร์ โดย 95.5% บอกว่าคดีไม่คืบหน้าแม้แจ้งตำรวจ ในสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ก็ได้เกิดกรณีการประจานโจรที่ปลอมตัวเป็นแม่ค้า กรณีตัวอย่างคือ #อีแป้งเด็กเวร ที่ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 บนทวิตเตอร์ประเทศไทย จากการรวมตัวกันของผู้เสียหาย พร้อมกับการเปิดสเปซหรือห้องเสียงสนทนา และมีผู้เข้าฟังพร้อมกันร่วม 8 หมื่นคน
เสียงจากตวง แม่ค้าหิ้วรายเล็กที่เคยคิดจะปิดร้านเพราะคนโกงมีมากขึ้น เนื่องจากตำรวจไม่สามารถตามตัวคนร้ายที่โกงในคดีก่อนหน้าได้ จึงทำให้แนวโน้มคนที่จะโกงเงินมีมากยิ่งขึ้น แล้วตัวร้านของเธอเองก็ได้รับผลกระทบจากความไม่เชื่อใจของผู้ซื้อ ที่หันไปซื้อร้านใหญ่ๆ กันเสียมากกว่า
ร.ต.ท.เสงียม วันเนา ฝ่ายงานสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม ระบุว่าข้อจำกัดของการทำคดีส่วนใหญ่คือระยะเวลา เจ้าหน้าที่จะต้องขอข้อมูลการเปิดบัญชี เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นจากเอกชน ซึ่งจะใช้เวลานานในการตอบกลับ อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้บางทีไม่สามารถติดตามคนร้ายได้
เขายังยอมรับว่าขณะนี้คดีแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมาก ประกอบกับการทำคดีพวกนี้มีความซับซ้อน และคนร้ายมักจะเปลี่ยนวิธีการไปเรื่อยๆ การสนับสนุนข้อมูลเพื่อติดตามคนร้ายยังเป็นอุปสรรคกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจบางนายยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการของคนร้าย ผู้เสียหายเองก็ไม่ยอมแจ้งความเพราะเห็นว่าเกิดความยุ่งยาก หรือความเสียหายน้อย การจับกุมติดตามคนร้ายจึงยังไม่เป็นผลตามเป้าหมาย
ดังนั้นแฟนคลับส่วนใหญ่จึงมักที่จะสอดส่องและบอกต่อเรื่องการโกงเงินกันเองแบบปากต่อปาก ทั้งยังมีการรวบรวมและเปิดเผยชื่อที่ไม่น่าไว้วางใจหรือมีประวัติการโกงไว้เพื่อเตือนภัยผู้ซื้อคนอื่นๆ อีกด้วย
ถ้าโลกนี้ยังมี ติ่งเกาหลีไม่หายไป เค-ป๊อบมีลมหายใจ เพื่อปรับตัวสู่อนาคต
ในรายงานเรื่อง การส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงจากประเทศเกาหลีใต้ ของมุนฮโยจิน อาจารย์ประจำภาควิชาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซมย็อง ประเทศเกาหลีใต้ ชี้ให้ในเห็นว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ร่วม 4.5 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่ารวม 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 325 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 6 รองจากฮ่องกง
ตัวเลขดังกล่าวชี้ว่าประเทศไทยยังมีความหลงไหลในคลื่นฮันรยูอย่างต่อเนื่อง และจะยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตามรายงาน Global Hallyu Trends ของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างชาติ (KOFICE) ที่ระบุว่าตั้งแต่ปี 2556-2561 ประเทศไทยมีการรับรู้และรับเอาวัฒนธรรมเกาหลีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และยิ่งเพิ่มขึ้นหลังนโยบายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy-NSP) ของประธานาธิบดีมุนแจอิน
ในขณะที่ปรุง ผู้เชี่ยวชาญในตลาดเพลงเค-ป๊อบเห็นว่าปัจจุบันสภาพตลาดโดยรวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การที่แอปพลิเคชันฟังเพลงอย่างสปอติฟาย (Spotify) หรือแอปเปิลมิวสิค (Apple Music) มีหมวดหมู่เพลงประเภทเค-ป๊อบแยกออกมานั้น สะท้อนให้เห็นการบริโภคแนวเพลงดังกล่าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตบริษัทเพลงเกาหลียังได้วางแผนที่จะขยายความสามารถในการทำธุรกิจอีกด้วย เช่น ทรัพย์สินดิจิทัล หรือ NFTs เป็นต้น
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไฮบ์ (HYBE) ธุรกิจบันเทิงชั้นนำของเกาหลีใต้ ต้นสังกัดของบีทีเอส วงบอยแบนด์แถวหน้าของโลก ที่ประกาศแผนการเข้าซื้อหุ้นในกิจการแพลตฟอร์มการซื้อขายเงินในสกุลดิจิทัลของเกาหลีใต้ พร้อมเดินหน้าพัฒนาช่องทางการซื้อขาย NFTs เพื่อจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของศิลปินในรูปแบบดิจิทัลต่อไป
ของวงบีทีเอส (BTS) เมื่อปี 2562 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน
ประโยคที่แพทบอกก่อนจะจบการให้สัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่าเค-ป๊อบที่เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่อยู่คู่แฟนคลับชาวไทยมาเป็นระยะเวลานาน แม้สภาพของการซื้อการขาย ช่องทางจะเปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งปัญหาจะมากมายแค่ไหน แต่การบริโภคยังคงมีอยู่ตลอดไม่เปลี่ยนแปลง ราวกับสสารของน้ำที่ไม่หายไปจากโลกนี้
–
อ้างอิง
Korea Tourism Organization (KTO). 2019. Monthly Statistics. Seoul: Korea Tourism Organization Press.
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2013. The 3rd Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2014. The 4th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2015. The 5th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2016. The 6th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2017. The 7th Global Hallyu Trends
Korean Foundation for International Cultural Exchange (KOFICE). 2018. The 8th Global Hallyu Trends
Semyung University. 2018. A Study on Export, Exchange and Cooperation for Broadcasting Contents between Korea and Thailand
Share this:
Like this: