“ทั้งนี้เรายังยืนยันเสมอว่า งานดูแลประชาชนในส่วนที่เรากำลังทำกันอยู่ตรงนี้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องทำ ไม่ใช่ผลักภาระมาให้ประชาชนต้องดูแลกันเองแบบปัจจุบัน”
ประโยคนี้เป็นข้อความปิดท้ายโพสต์เฟซบุ๊กของกลุ่มคนดูแลกันเอง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 กลุ่มอาสาสมัครกลุ่มนี้เริ่มต้นจากการช่วยเหลือคนงานในแคมป์ก่อสร้างที่โดนสั่งปิดจากคำสั่งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ต่อมายังทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในรูปแบบแพทย์อาสา จัดส่งยาและอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่แยกกักตัวในช่วงที่ระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากได้
อาสาสมัครและจิตอาสาจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเส้นด้าย (Zendai) กลุ่มเราต้องรอด (Up for Thai) กลุ่มคนดูแลกันเอง ขณะเดียวกัน อินฟลูเอนเซอร์บนพื้นที่ออนไลน์ซึ่งมีผู้ติดตามหลักล้าน เช่น หมอแล็บแพนด้า หรือเพจดังอย่าง Drama Addict ก็ออกมาทำหน้าที่ประสานหาเตียงและประคับประคองผู้ป่วยก่อนที่ระบบสาธารณสุขของรัฐจะพร้อมรับช่วงต่อ พวกเขาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่รับภาระงานอาสาอย่างหนักจนกระทั่งวิกฤตนี้เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การดิ้นรนของภาคประชาชนครั้งนี้แสดงให้เราเห็นถึงอะไร อะไรคือหน้าที่ที่แท้จริงของอาสาสมัคร และจะเกิดอะไรเมื่อประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัคร
ภาระของอาสามัครที่เกินกว่างานจิตอาสา
“ตอนนั้นคนไม่พอ มีความเครียดสูงมาก ไม่รู้จะเอายังไงดี” อัญชลี อนันตวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้ก่อตั้งกลุ่มคนดูแลกันเอง กล่าวถึงความยากลำบากในการทำงานอาสาในช่วงหลังการระบาดของโควิดระลอก 4 ที่เธอต้องรับภาระหนักในการจัดส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยโควิด ในช่วงนั้นอาสาสมัครแทบเป็นงานประจำของเธอ โดยเธอต้องกินนอนในตึกของกลุ่มอาสา ตื่นขึ้นมาก็ต้องรีบจัดยาแล้วขับรถนำของไปส่งให้ผู้ป่วยแต่ละบ้านหรือที่แคมป์กักตัวทันที
อาสาสมัครกลุ่มคนดูแลกันเองสวมชุด PPE เข้าช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด
ภาพ: กลุ่มคนดูแลกันเอง
กลุ่มคนดูแลกันเองเริ่มต้นจากการรวมตัวของคนรู้จักผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กในช่วงที่รัฐบาลสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างจนแรงงานในแคมป์ขาดอาหารและสิ่งของจำเป็นในการใช้ชีวิต ขณะนั้นกรุงเทพมหานครมีประมาณ 600 แคมป์ และอีกหลายร้อยในปริมณฑล ในขณะที่อาสาสมัครมีเพียง 20 คน งานหนักจึงตกอยู่กับกลุ่มอาสาที่ต้องทำหน้าที่ทั้งส่งของที่หน้าแคมป์และเก็บข้อมูลของแคมป์ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ต้องพัฒนาระบบจับคู่ผู้บริจาคสิ่งของกับแคมป์ที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อแบ่งเบาภาระของอาสาสมัครให้ได้มากที่สุด
แม้ภายหลังงานด้านการรับบริจาคสิ่งของให้แคมป์คนงานจะลดลงไปมากเนื่องจากได้โปรแกรมเมอร์มาช่วยเขียนโปรแกรมที่ทำให้การจับคู่ผู้บริจาคและแคมป์ ไม่ต้องมีอาสาสมัครมานั่งจัดการที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
แต่งานใหญ่ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม เมื่อเริ่มมีเคสคนงานในแคมป์ที่ติดโควิด และพบว่ามีทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติหลายคนที่ไม่สามารถติดต่อระบบของสปสช. เมื่อตนติดเชื้อได้ ทางกลุ่มจึงต้องรับสมัครบุคลากรทางการแพทย์เพื่อมาช่วยจัดทำระบบ Home Isolation และ Camp Isolation จนกระทั่งระบบสาธารณสุขเริ่มรองรับผู้ป่วยได้ในช่วงกลางเดือนกันยายน
ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ของกลุ่มคนดูแลกันเอง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564
ภาพ: กลุ่มคนดูแลกันเอง
แคมป์คนงานราว 1,000 แห่ง และผู้ป่วยโควิดอีกราว 1,500 คน คือจำนวนผู้ตกหล่นจากการดูแลของรัฐ ที่กลุ่มคนดูกันเองได้มีส่วนช่วยเหลือไปตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
“ทำแรกๆ มีคนบอกไม่สนับสนุนหรอก เดี๋ยวรัฐไม่ได้ทำงาน แต่ตอนนั้นเปรียบเทียบความอยากเอาชนะรัฐ กับคนที่ไม่มีข้าวจะกิน เราไม่สนใจหรอกว่าการเมืองมันคืออะไร เขาแค่อยากมีข้าวกิน เราเลยช่วยให้เขามีข้าวกิน”
อัญชลี อนันตวัฒน์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มคนดูแลกันเอง
อัญชลีกล่าวเพิ่มเติมว่ากลุ่มอาสาของเธอ และกลุ่มอาสาสมัครช่วงโควิดอื่นๆ ได้ทำหน้าที่แทนภาครัฐในการประคับประคองชีวิตของประชาชนด้วยความยากลำบากมาจนถึงจุดที่ระบบสาธารณสุขของประเทศกลับมาให้บริการประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง เธอจึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตกลุ่มอาสาจะไม่ต้องกลับมาทำหน้าที่นี้อีก เพราะไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนตั้งแต่ต้น
เล็กเกินไปที่จะจัดการปัญหาขนาดใหญ่ และใหญ่เกินไปที่จะมองเห็นปัญหาขนาดเล็ก
“การเพิ่มขึ้นของอาสาสมัครในช่วงโควิดสะท้อนความด้อยประสิทธิภาพของรัฐ ความไม่สามารถจัดการเรื่องโรค ในขณะที่อาสาสมัครซึ่งเป็นกลไกปัญหาแบบเล็กรวมตัวกัน จึงสามารถจัดการปัญหาได้เลย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าองค์กรอาสาสมัครจะเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ดูแลสังคมในส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ภาคประชาชนจึงต้องออกมาช่วยจัดการกันเอง
วีรบูรณ์กล่าวว่า อาสาสมัครเป็นกลไกที่เข้ามาช่วยเติมเต็มเมื่อรัฐมีขนาดเล็กไปที่จะจัดการปัญหาขนาดใหญ่ หรือมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะมองเห็นถึงปัญหาขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม กลไกงานของจิตอาสาควรจะเป็นภารกิจระยะสั้นที่เมื่อปัญหาหมดไป การทำงานของอาสาสมัครก็ควรจะจบลง
ทว่าหลายครั้งองค์กรภาคประชาสังคม ประเภทมูลนิธิก็ยังคงทำงานเพื่อสังคมในระยะยาว เช่น มูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง ซึ่งก่อตั้งในปี 2480 และทำหน้าที่เก็บศพคนไร้ญาติและบรรเทาสาธารณภัย หรือมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งก่อตั้งในปี 2534 และมีบทบาทโดดเด่นในการตามหาคนหาย สร้างอาชีพให้กลุ่มชาติพันธุ์ และต่อต้านการค้ามนุษย์
วีรบูรณ์อธิบายว่าเนื่องจากภาครัฐไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่องค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้ดูแลอยู่ได้ องค์กรจึงต้องดำเนินงานต่อไป สาเหตุอาจมาจากการที่รัฐยังขาดความเข้าใจต่อกลุ่มชายขอบต่างๆ เช่น คนไร้บ้าน ที่ตำรวจมักมองว่าวิธีแก้ปัญหาคือการจับคนไร้บ้านไปฝึกอาชีพ ถ้ามีอาชีพก็จะไม่เป็นคนไร้บ้าน แต่กลุ่มอาสาสมัครจะมองว่าคนกลุ่มนี้คือมนุษย์คนหนึ่งที่อยากมีตัวเลือกในชีวิตด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป จึงต้องอาศัยการใช้เวลาทำความเข้าใจปัญหาและแนวทางช่วยเหลือพวกเขา
“รัฐมีกฎเกณฑ์มีมาตรฐานเยอะ การช่วยเหลือใครที่ไม่ได้อยู่ในกฎเกณฑ์เลยช่วยลำบาก ถ้ารัฐจะช่วยเหลือคนพิการก็จะช่วยได้แค่คนที่มีบัตรผู้พิการเท่านั้น”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์จากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ เสริมอีกประเด็นว่า การจัดการของรัฐต้องอาศัยข้อมูลเพื่อนำไปตรวจสอบกับงบประมาณส่วนรวม อีกทั้งยังต้องมีเกณฑ์การประเมินผลการใช้งบผ่านขั้นตอนการทำเรื่องเบิกจ่ายที่ซับซ้อน ส่งผลให้การจัดการของภาครัฐเชื่องช้า ไม่คล่องตัวและยืดหยุ่นเท่ากลุ่มอาสาสมัคร
อาสาสมัครส่วนราชการ เมื่อค่าใช้จ่ายของรัฐลดลงได้ด้วยน้ำใจของประชาชน
นอกจากอาสาสมัครที่มาจากภาคประชาสังคมแล้ว อาสาสมัครส่วนราชการ หรือบุคคลที่อาสาช่วยปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ ตามภารกิจที่ภาครัฐมอบหมายโดยใช้งบประมาณภาครัฐในการดำเนินการ ยังเป็นอาสาสมัครอีกกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในประเทศ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ระบุไว้ในรายงานเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินภารกิจภาครัฐ: การปฏิรูประบบงานอาสาสมัครในภาครัฐ (2560) ว่า จำนวนอาสาสมัครในส่วนราชการต่างๆ มีจำนวนทั้งสิ้น 8,006,330 คน กว่าครึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย เป็นจำนวน 4,912,318 คน
อาสาสมัครส่วนราชการมีภาระงานไม่ต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ได้รับตอบแทนที่น้อยกว่า หรือบ้างก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนเลย เช่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ได้รับตามระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 100-300 บาทต่อวัน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งได้รับค่าตอบแทนรายเดือนละ 1,000 บาท และค่าเสี่ยงภัยในช่วงโควิดอีกเดือนละ 500 บาท
ศรีนวล ภูมิรัตน์ อสม. ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทำหน้าที่ประจำศูนย์ฉีดวัคซีนที่ให้บริการทั้งคนไทย
และแรงงานข้ามชาติที่ยังตกหล่นจากการรับวัคซีน
ภาพ: อสม. จังหวัดเชียงใหม่
“ใส่แมสสองสามชั้น ใส่เฟซชีลด์อีก เวลากินข้าวเที่ยงเขาแจกเป็นกล่องก็เอาใส่หน้ารถ ขี่รถออกไปไกลๆ หน่อยค่อยไปเปิดนั่งกิน มันไม่คุ้มหรอก แต่ใจน่ะแค่อยากจะช่วยคนเท่านั้นเอง”
ศรีนวล ภูมิรัตน์ อสม. ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ศรีนวล ภูมิรัตน์ อสม. ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เล่าถึงความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนที่ยอดผู้ติดเชื้อในจังหวัดเชียงใหม่กลับมาเพิ่มขึ้นที่สุดในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ด้วยจำนวนราว 400 คนต่อวัน ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 รายงานว่าปัจจุบันในจังหวัดมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 26,286 ราย ซึ่งในหมู่บ้านที่ศรีนวลอาศัยก็เริ่มพบผู้ติดเชื้อแล้ว
ศรีนวลกล่าวว่าเธอรับหน้าที่เป็นอสม.มาตั้งแต่ปี 2531 โดยในขณะนั้นอาสาสมัครกลุ่มนี้มีชื่อว่าผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) รับหน้าที่ดูแลและให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่คนในหมู่บ้าน แต่ในสถานการณ์โควิด เธอพบว่าหน้าที่ของอสม.มีความเสี่ยงและมีงานใหม่เพิ่มขึ้น เธอต้องไปประจำอยู่ที่ด่านตรวจรถเข้าเมืองข้างถนนหลวง ช่วยอำนวยความสะดวกให้ศูนย์ฉีดวัคซีนที่มีประชาชนหนาแน่นกว่า 2,000 ราย นำของใช้ไปมอบให้ครอบครัวผู้ป่วย และหลายครั้งก็ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด
อสม.จัดหวัดเชียงใหม่กำลังประจำด่านตรวจรถเข้าเมือง ถนนซูเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง
ภาพ: อสม. จังหวัดเชียงใหม่
“ค่าตอบแทนน่าจะเพิ่มขึ้น เพราะมันไม่คุ้มหรอก เวลาเราไปเราต้องขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปกลับ บางทีมันก็ไกล เราต้องออกค่าน้ำมันเอง คนธรรมดาเขาไม่ไปหรอก เขากลัว แต่เราทำไปเพื่อประชาชน เพื่อประเทศไทยเรา ป้าก็ไม่ได้คิดอะไรมากเพราะเงินที่ได้มันก็ไม่พอใช้เราอยู่แล้ว” ศรีนวลกล่าว
ขีดจำกัดของอาสาสมัคร
ไชยวัฒน์ วรรณโคตร เลขานุการและอนุกรรมาธิการศึกษาสถานการณ์ด้านแรงงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และแรงงานสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎร อธิบายว่างานอาสาสมัครแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. งานอาสาสมัครที่เกิดขึ้นจากความสมัครใจของคนที่อยากทำงานเพื่อสังคมชั่วคราว เช่น อาสาสมัครพาสุนัขไปเดินเล่น ดูแลผู้สูงวัย สอนหนังสือคนตาบอด โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป และ 2. งานอาสาสมัครเข้ามาอุดรอยรั่วเมื่อกลไกของรัฐบกพร่อง เช่น การเกิดสึนามิหรืออุทกภัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐจนทำให้คนหลุดออกระบบการช่วยเหลือ ในสถานการณ์เช่นนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาสาสมัครเข้ามาดูแลเฉพาะหน้า แต่อาสาสมัครกลุ่มนี้ก็จะทำงานเพียงชั่วคราวก่อนที่รัฐจะมารับช่วงต่อแทน
“ถ้าเกิดว่ารัฐและสังคมดี งานอาสาแบบที่ต้องมาทำงานดูแลประชาชนแทนรัฐมันย่อมไม่จำเป็น” ไชยวัฒน์กล่าวว่าในประเทศที่พัฒนา หรือมีรัฐสวัสดิการ รูปแบบของอาสาสมัครที่พบเห็นได้บ่อยจะเป็นแบบแรก เพราะรัฐมีประสิทธิภาพในการจัดการที่ดี ยิ่งอาสากลุ่มนี้มีจำนวนมากยิ่งแสดงให้เห็นว่าคนมีเวลาว่างพอจะสร้างสรรค์งานอาสาสมัครรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา
“ต่อให้งานจิตอาสามองเห็นภาพรวมของปัญหา หรือขับเคลื่อนสังคมโดยรวม มันก็ไม่ได้มีเคสไหนที่ทำให้เราเห็นว่างานอาสาจะเปลี่ยนโลกได้ขนาดนั้น เพราะมันมีเพดานของมันอยู่” ไชยวัฒน์อธิบายเพิ่มเติมว่า ไม่ว่าจะเป็นงานอาสาสมัครในรูปแบบไหนก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ เนื่องจากกลไกของงานอาสาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถึงจะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับโลกที่ทำงานมา 50-60 ปี ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากไร้ของคนในพื้นที่ได้อย่างครบถ้วน งานอาสาสมัครจึงมีข้อจำกัดอยู่ แต่นั่นก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบที่อาสาสมัครต้องแบกรับ
“คนที่ต้องปรับตัวอาจจะไม่ใช่อาสาสมัครแต่เป็นรัฐที่ต้องพัฒนาตัวเอง ให้คนมีเวลาว่างในการมาเป็นอาสาด้วยความสมัครใจ สามารถสร้างสรรค์งานอาสาสมัครใหม่ๆ ได้ ที่ไม่ใช่ให้คนมาทำหน้าที่แทนรัฐ”
ไชยวัฒน์ วรรณโคตร เลขานุการและอนุกรรมาธิการศึกษาสถานการณ์ด้านแรงงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และแรงงานสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎร
แม้ในขณะนี้งานของกลุ่มอาสาสมัครเพื่อคลี่คลายการระบาดของโควิด-19 จะลดน้อยลงไปบ้างแล้ว แต่ยังมีกลุ่มอาสาสมัครภาคประชาชน อาสาสมัครส่วนราชการและองค์กรภาคประชาสังคมอีกมากที่ยังคงทำหน้าที่แทนรัฐอยู่ บางประเด็นปัญหายังไร้วี่แววว่ารัฐจะมารับไม้ต่อในการจัดการ ขณะที่ประชาชนทั่วไปเห็นว่าการทำหน้าที่แทนรัฐของอาสาสมัครเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไปเสียแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อระบบรัฐราชการไทยยังคงเต็มไปด้วยช่องโหว่ ประเทศไทยคงจำเป็นต้องมีอาสาสมัครที่มาทำหน้าที่แทนรัฐต่อไป โดยแก้ไขปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาวจนกว่าจะถึงเวลาที่รัฐจะเข้าใจบทบาทของตนเองอย่างถ่องแท้
Like this:
Like Loading...
“ทั้งนี้เรายังยืนยันเสมอว่า งานดูแลประชาชนในส่วนที่เรากำลังทำกันอยู่ตรงนี้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องทำ ไม่ใช่ผลักภาระมาให้ประชาชนต้องดูแลกันเองแบบปัจจุบัน”
ประโยคนี้เป็นข้อความปิดท้ายโพสต์เฟซบุ๊กของกลุ่มคนดูแลกันเอง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 กลุ่มอาสาสมัครกลุ่มนี้เริ่มต้นจากการช่วยเหลือคนงานในแคมป์ก่อสร้างที่โดนสั่งปิดจากคำสั่งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ต่อมายังทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในรูปแบบแพทย์อาสา จัดส่งยาและอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่แยกกักตัวในช่วงที่ระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากได้
อาสาสมัครและจิตอาสาจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเส้นด้าย (Zendai) กลุ่มเราต้องรอด (Up for Thai) กลุ่มคนดูแลกันเอง ขณะเดียวกัน อินฟลูเอนเซอร์บนพื้นที่ออนไลน์ซึ่งมีผู้ติดตามหลักล้าน เช่น หมอแล็บแพนด้า หรือเพจดังอย่าง Drama Addict ก็ออกมาทำหน้าที่ประสานหาเตียงและประคับประคองผู้ป่วยก่อนที่ระบบสาธารณสุขของรัฐจะพร้อมรับช่วงต่อ พวกเขาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่รับภาระงานอาสาอย่างหนักจนกระทั่งวิกฤตนี้เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การดิ้นรนของภาคประชาชนครั้งนี้แสดงให้เราเห็นถึงอะไร อะไรคือหน้าที่ที่แท้จริงของอาสาสมัคร และจะเกิดอะไรเมื่อประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัคร
ภาระของอาสามัครที่เกินกว่างานจิตอาสา
“ตอนนั้นคนไม่พอ มีความเครียดสูงมาก ไม่รู้จะเอายังไงดี” อัญชลี อนันตวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้ก่อตั้งกลุ่มคนดูแลกันเอง กล่าวถึงความยากลำบากในการทำงานอาสาในช่วงหลังการระบาดของโควิดระลอก 4 ที่เธอต้องรับภาระหนักในการจัดส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยโควิด ในช่วงนั้นอาสาสมัครแทบเป็นงานประจำของเธอ โดยเธอต้องกินนอนในตึกของกลุ่มอาสา ตื่นขึ้นมาก็ต้องรีบจัดยาแล้วขับรถนำของไปส่งให้ผู้ป่วยแต่ละบ้านหรือที่แคมป์กักตัวทันที
ภาพ: กลุ่มคนดูแลกันเอง
กลุ่มคนดูแลกันเองเริ่มต้นจากการรวมตัวของคนรู้จักผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กในช่วงที่รัฐบาลสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างจนแรงงานในแคมป์ขาดอาหารและสิ่งของจำเป็นในการใช้ชีวิต ขณะนั้นกรุงเทพมหานครมีประมาณ 600 แคมป์ และอีกหลายร้อยในปริมณฑล ในขณะที่อาสาสมัครมีเพียง 20 คน งานหนักจึงตกอยู่กับกลุ่มอาสาที่ต้องทำหน้าที่ทั้งส่งของที่หน้าแคมป์และเก็บข้อมูลของแคมป์ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ต้องพัฒนาระบบจับคู่ผู้บริจาคสิ่งของกับแคมป์ที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อแบ่งเบาภาระของอาสาสมัครให้ได้มากที่สุด
แม้ภายหลังงานด้านการรับบริจาคสิ่งของให้แคมป์คนงานจะลดลงไปมากเนื่องจากได้โปรแกรมเมอร์มาช่วยเขียนโปรแกรมที่ทำให้การจับคู่ผู้บริจาคและแคมป์ ไม่ต้องมีอาสาสมัครมานั่งจัดการที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
แต่งานใหญ่ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม เมื่อเริ่มมีเคสคนงานในแคมป์ที่ติดโควิด และพบว่ามีทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติหลายคนที่ไม่สามารถติดต่อระบบของสปสช. เมื่อตนติดเชื้อได้ ทางกลุ่มจึงต้องรับสมัครบุคลากรทางการแพทย์เพื่อมาช่วยจัดทำระบบ Home Isolation และ Camp Isolation จนกระทั่งระบบสาธารณสุขเริ่มรองรับผู้ป่วยได้ในช่วงกลางเดือนกันยายน
ภาพ: กลุ่มคนดูแลกันเอง
แคมป์คนงานราว 1,000 แห่ง และผู้ป่วยโควิดอีกราว 1,500 คน คือจำนวนผู้ตกหล่นจากการดูแลของรัฐ ที่กลุ่มคนดูกันเองได้มีส่วนช่วยเหลือไปตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
อัญชลีกล่าวเพิ่มเติมว่ากลุ่มอาสาของเธอ และกลุ่มอาสาสมัครช่วงโควิดอื่นๆ ได้ทำหน้าที่แทนภาครัฐในการประคับประคองชีวิตของประชาชนด้วยความยากลำบากมาจนถึงจุดที่ระบบสาธารณสุขของประเทศกลับมาให้บริการประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง เธอจึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตกลุ่มอาสาจะไม่ต้องกลับมาทำหน้าที่นี้อีก เพราะไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนตั้งแต่ต้น
เล็กเกินไปที่จะจัดการปัญหาขนาดใหญ่ และใหญ่เกินไปที่จะมองเห็นปัญหาขนาดเล็ก
“การเพิ่มขึ้นของอาสาสมัครในช่วงโควิดสะท้อนความด้อยประสิทธิภาพของรัฐ ความไม่สามารถจัดการเรื่องโรค ในขณะที่อาสาสมัครซึ่งเป็นกลไกปัญหาแบบเล็กรวมตัวกัน จึงสามารถจัดการปัญหาได้เลย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าองค์กรอาสาสมัครจะเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ดูแลสังคมในส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ภาคประชาชนจึงต้องออกมาช่วยจัดการกันเอง
วีรบูรณ์กล่าวว่า อาสาสมัครเป็นกลไกที่เข้ามาช่วยเติมเต็มเมื่อรัฐมีขนาดเล็กไปที่จะจัดการปัญหาขนาดใหญ่ หรือมีขนาดใหญ่เกินไปที่จะมองเห็นถึงปัญหาขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม กลไกงานของจิตอาสาควรจะเป็นภารกิจระยะสั้นที่เมื่อปัญหาหมดไป การทำงานของอาสาสมัครก็ควรจะจบลง
ทว่าหลายครั้งองค์กรภาคประชาสังคม ประเภทมูลนิธิก็ยังคงทำงานเพื่อสังคมในระยะยาว เช่น มูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง ซึ่งก่อตั้งในปี 2480 และทำหน้าที่เก็บศพคนไร้ญาติและบรรเทาสาธารณภัย หรือมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งก่อตั้งในปี 2534 และมีบทบาทโดดเด่นในการตามหาคนหาย สร้างอาชีพให้กลุ่มชาติพันธุ์ และต่อต้านการค้ามนุษย์
วีรบูรณ์อธิบายว่าเนื่องจากภาครัฐไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่องค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้ดูแลอยู่ได้ องค์กรจึงต้องดำเนินงานต่อไป สาเหตุอาจมาจากการที่รัฐยังขาดความเข้าใจต่อกลุ่มชายขอบต่างๆ เช่น คนไร้บ้าน ที่ตำรวจมักมองว่าวิธีแก้ปัญหาคือการจับคนไร้บ้านไปฝึกอาชีพ ถ้ามีอาชีพก็จะไม่เป็นคนไร้บ้าน แต่กลุ่มอาสาสมัครจะมองว่าคนกลุ่มนี้คือมนุษย์คนหนึ่งที่อยากมีตัวเลือกในชีวิตด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป จึงต้องอาศัยการใช้เวลาทำความเข้าใจปัญหาและแนวทางช่วยเหลือพวกเขา
อาจารย์จากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ เสริมอีกประเด็นว่า การจัดการของรัฐต้องอาศัยข้อมูลเพื่อนำไปตรวจสอบกับงบประมาณส่วนรวม อีกทั้งยังต้องมีเกณฑ์การประเมินผลการใช้งบผ่านขั้นตอนการทำเรื่องเบิกจ่ายที่ซับซ้อน ส่งผลให้การจัดการของภาครัฐเชื่องช้า ไม่คล่องตัวและยืดหยุ่นเท่ากลุ่มอาสาสมัคร
อาสาสมัครส่วนราชการ เมื่อค่าใช้จ่ายของรัฐลดลงได้ด้วยน้ำใจของประชาชน
นอกจากอาสาสมัครที่มาจากภาคประชาสังคมแล้ว อาสาสมัครส่วนราชการ หรือบุคคลที่อาสาช่วยปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ ตามภารกิจที่ภาครัฐมอบหมายโดยใช้งบประมาณภาครัฐในการดำเนินการ ยังเป็นอาสาสมัครอีกกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในประเทศ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ระบุไว้ในรายงานเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินภารกิจภาครัฐ: การปฏิรูประบบงานอาสาสมัครในภาครัฐ (2560) ว่า จำนวนอาสาสมัครในส่วนราชการต่างๆ มีจำนวนทั้งสิ้น 8,006,330 คน กว่าครึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย เป็นจำนวน 4,912,318 คน
อาสาสมัครส่วนราชการมีภาระงานไม่ต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ได้รับตอบแทนที่น้อยกว่า หรือบ้างก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนเลย เช่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ได้รับตามระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 100-300 บาทต่อวัน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งได้รับค่าตอบแทนรายเดือนละ 1,000 บาท และค่าเสี่ยงภัยในช่วงโควิดอีกเดือนละ 500 บาท
และแรงงานข้ามชาติที่ยังตกหล่นจากการรับวัคซีน
ภาพ: อสม. จังหวัดเชียงใหม่
ศรีนวล ภูมิรัตน์ อสม. ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เล่าถึงความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนที่ยอดผู้ติดเชื้อในจังหวัดเชียงใหม่กลับมาเพิ่มขึ้นที่สุดในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ด้วยจำนวนราว 400 คนต่อวัน ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 รายงานว่าปัจจุบันในจังหวัดมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 26,286 ราย ซึ่งในหมู่บ้านที่ศรีนวลอาศัยก็เริ่มพบผู้ติดเชื้อแล้ว
ศรีนวลกล่าวว่าเธอรับหน้าที่เป็นอสม.มาตั้งแต่ปี 2531 โดยในขณะนั้นอาสาสมัครกลุ่มนี้มีชื่อว่าผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) รับหน้าที่ดูแลและให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่คนในหมู่บ้าน แต่ในสถานการณ์โควิด เธอพบว่าหน้าที่ของอสม.มีความเสี่ยงและมีงานใหม่เพิ่มขึ้น เธอต้องไปประจำอยู่ที่ด่านตรวจรถเข้าเมืองข้างถนนหลวง ช่วยอำนวยความสะดวกให้ศูนย์ฉีดวัคซีนที่มีประชาชนหนาแน่นกว่า 2,000 ราย นำของใช้ไปมอบให้ครอบครัวผู้ป่วย และหลายครั้งก็ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด
ภาพ: อสม. จังหวัดเชียงใหม่
“ค่าตอบแทนน่าจะเพิ่มขึ้น เพราะมันไม่คุ้มหรอก เวลาเราไปเราต้องขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปกลับ บางทีมันก็ไกล เราต้องออกค่าน้ำมันเอง คนธรรมดาเขาไม่ไปหรอก เขากลัว แต่เราทำไปเพื่อประชาชน เพื่อประเทศไทยเรา ป้าก็ไม่ได้คิดอะไรมากเพราะเงินที่ได้มันก็ไม่พอใช้เราอยู่แล้ว” ศรีนวลกล่าว
ขีดจำกัดของอาสาสมัคร
ไชยวัฒน์ วรรณโคตร เลขานุการและอนุกรรมาธิการศึกษาสถานการณ์ด้านแรงงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และแรงงานสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎร อธิบายว่างานอาสาสมัครแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. งานอาสาสมัครที่เกิดขึ้นจากความสมัครใจของคนที่อยากทำงานเพื่อสังคมชั่วคราว เช่น อาสาสมัครพาสุนัขไปเดินเล่น ดูแลผู้สูงวัย สอนหนังสือคนตาบอด โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป และ 2. งานอาสาสมัครเข้ามาอุดรอยรั่วเมื่อกลไกของรัฐบกพร่อง เช่น การเกิดสึนามิหรืออุทกภัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐจนทำให้คนหลุดออกระบบการช่วยเหลือ ในสถานการณ์เช่นนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาสาสมัครเข้ามาดูแลเฉพาะหน้า แต่อาสาสมัครกลุ่มนี้ก็จะทำงานเพียงชั่วคราวก่อนที่รัฐจะมารับช่วงต่อแทน
“ถ้าเกิดว่ารัฐและสังคมดี งานอาสาแบบที่ต้องมาทำงานดูแลประชาชนแทนรัฐมันย่อมไม่จำเป็น” ไชยวัฒน์กล่าวว่าในประเทศที่พัฒนา หรือมีรัฐสวัสดิการ รูปแบบของอาสาสมัครที่พบเห็นได้บ่อยจะเป็นแบบแรก เพราะรัฐมีประสิทธิภาพในการจัดการที่ดี ยิ่งอาสากลุ่มนี้มีจำนวนมากยิ่งแสดงให้เห็นว่าคนมีเวลาว่างพอจะสร้างสรรค์งานอาสาสมัครรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา
“ต่อให้งานจิตอาสามองเห็นภาพรวมของปัญหา หรือขับเคลื่อนสังคมโดยรวม มันก็ไม่ได้มีเคสไหนที่ทำให้เราเห็นว่างานอาสาจะเปลี่ยนโลกได้ขนาดนั้น เพราะมันมีเพดานของมันอยู่” ไชยวัฒน์อธิบายเพิ่มเติมว่า ไม่ว่าจะเป็นงานอาสาสมัครในรูปแบบไหนก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ เนื่องจากกลไกของงานอาสาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถึงจะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับโลกที่ทำงานมา 50-60 ปี ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากไร้ของคนในพื้นที่ได้อย่างครบถ้วน งานอาสาสมัครจึงมีข้อจำกัดอยู่ แต่นั่นก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบที่อาสาสมัครต้องแบกรับ
แม้ในขณะนี้งานของกลุ่มอาสาสมัครเพื่อคลี่คลายการระบาดของโควิด-19 จะลดน้อยลงไปบ้างแล้ว แต่ยังมีกลุ่มอาสาสมัครภาคประชาชน อาสาสมัครส่วนราชการและองค์กรภาคประชาสังคมอีกมากที่ยังคงทำหน้าที่แทนรัฐอยู่ บางประเด็นปัญหายังไร้วี่แววว่ารัฐจะมารับไม้ต่อในการจัดการ ขณะที่ประชาชนทั่วไปเห็นว่าการทำหน้าที่แทนรัฐของอาสาสมัครเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไปเสียแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อระบบรัฐราชการไทยยังคงเต็มไปด้วยช่องโหว่ ประเทศไทยคงจำเป็นต้องมีอาสาสมัครที่มาทำหน้าที่แทนรัฐต่อไป โดยแก้ไขปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาวจนกว่าจะถึงเวลาที่รัฐจะเข้าใจบทบาทของตนเองอย่างถ่องแท้
Share this:
Like this: