เรื่อง : นวจิต เอื้ออภินันท์สกุล
ภาพ : ศุภกานต์ ผดุงใจ
“ทำไมต้องเข้ามาในห้องบ่อยๆ ด้วย”
“จะมาจับทำไม เดี๋ยวก็จัดเองได้อยู่แล้ว”
“อันนี้มันของของเรานะ จะมายุ่งทำไม”
นี่ไม่ใช่เพียงข้อความที่แสดงอารมณ์หงุดหงิดเพียงชั่วครู่ แต่คือเสียงเรียกร้องจากใจของวัยรุ่นต่อการที่ผู้ใหญ่มักจัดการอะไรให้เกินความต้องการของพวกเขา
การก่อตัวของปัญหา
“ตอนเราอยู่ม.4 เราเริ่มอยากแยกห้องนอนเพราะเราอยากแต่งห้อง อยากซื้ออะไรมาวางมาติด อยากเอาตุ๊กตามาเรียง อีกอย่างคือตอนกลางคืนเขาชอบบังคับให้เรานอนเร็ว แต่เรายังไม่ง่วง ยังอยากทำอย่างอื่นอยู่ บางทีการบ้านไม่เสร็จด้วย
พอเราบอกไปตอนแรกเขาก็ไม่ได้ทำอะไร เหมือนฟังรับเรื่องไปวันนึงแล้วก็ลืม พอเราไปบอกอีกทีหลัง เขาเลยบอกว่างั้นให้แยกเตียงแยกโต๊ะไปตั้งอีกมุมห้องแล้วกัน ซึ่งตอนนั้นเราก็เซ็ง แต่คิดว่าก็ยังดี อย่างน้อยมันก็เรียงของทำอะไรได้อย่างที่อยาก แต่สุดท้ายแล้วพอเขามาหยิบจับอะไรที่เราจัดไว้ เราก็ไม่ชอบใจเหมือนกัน เลยอยากแยกห้องอยู่ดี” โบนัส นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเผยถึงเหตุการณ์ที่เธอต้องการพื้นที่ของตัวเองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก
“มีช่วงทีสั่งของออนไลน์บ่อยๆ ตอนแรกอยู่รับเองก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่บางทีไม่อยู่บ้านป๊าม้าเขารับให้แล้วเขาก็แกะเลย มันก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแกะ เราก็อยากจัดการของเราเอง พอบอกไปว่าอย่าทำอย่างนี้ได้ไหม เขาก็บอกว่าแค่แกะของให้ เรื่องแค่นี้เองหรือสั่งอะไรไม่ดี ดูไม่ได้หรอ หลังๆ ผมก็เลยสั่งไปลงหอเพื่อนแทน”
เมฆ นักศึกษาวัย 20 ปีกล่าวถึงความหนักใจของเขาต่อการกระทำของผู้ปกครองที่บ้าน
ลูกเปลี่ยนไป
บทความเรื่อง Adolescent development โดย Deborah Christie และ Russell Viner ในวารสาร ABC of adolescence ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2005 ระบุว่า ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาว่าด้วยการเจริญเติบโตของบุคคลในแต่ละช่วงวัย วัยรุ่นเป็นช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ กล่าวคือเมื่อบุคคลหนึ่งก้าวผ่านวัยเด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุราว 12 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เกิดพัฒนาการด้านอารมณ์ ความสามารถทางสติปัญญา และด้านสังคม
พัฒนาการด้านอารมณ์และความสามารถทางสติปัญญา จะเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้วัยรุ่นมีความชอบหรือมีลักษณะนิสัยที่แสดงออกต่างจากตอนเด็กไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น เปลี่ยนสไตล์การแต่งตัว ต้องการแยกตัวไปนอนคนเดียว อยากใช้เวลากับตัวเอง ทั้งนี้เพราะพัฒนาการดังกล่าวทำให้วัยรุ่นเกิดกระบวนการค้นหาและรับรู้ตัวตนที่ชัดเจนมากขึ้น และเมื่อรับรู้แล้วก็ต้องการจะแสดงออกไปเพื่อให้คนรอบตัวนั้นยอมรับตัวเขาอย่างที่เขาเป็น
เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัยรุ่นคนหนึ่งจะต้องการ “พื้นที่ส่วนตัว” ของตัวเองมากขึ้นและมีขอบเขตชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากการมีพื้นที่เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่คอยส่งเสริมให้ตัวเด็กนั้นได้รู้สึกและแสดงออกว่าตัวเขาเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความรับผิดชอบ สามารถตัดสินใจอะไรด้วยตนเองได้
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักสร้างความสับสนให้กับทั้งตัววัยรุ่นเองหรือบุคคลรอบข้าง ด้วยความไม่เข้าใจ การไม่ยอมรับ หรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่อาจเกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาได้ทั้งสิ้น
แต่พ่อแม่(ยัง)ไม่ปรับ
เมื่อสอบถามไปยังผู้ใหญ่ในบ้านอย่างคุณพ่อคุณแม่ พวกเขาเผยว่าสิ่งที่ทำไปล้วนแต่ทำด้วยเจตนาดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะด้วยความเป็นห่วง ความผูกพันหรือคิดว่านั่นคือสิ่งที่ควรทำในฐานะบุคคลที่ต้องดูแลลูกก็ตาม
“เราเลี้ยงของเรามาตั้งกี่ปี อยู่ดีๆ จะให้มาปล่อยก็คงยาก อดห่วงไม่ได้ จะให้อยู่แต่ในห้องแล้วเขาเล่นคอม จะคุยกับเพื่อนหรือกับใครอันตรายหรือเปล่าก็ไม่รู้” คุณแม่ท่านหนึ่งกล่าวถึงความไม่สบายใจที่มีต่อความต้องการมีห้องส่วนตัวของลูกตนเอง
ผู้ปกครองท่านนี้ยังเพิ่มเติมว่าเธอมักเห็นข่าวบนอินเทอร์เน็ตที่หลายครั้งพูดถึงการหลอกลวงผ่านโลกออนไลน์ ด้วยความเป็นห่วงเธอจึงอยากดูแลลูกให้ไม่คลาดสายตาไป อีกทั้งยังเป็นห่วงเรื่องเวลาเข้านอนซึ่งมีผลต่อสุขภาพของลูกด้วย
เช่นเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ของเมฆที่กล่าวว่า พวกเขาเองไม่ได้มองว่าสิ่งที่ตนทำไปเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพียงแต่ต้องการช่วยในส่วนที่ตนคิดว่าอยากทำให้เพื่อความสะดวกสบายของลูกเท่านั้น “ก็มีบางทีเราเข้าไปจัดโต๊ะ จัดเสื้อผ้า ช่วยเก็บห้อง เราก็หวังดีทั้งนั้นนะ จะได้ไม่ต้องมานั่งทำเอง” คุณพ่อกล่าว
เพราะการปฏิเสธไม่ใช่เรื่องง่าย
ใช่ว่าเด็กวัยรุ่นจะไม่เข้าใจเจตนาของคุณพ่อคุณแม่ เพียงแต่สิ่งที่ได้รับนั้นไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธสิ่งที่ผู้ปกครองมอบให้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กทุกคน ไม่ว่าจะกลัวโดนต่อว่า เกรงว่าพวกท่านจะเสียใจ หรือเหตุผลอื่น แต่อย่างไรเสีย พวกเขาก็ยังคงรู้สึกว่าการยอมให้ผู้ใหญ่ในบ้านจัดการสิ่งต่างๆ ให้เหมือนสมัยยังเป็นเด็กไม่ได้ทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น
เมฆซึ่งเจอปัญหาการเปิดกล่องพัสดุโดยพลการกล่าวว่า ภายหลังจากที่เขาเคยขอร้องคุณพ่อคุณแม่ว่าอย่าทำแบบนี้ แต่ทั้งสองก็ยังทำเช่นเดิม เมฆจึงไม่อยากพูดเรื่องนี้ซ้ำอีก เนื่องจากเกรงว่าจะผิดหวังที่คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจเสียที ทั้งยังกลัวว่าจะถูกดุและทำให้รู้สึกไม่ดีมากไปกว่าที่เป็นอยู่
“มันก็ไม่ใช่ว่าบอกผู้ใหญ่ไปว่า ‘ไม่ อย่าทำ ไม่ชอบแบบนี้’ แล้วเราจะสบายใจขึ้นอยู่ดี บอกไปเราก็ดูเป็นเด็กไม่ดีอีก แอบย้อนแย้งนิดนึงตรงที่เรากลัวเขาเสียใจนะ แต่ที่เป็นอยู่นี่เราก็ไม่ได้รู้สึกดีเหมือนกัน”
เฟิร์ส วัย 19 ปีมีมุมมองคล้ายกัน
แม้ต่างฝ่ายมีเหตุผลในมุมของตัวเอง แต่ความคิดที่ไม่ลงรอยกันย่อมก่อให้เกิดความคับข้องใจ โดยเฉพาะสำหรับวัยรุ่นผู้ได้รับผลกระทบเป็นคนแรก และเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง ความคับข้องใจจึงปรากฏผ่านสีหน้า ท่าทาง หรือน้ำเสียง แน่นอนว่าคนรอบข้างอย่างคุณพ่อคุณแม่ก็รับรู้ได้ถึงความไม่พอใจของลูก และเกิดความขุ่นข้องหมองใจเช่นกัน จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างวัยในที่สุด
อาจารย์ ดร. จิรภัทร รวีภัทรกุล คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมอะ ฉันแค่เดินเข้าไปในห้อง ก็เป็นห่วง ฉันแค่ดูกระเป๋าฉันห่วงไงว่าเธอจะพกอะไร มันอันตรายหรือเปล่า ฉันผิดหรอ เพราะฉะนั้นมันคือการที่คนสองวัยใส่แว่นกันคนละแว่น มองกันคนละมุม แล้วเมื่อเกิดความไม่เข้าใจตรงนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความคับข้องใจเกิดขึ้นแน่ๆ ถ้าไม่ได้คุยกัน ไม่ได้เคลียร์กัน มันก็จะสะสมและอาจจะพัฒนา หรือขยายวงไปเป็นความขัดแย้งที่มากขึ้น” ดร. จิรภัทร รวีภัทรกุล ผู้สอนรายวิชาจิตวิทยาวัยรุ่น และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบาย
ปัญหาถูกลดค่าให้เหลือแค่คำว่าคิดไปเอง
วัยรุ่นบางคนอาจไม่แน่ใจว่าความอึดอัดใจกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาจริงหรือไม่ มิหนำซ้ำสังคมที่ใกล้ชิดที่สุดอย่างครอบครัวยังคงปฏิบัติกันเช่นเดิม หลายคนจึงคิดว่าตนไม่พอใจเพราะคิดมากไปเอง จึงทำให้สุดท้ายแล้วปัญหาก็ถูกปัดทิ้งไป
“ตอนนั้นเราหงุดหงิดแต่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะก็อยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง ถึงจะหงุดหงิดหรือทะเลาะกันแต่สุดท้ายแล้วเขาก็กลับมาทำแบบเดิมจนฉันเลิกเถียงไปเอง แล้วเขาก็จะทำไปเรื่อยๆ จนคิดว่าตัวเองเริ่มซึมซับ รู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นปกติ ที่ผ่านมาก็อาจจะคิดมากไปก็ได้ ซึ่งจริงๆ เขาละเมิด privacy ฉันมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ฉันพึ่งตระหนักว่านี่คือการละเมิดตอนเข้ามหาวิทยาลัยที่มาอยู่หอ แต่ก่อนฉันไม่ได้คิดว่าสิ่งนี้มันแปลก คิดว่าทุกบ้านเป็นแบบนี้ แต่พอออกไปใช้ชีวิตแล้วได้เห็นความแตกต่างระหว่างการอยู่หอกับการอยู่บ้านก็เลยรู้ว่าสิ่งนี้มันไม่ปกติ” มณิสร วรรณศิริกุล หรือ แอปเปิ้ล บัณฑิตจบใหม่วัย 22 ปี กล่าว
เมื่อการก้าวก่ายพื้นที่ส่วนตัวนั้นเป็นปัญหาและทำให้เกิดความเครียดหรือผลกระทบต่อจิตใจตามมาได้ ดังนั้นการละเลยที่จะแก้ไขจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเป็นแน่ เรืองริน อักษรานุเคราะห์ หรือ มะเฟือง นักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัว เจ้าของเพจ Beautiful Madness by Mafuang และรายการ พ็อดแคสต์ Life Cry Sis ทางช่อง The MATTER ให้ความเห็นว่า จากสภาพสังคมที่หล่อหลอมให้เกิดชุดความคิดการโยนความผิดให้กับผู้ที่รู้สึกไม่สบายใจขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่ก็ควรได้รับการแก้ไขเช่นเดียวกัน
มะเฟือง-เรืองริน อักษรานุเคราะห์
“ส่วนใหญ่ครอบครัวในประเทศไทยจะเป็นครอบครัวที่มีลำดับขั้น หมายถึงว่าต้องฟังคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายหรือพ่อแม่ แล้วเราชินกับการที่สมองหรือร่างกายและจิตใจเราโดนฝึกให้คิดถึงคนอื่นก่อน เพราะฉะนั้นมันง่ายมากที่จะมีคำพูดขึ้นมาว่า เฮ้ย เราคิดมากไปเองหรือเปล่า เพราะไม่อยากให้อารมณ์เราเป็นภาระของคนอื่น”
มะเฟืองอธิบาย
“นอกจากเราอยู่ในสังคมที่มองอารมณ์และความรู้สึกเป็นศัตรูแล้ว มันคือสังคมที่มองว่าใครก็ตามที่อยากจะสื่อสารหรือทำความเข้าใจกับตัวเองเป็นเรื่องแปลก ดังนั้นถ้าเราเริ่มบอกตัวเองหรือบอกคนอื่นว่าคิดไปเองหรือเปล่า ก็จะไม่มีใครต้องมานั่งแก้หรือต้องมานั่งทำความเข้าใจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพยายามจะตัดอะไรออกหรือกดอะไรไว้มันไม่ได้หายไป มันแค่รอวันระเบิด และเมื่อเราเพิกเฉยต่อมันนานเท่าไร มันก็จะหล่อหลอมเป็นอะไรที่เน่าๆ อยู่ข้างในเรานานขึ้นเท่านั้น”
ยิ่งปล่อยผ่าน ปัญหายิ่งบานปลาย
จากปัญหาในมิติต่างๆ ที่ได้กล่าวมา หากไม่หยิบยกปัญหาขึ้นมาพูดคุยแก้ไขและปล่อยให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นอย่างเรื้อรังก็อาจเป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยด้านจิตใจได้
“มีวันนึงฉันรับไม่ไหว เหมือนมันเครียดแล้วฉันปวดหัวมากๆ ไม่มีแรง จนเขาก็พาฉันไปหาหมอประสาท หมอสมอง เพราะคิดว่าสมองฉันมีอะไรหรือเปล่า แต่หมอประสาทก็ทำเรื่องส่งตัวฉันไปหาจิตแพทย์ แล้วขนาดฉันบอกว่าตอนเข้าไปหาหมอขอเข้าไปคนเดียวนะ แต่เขาก็ยังเปิดประตูตามเข้ามา จนหมอต้องเชิญเขาออกไปเพราะฉันไม่พร้อมให้เขามาอยู่ด้วย แล้วพอฉันเดินออกจากห้องเขาก็เข้าไปคุยกับหมอต่อ ซึ่งพอรู้เรื่องแล้วเขาก็มาแดกดันในรถว่าถ้าคราวหลังแตะต้องไม่ได้ก็จะไม่ทำอะไรให้แล้ว”
“หลังจากวันนั้นเขาก็ไม่ค่อยได้มายุ่งอะไรเท่าเดิม อาจจะเพราะไปหาหมอแล้วหมอพูดกับเขาว่าให้ให้เวลาส่วนตัวกับฉันหน่อยก็เลยดีขึ้น ถึงจะมีบางอย่างที่เขาทำเหมือนเดิม แต่ฉันก็รู้สึกว่ามันโอเคขึ้นมาแล้ว และในบ้านฉันน่าจะให้พื้นที่กันได้มากที่สุดเท่านี้” แอปเปิ้ลเผยถึงสภาพปัญหาด้านจิตใจที่อาจเกิดขึ้นกับทุกคนที่พบเจอความเครียดจากครอบครัวได้
สอดคล้องกับมะเฟืองที่กล่าวถึงการให้คำปรึกษาที่ผ่านมาว่า เมื่อมีผู้เข้ารับบริการมาพูดคุยเรื่องความไม่สบายใจของตนเอง สุดท้ายแล้วมีจำนวนไม่น้อยเลยที่สาเหตุมาจากการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวภายในครอบครัว
“ที่จริงมันคือความรัก แต่มันคือความรักที่ถูกแสดงออกในรูปแบบที่เหมือนเรารักนกตัวนึง แล้วเราจับมันขังกรงเพื่อนกตัวนี้จะได้อยู่กับเราตลอดไป เราจะได้ให้อาหารได้ ล้างกรงเปลี่ยนกรงให้ด้วย แต่ว่านกตัวนี้ก็จะไม่มีวันรู้เลยว่าโลกข้างนอกมันเป็นยังไง จริงๆ แล้วเราชอบบินไปไหนที่สุด การที่เลี้ยงลูกแบบมอบทุกอย่างให้ลูกมันสะดวกก็จริง แต่ถ้าวันหนึ่งลูกรู้สึกว่า อ๋อ ชีวิตนี้มีแค่ทำตามพ่อแม่หรอ แล้วจริงๆ เราชอบอะไร มันจะนำมาสู่ความว่างเปล่าในจิตใจลูก ซึ่งอันนี้อันตราย”
มะเฟืองกล่าว
“มีผู้เข้ารับบริการเยอะเลยที่มาคุยด้วยสาเหตุจากเรื่องนี้ เพราะว่าเรื่องครอบครัวเป็นประเด็นที่อ่อนไหวแล้วก็มันหาคำตอบยาก ซึ่งคำตอบมันก็อยู่ที่แล้วแต่ว่าตัวตนของเราคืออะไร เพราะทุกคนต้องการยอมรับจากคนที่เรารัก เมื่อเขามองเราไม่เหมือนที่เรามองตัวเองมันก็จะมีความ ภาวะอารมณ์ตกตะกอนบางอย่าง เช่น เสียใจ น้อยใจ ผิดหวัง ตามมา” มะเฟืองเสริม
อย่างไรก็ตาม เธอเผยว่า ผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาในลักษณะนี้จำนวนมากมักมีปัญหาเรื่องยังไม่มีขอบเขตความสบายใจที่ชัดเจนและแข็งแรงสำหรับตนเองมากพอ เนื่องจากคนรอบข้างมองว่าการสร้างขอบเขตนี้เป็นการตีตัวออกห่างจากความสัมพันธ์ ทำให้ตนรู้สึกว่ากำลังเห็นแก่ตัวอยู่ โดยเธอมีคำแนะนำว่า การสร้างขอบเขตความสบายใจให้ชัดเจนนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดี เพราะนั่นคือการอยู่เพื่อตัวเองซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด และเมื่อคนเราสามารถอยู่เพื่อตัวเอง พักผ่อนตามที่ต้องการได้อย่างพอใจแล้ว เราถึงจะอยู่เพื่อคนอื่นได้อย่างเต็มใจและมีประสิทธิภาพ
ปล่อยไม่ใช่ไม่รัก
ด้านดร. จิรภัทรกล่าวว่า หนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหานี้ที่ตรงจุดที่สุดคือการเปิดใจพูดคุยสิ่งที่ต้องการกันและปล่อยให้ลูกวัยรุ่นได้มีพื้นที่ส่วนตัว การปล่อย ณ ที่นี้ไม่ได้หมายถึงการปล่อยปละละเลย แต่เป็นการปล่อยให้ลูกได้มีพื้นที่ปลอดภัยของตัวเขาเองและทำให้เขารับรู้ว่าจะกลับมาหาเมื่อไรก็ได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้ลดปัญหาความคับข้องใจที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตัวเด็กเองรู้สึกไว้ใจคุณพ่อคุณแม่และอยากจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟังมากขึ้นเองอีกด้วย
ใบฟางและคุณพ่อคุณแม่
ใบฟาง ลูกวัย 21 ปีกับคุณแม่นวรัตน์ คร้ามพิมพ์ ซึ่งมีความสนิทสนมใกล้ชิดกันเห็นพ้องกันว่า การที่ต่างฝ่ายต่างเคารพกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดำเนินไปอย่างราบรื่นตลอดมา คุณแม่เผยว่าตัวเธอให้ใบฟางมีพื้นที่ส่วนตัวตามที่ลูกต้องการตั้งแต่เข้าวัยมัธยมฯ และพยายามเลี้ยงใบฟางในฐานะคนคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ในการเลือก มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบเท่ากับสมาชิกคนอื่นในบ้านมาตลอด ไม่ได้มองว่าใบฟางเป็นลูกที่ต้องทำตามคำสั่งสอนอย่างเดียว เหตุผลที่ปฏิบัติกับลูกเช่นนี้เพราะตัวเธอและสามีมีประสบการณ์ร่วมกันคือการรู้สึกขาดพื้นที่ภายในครอบครัวของตัวเองตอนที่พวกเขายังเป็นวัยรุ่น ทั้งคู่จึงนำเอาสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบมาปรับใช้ในการเลี้ยงลูกในแบบที่ว่า ถ้าเขาเป็นเด็ก เขาก็อยากจะโตมาแบบนี้
“แม่ชอบพูดกับทุกคนว่าความสุขของลูกสำคัญกว่าความสุขของพ่อแม่ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นสุขแล้วพ่อแม่เป็นทุกข์นะ แต่ความสุขของพ่อแม่คือการได้เห็นลูกมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าไปขีดเส้นลูกมากๆ แล้วลูกต้องทุกข์เพราะตัวพ่อแม่มันก็ไม่ใช่ แม่ก็เลยเลี้ยงที่โฟกัสว่าความสุขของลูกคืออะไร ก็คือเลี้ยงจากปมด้อยตัวเอง ไม่ใช่อะไรเลย (หัวเราะ)” คุณแม่เสริม
ใบฟางก็มองว่าการที่ครอบครัวปฏิบัติเช่นนี้กับเธอ ทำให้เธอรู้สึกได้รับการเคารพ มีสิทธิ์มีเสียง ขณะเดียวกันเธอเองก็ไว้ใจคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน “จริงๆ กับบ้านเรานี่ว่ามันไม่ได้เกี่ยวหรอกว่าแม่จะเคาะประตูไหม บางทีเรายังไม่ได้ตอบพ่อแม่ไปแต่เขาเดินเข้ามาแล้ว เราก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเขาจะเข้ามาเล่นมาคุยด้วยเฉยๆ ไม่ได้จะเข้ามาทำอะไรกับของในห้องหรือคอยจับผิดเรา พอเป็นอย่างนั้นเราก็สบายใจที่จะให้เขาเข้าห้องตลอดนะ ยกเว้นถ้ามีธุระหรือทำอะไรส่วนตัวอยู่ก็อีกเรื่อง ซึ่งถ้ามีแม่ก็ไม่เข้าอยู่แล้ว”
“ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ถ้าตัดสินใจให้ ทำอะไรให้ จำกัดสิ่งที่เขาทำได้อยู่แค่กรอบเดียวไปตลอด พอถึงวันที่เราไม่อยู่แล้ว ลูกก็อาจจะทำอะไรบางอย่างเองไม่ได้ ซึ่งถ้าลูกโตไปแล้วเป็นอย่างนั้น แม่จะเป็นห่วงเขามากกว่าที่เราเป็นห่วงในทุกวันนี้อีก” คุณแม่นวรัตน์ คร้ามพิมพ์กล่าว
อ้างอิง
Christie, D., & Viner, R. (2005). Adolescent development. BMJ, 330(7486), 301–304. doi:10.1136/bmj.330.7486.301
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : นวจิต เอื้ออภินันท์สกุล
ภาพ : ศุภกานต์ ผดุงใจ
“ทำไมต้องเข้ามาในห้องบ่อยๆ ด้วย”
“จะมาจับทำไม เดี๋ยวก็จัดเองได้อยู่แล้ว”
“อันนี้มันของของเรานะ จะมายุ่งทำไม”
นี่ไม่ใช่เพียงข้อความที่แสดงอารมณ์หงุดหงิดเพียงชั่วครู่ แต่คือเสียงเรียกร้องจากใจของวัยรุ่นต่อการที่ผู้ใหญ่มักจัดการอะไรให้เกินความต้องการของพวกเขา
การก่อตัวของปัญหา
“ตอนเราอยู่ม.4 เราเริ่มอยากแยกห้องนอนเพราะเราอยากแต่งห้อง อยากซื้ออะไรมาวางมาติด อยากเอาตุ๊กตามาเรียง อีกอย่างคือตอนกลางคืนเขาชอบบังคับให้เรานอนเร็ว แต่เรายังไม่ง่วง ยังอยากทำอย่างอื่นอยู่ บางทีการบ้านไม่เสร็จด้วย
พอเราบอกไปตอนแรกเขาก็ไม่ได้ทำอะไร เหมือนฟังรับเรื่องไปวันนึงแล้วก็ลืม พอเราไปบอกอีกทีหลัง เขาเลยบอกว่างั้นให้แยกเตียงแยกโต๊ะไปตั้งอีกมุมห้องแล้วกัน ซึ่งตอนนั้นเราก็เซ็ง แต่คิดว่าก็ยังดี อย่างน้อยมันก็เรียงของทำอะไรได้อย่างที่อยาก แต่สุดท้ายแล้วพอเขามาหยิบจับอะไรที่เราจัดไว้ เราก็ไม่ชอบใจเหมือนกัน เลยอยากแยกห้องอยู่ดี” โบนัส นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเผยถึงเหตุการณ์ที่เธอต้องการพื้นที่ของตัวเองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก
ลูกเปลี่ยนไป
บทความเรื่อง Adolescent development โดย Deborah Christie และ Russell Viner ในวารสาร ABC of adolescence ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2005 ระบุว่า ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาว่าด้วยการเจริญเติบโตของบุคคลในแต่ละช่วงวัย วัยรุ่นเป็นช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ กล่าวคือเมื่อบุคคลหนึ่งก้าวผ่านวัยเด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุราว 12 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เกิดพัฒนาการด้านอารมณ์ ความสามารถทางสติปัญญา และด้านสังคม
พัฒนาการด้านอารมณ์และความสามารถทางสติปัญญา จะเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้วัยรุ่นมีความชอบหรือมีลักษณะนิสัยที่แสดงออกต่างจากตอนเด็กไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น เปลี่ยนสไตล์การแต่งตัว ต้องการแยกตัวไปนอนคนเดียว อยากใช้เวลากับตัวเอง ทั้งนี้เพราะพัฒนาการดังกล่าวทำให้วัยรุ่นเกิดกระบวนการค้นหาและรับรู้ตัวตนที่ชัดเจนมากขึ้น และเมื่อรับรู้แล้วก็ต้องการจะแสดงออกไปเพื่อให้คนรอบตัวนั้นยอมรับตัวเขาอย่างที่เขาเป็น
เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัยรุ่นคนหนึ่งจะต้องการ “พื้นที่ส่วนตัว” ของตัวเองมากขึ้นและมีขอบเขตชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากการมีพื้นที่เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่คอยส่งเสริมให้ตัวเด็กนั้นได้รู้สึกและแสดงออกว่าตัวเขาเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความรับผิดชอบ สามารถตัดสินใจอะไรด้วยตนเองได้
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักสร้างความสับสนให้กับทั้งตัววัยรุ่นเองหรือบุคคลรอบข้าง ด้วยความไม่เข้าใจ การไม่ยอมรับ หรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่อาจเกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาได้ทั้งสิ้น
แต่พ่อแม่(ยัง)ไม่ปรับ
เมื่อสอบถามไปยังผู้ใหญ่ในบ้านอย่างคุณพ่อคุณแม่ พวกเขาเผยว่าสิ่งที่ทำไปล้วนแต่ทำด้วยเจตนาดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะด้วยความเป็นห่วง ความผูกพันหรือคิดว่านั่นคือสิ่งที่ควรทำในฐานะบุคคลที่ต้องดูแลลูกก็ตาม
“เราเลี้ยงของเรามาตั้งกี่ปี อยู่ดีๆ จะให้มาปล่อยก็คงยาก อดห่วงไม่ได้ จะให้อยู่แต่ในห้องแล้วเขาเล่นคอม จะคุยกับเพื่อนหรือกับใครอันตรายหรือเปล่าก็ไม่รู้” คุณแม่ท่านหนึ่งกล่าวถึงความไม่สบายใจที่มีต่อความต้องการมีห้องส่วนตัวของลูกตนเอง
ผู้ปกครองท่านนี้ยังเพิ่มเติมว่าเธอมักเห็นข่าวบนอินเทอร์เน็ตที่หลายครั้งพูดถึงการหลอกลวงผ่านโลกออนไลน์ ด้วยความเป็นห่วงเธอจึงอยากดูแลลูกให้ไม่คลาดสายตาไป อีกทั้งยังเป็นห่วงเรื่องเวลาเข้านอนซึ่งมีผลต่อสุขภาพของลูกด้วย
เช่นเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ของเมฆที่กล่าวว่า พวกเขาเองไม่ได้มองว่าสิ่งที่ตนทำไปเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพียงแต่ต้องการช่วยในส่วนที่ตนคิดว่าอยากทำให้เพื่อความสะดวกสบายของลูกเท่านั้น “ก็มีบางทีเราเข้าไปจัดโต๊ะ จัดเสื้อผ้า ช่วยเก็บห้อง เราก็หวังดีทั้งนั้นนะ จะได้ไม่ต้องมานั่งทำเอง” คุณพ่อกล่าว
เพราะการปฏิเสธไม่ใช่เรื่องง่าย
ใช่ว่าเด็กวัยรุ่นจะไม่เข้าใจเจตนาของคุณพ่อคุณแม่ เพียงแต่สิ่งที่ได้รับนั้นไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธสิ่งที่ผู้ปกครองมอบให้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กทุกคน ไม่ว่าจะกลัวโดนต่อว่า เกรงว่าพวกท่านจะเสียใจ หรือเหตุผลอื่น แต่อย่างไรเสีย พวกเขาก็ยังคงรู้สึกว่าการยอมให้ผู้ใหญ่ในบ้านจัดการสิ่งต่างๆ ให้เหมือนสมัยยังเป็นเด็กไม่ได้ทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น
เมฆซึ่งเจอปัญหาการเปิดกล่องพัสดุโดยพลการกล่าวว่า ภายหลังจากที่เขาเคยขอร้องคุณพ่อคุณแม่ว่าอย่าทำแบบนี้ แต่ทั้งสองก็ยังทำเช่นเดิม เมฆจึงไม่อยากพูดเรื่องนี้ซ้ำอีก เนื่องจากเกรงว่าจะผิดหวังที่คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจเสียที ทั้งยังกลัวว่าจะถูกดุและทำให้รู้สึกไม่ดีมากไปกว่าที่เป็นอยู่
แม้ต่างฝ่ายมีเหตุผลในมุมของตัวเอง แต่ความคิดที่ไม่ลงรอยกันย่อมก่อให้เกิดความคับข้องใจ โดยเฉพาะสำหรับวัยรุ่นผู้ได้รับผลกระทบเป็นคนแรก และเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง ความคับข้องใจจึงปรากฏผ่านสีหน้า ท่าทาง หรือน้ำเสียง แน่นอนว่าคนรอบข้างอย่างคุณพ่อคุณแม่ก็รับรู้ได้ถึงความไม่พอใจของลูก และเกิดความขุ่นข้องหมองใจเช่นกัน จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างวัยในที่สุด
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมอะ ฉันแค่เดินเข้าไปในห้อง ก็เป็นห่วง ฉันแค่ดูกระเป๋าฉันห่วงไงว่าเธอจะพกอะไร มันอันตรายหรือเปล่า ฉันผิดหรอ เพราะฉะนั้นมันคือการที่คนสองวัยใส่แว่นกันคนละแว่น มองกันคนละมุม แล้วเมื่อเกิดความไม่เข้าใจตรงนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความคับข้องใจเกิดขึ้นแน่ๆ ถ้าไม่ได้คุยกัน ไม่ได้เคลียร์กัน มันก็จะสะสมและอาจจะพัฒนา หรือขยายวงไปเป็นความขัดแย้งที่มากขึ้น” ดร. จิรภัทร รวีภัทรกุล ผู้สอนรายวิชาจิตวิทยาวัยรุ่น และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบาย
ปัญหาถูกลดค่าให้เหลือแค่คำว่าคิดไปเอง
วัยรุ่นบางคนอาจไม่แน่ใจว่าความอึดอัดใจกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาจริงหรือไม่ มิหนำซ้ำสังคมที่ใกล้ชิดที่สุดอย่างครอบครัวยังคงปฏิบัติกันเช่นเดิม หลายคนจึงคิดว่าตนไม่พอใจเพราะคิดมากไปเอง จึงทำให้สุดท้ายแล้วปัญหาก็ถูกปัดทิ้งไป
“ตอนนั้นเราหงุดหงิดแต่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะก็อยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง ถึงจะหงุดหงิดหรือทะเลาะกันแต่สุดท้ายแล้วเขาก็กลับมาทำแบบเดิมจนฉันเลิกเถียงไปเอง แล้วเขาก็จะทำไปเรื่อยๆ จนคิดว่าตัวเองเริ่มซึมซับ รู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นปกติ ที่ผ่านมาก็อาจจะคิดมากไปก็ได้ ซึ่งจริงๆ เขาละเมิด privacy ฉันมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ฉันพึ่งตระหนักว่านี่คือการละเมิดตอนเข้ามหาวิทยาลัยที่มาอยู่หอ แต่ก่อนฉันไม่ได้คิดว่าสิ่งนี้มันแปลก คิดว่าทุกบ้านเป็นแบบนี้ แต่พอออกไปใช้ชีวิตแล้วได้เห็นความแตกต่างระหว่างการอยู่หอกับการอยู่บ้านก็เลยรู้ว่าสิ่งนี้มันไม่ปกติ” มณิสร วรรณศิริกุล หรือ แอปเปิ้ล บัณฑิตจบใหม่วัย 22 ปี กล่าว
เมื่อการก้าวก่ายพื้นที่ส่วนตัวนั้นเป็นปัญหาและทำให้เกิดความเครียดหรือผลกระทบต่อจิตใจตามมาได้ ดังนั้นการละเลยที่จะแก้ไขจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเป็นแน่ เรืองริน อักษรานุเคราะห์ หรือ มะเฟือง นักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัว เจ้าของเพจ Beautiful Madness by Mafuang และรายการ พ็อดแคสต์ Life Cry Sis ทางช่อง The MATTER ให้ความเห็นว่า จากสภาพสังคมที่หล่อหลอมให้เกิดชุดความคิดการโยนความผิดให้กับผู้ที่รู้สึกไม่สบายใจขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่ก็ควรได้รับการแก้ไขเช่นเดียวกัน
“นอกจากเราอยู่ในสังคมที่มองอารมณ์และความรู้สึกเป็นศัตรูแล้ว มันคือสังคมที่มองว่าใครก็ตามที่อยากจะสื่อสารหรือทำความเข้าใจกับตัวเองเป็นเรื่องแปลก ดังนั้นถ้าเราเริ่มบอกตัวเองหรือบอกคนอื่นว่าคิดไปเองหรือเปล่า ก็จะไม่มีใครต้องมานั่งแก้หรือต้องมานั่งทำความเข้าใจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพยายามจะตัดอะไรออกหรือกดอะไรไว้มันไม่ได้หายไป มันแค่รอวันระเบิด และเมื่อเราเพิกเฉยต่อมันนานเท่าไร มันก็จะหล่อหลอมเป็นอะไรที่เน่าๆ อยู่ข้างในเรานานขึ้นเท่านั้น”
ยิ่งปล่อยผ่าน ปัญหายิ่งบานปลาย
จากปัญหาในมิติต่างๆ ที่ได้กล่าวมา หากไม่หยิบยกปัญหาขึ้นมาพูดคุยแก้ไขและปล่อยให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นอย่างเรื้อรังก็อาจเป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยด้านจิตใจได้
“มีวันนึงฉันรับไม่ไหว เหมือนมันเครียดแล้วฉันปวดหัวมากๆ ไม่มีแรง จนเขาก็พาฉันไปหาหมอประสาท หมอสมอง เพราะคิดว่าสมองฉันมีอะไรหรือเปล่า แต่หมอประสาทก็ทำเรื่องส่งตัวฉันไปหาจิตแพทย์ แล้วขนาดฉันบอกว่าตอนเข้าไปหาหมอขอเข้าไปคนเดียวนะ แต่เขาก็ยังเปิดประตูตามเข้ามา จนหมอต้องเชิญเขาออกไปเพราะฉันไม่พร้อมให้เขามาอยู่ด้วย แล้วพอฉันเดินออกจากห้องเขาก็เข้าไปคุยกับหมอต่อ ซึ่งพอรู้เรื่องแล้วเขาก็มาแดกดันในรถว่าถ้าคราวหลังแตะต้องไม่ได้ก็จะไม่ทำอะไรให้แล้ว”
“หลังจากวันนั้นเขาก็ไม่ค่อยได้มายุ่งอะไรเท่าเดิม อาจจะเพราะไปหาหมอแล้วหมอพูดกับเขาว่าให้ให้เวลาส่วนตัวกับฉันหน่อยก็เลยดีขึ้น ถึงจะมีบางอย่างที่เขาทำเหมือนเดิม แต่ฉันก็รู้สึกว่ามันโอเคขึ้นมาแล้ว และในบ้านฉันน่าจะให้พื้นที่กันได้มากที่สุดเท่านี้” แอปเปิ้ลเผยถึงสภาพปัญหาด้านจิตใจที่อาจเกิดขึ้นกับทุกคนที่พบเจอความเครียดจากครอบครัวได้
สอดคล้องกับมะเฟืองที่กล่าวถึงการให้คำปรึกษาที่ผ่านมาว่า เมื่อมีผู้เข้ารับบริการมาพูดคุยเรื่องความไม่สบายใจของตนเอง สุดท้ายแล้วมีจำนวนไม่น้อยเลยที่สาเหตุมาจากการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวภายในครอบครัว
“มีผู้เข้ารับบริการเยอะเลยที่มาคุยด้วยสาเหตุจากเรื่องนี้ เพราะว่าเรื่องครอบครัวเป็นประเด็นที่อ่อนไหวแล้วก็มันหาคำตอบยาก ซึ่งคำตอบมันก็อยู่ที่แล้วแต่ว่าตัวตนของเราคืออะไร เพราะทุกคนต้องการยอมรับจากคนที่เรารัก เมื่อเขามองเราไม่เหมือนที่เรามองตัวเองมันก็จะมีความ ภาวะอารมณ์ตกตะกอนบางอย่าง เช่น เสียใจ น้อยใจ ผิดหวัง ตามมา” มะเฟืองเสริม
อย่างไรก็ตาม เธอเผยว่า ผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาในลักษณะนี้จำนวนมากมักมีปัญหาเรื่องยังไม่มีขอบเขตความสบายใจที่ชัดเจนและแข็งแรงสำหรับตนเองมากพอ เนื่องจากคนรอบข้างมองว่าการสร้างขอบเขตนี้เป็นการตีตัวออกห่างจากความสัมพันธ์ ทำให้ตนรู้สึกว่ากำลังเห็นแก่ตัวอยู่ โดยเธอมีคำแนะนำว่า การสร้างขอบเขตความสบายใจให้ชัดเจนนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดี เพราะนั่นคือการอยู่เพื่อตัวเองซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด และเมื่อคนเราสามารถอยู่เพื่อตัวเอง พักผ่อนตามที่ต้องการได้อย่างพอใจแล้ว เราถึงจะอยู่เพื่อคนอื่นได้อย่างเต็มใจและมีประสิทธิภาพ
ปล่อยไม่ใช่ไม่รัก
ด้านดร. จิรภัทรกล่าวว่า หนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหานี้ที่ตรงจุดที่สุดคือการเปิดใจพูดคุยสิ่งที่ต้องการกันและปล่อยให้ลูกวัยรุ่นได้มีพื้นที่ส่วนตัว การปล่อย ณ ที่นี้ไม่ได้หมายถึงการปล่อยปละละเลย แต่เป็นการปล่อยให้ลูกได้มีพื้นที่ปลอดภัยของตัวเขาเองและทำให้เขารับรู้ว่าจะกลับมาหาเมื่อไรก็ได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้ลดปัญหาความคับข้องใจที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตัวเด็กเองรู้สึกไว้ใจคุณพ่อคุณแม่และอยากจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟังมากขึ้นเองอีกด้วย
ใบฟาง ลูกวัย 21 ปีกับคุณแม่นวรัตน์ คร้ามพิมพ์ ซึ่งมีความสนิทสนมใกล้ชิดกันเห็นพ้องกันว่า การที่ต่างฝ่ายต่างเคารพกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดำเนินไปอย่างราบรื่นตลอดมา คุณแม่เผยว่าตัวเธอให้ใบฟางมีพื้นที่ส่วนตัวตามที่ลูกต้องการตั้งแต่เข้าวัยมัธยมฯ และพยายามเลี้ยงใบฟางในฐานะคนคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ในการเลือก มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบเท่ากับสมาชิกคนอื่นในบ้านมาตลอด ไม่ได้มองว่าใบฟางเป็นลูกที่ต้องทำตามคำสั่งสอนอย่างเดียว เหตุผลที่ปฏิบัติกับลูกเช่นนี้เพราะตัวเธอและสามีมีประสบการณ์ร่วมกันคือการรู้สึกขาดพื้นที่ภายในครอบครัวของตัวเองตอนที่พวกเขายังเป็นวัยรุ่น ทั้งคู่จึงนำเอาสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบมาปรับใช้ในการเลี้ยงลูกในแบบที่ว่า ถ้าเขาเป็นเด็ก เขาก็อยากจะโตมาแบบนี้
“แม่ชอบพูดกับทุกคนว่าความสุขของลูกสำคัญกว่าความสุขของพ่อแม่ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นสุขแล้วพ่อแม่เป็นทุกข์นะ แต่ความสุขของพ่อแม่คือการได้เห็นลูกมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าไปขีดเส้นลูกมากๆ แล้วลูกต้องทุกข์เพราะตัวพ่อแม่มันก็ไม่ใช่ แม่ก็เลยเลี้ยงที่โฟกัสว่าความสุขของลูกคืออะไร ก็คือเลี้ยงจากปมด้อยตัวเอง ไม่ใช่อะไรเลย (หัวเราะ)” คุณแม่เสริม
ใบฟางก็มองว่าการที่ครอบครัวปฏิบัติเช่นนี้กับเธอ ทำให้เธอรู้สึกได้รับการเคารพ มีสิทธิ์มีเสียง ขณะเดียวกันเธอเองก็ไว้ใจคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน “จริงๆ กับบ้านเรานี่ว่ามันไม่ได้เกี่ยวหรอกว่าแม่จะเคาะประตูไหม บางทีเรายังไม่ได้ตอบพ่อแม่ไปแต่เขาเดินเข้ามาแล้ว เราก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเขาจะเข้ามาเล่นมาคุยด้วยเฉยๆ ไม่ได้จะเข้ามาทำอะไรกับของในห้องหรือคอยจับผิดเรา พอเป็นอย่างนั้นเราก็สบายใจที่จะให้เขาเข้าห้องตลอดนะ ยกเว้นถ้ามีธุระหรือทำอะไรส่วนตัวอยู่ก็อีกเรื่อง ซึ่งถ้ามีแม่ก็ไม่เข้าอยู่แล้ว”
“ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ถ้าตัดสินใจให้ ทำอะไรให้ จำกัดสิ่งที่เขาทำได้อยู่แค่กรอบเดียวไปตลอด พอถึงวันที่เราไม่อยู่แล้ว ลูกก็อาจจะทำอะไรบางอย่างเองไม่ได้ ซึ่งถ้าลูกโตไปแล้วเป็นอย่างนั้น แม่จะเป็นห่วงเขามากกว่าที่เราเป็นห่วงในทุกวันนี้อีก” คุณแม่นวรัตน์ คร้ามพิมพ์กล่าว
อ้างอิง
Christie, D., & Viner, R. (2005). Adolescent development. BMJ, 330(7486), 301–304. doi:10.1136/bmj.330.7486.301
Share this:
Like this: