ไม่ว่าใครก็มีพื้นที่โปรดปรานของตัวเองทั้งนั้น อาจจะเล็กจ้อยเพียงบนเตียงนอน หรือกว้างเท่าสวนสาธารณะสักแห่ง เมื่อถึงเวลาพักผ่อนหย่อนใจ ต่างคนก็แยกย้ายไปผ่อนคลายตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เด็ก ๆ อาจจะชอบใช้เวลากับเพื่อน ๆ ที่สนามเด็กเล่น วัยรุ่นอาจจะมีโถงคอนเสิร์ตหรือห้างสรรพสินค้าเป็นพื้นที่เติมกำลังใจให้ความฝัน พอถึงวัยทำงาน การนัดพบปะเพื่อนฝูงที่บาร์สักแห่งยามค่ำคืนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเติมความสุขให้กับชีวิต
บรรยากาศกิจกรรมของผู้สูงอายุในพื้นที่สวนลุมพินี
บนพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง ในช่วงเช้าตรู่ของทุกวัน เหล่าผู้สูงวัยก็กำลังใช้เวลาพักผ่อนในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง รำมวยจีน เล่นหมากรุก เต้นลีลาศ เย็บปักถักร้อย ดื่มน้ำชา หรือแม้กระทั่งอ่านหนังสือ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นใน ‘สวนลุมพินี’ พื้นที่ที่ครองใจคนกรุงเทพมาอย่างยาวนาน
คุณภาพชีวิตดีเพราะผู้สูงอายุมีคอมมูนิตี้ที่เข้าถึงได้
ไม่ไกลจากประตู1 ทางด้านโรงเรียนสวนลุมพินี ปรากฏให้เห็นอาคารสีขาว หลังคาทรงไทย และหน้าต่างสีฟ้าสดใส ซึ่งหากไม่ทันสังเกต คงไม่รู้ว่านี่คือที่ตั้งของ ‘ศูนย์ผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร’ สถานที่จัดกิจกรรมของ ‘กลุ่มซีเนียร์คลับ’ อันเกิดจากการรวมตัวกันของภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยส่งเสริมกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง
ป้าป้อม รุ่งนภา มั่นใจอารย์ อดีตพยาบาลวัย 63 ปีที่ใช้เวลาหลังการเกษียณอายุมาทำหน้าที่ผู้ประสานงานกิจกรรมในซีเนียร์คลับ เล่าให้ ‘นิสิตนักศึกษา’ ฟังว่า กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุไม่ได้มีแค่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่ชีวิตของพวกเขามีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มากกว่านั้น กิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ก็สำคัญเทียบเท่าเรื่องสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าสูงวัยที่ชอบทำกิจกรรม (Active Ageing) อีกด้วย
ป้าป้อม รุ่งนภา มั่นใจอารย์ อดีตพยาบาลและผู้ประสานงานกิจกรรมซีเนียร์คลับ ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
“ต้องมีกิจกรรมนันทนาการเยอะ ๆ คนแก่ทำงานมาเยอะแล้ว เต็มที่แล้ว เบื่อง่าย อยากพักผ่อน แต่ถ้าพักผ่อนนอนอยู่บ้านเป็นเดือนก็เบื่อแล้ว เรายังทำอะไรไหว ไปเดินสวนก็แล้ว ดูเน็ตฟลิกซ์ก็แล้ว มันก็ยังขาดอะไรอยู่ เพราะคนเราต้องมีสังคม มีเพื่อน ยิ่งเราแก่แล้ว คนแก่จะมีความรู้สึกว่ากลัวเป็นภาระ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า แก่แล้วไม่มีใครสนใจแล้ว ลูกหลานมาหาก็โทรศัพท์คนละเครื่อง อยู่บ้านพูดได้ 3 คำก็แยกกันไปละ”
เมื่อได้เข้าไปในซีเนียร์คลับ จะพบว่ามีเสียงหัวเราะอยู่เป็นระยะ แม้บางคนจะไม่รู้จักกันมาก่อน แต่เมื่อได้ทำกิจกรรมด้วยกัน แลกเปลี่ยนรอยยิ้มเสียงหัวเราะ ก็ช่วยสร้างความเป็นกันเองอยู่ไม่น้อย ที่นี่มีกิจกรรมมากมายสลับเปลี่ยนไปในแต่ละเดือน เช่น กิจกรรมบอร์ดเกมบริหารสมอง ทำอาหาร งานฝีมือ ศิลปะแมนดาลา (การสร้างงานศิลปะรูปแบบทรงกลม) ทำของชำร่วย สอนใช้ไอที เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกทำได้ตามความสนใจ โดยแต่ละกิจกรรมเปิดรับสมัครผ่านเพจเฟซบุ๊ก Senior Club และยังเปิดรับวอล์คอินสำหรับผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์อีกด้วย
“รู้จักที่นี่จากโซเชียล จากเฟซบุ๊กนี่แหละ อ่าน ๆ ไถ ๆ ไปมันขึ้นมาเอง พี่ว่ามันก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมามีส่วนร่วม แล้วก็ถลำไปเรื่อย ๆ อย่างที่เห็น (หัวเราะ) ที่นี่กิจกรรมเยอะ แล้วเจ้าหน้าที่เขาน้อยมาก มีอยู่ 4-5 คนแล้วก็แม่บ้าน ทุกคนเวลามาก็จะรู้เองว่าต้องช่วยกันเก็บโต๊ะ เคลียร์โต๊ะ พอความสนิทสนมมันเริ่มดีขึ้น ก็กลายเป็นกัลยาณมิตรกัน ถ้าสนิทกับใครจริง ๆ คุยกันถูกคอ ก็จะมีกลุ่มเล็ก ๆ คุยกัน”
ครูน้อย คนธาทิพ วีระประวัติ อดีตพนักงานบริษัทสายการบินวัย 64 ปี ผู้เริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนในกิจกรรมที่ซีเนียร์คลับจัดขึ้น จนปัจจุบันเธอกลายมาเป็นครูอาสาสอนประจำวิชางานฝีมือ
ครูน้อย คนธาทิพ วีระประวัติ หนึ่งในนักเรียนและครูอาสาวิชาฝีมือของซีเนียร์คลับ ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
“พี่มาที่ซีเนียร์คลับได้ 3 เดือนแล้ว ตอนแรกก็เรียนวิชาทำของชำร่วย ก็อยากมาเรียนรู้ว่าดอกทิวลิปมันทำยังไง อยากรู้ว่าแพทเทิร์นนี้ทำยังไง และเรียนจากครูดีที่สุด เราสามารถนำไปต่อยอดได้ด้วย”
ครูน้อยเล่าให้ฟังว่า เธอทำงานฝีมือ เย็บปักถักร้อยอยู่ก่อนแล้ว แต่หลังเกษียณก็ออกมาเรียนรู้จากคลาสเวิร์คชอปต่าง ๆ เพิ่มเติม พอมีคนเห็นความสามารถ ชักชวนให้ลองมาสอน จึงมีคลาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น เธอได้ใช้ทักษะที่ตัวเองถนัดและชื่นชอบ เมื่อมีโอกาสก็สลับบทบาทมาเป็นครูบ้าง
“รู้สึกว่าเราเหมาะกับที่นี่ ได้ปลดปล่อยทักษะที่ตัวเองมี เก็บไว้กับตัวก็ตายไปกับตัว แล้วมาเจอมาแลกเปลี่ยนกัน คนนี้เขาเก่งอันนี้ เราเก่งอันนี้ คนนี้ทำอาหารเก่ง มันก็มีแต่ให้ เราได้รับมากกว่าที่เราให้อีก ไม่ใช่มา get อยากเดียว เรามา give ด้วย เพื่อนข้าง ๆ ทำไม่ได้ เราเข้าใจก็ช่วยครูดูอีกแรง คือคนเราเรียนรู้ได้ไม่มีวันสิ้นสุด”
ครูน้อย คนธาทิพ วีระประวัติ นักเรียนและผู้สอนคลาสกิจกรรมในซีเนียร์คลับ
“เรามาที่นี่ก็ได้อะไรหลายอย่าง ได้ตื่นเช้า ได้เดิน ได้ปฏิสัมพันธ์ ดูวิว อากาศ แดด พี่มีสวนอยู่ในหมู่บ้านไม่ได้ออกไปเดินเลย แต่ที่นี่เนี่ย ภูมิทัศน์สุดยอด มีน้ำ มีต้นไม้ มีตึก มีเพื่อนด้วย เดินถ่ายรูปทุกเช้า โพสต์ลง เพื่อนทักทุกวันไปเที่ยวไหนมา จริง ๆ ไม่ได้ไปเที่ยวไหนเลย อยู่สวนลุมเนี่ยแหละ” ครูน้อยเล่าด้วยรอยยิ้ม
ไม่ไกลจากศาลาพิศพิรุณหรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘เกาะลอย’ เป็นที่ตั้งของคอมมูนิตี้อีกแห่งที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือ ชมรมเซี้ยงเล้งไท้เก๊ก ด้วยเต๊นท์สีเขียวใหญ่สะดุดตา หินหยินหยางที่ตั้งอยู่กลางเต๊นท์ และผู้สูงอายุมากมายที่แต่งตัวด้วยสีสันสดใส เคลื่อนไหวไปพร้อมท่ารำอย่างผ่อนคลาย ดึงดูดความสนใจของคนที่เดินผ่านมาผ่านไปได้อย่างดี
บรรยากาศการฝึกซ้อมรำมวยจีนพร้อมอุปกรณ์ ณ ชมรมเซี้ยงเล้งไท้เก๊ก
ครูนิ วนิดา หิรัญพงศ์สันต์ เล่าให้ฟังว่า การรำมวยจีนให้ประโยชน์หลายอย่างที่คนรุ่นใหม่อาจนึกไม่ถึง ด้วยศาสตร์ ‘ชี่กง’ หรือศาสตร์ของกำลังภายใน ซึ่งเชื่อว่าในธรรมชาติมีพลังซ่อนอยู่ การมาเข้าชมรมทุกเช้าจึงช่วยสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้กับสมาชิกในชมรม พื้นที่แห่งนี้จึงมีความสำคัญต่อจิตใจกับผู้สูงอายุในเซี้ยงเล้งไท้เก๊กอยู่ไม่น้อย
การรำไท้เก๊ก หรือที่เรียกว่า รำมวยจีน เป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช้กล้ามเนื้อ แต่เน้นลมหายใจ ช่วยให้สุขภาพดี เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดีขึ้น
“มันคือศาสตร์ของไฟฟ้าชีวภาพในร่างกาย ไม่ใช้กำลังหรือกล้ามเนื้อ ยิ่งมารำท่ามกลางธรรมชาติแบบนี้ มันมีพลังชี่อยู่แล้ว พลังงานตรงนี้ก็เหมือนเป็นที่พักใจ บางคนพอไม่ได้มารำก็ไม่สบายใจ”
“ถามว่าเล่นไท่เก๊กแล้วได้อะไร ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จิตใจสงบขึ้น ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะต้องมีสมาธิ เลือดลมหมุนเวียน ร่างกายยืนหยุ่น ผ่อนคลาย หายใจคล่อง บรรเทาโรคบางชนิดได้ บางคนมาเล่น อาการปวดหัวก็หายไป อารมณ์หงุดหงิด อารมณ์ร้อนเนี่ยหายไปหมดเลย”
ครูนิ วนิดา หิรัญพงศ์สันต์ ชมรมเซี้ยงเล้งไท่เก๊ก
ครูนิ วนิดา หิรัญพงศ์สันต์ เหล่าซือผู้สอนรำไท้เก๊ก ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
อีกฝั่งของสวนลุมพินี ไม่ไกลจากประตูลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 มากนัก ปรากฏให้เห็นอาคารชั้นเดียวสีเหลืองอ่อนพร้อมตัวอักษร ‘ห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานคร’ หรือที่รู้จักในชื่อ ‘ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี’ อีกหนึ่งแหล่งพักใจของเหล่าสูงวัยที่ชอบอ่านหนังสือ
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี หนึ่งในห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานคร
ที่นี่ ‘นิสิตนักศึกษา’ ได้พบกับ ลุงพงษ์ศักดิ์ ซึ่งกำลังอ่านอมตะนิยายไทยเรื่อง ‘เพชรพระอุมา’ อย่างตั้งอกตั้งใจ ห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือนิยายเก่า ๆ อยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะนิยายไทยและนิยายแปลจากต่างประเทศ
“ปีนี้อายุผมก็ 69 ย่าง 70 แล้ว มาที่นี่ก็อ่านหลายอย่างครับ นิยายบ้าง หนังสือพิมพ์บ้าง ก็ชอบครับ ส่วนใหญ่จะเป็นนิยายไทย นิยายจีน เจออะไรก็อ่าน”
ลุงพงษ์ศักดิ์ใช้มือข้างหนึ่งคั่นหน้ากระดาษสีเหลืองซีดที่กำลังอ่านอยู่ ก่อนจะเล่าให้ฟังว่า เขามาอ่านหนังสือที่นี่เกือบสิบปีแล้ว ตอนเกษียณใหม่ ๆ ไม่ได้มาบ่อย แต่ช่วงหลังพอว่างมากขึ้นก็แวะมาเรื่อย ๆ เมื่อก่อนบ้านอยู่แถวนี้ แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่รังสิตแล้ว และวันนี้ก็เดินทางมาจากรังสิตเช่นกัน
“ถ้ามีเวลาผ่านมาก็แวะ พอมาทำธุระแถวนี้ เวลามันเหลือเยอะใช่ไหม ก็ตั้งใจแล้วว่าต้องมาที่นี่ด้วย รอเวลา รอรถกลับพร้อมลูกพร้อมหลาน รอเขาเลิกงานแล้วก็รับเรากลับไปด้วย ก็มาเดินเล่นแถวนี้รอ ออกกำลังกายบ้าง วิ่งรอบสองรอบแล้วก็เข้ามาแวะอ่านหนังสือที่นี่แหละ ที่สำคัญคือหลบร้อนด้วย”
ลุงพงษ์ศักดิ์ หนึ่งในผู้ใช้บริการห้องสมุดกล่าว
ในสวนลุมพินีมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ชอบใช้เวลาของตัวเองไปกับหนังสือ พร้อมกับบรรยากาศสบาย ๆ มีโต๊ะเรียงรายแยกกันไปตามแต่ละมุม เลือกสรรได้ตามใจ มีแสงแดดลอดผ่านหน้าต่างอยู่เป็นระยะ ไม่อุดอู้ ทั้งยังติดเครื่องปรับอากาศ ช่วยคลายร้อนได้เป็นอย่างดี
“บางคนก็มาหลบร้อน บางทีก็แอบงีบบ้าง (หัวเราะ) ที่นี่ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าเราไปเดินข้างนอก เผลอนั่งหลับไปเนี่ยยุ่งเลย จริง ๆ ที่นี่เขาห้ามหลับ หลับไม่ได้ ต้องแกล้ง ๆ งีบ (หัวเราะ) มานั่งอ่านหนังสือที่นี่ผมก็รู้สึกว่าสบายดี แต่แอร์เย็นไปหน่อยนะ” ลุงพงษ์ศักดิ์พูดติดตลกอย่างอารมณ์ดี
ความปลอดภัยเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ลุงพงษ์ศักดิ์ให้ความสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่าห้องสมุดแห่งนี้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำห้องสมุดคอยดูแล และมีแม่บ้านทำความสะอาดอยู่เสมอ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย จึงน่าจะอธิบายได้ว่าเหตุใดผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของที่นี่ล้วนเป็นผู้สูงอายุ
ลุงพงษ์ศักดิ์ หนึ่งในผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
แม้กิจกรรมอ่านหนังสือในห้องสมุดสวนลุมฯ จะดูเป็นกิจกรรมส่วนตัว ต่างคนต่างแยกกันไปนั่งตามมุมต่าง ๆ ตามความชอบใจ แต่ลุงพงษ์ศักดิ์เล่าให้ฟังว่า บางครั้งเขาก็รวมกลุ่มกับเพื่อน มาอ่านหนังสือในห้องสมุดเช่นกัน
“บางวันผมก็นัดกินข้าวกันตอนเที่ยงกับเพื่อน กินกาแฟเสร็จก็บ่ายโมงบ่ายสองแล้ว ก็ค่อยมา บางวันก็คนเดียวบ้าง นัดกับเพื่อนบ้าง ผู้เฒ่านั่งอ่านเสร็จก็หลับบ้างอะไรบ้าง เข้ามาพักผ่อน เขาก็อ่านนิยาย อ่านหนังสือพิมพ์กัน หนังสือพิมพ์เดี๋ยวนี้เราก็ไม่ค่อยซื้อกันแล้วเนอะ เพราะมีโทรศัพท์ติดตามข่าวสารได้”
ผลักดันกิจกรรมผู้สูงวัย สร้างคุณค่าให้ชีวิต
รศ.ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิด อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า องค์ประกอบที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ต้องประกอบไปด้วยการมีสุขภาพที่ดี การมีส่วนร่วมในสังคม และมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
“ถ้าเราจินตนาการว่าเราอยากจะเป็นผู้สูงอายุแบบไหน อาจารย์คิดว่าคนส่วนใหญ่ก็คงอยากเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้นานที่สุด สามารถที่จะพาตัวเองออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมเท่าที่ตัวเองปรารถนาที่จะทำ ไม่มีข้อจำกัดอะไรต่าง ๆ อย่างน้อยอยู่ในบ้านตัวเองก็ปลอดภัย ออกไปในชุมชนก็ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง หรือยวดยานพาหนะ”
รศ.ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิด อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
อาจารย์วรรณลักษณ์ ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขอย่างสมบูรณ์ คือ ผู้สูงอายุจำเป็นต้องตระหนักรู้ในตัวเอง และเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตวัยเกษียณ ในขณะเดียวกัน รัฐก็ต้องจัดสวัสดิการควบคู่กันไป ไม่ใช่เฉพาะเพียงผู้สูงอายุ แต่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกวัย
“เราเรียกว่าหลักการจัดการแบบ Universal Design (การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกวัย) ถ้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ คนท้อง ผู้หญิง ผู้ชาย เข้าไปในพื้นที่สาธารณะที่ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ก็มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะสามารถใช้ชีวิตที่เข้มแข็งปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้”
Universal Design คือแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคมเพื่อให้คนทุกวัยสามารถมาใช้ชีวิตร่วมกันได้ การออกแบบเช่นนี้ทำให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวกในการออกไปทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น สวนสาธารณะมีทางลาด หรือราวจับ การทำให้ทางเท้าราบ ทั้งหมดนี้ช่วยสร้างความปลอดภัยให้คนทุกคนทุกวัย ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือคนพิการก็สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
“หากผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์กับบุตรหลานในทางบวกก็มักจะทำให้ครอบครัวมีความผูกพันกันมากขึ้น ยิ่งคนในบ้านมีกิจกรรมใด ๆ ที่นึกถึงผู้สูงอายุ อยากให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม ก็ยิ่งสะท้อนความเกื้อกูลกันอย่างแนบแน่น นับเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคมซึ่งกันและกัน บุตรหลานมีความสุข ผู้สูงอายุก็มีความสุข”
อาจารย์วรรณลักษณ์ เสริมว่า ในครอบครัวที่ไม่ค่อยใกล้ชิดกัน และมีทัศนคติเชิงลบกับผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ในการอยู่ร่วมกันจะไม่ค่อยดีนัก และอาจนำไปสู่ความรุนแรงต่อกันในที่สุด ความสุขของคนวัยอื่นจึงส่งผลต่อความสุขของผู้สูงอายุด้วย
ในขณะเดียวกัน การออกมาทำกิจกรรมและเข้าสังคมของผู้สูงอายุก็สำคัญไม่แพ้กัน
“ถ้าพูดโดยภาพรวม การที่ผู้สูงอายุออกมาใช้ชีวิต เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มันทำให้เขามีชีวิตชีวา มีความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ หดหู่ เพราะอยู่ตัวคนเดียวตามลำพังนาน ๆ”
รศ.ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิดกล่าว
“ การที่ผู้สูงอายุออกไปร่วมกิจกรรมในสังคม ไม่ใช่แค่ว่าออกนอกบ้าน จริง ๆ การอยู่ในบ้านก็สามารถสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในสังคมได้ เช่น ลูกหลานจะต้องคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันแบบคนหลายๆ เจเนอเรชัน ซึ่งมันทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแฮปปี้ที่ได้มีส่วนร่วม หรือถ้าออกไปนอกบ้าน เช่น พาผู้สูงอายุไปเที่ยว ไปเปิดหูเปิดตา มันก็สร้างความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตให้เขาได้” อาจารย์วรรณลักษณ์กล่าว
นอกจากนี้ ไม่ใช่ผู้สูงวัยทุกคนที่ชอบการพบปะสังสรรค์เข้าสังคม ดังนั้นการเข้าใจความชอบของตัวเอง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขได้ อย่างไรก็ตาม อาจารย์วรรณลักษณ์ยังเสริมว่า แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะไม่ชอบการเข้าสังคมมากนัก แต่การพบปะ พูดคุย มีสังคมก็ยังจำเป็น
“การมีสังคมข้างนอกเยอะ หลากหลายกลุ่มก็ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้สูงอายุด้วย เพราะผู้สูงอายุบางคนก็แฮปปี้ในชีวิตอยู่แล้ว แต่บางคนรู้สึกเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียว มันก็อาจมีลิมิตว่า ออกไปมีสังคมบ้าง แต่ไม่เยอะเกินไป ขึ้นกับตัวผู้สูงอายุเองเลย แต่ยืนยันด้วยทั้งงานวิจัยและตัวคอนเซปต์เลยว่า การที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมเยอะมาก ๆ หรือมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มันสร้างความมีชีวิตชีวาและความพึงพอใจในชีวิตให้กับผู้สูงอายุได้ ”
บรรยากาศการอ่านหนังสือในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี
ทั้งนี้ หากผู้สูงอายุเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอสังคมใหม่ ๆ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ การพบปะก็อาจจะไม่หยุดอยู่แค่เพื่อนวัยเดียวกัน แต่มีเด็ก วัยรุ่น หรือวัยทำงานร่วมทำกิจกรรมด้วย ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และความคิดของผู้สูงอายุ บางคนหงุดหงิดน้อยลง มีสมาธิมากขึ้น
“ถ้าผู้สูงอายุหยุดกิจกรรมหรือหยุดทำอะไรไปนาน ๆ ความต่อเนื่องในชีวิตก็ลดลง ความกระตือรือร้นก็ลดลง ทำให้หดหู่ไปเรื่อย ๆ ฟังก์ชันการทำงานของร่างกายก็ลดลงด้วย ฉะนั้น เด็กรุ่นใหม่ที่บอกว่า พ่อแม่เป็นผู้สูงอายุแล้วไม่ต้องทำอะไร เรามองว่าควรส่งเสริมให้ทำ แต่แค่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นมากกว่า เช่น จะไปปีนเปลี่ยนนั่นนี่เหมือนสมัยก่อนไม่ได้แล้ว เท่านั้นเอง ไม่ต้องบอกให้เขาหยุดทำ ยิ่งทำกิจกรรม ยิ่งดี”
อาจารย์วรรณลักษณ์ทิ้งท้ายไว้ว่า คนรุ่นใหม่อาจช่วยสังเกตุผู้สูงอายุใกล้ตัว ช่วยสนับสนุนให้พวกเขาออกมาทำกิจกรรม จะเป็นประโยชน์มากกว่าพักผ่อนอยู่บ้านไปนาน ๆ เพราะเสี่ยงต่อปัญหาด้านกายภาพที่อาจตามมาภายหลัง และที่สำคัญ อาจช่วยทำให้คนรุ่นใหม่เข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน ทางด้านกรุงเทพมหานครก็มีแผนที่จะดึงคนรุ่นใหม่ให้กลับมาร่วมขับเคลื่อนเมือง เพื่อรองรับสังคมสูงวัยของกรุงเทพมหานครเช่นกัน
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อมูลในงานสัมมนาหัวข้อ Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ไว้ว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึงร้อยละ 21.68 หรือกว่า 1,194,171 คน
แม้ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะลดลงเรื่อย ๆ แต่จำนวนผู้สูงอายุกลับมากขึ้นทุกปี ในขณะที่คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยออกจากกรุงเทพฯ เพื่อมองหาคุณภาพชีวิตและโอกาสที่ดีกว่า เช่น วางแผนไปอยู่ต่างประเทศ
“สิ่งที่ท้าทายที่สุดของเมืองในอนาคต เป็นโจทย์ใหญ่ของเมืองทุกเมืองในโลกเลย คือจะดึงคนเก่ง วัยรุ่น และคนรุ่นใหม่ให้อยู่ในเมืองได้อย่างไร นี่คือโจทย์ที่กทม. ต้องคิด หน้าที่หลักของเมือง คือ ทำคุณภาพชีวิตให้ดี แล้วก็ดึงคนมาขับเคลื่อนเมืองเพื่อดูแลผู้สูงอายุด้วย”
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าว
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในงานสัมมนาหัวข้อ Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครยังได้กล่าวถึงแนวนโยบาย 9 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านการเดินทาง ด้านความปลอดภัย ด้านบริหารจัดการ ด้านโครงสร้าง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนจำนวนอยู่ไม่น้อย
“เรื่อง universal design เรื่องสุขภาพ สภาพแวดล้อม คือผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสวนได้ไหม มีความปลอดภัยไหม ด้านการเรียนรู้ ผู้สูงอายุก็เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณภาพ ให้ผู้สูงอายุมาช่วยสอนหรือดูแลเด็กได้ เอาความรู้ของเขากลับมาคืนสู่สังคมได้ ทุกมิติที่เราทำเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้งหมด นโยบายต่าง ๆ เราเน้นเส้นเลือดฝอย ซึ่งมันจะตรงมาถึงผู้สูงอายุด้วย”
นอกจากนี้ นายชัชชาติยังอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยของ ABCD Centre 2563 ซึ่งอธิบายว่า ค่าใช้จ่ายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านอยู่ที่ 120,000 บาทต่อปี ไม่รวมถึงค่าเสียโอกาสของผู้ดูแล ส่วนค่าใช้จ่ายดูแลผู้สูงอายุติดเตียงนั้นสูงถึง 230,000 บาทต่อปี
ประกอบกับข้อมูลของสถาบัน TDRI เรื่อง ‘ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย ปี 2560’ ซึ่งพบว่า ค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวอาจเพิ่มมากขึ้นถึง 3.4 แสนล้านบาทต่อปีในปี 2590
“ถ้าเราดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี ก็จะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ หลักง่าย ๆ คืออยากให้ผู้สูงอายุติดเพื่อนมากกว่า ไม่อยากให้ติดบ้าน ติดเตียง ทำชมรมผู้สูงอายุให้มาเจอเพื่อน มีกิจกรรม”
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าว
ดังนั้นเพื่อลดโอกาสในการติดบ้านติดเตียงของผู้สูงอายุ แนวนโยบายที่กรุงเทพมหานครวางแผนไว้จะให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยง โดยนายชัชชาติเสริมว่า จำเป็นจะต้องเพิ่มการเข้าถึงสวนสาธารณะต่าง ๆ เช่น สวนลุมพินี สวนจตุจักร อุทยานเบญจสิริ ปัจจุบันก็ขยายเวลาเปิดให้เช้าขึ้น และขยายเวลาการปิดเป็น 22.00 น. ส่วนชมรมผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีอยู่ 189 กลุ่ม/ชมรม และยังมีอีก 18 เขตในกทม. ที่ยังไม่มีชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งจะเพิ่มให้ครบถ้วนต่อไปในอนาคต
ศูนย์ผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี ที่ตั้งของชมรมซีเนียร์ คลับ เป็นหนึ่งในความดูแลของกรุงเทพมหานคร
“ทำพื้นที่สีเขียวใกล้บ้าน ผู้สูงอายุสามารถเดินไปออกกำลังกายได้ ลูกหลานพาไปได้ ตอนนี้เราก็หาพื้นที่สีเขียวเพิ่ม ไม่ได้มีแต่สวนสาธารณะใหญ่ใกล้บ้าน เพิ่มให้เปิดสวนเช้าขึ้น เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น จัดกิจกรรม มีชมรมผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมาเจอกัน มาทำกิจกรรมกับเพื่อน ก็จะลดเรื่องความเบื่อ มีเพื่อนก็ทำให้จิตใจสดชื่น” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอธิบายถึง ‘นโยบายสวน 15 นาที’ และภารกิจอื่นๆ ในความดูแลของกทม.
ในขณะเดียวกัน รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ได้แสดงทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุในพิธีเปิดและมอบโล่เกียรติคุณผู้สูงอายุดีเด่นของสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร เมื่อปลายปี 2565 ไว้ว่า
“การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไม่ได้แปลว่าเราชราภาพ คำว่าสูงอายุ คือแค่เราเก็บวันเวลามากกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นการส่งเสริมให้สังคมรู้ว่า เราสะสมประสบการณ์มา โดยอาจจะมีคนทางฝั่งกทม. ในฐานะคนดูแลเมืองช่วยสนับสนุน เพื่อให้รู้ว่าผู้สูงอายุไม่ใช่คนชราที่ทำอะไรไม่ได้ นั่งอยู่กับบ้านอย่างเดียว เป็นภาระของลูกหลาน”
รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าว
โดยรองผู้ว่าราชการเสริมว่า การร่วมทำกิจกรรมของผู้สูงอายุเป็นการรวมตัวกันของคนที่มีจิตวิญญาณเดียวกันที่ยังอยากจะออกมาทำกิจกรรมที่ทำให้ตัวเองมีชีวิตชีวา ซึ่งรวมไปถึงกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคมด้วย
รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในพิธีเปิดและมอบโล่เกียรติคุณผู้สูงอายุดีเด่น ของสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่มา: เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
“ในฐานะคนดูแลเมืองเราจะทำให้ความเข้าใจตรงนี้เกิดขึ้น และจะสนับสนุนการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ ทั้งชมรม เครือข่าย ให้สามารถทำได้ง่าย สะดวก และต้องจริตในแง่ของลักษณะของกิจกรรมที่อยากทำและมีคุณค่า” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าว
ล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ได้มีการเสนอแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกันมั่นคง พึ่งพาตนเองได้ เป็นพลังของสังคม”
โดยประกอบด้วย 3 แผนปฏิบัติการย่อย คือ การเตรียมความพร้อมของวัยก่อนสูงอายุ การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการบริหารและส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบรองรับสังคมสูงวัย ซึ่งมีเป้าหมายรวม 25 เป้าหมาย เช่น ชุมชนมีระบบป้องกันสาธารณภัยสำหรับผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแผนการทำงานตามนโยบายผู้ว่าฯ กทม. ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงอายุ จำนวน 5 นโยบาย กล่าวคือ 1. อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) 2. ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ 3. คลังปัญญาผู้สูงอายุ 4. หมอถึงบ้าน ผ่านระบบ Telemedicine และ 5. ส่งเสริมกลไกภาคประชาชนสุขภาพดี ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯ
โดยรองผู้ว่าฯ เสริมว่า การทำงานจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ ต้องใช้การบูรณาการร่วมกันหลายฝ่าย และนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. นั้นมุ่งเน้นการทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองยังมีฟังก์ชันอยู่ ซึ่งจะสอดคล้องกับการทำให้เศรษฐกิจและสังคมของเราแข็งแรงขึ้น และขยายไปถึงการทำให้ปฏิสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับคนกลุ่มอื่นในสังคมลื่นไหลไปด้วยกันอีกด้วย
อ้างอิง
กรุงเทพมหานคร. (2565, 29 พฤศจิกายน). รองผู้ว่าฯ ทวิดา มอบโล่เกียรติคุณผู้สูงอายุดีเด่น ย้ำ ผู้สูงอายุไม่ใช่คนชรา แต่คือผู้ส่งต่อประสบการณ์ชีวิตที่มีค่าสู่รุ่นต่อไป [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/prbangkok/posts/pfbid0ctyuuce8c7iXx pZdTQRwqAH79NHpT4aE5tZmAFjbSTNLZ9GBUkvx7zLFbQbkqy4Gl
กรุงเทพมหานคร. (2566, 1 มีนาคม). ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ เน้นย้ำการทำงานแบบบูรณาการ สร้างนโยบายให้เป็นรูปธรรม [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/prbangkok/posts/pfbid0o2eAnAsQAUhcAWZRyo3ZJXo9BiU9jpuAEw9PRcgPtKAmWXU6KBcdywUqqFCXHN9ol
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และ ยศ วัชระคุปต์. (2560). ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย . สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. https://tdri.or.th/2017/12/old-age-insure-system/
NationOnline. (ผู้ผลิต). (2021). Live!! Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี [วิดีโอ]. https://www.youtube.com/watch?v=cPQRHuV_ZjA
Like this: Like Loading...
ไม่ว่าใครก็มีพื้นที่โปรดปรานของตัวเองทั้งนั้น อาจจะเล็กจ้อยเพียงบนเตียงนอน หรือกว้างเท่าสวนสาธารณะสักแห่ง เมื่อถึงเวลาพักผ่อนหย่อนใจ ต่างคนก็แยกย้ายไปผ่อนคลายตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เด็ก ๆ อาจจะชอบใช้เวลากับเพื่อน ๆ ที่สนามเด็กเล่น วัยรุ่นอาจจะมีโถงคอนเสิร์ตหรือห้างสรรพสินค้าเป็นพื้นที่เติมกำลังใจให้ความฝัน พอถึงวัยทำงาน การนัดพบปะเพื่อนฝูงที่บาร์สักแห่งยามค่ำคืนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเติมความสุขให้กับชีวิต
บนพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง ในช่วงเช้าตรู่ของทุกวัน เหล่าผู้สูงวัยก็กำลังใช้เวลาพักผ่อนในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง รำมวยจีน เล่นหมากรุก เต้นลีลาศ เย็บปักถักร้อย ดื่มน้ำชา หรือแม้กระทั่งอ่านหนังสือ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นใน ‘สวนลุมพินี’ พื้นที่ที่ครองใจคนกรุงเทพมาอย่างยาวนาน
คุณภาพชีวิตดีเพราะผู้สูงอายุมีคอมมูนิตี้ที่เข้าถึงได้
ไม่ไกลจากประตู1 ทางด้านโรงเรียนสวนลุมพินี ปรากฏให้เห็นอาคารสีขาว หลังคาทรงไทย และหน้าต่างสีฟ้าสดใส ซึ่งหากไม่ทันสังเกต คงไม่รู้ว่านี่คือที่ตั้งของ ‘ศูนย์ผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร’ สถานที่จัดกิจกรรมของ ‘กลุ่มซีเนียร์คลับ’ อันเกิดจากการรวมตัวกันของภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยส่งเสริมกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง
ป้าป้อม รุ่งนภา มั่นใจอารย์ อดีตพยาบาลวัย 63 ปีที่ใช้เวลาหลังการเกษียณอายุมาทำหน้าที่ผู้ประสานงานกิจกรรมในซีเนียร์คลับ เล่าให้ ‘นิสิตนักศึกษา’ ฟังว่า กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุไม่ได้มีแค่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่ชีวิตของพวกเขามีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มากกว่านั้น กิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ก็สำคัญเทียบเท่าเรื่องสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าสูงวัยที่ชอบทำกิจกรรม (Active Ageing) อีกด้วย
ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
“ต้องมีกิจกรรมนันทนาการเยอะ ๆ คนแก่ทำงานมาเยอะแล้ว เต็มที่แล้ว เบื่อง่าย อยากพักผ่อน แต่ถ้าพักผ่อนนอนอยู่บ้านเป็นเดือนก็เบื่อแล้ว เรายังทำอะไรไหว ไปเดินสวนก็แล้ว ดูเน็ตฟลิกซ์ก็แล้ว มันก็ยังขาดอะไรอยู่ เพราะคนเราต้องมีสังคม มีเพื่อน ยิ่งเราแก่แล้ว คนแก่จะมีความรู้สึกว่ากลัวเป็นภาระ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า แก่แล้วไม่มีใครสนใจแล้ว ลูกหลานมาหาก็โทรศัพท์คนละเครื่อง อยู่บ้านพูดได้ 3 คำก็แยกกันไปละ”
เมื่อได้เข้าไปในซีเนียร์คลับ จะพบว่ามีเสียงหัวเราะอยู่เป็นระยะ แม้บางคนจะไม่รู้จักกันมาก่อน แต่เมื่อได้ทำกิจกรรมด้วยกัน แลกเปลี่ยนรอยยิ้มเสียงหัวเราะ ก็ช่วยสร้างความเป็นกันเองอยู่ไม่น้อย ที่นี่มีกิจกรรมมากมายสลับเปลี่ยนไปในแต่ละเดือน เช่น กิจกรรมบอร์ดเกมบริหารสมอง ทำอาหาร งานฝีมือ ศิลปะแมนดาลา (การสร้างงานศิลปะรูปแบบทรงกลม) ทำของชำร่วย สอนใช้ไอที เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกทำได้ตามความสนใจ โดยแต่ละกิจกรรมเปิดรับสมัครผ่านเพจเฟซบุ๊ก Senior Club และยังเปิดรับวอล์คอินสำหรับผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์อีกด้วย
“รู้จักที่นี่จากโซเชียล จากเฟซบุ๊กนี่แหละ อ่าน ๆ ไถ ๆ ไปมันขึ้นมาเอง พี่ว่ามันก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมามีส่วนร่วม แล้วก็ถลำไปเรื่อย ๆ อย่างที่เห็น (หัวเราะ) ที่นี่กิจกรรมเยอะ แล้วเจ้าหน้าที่เขาน้อยมาก มีอยู่ 4-5 คนแล้วก็แม่บ้าน ทุกคนเวลามาก็จะรู้เองว่าต้องช่วยกันเก็บโต๊ะ เคลียร์โต๊ะ พอความสนิทสนมมันเริ่มดีขึ้น ก็กลายเป็นกัลยาณมิตรกัน ถ้าสนิทกับใครจริง ๆ คุยกันถูกคอ ก็จะมีกลุ่มเล็ก ๆ คุยกัน”
ครูน้อย คนธาทิพ วีระประวัติ อดีตพนักงานบริษัทสายการบินวัย 64 ปี ผู้เริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนในกิจกรรมที่ซีเนียร์คลับจัดขึ้น จนปัจจุบันเธอกลายมาเป็นครูอาสาสอนประจำวิชางานฝีมือ
“พี่มาที่ซีเนียร์คลับได้ 3 เดือนแล้ว ตอนแรกก็เรียนวิชาทำของชำร่วย ก็อยากมาเรียนรู้ว่าดอกทิวลิปมันทำยังไง อยากรู้ว่าแพทเทิร์นนี้ทำยังไง และเรียนจากครูดีที่สุด เราสามารถนำไปต่อยอดได้ด้วย”
ครูน้อยเล่าให้ฟังว่า เธอทำงานฝีมือ เย็บปักถักร้อยอยู่ก่อนแล้ว แต่หลังเกษียณก็ออกมาเรียนรู้จากคลาสเวิร์คชอปต่าง ๆ เพิ่มเติม พอมีคนเห็นความสามารถ ชักชวนให้ลองมาสอน จึงมีคลาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น เธอได้ใช้ทักษะที่ตัวเองถนัดและชื่นชอบ เมื่อมีโอกาสก็สลับบทบาทมาเป็นครูบ้าง
“เรามาที่นี่ก็ได้อะไรหลายอย่าง ได้ตื่นเช้า ได้เดิน ได้ปฏิสัมพันธ์ ดูวิว อากาศ แดด พี่มีสวนอยู่ในหมู่บ้านไม่ได้ออกไปเดินเลย แต่ที่นี่เนี่ย ภูมิทัศน์สุดยอด มีน้ำ มีต้นไม้ มีตึก มีเพื่อนด้วย เดินถ่ายรูปทุกเช้า โพสต์ลง เพื่อนทักทุกวันไปเที่ยวไหนมา จริง ๆ ไม่ได้ไปเที่ยวไหนเลย อยู่สวนลุมเนี่ยแหละ” ครูน้อยเล่าด้วยรอยยิ้ม
ไม่ไกลจากศาลาพิศพิรุณหรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘เกาะลอย’ เป็นที่ตั้งของคอมมูนิตี้อีกแห่งที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือ ชมรมเซี้ยงเล้งไท้เก๊ก ด้วยเต๊นท์สีเขียวใหญ่สะดุดตา หินหยินหยางที่ตั้งอยู่กลางเต๊นท์ และผู้สูงอายุมากมายที่แต่งตัวด้วยสีสันสดใส เคลื่อนไหวไปพร้อมท่ารำอย่างผ่อนคลาย ดึงดูดความสนใจของคนที่เดินผ่านมาผ่านไปได้อย่างดี
ครูนิ วนิดา หิรัญพงศ์สันต์ เล่าให้ฟังว่า การรำมวยจีนให้ประโยชน์หลายอย่างที่คนรุ่นใหม่อาจนึกไม่ถึง ด้วยศาสตร์ ‘ชี่กง’ หรือศาสตร์ของกำลังภายใน ซึ่งเชื่อว่าในธรรมชาติมีพลังซ่อนอยู่ การมาเข้าชมรมทุกเช้าจึงช่วยสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้กับสมาชิกในชมรม พื้นที่แห่งนี้จึงมีความสำคัญต่อจิตใจกับผู้สูงอายุในเซี้ยงเล้งไท้เก๊กอยู่ไม่น้อย
การรำไท้เก๊ก หรือที่เรียกว่า รำมวยจีน เป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช้กล้ามเนื้อ แต่เน้นลมหายใจ ช่วยให้สุขภาพดี เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดีขึ้น
“มันคือศาสตร์ของไฟฟ้าชีวภาพในร่างกาย ไม่ใช้กำลังหรือกล้ามเนื้อ ยิ่งมารำท่ามกลางธรรมชาติแบบนี้ มันมีพลังชี่อยู่แล้ว พลังงานตรงนี้ก็เหมือนเป็นที่พักใจ บางคนพอไม่ได้มารำก็ไม่สบายใจ”
ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
อีกฝั่งของสวนลุมพินี ไม่ไกลจากประตูลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 มากนัก ปรากฏให้เห็นอาคารชั้นเดียวสีเหลืองอ่อนพร้อมตัวอักษร ‘ห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานคร’ หรือที่รู้จักในชื่อ ‘ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี’ อีกหนึ่งแหล่งพักใจของเหล่าสูงวัยที่ชอบอ่านหนังสือ
ที่นี่ ‘นิสิตนักศึกษา’ ได้พบกับ ลุงพงษ์ศักดิ์ ซึ่งกำลังอ่านอมตะนิยายไทยเรื่อง ‘เพชรพระอุมา’ อย่างตั้งอกตั้งใจ ห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือนิยายเก่า ๆ อยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะนิยายไทยและนิยายแปลจากต่างประเทศ
“ปีนี้อายุผมก็ 69 ย่าง 70 แล้ว มาที่นี่ก็อ่านหลายอย่างครับ นิยายบ้าง หนังสือพิมพ์บ้าง ก็ชอบครับ ส่วนใหญ่จะเป็นนิยายไทย นิยายจีน เจออะไรก็อ่าน”
ลุงพงษ์ศักดิ์ใช้มือข้างหนึ่งคั่นหน้ากระดาษสีเหลืองซีดที่กำลังอ่านอยู่ ก่อนจะเล่าให้ฟังว่า เขามาอ่านหนังสือที่นี่เกือบสิบปีแล้ว ตอนเกษียณใหม่ ๆ ไม่ได้มาบ่อย แต่ช่วงหลังพอว่างมากขึ้นก็แวะมาเรื่อย ๆ เมื่อก่อนบ้านอยู่แถวนี้ แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่รังสิตแล้ว และวันนี้ก็เดินทางมาจากรังสิตเช่นกัน
ในสวนลุมพินีมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ชอบใช้เวลาของตัวเองไปกับหนังสือ พร้อมกับบรรยากาศสบาย ๆ มีโต๊ะเรียงรายแยกกันไปตามแต่ละมุม เลือกสรรได้ตามใจ มีแสงแดดลอดผ่านหน้าต่างอยู่เป็นระยะ ไม่อุดอู้ ทั้งยังติดเครื่องปรับอากาศ ช่วยคลายร้อนได้เป็นอย่างดี
“บางคนก็มาหลบร้อน บางทีก็แอบงีบบ้าง (หัวเราะ) ที่นี่ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าเราไปเดินข้างนอก เผลอนั่งหลับไปเนี่ยยุ่งเลย จริง ๆ ที่นี่เขาห้ามหลับ หลับไม่ได้ ต้องแกล้ง ๆ งีบ (หัวเราะ) มานั่งอ่านหนังสือที่นี่ผมก็รู้สึกว่าสบายดี แต่แอร์เย็นไปหน่อยนะ” ลุงพงษ์ศักดิ์พูดติดตลกอย่างอารมณ์ดี
ความปลอดภัยเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ลุงพงษ์ศักดิ์ให้ความสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่าห้องสมุดแห่งนี้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำห้องสมุดคอยดูแล และมีแม่บ้านทำความสะอาดอยู่เสมอ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย จึงน่าจะอธิบายได้ว่าเหตุใดผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของที่นี่ล้วนเป็นผู้สูงอายุ
ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
แม้กิจกรรมอ่านหนังสือในห้องสมุดสวนลุมฯ จะดูเป็นกิจกรรมส่วนตัว ต่างคนต่างแยกกันไปนั่งตามมุมต่าง ๆ ตามความชอบใจ แต่ลุงพงษ์ศักดิ์เล่าให้ฟังว่า บางครั้งเขาก็รวมกลุ่มกับเพื่อน มาอ่านหนังสือในห้องสมุดเช่นกัน
“บางวันผมก็นัดกินข้าวกันตอนเที่ยงกับเพื่อน กินกาแฟเสร็จก็บ่ายโมงบ่ายสองแล้ว ก็ค่อยมา บางวันก็คนเดียวบ้าง นัดกับเพื่อนบ้าง ผู้เฒ่านั่งอ่านเสร็จก็หลับบ้างอะไรบ้าง เข้ามาพักผ่อน เขาก็อ่านนิยาย อ่านหนังสือพิมพ์กัน หนังสือพิมพ์เดี๋ยวนี้เราก็ไม่ค่อยซื้อกันแล้วเนอะ เพราะมีโทรศัพท์ติดตามข่าวสารได้”
ผลักดันกิจกรรมผู้สูงวัย สร้างคุณค่าให้ชีวิต
รศ.ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิด อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า องค์ประกอบที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ต้องประกอบไปด้วยการมีสุขภาพที่ดี การมีส่วนร่วมในสังคม และมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
“ถ้าเราจินตนาการว่าเราอยากจะเป็นผู้สูงอายุแบบไหน อาจารย์คิดว่าคนส่วนใหญ่ก็คงอยากเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้นานที่สุด สามารถที่จะพาตัวเองออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมเท่าที่ตัวเองปรารถนาที่จะทำ ไม่มีข้อจำกัดอะไรต่าง ๆ อย่างน้อยอยู่ในบ้านตัวเองก็ปลอดภัย ออกไปในชุมชนก็ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง หรือยวดยานพาหนะ”
ให้สัมภาษณ์กับ “นิสิตนักศึกษา”
อาจารย์วรรณลักษณ์ ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขอย่างสมบูรณ์ คือ ผู้สูงอายุจำเป็นต้องตระหนักรู้ในตัวเอง และเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตวัยเกษียณ ในขณะเดียวกัน รัฐก็ต้องจัดสวัสดิการควบคู่กันไป ไม่ใช่เฉพาะเพียงผู้สูงอายุ แต่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกวัย
“เราเรียกว่าหลักการจัดการแบบ Universal Design (การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกวัย) ถ้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ คนท้อง ผู้หญิง ผู้ชาย เข้าไปในพื้นที่สาธารณะที่ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ก็มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะสามารถใช้ชีวิตที่เข้มแข็งปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้”
Universal Design คือแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคมเพื่อให้คนทุกวัยสามารถมาใช้ชีวิตร่วมกันได้ การออกแบบเช่นนี้ทำให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวกในการออกไปทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น สวนสาธารณะมีทางลาด หรือราวจับ การทำให้ทางเท้าราบ ทั้งหมดนี้ช่วยสร้างความปลอดภัยให้คนทุกคนทุกวัย ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือคนพิการก็สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างปลอดภัย
“หากผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์กับบุตรหลานในทางบวกก็มักจะทำให้ครอบครัวมีความผูกพันกันมากขึ้น ยิ่งคนในบ้านมีกิจกรรมใด ๆ ที่นึกถึงผู้สูงอายุ อยากให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม ก็ยิ่งสะท้อนความเกื้อกูลกันอย่างแนบแน่น นับเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคมซึ่งกันและกัน บุตรหลานมีความสุข ผู้สูงอายุก็มีความสุข”
อาจารย์วรรณลักษณ์ เสริมว่า ในครอบครัวที่ไม่ค่อยใกล้ชิดกัน และมีทัศนคติเชิงลบกับผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ในการอยู่ร่วมกันจะไม่ค่อยดีนัก และอาจนำไปสู่ความรุนแรงต่อกันในที่สุด ความสุขของคนวัยอื่นจึงส่งผลต่อความสุขของผู้สูงอายุด้วย
ในขณะเดียวกัน การออกมาทำกิจกรรมและเข้าสังคมของผู้สูงอายุก็สำคัญไม่แพ้กัน
“การที่ผู้สูงอายุออกไปร่วมกิจกรรมในสังคม ไม่ใช่แค่ว่าออกนอกบ้าน จริง ๆ การอยู่ในบ้านก็สามารถสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในสังคมได้ เช่น ลูกหลานจะต้องคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันแบบคนหลายๆ เจเนอเรชัน ซึ่งมันทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแฮปปี้ที่ได้มีส่วนร่วม หรือถ้าออกไปนอกบ้าน เช่น พาผู้สูงอายุไปเที่ยว ไปเปิดหูเปิดตา มันก็สร้างความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตให้เขาได้” อาจารย์วรรณลักษณ์กล่าว
นอกจากนี้ ไม่ใช่ผู้สูงวัยทุกคนที่ชอบการพบปะสังสรรค์เข้าสังคม ดังนั้นการเข้าใจความชอบของตัวเอง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขได้ อย่างไรก็ตาม อาจารย์วรรณลักษณ์ยังเสริมว่า แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะไม่ชอบการเข้าสังคมมากนัก แต่การพบปะ พูดคุย มีสังคมก็ยังจำเป็น
“การมีสังคมข้างนอกเยอะ หลากหลายกลุ่มก็ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้สูงอายุด้วย เพราะผู้สูงอายุบางคนก็แฮปปี้ในชีวิตอยู่แล้ว แต่บางคนรู้สึกเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียว มันก็อาจมีลิมิตว่า ออกไปมีสังคมบ้าง แต่ไม่เยอะเกินไป ขึ้นกับตัวผู้สูงอายุเองเลย แต่ยืนยันด้วยทั้งงานวิจัยและตัวคอนเซปต์เลยว่า การที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมเยอะมาก ๆ หรือมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มันสร้างความมีชีวิตชีวาและความพึงพอใจในชีวิตให้กับผู้สูงอายุได้”
ทั้งนี้ หากผู้สูงอายุเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอสังคมใหม่ ๆ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ การพบปะก็อาจจะไม่หยุดอยู่แค่เพื่อนวัยเดียวกัน แต่มีเด็ก วัยรุ่น หรือวัยทำงานร่วมทำกิจกรรมด้วย ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และความคิดของผู้สูงอายุ บางคนหงุดหงิดน้อยลง มีสมาธิมากขึ้น
“ถ้าผู้สูงอายุหยุดกิจกรรมหรือหยุดทำอะไรไปนาน ๆ ความต่อเนื่องในชีวิตก็ลดลง ความกระตือรือร้นก็ลดลง ทำให้หดหู่ไปเรื่อย ๆ ฟังก์ชันการทำงานของร่างกายก็ลดลงด้วย ฉะนั้น เด็กรุ่นใหม่ที่บอกว่า พ่อแม่เป็นผู้สูงอายุแล้วไม่ต้องทำอะไร เรามองว่าควรส่งเสริมให้ทำ แต่แค่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นมากกว่า เช่น จะไปปีนเปลี่ยนนั่นนี่เหมือนสมัยก่อนไม่ได้แล้ว เท่านั้นเอง ไม่ต้องบอกให้เขาหยุดทำ ยิ่งทำกิจกรรม ยิ่งดี”
อาจารย์วรรณลักษณ์ทิ้งท้ายไว้ว่า คนรุ่นใหม่อาจช่วยสังเกตุผู้สูงอายุใกล้ตัว ช่วยสนับสนุนให้พวกเขาออกมาทำกิจกรรม จะเป็นประโยชน์มากกว่าพักผ่อนอยู่บ้านไปนาน ๆ เพราะเสี่ยงต่อปัญหาด้านกายภาพที่อาจตามมาภายหลัง และที่สำคัญ อาจช่วยทำให้คนรุ่นใหม่เข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน ทางด้านกรุงเทพมหานครก็มีแผนที่จะดึงคนรุ่นใหม่ให้กลับมาร่วมขับเคลื่อนเมือง เพื่อรองรับสังคมสูงวัยของกรุงเทพมหานครเช่นกัน
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อมูลในงานสัมมนาหัวข้อ Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ไว้ว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึงร้อยละ 21.68 หรือกว่า 1,194,171 คน
แม้ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะลดลงเรื่อย ๆ แต่จำนวนผู้สูงอายุกลับมากขึ้นทุกปี ในขณะที่คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยออกจากกรุงเทพฯ เพื่อมองหาคุณภาพชีวิตและโอกาสที่ดีกว่า เช่น วางแผนไปอยู่ต่างประเทศ
ในงานสัมมนาหัวข้อ Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครยังได้กล่าวถึงแนวนโยบาย 9 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านการเดินทาง ด้านความปลอดภัย ด้านบริหารจัดการ ด้านโครงสร้าง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนจำนวนอยู่ไม่น้อย
“เรื่อง universal design เรื่องสุขภาพ สภาพแวดล้อม คือผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสวนได้ไหม มีความปลอดภัยไหม ด้านการเรียนรู้ ผู้สูงอายุก็เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณภาพ ให้ผู้สูงอายุมาช่วยสอนหรือดูแลเด็กได้ เอาความรู้ของเขากลับมาคืนสู่สังคมได้ ทุกมิติที่เราทำเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้งหมด นโยบายต่าง ๆ เราเน้นเส้นเลือดฝอย ซึ่งมันจะตรงมาถึงผู้สูงอายุด้วย”
นอกจากนี้ นายชัชชาติยังอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยของ ABCD Centre 2563 ซึ่งอธิบายว่า ค่าใช้จ่ายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านอยู่ที่ 120,000 บาทต่อปี ไม่รวมถึงค่าเสียโอกาสของผู้ดูแล ส่วนค่าใช้จ่ายดูแลผู้สูงอายุติดเตียงนั้นสูงถึง 230,000 บาทต่อปี
ประกอบกับข้อมูลของสถาบัน TDRI เรื่อง ‘ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย ปี 2560’ ซึ่งพบว่า ค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวอาจเพิ่มมากขึ้นถึง 3.4 แสนล้านบาทต่อปีในปี 2590
ดังนั้นเพื่อลดโอกาสในการติดบ้านติดเตียงของผู้สูงอายุ แนวนโยบายที่กรุงเทพมหานครวางแผนไว้จะให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยง โดยนายชัชชาติเสริมว่า จำเป็นจะต้องเพิ่มการเข้าถึงสวนสาธารณะต่าง ๆ เช่น สวนลุมพินี สวนจตุจักร อุทยานเบญจสิริ ปัจจุบันก็ขยายเวลาเปิดให้เช้าขึ้น และขยายเวลาการปิดเป็น 22.00 น. ส่วนชมรมผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีอยู่ 189 กลุ่ม/ชมรม และยังมีอีก 18 เขตในกทม. ที่ยังไม่มีชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งจะเพิ่มให้ครบถ้วนต่อไปในอนาคต
เป็นหนึ่งในความดูแลของกรุงเทพมหานคร
“ทำพื้นที่สีเขียวใกล้บ้าน ผู้สูงอายุสามารถเดินไปออกกำลังกายได้ ลูกหลานพาไปได้ ตอนนี้เราก็หาพื้นที่สีเขียวเพิ่ม ไม่ได้มีแต่สวนสาธารณะใหญ่ใกล้บ้าน เพิ่มให้เปิดสวนเช้าขึ้น เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น จัดกิจกรรม มีชมรมผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมาเจอกัน มาทำกิจกรรมกับเพื่อน ก็จะลดเรื่องความเบื่อ มีเพื่อนก็ทำให้จิตใจสดชื่น” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอธิบายถึง ‘นโยบายสวน 15 นาที’ และภารกิจอื่นๆ ในความดูแลของกทม.
ในขณะเดียวกัน รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ได้แสดงทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุในพิธีเปิดและมอบโล่เกียรติคุณผู้สูงอายุดีเด่นของสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร เมื่อปลายปี 2565 ไว้ว่า
โดยรองผู้ว่าราชการเสริมว่า การร่วมทำกิจกรรมของผู้สูงอายุเป็นการรวมตัวกันของคนที่มีจิตวิญญาณเดียวกันที่ยังอยากจะออกมาทำกิจกรรมที่ทำให้ตัวเองมีชีวิตชีวา ซึ่งรวมไปถึงกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคมด้วย
ของสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565
ที่มา: เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
“ในฐานะคนดูแลเมืองเราจะทำให้ความเข้าใจตรงนี้เกิดขึ้น และจะสนับสนุนการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ ทั้งชมรม เครือข่าย ให้สามารถทำได้ง่าย สะดวก และต้องจริตในแง่ของลักษณะของกิจกรรมที่อยากทำและมีคุณค่า” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าว
ล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ได้มีการเสนอแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกันมั่นคง พึ่งพาตนเองได้ เป็นพลังของสังคม”
โดยประกอบด้วย 3 แผนปฏิบัติการย่อย คือ การเตรียมความพร้อมของวัยก่อนสูงอายุ การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการบริหารและส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบรองรับสังคมสูงวัย ซึ่งมีเป้าหมายรวม 25 เป้าหมาย เช่น ชุมชนมีระบบป้องกันสาธารณภัยสำหรับผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแผนการทำงานตามนโยบายผู้ว่าฯ กทม. ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงอายุ จำนวน 5 นโยบาย กล่าวคือ 1. อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) 2. ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ 3. คลังปัญญาผู้สูงอายุ 4. หมอถึงบ้าน ผ่านระบบ Telemedicine และ 5. ส่งเสริมกลไกภาคประชาชนสุขภาพดี ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯ
โดยรองผู้ว่าฯ เสริมว่า การทำงานจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ ต้องใช้การบูรณาการร่วมกันหลายฝ่าย และนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. นั้นมุ่งเน้นการทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองยังมีฟังก์ชันอยู่ ซึ่งจะสอดคล้องกับการทำให้เศรษฐกิจและสังคมของเราแข็งแรงขึ้น และขยายไปถึงการทำให้ปฏิสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับคนกลุ่มอื่นในสังคมลื่นไหลไปด้วยกันอีกด้วย
อ้างอิง
Share this:
Like this: