เรื่อง : กรกช เจียมสง่า
ภาพ : กรกช เจียมสง่า/ กาญจนา สุทธิกุล
มาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การบวชซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการปฏิบัติของศาสนาพุทธ เพื่อการบรรลุธรรมอันเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนทุกคนพึงกระทำได้เฉกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าชายหรือหญิงสามารถบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่เมื่อพิจารณาบริบทของศาสนาพุทธในประเทศไทยแล้ว จะเห็นว่า ผู้หญิงยังคงไม่สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติยังไม่รับรองสถานะนักบวชของภิกษุณี
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จึงถือเป็นการลิดรอนสิทธิ์การเข้าถึงทางเลือกในการปฏิบัติศาสนกิจของผู้หญิงไทย ซึ่งส่งผลให้การรับรู้ถึงสถานะและการมีอยู่ของภิกษุณีในประเทศไทยถูกลบเลือนไปจากสังคมด้วย ผู้หญิงที่นับถือศาสนาพุทธส่วนมากจึงไม่รับทราบว่าตนนั้นก็สามารถบวชเข้าเป็นภิกษุณีได้ เช่นเดียวกับการที่ศาสนิกชนเพศชายสามารถเลือกบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์เพื่อบรรลุเจตนาในการเรียนรู้หลักธรรมและสืบทอดพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนอย่างเท่าเทียมกัน
ภิกษุณี: เส้นทางสู่คุณภาพชีวิตที่ดีที่ผู้หญิงมีสิทธิเลือก
เพราะภาพของภิกษุณียังไม่เป็นที่รู้จักของคนในวงกว้างหลายคนจึงยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วบทบาทของภิกษุณีในทางพระพุทธศาสนา รวมถึงขั้นตอนในการบวชเข้าเป็นภิกษุณีนั้นเป็นอย่างไร ‘สุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณี’ ภิกษุณีที่ได้บวชและจำวัดอยู่ที่ประเทศไทย ได้เล่าถึงจุดมุ่งหมาย ขั้นตอนในการบวช และชีวิตผู้ครองสมณเพศของเธอไว้ว่า
“จุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเริ่มรู้สึกสนใจการบวชเริ่มจากตอนที่หลวงแม่ได้ไปปฏิบัติธรรม ได้พบความสุขจากการปฏิบัติธรรมที่เราได้ลดละกิเลส ปรารถนาที่จะสละทางโลก ไปสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ศึกษาข้อมูลแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงประดิษฐานพุทธบริษัท4 ไว้เพื่อความมั่นคงของพุทธศาสนา คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คือพระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้แล้วว่า ทรงอนุญาตให้ผู้ชายบวชเป็นภิกษุ ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ฉะนั้นการที่หลวงแม่ได้บวชเป็นภิกษุณีนี้ เป็นการถูกต้องตามพระวินัย ดำเนินอยู่ในรอยธรรมที่ถูกต้อง งดงามในวิถี”
สุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณี ภิกษุณีที่ได้บวชและจำวัดอยู่ในประเทศไทย
“ตามพระวินัย การที่ผู้หญิงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ ต้องมีอายุครบ 20 ปี ต้องบรรพชาเป็นสามเณรีก่อนอย่างน้อย 2 ปี ในการเป็นสามเณรีนั้นจะเป็นสามเณรีไปกี่ปีก็ได้ แต่เมื่อต้องการจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี สามเณรีต้องเป็นสิกขมานาก่อน 2 ปี โดยสิกขมานาคือสตรีที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ หรือผู้หญิงที่อายุครบ 12 ปี ได้แต่งงานมีครอบครัวแล้ว ศึกษาธรรม 6 ประการครบสองปีและสงฆ์ให้การรับรองแล้วจึงจะสามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้”
แม้ว่าจะใช้ระยะเวลาในการเตรียมการบวชค่อนข้างนาน และมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าการบวชพระภิกษุสงฆ์ แต่หลังจากตัดสินใจบวชเป็นภิกษุณีแล้ว สุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณี กลับมองว่าการตัดสินใจเดินทางเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ของเธอเป็นทางเลือกที่ทำให้เธอพบกับคำตอบของชีวิต
“ตอนนี้ที่เราใช้ชีวิตอยู่กับสถานะนักบวชก็เพื่อให้ 1.โลกุตระ อยู่เหนือโลก 2.โลกวิทู เรียนรู้โลก 3. โลกานุกัมปายะ ช่วยเหลือโลก สำหรับหลวงแม่ เราบวชแล้วอันดับแรกเราต้องอยู่เหนือโลกก่อน คือไม่ไหลไปตามกิเลสทางโลก อยู่เหนือกิเลสตัณหาไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งต่อ ไม่ต้องพอใจไม่พอใจในความสวยงามไม่สวยงาม เราจึงจะสามารถเรียนรู้โลกเพื่อช่วยเหลือผู้คนต่อไปได้”
สุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณี
เมื่อถามถึงวัตรปฏิบัติของภิกษุณี คำตอบที่ได้นั้นไม่ได้ต่างไปจากวัตรปฏิบัติของเหล่าภิกษุสงฆ์ที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เคยเห็นกันอย่างชินตานัก
“ทุกวันนี้วัตรปฏิบัติการสวดมนต์นั่งสมาธิทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นมีให้เห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งการทำงานเพื่อดูแลความเรียบร้อยภายในสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เราจำวัดอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีการสนทนาธรรมกับญาติโยมที่เดินทางมาปฏิบัติธรรม ปัจจุบันหลวงแม่อยู่ที่ บวรนานาธรรมสถาน จังหวัดสระแก้ว ก็มีญาติโยมแวะเวียนมาหา โดยที่ศาสนิกชนส่วนใหญ่ที่พบเจอก็จะมีความเคารพเลื่อมใสและศรัทธาในภิกษุณีไม่ต่างจากภิกษุสงฆ์ทั่วไป”
เหล่าภิกษุณี วัตรทรงธรรมกัลยาณี ออกบิณฑบาต จามวัตรปฏิบัติเป็นประจำ
จากข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ ‘ปลาย – ธนัชชา วันทะนะ’ หญิงไทยผู้มีความต้องการจะบวชเป็นภิกษุณี เพราะเชื่อว่าการบวชจะช่วยให้เธอสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เธอเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตของเธอสามารถพบกับความสุขที่แท้จริง จากเดิมที่เคยนิยามตนเองว่าเป็นคนไร้ศาสนา แต่เมื่อชีวิตต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทำให้เธอตัดสินใจเลือกใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และการบวชเป็นภิกษุณีก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่เธอต้องการจะทำให้ได้ในอนาคต
“สาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจอยากบวชเกิดจากปัญหาที่เป็นมรสุมในชีวิต จนทำให้เกิดความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตต่อ เราจึงพยายามคิดหาทางออกให้กับชีวิต โดยส่วนตัวเชื่อว่าการบวชจะทำให้เกิดความสงบสุขในจิตใจ นอกจากนี้จะทำให้เราได้เห็นโลกที่กว้างขึ้นผ่านการศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างถึงแก่น แม้ว่าเราเองจะตระหนักรู้ว่าการปรึกษาหรือได้รับการเยียวยาทางจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะทำให้ปัญหาในใจสามารถเบาบางลงได้ แต่ตัวเราก็ยังคงมีความเชื่อว่าการได้บวชจะนำมาซึ่งความสงบสุขทางจิตใจที่แท้จริง”
เมื่อถามถึงการเตรียมตัวเพื่อที่จะบวชเป็นภิกษุณี เธอกล่าวว่า “ตัวเองได้มีการปรึกษากับญาติที่บวชเป็นแม่ชี ทำให้รู้ว่าวิถีชีวิตของอุบาสิกาเป็นอย่างไร ส่วนตัวเป็นคนที่สนับสนุนแนวคิดสตรีนิยม แม้ว่าจะได้รับรู้ชุดข้อมูลว่าต่อให้บวชสำเร็จเป็นภิกษุณีได้ ก็ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกว่าพระภิกษุ ต้องคอยรับใช้พระภิกษุ หากจำวัดอยู่ด้วยกัน ต้องทำกิจต่างๆ ภายหลังจากพระสงฆ์ เช่นการฉันอาหาร การทำวัตร แต่ก็ยังมีความแน่วแน่ที่จะบวชเป็นภิกษุณีอยู่ดี”
ธนัชชามองว่านี่เป็นการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมทางเพศที่จะต้องเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของผู้หญิงในพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นกว่าเดิม และถึงแม้ในตอนนี้เธอจะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบวชเป็นภิกษุณีมากนัก แต่เธอก็ได้วางแผนไว้ว่าอยากลองไปบวชชีพราหมณ์ให้ได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตแบบอุบาสิกาก่อน ก่อนที่จะมุ่งหน้าเข้าเตรียมตัวบวชต่อไป
สิทธิที่หายไปเมื่อภิกษุณีไทยไร้สถานะนักบวช
เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าของสุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณีข้างต้น จะเห็นว่าวัตรปฏิบัติของภิกษุณีนั้นไม่ได้แตกต่างจากการมีอยู่ของพระภิกษุสงฆ์เลยในแง่ของการสืบทอดพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันภิกษุณีในไทยก็ยังคงไม่ได้รับสถานะนักบวช ซึ่งส่งผลให้พวกเธอไม่ได้รับสิทธิตามที่นักบวชพึงจะได้รับ ‘ภิกษุณีธัมมนันทา’ เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี ภิกษุณีนิกายเถรวาทรูปแรกในไทย ได้กล่าวไว้ว่า
“เพราะมหาเถรสมาคมไม่อนุมัติสถานะนักบวชของภิกษุณีสงฆ์ในไทยด้วยการยืนกรานในพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชกรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ ที่ได้สั่งห้ามไม่ให้พระภิกษุไทยบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณี เพราะเชื้อสายภิกษุณีในไทยขาดช่วงไปนานแล้ว จึงไม่สามารถทำพิธีบวชได้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่มีความต้องการจะบวชต้องเดินทางไปบวชที่ต่างประเทศ”
ภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี
‘ภิกษุณีธัมมนันทา’ หรือในชื่อฆราวาสคือ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ อดีตนักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา ผู้ได้เดินทางไปบวชเป็นภิกษุณีที่ประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 2546 ทั้งยังเคลื่อนไหวและเรียกร้องสิทธิให้แก่ภิกษุณีมานานกว่า 20 ปี ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงผลกระทบต่อสถานภาพทางสังคมของภิกษุณีอันเกิดจากการที่มหาเถรสมาคมไม่รับรองสถานะนักบวชของภิกษุณีไว้สองส่วน โดยส่วนแรก เกี่ยวเนื่องกับการที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงการบวชในประเทศไทย
จากการสำรวจจำนวนภิกษุณีในไทยของภิกษุณีธัมมนันทาล่าสุดในปี 2565 พบว่าภิกษุณีส่วนใหญ่กว่า 285 รูปจาก 40 จังหวัดในประเทศไทยล้วนต้องเดินทางไปบวชที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศศรีลังกา เนปาล อินเดีย หรือไต้หวัน เนื่องจากในต่างประเทศยังคงมีการสืบเชื้อสายภิกษุณีมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ตามมาจากการเดินทางไปบวชที่ต่างแดนคือค่าใช้จ่ายมหาศาล
“การเดินทางไปบวชครั้งหนึ่งมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยที่สุดต่อหัว 25,000 บาท โดยเฉพาะค่าตั๋วเครื่องบินที่มีมูลค่ากว่า 10,000 บาท นอกจากนี้ในพิธีบวชเราก็ต้องมีการจัดเตรียมงาน ต้องมีการถวายเงินพระภิกษุสงฆ์ 10 รูป ภิกษุณีสงฆ์ 10 รูป รวม 20 รูป อีกเรื่องสำคัญคือจำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษได้ ถ้าพูดไม่ได้ก็ต้องไปกับครูบาอาจารย์ที่ฝึกซ้อมกัน หรือไม่ก็ต้องจัดหาล่าม ไม่สามารถเดินทางไปบวชด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องมีผู้ดูแลเดินทางไปด้วย”
ภิกษุณีจากประเทศต่างๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน
ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการบวชของภิกษุณีดังกล่าวนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงและมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีบวชเป็นภิกษุอย่างเรียบง่ายในไทย อ้างอิงจากงานวิจัยหัวข้อ ‘ความเกินจริงในพิธีกรรมการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา มองผ่านปรัชญาหลังนวยุค’ โดยพระครูประสุตโพธิคุณ (สุวรรณรงค์) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมการจัดงานบวชของคนไทยไว้ว่ามีความฟุ่มเฟือยในการจัดงานหลายอย่าง แต่การบวชพระภิกษุก็สามารถกระทำได้อย่างเรียบง่ายที่สุดในงบประมาณเฉลี่ยเพียง 5,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายขั้นต่ำที่สุดในการบวชภิกษุณีในต่างประเทศ ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการบวชของเพศหญิงที่มีน้อยกว่าเพศชายมาก
ไม่เพียงแต่การเข้าถึงการบวชที่ยาก ภายหลังการบวชเป็นภิกษุณีจากต่างประเทศกลับมาแล้ว ภิกษุณีก็ยังไม่ได้รับสิทธิที่นักบวชพึงได้รับตามกฎหมาย ซึ่งเป็นผลกระทบส่วนที่สองจากการที่มหาเถรสมาคมไม่รับรองสถานะนักบวชของภิกษุณี
“แม้จะบวชแล้ว ยังมีปัญหาที่ตามมา ภาพที่เห็นจากสายตาคนทั่วไป ภิกษุณีเป็นนักบวชห่มผ้าเหลือง มีวัตรปฏิบัติคล้ายคลึงกับพระภิกษุ แต่พวกเรายังคงไม่ได้รับการรับรองโดยมหาเถรสมาคม จึงถูกปฏิบัติราวกับว่าเป็นฆราวาส ภิกษุณีจึงไม่ได้รับสิทธิดังเช่นภิกษุสงฆ์”
ในด้านสาธารณสุข เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิที่พระสงฆ์ได้รับในปัจจุบันนั้น พระสงฆ์สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์โดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ซึ่งสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิในโรงพยาบาลใกล้วัดได้ เมื่อไปรับการรักษาให้แสดงบัตรประชาชนในโรงพยาบาล/หน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้ ทั้งนี้ยังสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประจำ ตามความจำเป็น ได้ปีละ 4 ครั้ง ในขณะที่ภิกษุณีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาได้ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต้นสังกัดตามเขตในบัตรประชาชนเท่านั้น และพระภิกษุสงฆ์เองเมื่อต้องทำการรักษาโรคเฉพาะทางก็มีโรงพยาบาลสงฆ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่พระสงฆ์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้พระสงฆ์ในพื้นที่ แต่สำหรับภิกษุณีแล้วโครงการเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
นอกจากนี้ในประเด็นการศึกษา จะเห็นว่าปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับนักบวชในพระพุทธศาสนามีไว้สำหรับนักบวชเพศชายเท่านั้น โดยการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือการศึกษาที่จัดรูปแบบการเรียนการสอนตามแบบทางโลกมีสองระดับคือ 1. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (ม.1 – ม.6) 2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา สองสถาบันคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ฝ่ายมหานิกาย) และ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (ฝ่ายธรรมยุต)
ประเภทที่สอง คือ การศึกษาเฉพาะด้านหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาล้วน ๆ ไม่มีวิชาสามัญศึกษาเข้าไปปะปน แยกออกเป็น 1. การศึกษาพระปริยัติ ธรรมแผนกนักธรรม 2. การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ซึ่งทำให้พระภิกษุและสามเณรสามารถสำเร็จการศึกษาและได้รับความรู้ในทางโลกและทางธรรมแบบที่มีการรับรองวุฒิในการสำเร็จการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนหลักธรรมกันเองของภิกษุณี
ในขณะที่ภิกษุณีและสามเณรีไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาดังกล่าวได้เลย ทำได้เพียงจัดการศึกษาให้กันเองตามอัธยาศัยเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาระหว่างนักบวชทั้งสองเพศอย่างเห็นได้ชัด หากภิกษุณีได้รับสถานะนักบวชและสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ไม่ต่างกับพระภิกษุย่อมจะส่งผลดีต่อการเข้าถึงหลักธรรมคำสอน รวมทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการศึกษา
นอกจากประเด็นเรื่องสาธารณสุขและการศึกษาแล้ว การไม่ได้รับสถานะนักบวชยังส่งผลให้ภิกษุณีขาดสิทธิด้านอื่นๆ อีกด้วย
“แม้แต่วัตรทรงธรรมกัลยานีที่เหล่าภิกษุณีใช้จำวัดและปฏิบัติศาสนากิจเอง ก็ไม่ได้รับการรับรองเป็นศาสนสถาน ไม่สามารถใช้คำว่าวัดนำหน้า ไม่ได้รับการทำนุบำรุงจากภาครัฐ ซ้ำยังต้องเสียภาษีโรงเรือนเหมือนอาคารพาณิชย์ทั่วไป” ภิกษุณีธัมมนันทากล่าว
คณะสงฆ์ไทยกับ ‘ระบบชายเป็นใหญ่’ ในสังคม
แม้ว่าการขาดซึ่งสิทธิข้างต้นส่งผลต่อสวัสดิภาพของภิกษุณีในไทย จนทำให้เกิดการเรียกร้องสถานะนักบวชมาอย่างต่อเนื่อง แต่การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิของภิกษุณีในประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้สำเร็จ ‘ดร. กาญจนา สุทธิกุล’ นักวิชาการด้านศาสนวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธสาริกา และผู้ติดตามของภิกษุณีธัมมนันทา ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ขัดขวางการรับรองสถานะนักบวชของภิกษุณีไว้ว่า
ดร. กาญจนา สุทธิกุล นักวิชาการด้านศาสนวิทยา
“หนึ่งในสาเหตุที่ไม่ต้องการให้มีภิกษุณีในไทยคือเขาเกรงกลัวว่าจะเสียสิ่งที่เคยได้รับ หากเป็นสงฆ์ที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรมวินัย หวังประโยชน์อื่น เช่น ความก้าวหน้าของตำแหน่งสงฆ์ บางคนกลัวว่าจะต้องถูกแบ่งเค้กหรือถูกแย่งลูกค้า เพราะญาติโยมที่เข้ามาปฏิบัติธรรมไม่ได้มาด้วยศรัทธาเพียงอย่างเดียว มันมีลาภสักการะตามมาด้วย”
ด้านพระชาย วรธัมโม ภิกษุสงฆ์ผู้เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศให้ความคิดเห็นว่า
“ภายใต้ความเป็นอนุรักษ์นิยม ศาสนาพุทธในไทยกลัวการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการรับรองภิกษุณี ต้องตามมาด้วยการจัดการปัญหาหลายอย่าง เช่น ที่อยู่ของภิกษุณีสงฆ์ หากอยู่ในรั้ววัดเดียวกันเกรงปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่ตามมา การแก้ปัญหาคือการแยกวัดกัน ในต่างประเทศ เช่น ไต้หวันและเวียดนาม วัดของภิกษุณีก็แยกออกต่างหาก”
“อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือพระสงฆ์ไม่เคยเห็นความทุกข์ของผู้หญิง คณะสงฆ์ไม่เคยเห็นความทุกข์ของผู้หญิงว่าในชีวิตหนึ่งต้องเจอกับอะไรบ้าง ทั้งความรุนแรงในครัวเรือน ออกมาข้างนอกก็เจอกับความรุนแรงในสังคม โอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานน้อยกว่าผู้ชาย คณะสงฆ์ไม่มองเห็นความทุกข์ของผู้หญิง สงฆ์ตีความเข้าข้างตัวเองตรงที่ว่าภิกษุณีนั้นขาดช่วงไปนานแล้ว พอคณะสงฆ์ให้คำตอบมาแบบนี้ เท่ากับว่ามันไม่มีคำตอบอะไรเลย ในเมื่อไม่มีทางออกจึงกลายเป็นว่าผู้หญิงถูกทิ้ง เป็นการตัดโอกาสที่จะเข้าถึงโลกของศาสนา ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดกับผู้หญิงจึงถูกทิ้งไว้”
พระชาย วรธัมโม
ที่มาภาพ : TCIJ
นอกจากนี้พระชายยังมองว่าการบวชของผู้หญิงยังจะทำให้พวกเธอสามารถมีทางเลือกในชีวิตเพิ่มขึ้นอีกทางด้วย เมื่อพวกเธอไม่ต้องการใช้ชีวิตเป็นฆราวาสก็สามารถเดินทางเข้าสู่ทางธรรมได้ และถ้าหากศาสนาพุทธในไทยยอมรับสถานะนักบวชของภิกษุณีก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อตัวศาสนาเอง เพราะพระพุทธศาสนาจะสามารถตอบคำถามเรื่องสิทธิของผู้หญิงได้ผ่านการให้สิทธิชายหญิงเท่าเทียมกัน
เมื่อพูดถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ภิกษุณีโดนริดลอนสิทธิอันพึงได้รับ พระชาย วรธัมโม ให้ความเห็นทิ้งท้ายดังนี้
“ปัญหาทั้งหมดนี้มันเกิดจากการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปี 2484 ที่ให้พระสงฆ์ปกครองกันเองออกไป การปกครองแบบสังฆสภา กลายเป็นระบบที่ถูกเปลี่ยนเป็นการควบคุมภายใต้คำสั่งของพระมหากษัตริย์ มีเรื่องของการให้สมณศักดิ์ มันส่งผลให้อิทธิพลมันโน้มเอียงไปทางอุดมการณ์ราชาชาตินิยม หากจะหาวิธีการที่จะสามารถให้พื้นที่ของภิกษุณีในพุทธแบบไทยได้ จำเป็นที่จะต้องนำศาสนาแยกออกจากรัฐก่อน เพื่อที่เมื่อสงฆ์ปกครองกันเองแล้ว โอกาสที่จะขับเคลื่อนหรือเรียกร้องสิทธิจะทำได้ง่ายขึ้น”
“หากพุทธศาสนาถูกดึงออกจากภาครัฐ พ.ร.บ.อะไรมันก็ไม่ต้องมีแล้ว เพราะทุกคนคือพลเมืองเท่ากัน ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายอะไรมารองรับ ปัญหาของภิกษุณีจริงๆ แล้วมันอยู่ที่ว่าพระสงฆ์มีอำนาจเชื่อมโยงกับรัฐ พระสงฆ์เอาอำนาจรัฐเหล่านี้มาใช้ และยังกดทับภิกษุสามเณรตัวเล็กตัวน้อยอีกด้วยการไม่ให้บวช สร้างความลำบาก ค่าใช้จ่าย ตัดโอกาสการเข้าถึงธรรม ทั้งๆ ที่การศึกษาธรรมเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว”
พระชาย วรธัมโม
เมื่อถามถึงความหวังในการเรียกร้องสถานะภิกษุณีทางกฎหมาย ภิกษุณีธัมมนันทายังคงยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ยังคงต้องทำต่อไป ควบคู่ไปกับการจัดการวัตรปฏิบัติของภิกษุณีเองด้วย เพราะหลวงแม่เชื่อว่าตราบใดก็ตามที่ภิกษุณีมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม และยังคงเป็นที่ศรัทธาของศาสนิกชน ก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งที่ทำให้การเรียกร้องสถานะนักบวชเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต
“เมื่อภิกษุณีทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา หลวงแม่คิดว่านี่เป็นจุดแข็งที่จะทำให้เราอยู่ได้ เราต้องไม่ลืมว่าพระภิกษุสงฆ์อยู่ได้เพราะสังคม เพราะประชาชนยอมรับสนับสนุน ภิกษุณีก็เช่นกัน ถ้าภิกษุณีทำตัวเองดี ญาติโยมดูแล สนับสนุน พอไปถึงจุดหนึ่งที่มันเห็นชัดเจนว่าภิกษุณีสงฆ์ทำประโยชน์ให้กับสังคม มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง เหตุการณ์การเรียกร้องสิทธิของเรามันก็จะเปลี่ยนผันไปในทางที่ดีเอง”
เส้นทางการเรียกร้องสถานะทางกฎหมายของภิกษุณีในไทยยังไม่จบลง และยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องกระทำต่อไป เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่การเรียกร้องสำเร็จ ไม่เพียงแต่ผู้หญิงที่นับถือศาสนาพุทธจะมีทางเลือกของชีวิตที่มากขึ้น แต่การเปิดรับภิกษุณีให้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยยังจะสามารถปลุกให้เราหันมาตระหนักถึงความเท่าเทียมทางเพศและเคารพเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาของปัจเจกบุคคลได้อีกทางหนึ่งด้วย
อ้างอิง
- คลี่ปมการศึกษาสงฆ์ไทยในภาวะแช่แข็ง. (5 กรกฎาคม 2558). เข้าถึงได้จาก TCIJ THAI: https://www.tcijthai.com/news/2015/05/scoop/5665
- ประวัติโรงพยาบาลสงฆ์ (24 กันยายน 2555). เข้าถึงได้จาก: https://www.priest-hospital.go.th/About/History
- สปสช.แจงสิทธิพระสงฆ์ รักษาฟรีด้วย ‘บัตรทอง’ ภาพรวมเข้าถึงบริการมากขึ้น. (26 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงได้จาก The Coverage: https://www.thecoverage.info/news/content/2786
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : กรกช เจียมสง่า
ภาพ : กรกช เจียมสง่า/ กาญจนา สุทธิกุล
มาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การบวชซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการปฏิบัติของศาสนาพุทธ เพื่อการบรรลุธรรมอันเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนทุกคนพึงกระทำได้เฉกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าชายหรือหญิงสามารถบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่เมื่อพิจารณาบริบทของศาสนาพุทธในประเทศไทยแล้ว จะเห็นว่า ผู้หญิงยังคงไม่สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติยังไม่รับรองสถานะนักบวชของภิกษุณี
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จึงถือเป็นการลิดรอนสิทธิ์การเข้าถึงทางเลือกในการปฏิบัติศาสนกิจของผู้หญิงไทย ซึ่งส่งผลให้การรับรู้ถึงสถานะและการมีอยู่ของภิกษุณีในประเทศไทยถูกลบเลือนไปจากสังคมด้วย ผู้หญิงที่นับถือศาสนาพุทธส่วนมากจึงไม่รับทราบว่าตนนั้นก็สามารถบวชเข้าเป็นภิกษุณีได้ เช่นเดียวกับการที่ศาสนิกชนเพศชายสามารถเลือกบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์เพื่อบรรลุเจตนาในการเรียนรู้หลักธรรมและสืบทอดพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนอย่างเท่าเทียมกัน
ภิกษุณี: เส้นทางสู่คุณภาพชีวิตที่ดีที่ผู้หญิงมีสิทธิเลือก
เพราะภาพของภิกษุณียังไม่เป็นที่รู้จักของคนในวงกว้างหลายคนจึงยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วบทบาทของภิกษุณีในทางพระพุทธศาสนา รวมถึงขั้นตอนในการบวชเข้าเป็นภิกษุณีนั้นเป็นอย่างไร ‘สุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณี’ ภิกษุณีที่ได้บวชและจำวัดอยู่ที่ประเทศไทย ได้เล่าถึงจุดมุ่งหมาย ขั้นตอนในการบวช และชีวิตผู้ครองสมณเพศของเธอไว้ว่า
“จุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเริ่มรู้สึกสนใจการบวชเริ่มจากตอนที่หลวงแม่ได้ไปปฏิบัติธรรม ได้พบความสุขจากการปฏิบัติธรรมที่เราได้ลดละกิเลส ปรารถนาที่จะสละทางโลก ไปสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ศึกษาข้อมูลแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงประดิษฐานพุทธบริษัท4 ไว้เพื่อความมั่นคงของพุทธศาสนา คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คือพระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้แล้วว่า ทรงอนุญาตให้ผู้ชายบวชเป็นภิกษุ ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ฉะนั้นการที่หลวงแม่ได้บวชเป็นภิกษุณีนี้ เป็นการถูกต้องตามพระวินัย ดำเนินอยู่ในรอยธรรมที่ถูกต้อง งดงามในวิถี”
“ตามพระวินัย การที่ผู้หญิงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ ต้องมีอายุครบ 20 ปี ต้องบรรพชาเป็นสามเณรีก่อนอย่างน้อย 2 ปี ในการเป็นสามเณรีนั้นจะเป็นสามเณรีไปกี่ปีก็ได้ แต่เมื่อต้องการจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี สามเณรีต้องเป็นสิกขมานาก่อน 2 ปี โดยสิกขมานาคือสตรีที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ หรือผู้หญิงที่อายุครบ 12 ปี ได้แต่งงานมีครอบครัวแล้ว ศึกษาธรรม 6 ประการครบสองปีและสงฆ์ให้การรับรองแล้วจึงจะสามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้”
แม้ว่าจะใช้ระยะเวลาในการเตรียมการบวชค่อนข้างนาน และมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าการบวชพระภิกษุสงฆ์ แต่หลังจากตัดสินใจบวชเป็นภิกษุณีแล้ว สุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณี กลับมองว่าการตัดสินใจเดินทางเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ของเธอเป็นทางเลือกที่ทำให้เธอพบกับคำตอบของชีวิต
เมื่อถามถึงวัตรปฏิบัติของภิกษุณี คำตอบที่ได้นั้นไม่ได้ต่างไปจากวัตรปฏิบัติของเหล่าภิกษุสงฆ์ที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เคยเห็นกันอย่างชินตานัก
“ทุกวันนี้วัตรปฏิบัติการสวดมนต์นั่งสมาธิทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นมีให้เห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งการทำงานเพื่อดูแลความเรียบร้อยภายในสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เราจำวัดอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีการสนทนาธรรมกับญาติโยมที่เดินทางมาปฏิบัติธรรม ปัจจุบันหลวงแม่อยู่ที่ บวรนานาธรรมสถาน จังหวัดสระแก้ว ก็มีญาติโยมแวะเวียนมาหา โดยที่ศาสนิกชนส่วนใหญ่ที่พบเจอก็จะมีความเคารพเลื่อมใสและศรัทธาในภิกษุณีไม่ต่างจากภิกษุสงฆ์ทั่วไป”
จากข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ ‘ปลาย – ธนัชชา วันทะนะ’ หญิงไทยผู้มีความต้องการจะบวชเป็นภิกษุณี เพราะเชื่อว่าการบวชจะช่วยให้เธอสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เธอเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตของเธอสามารถพบกับความสุขที่แท้จริง จากเดิมที่เคยนิยามตนเองว่าเป็นคนไร้ศาสนา แต่เมื่อชีวิตต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทำให้เธอตัดสินใจเลือกใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และการบวชเป็นภิกษุณีก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่เธอต้องการจะทำให้ได้ในอนาคต
“สาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจอยากบวชเกิดจากปัญหาที่เป็นมรสุมในชีวิต จนทำให้เกิดความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตต่อ เราจึงพยายามคิดหาทางออกให้กับชีวิต โดยส่วนตัวเชื่อว่าการบวชจะทำให้เกิดความสงบสุขในจิตใจ นอกจากนี้จะทำให้เราได้เห็นโลกที่กว้างขึ้นผ่านการศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างถึงแก่น แม้ว่าเราเองจะตระหนักรู้ว่าการปรึกษาหรือได้รับการเยียวยาทางจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะทำให้ปัญหาในใจสามารถเบาบางลงได้ แต่ตัวเราก็ยังคงมีความเชื่อว่าการได้บวชจะนำมาซึ่งความสงบสุขทางจิตใจที่แท้จริง”
เมื่อถามถึงการเตรียมตัวเพื่อที่จะบวชเป็นภิกษุณี เธอกล่าวว่า “ตัวเองได้มีการปรึกษากับญาติที่บวชเป็นแม่ชี ทำให้รู้ว่าวิถีชีวิตของอุบาสิกาเป็นอย่างไร ส่วนตัวเป็นคนที่สนับสนุนแนวคิดสตรีนิยม แม้ว่าจะได้รับรู้ชุดข้อมูลว่าต่อให้บวชสำเร็จเป็นภิกษุณีได้ ก็ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกว่าพระภิกษุ ต้องคอยรับใช้พระภิกษุ หากจำวัดอยู่ด้วยกัน ต้องทำกิจต่างๆ ภายหลังจากพระสงฆ์ เช่นการฉันอาหาร การทำวัตร แต่ก็ยังมีความแน่วแน่ที่จะบวชเป็นภิกษุณีอยู่ดี”
ธนัชชามองว่านี่เป็นการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมทางเพศที่จะต้องเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของผู้หญิงในพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นกว่าเดิม และถึงแม้ในตอนนี้เธอจะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบวชเป็นภิกษุณีมากนัก แต่เธอก็ได้วางแผนไว้ว่าอยากลองไปบวชชีพราหมณ์ให้ได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตแบบอุบาสิกาก่อน ก่อนที่จะมุ่งหน้าเข้าเตรียมตัวบวชต่อไป
สิทธิที่หายไปเมื่อภิกษุณีไทยไร้สถานะนักบวช
เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าของสุภาสินีโพธิญาณะภิกษุณีข้างต้น จะเห็นว่าวัตรปฏิบัติของภิกษุณีนั้นไม่ได้แตกต่างจากการมีอยู่ของพระภิกษุสงฆ์เลยในแง่ของการสืบทอดพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันภิกษุณีในไทยก็ยังคงไม่ได้รับสถานะนักบวช ซึ่งส่งผลให้พวกเธอไม่ได้รับสิทธิตามที่นักบวชพึงจะได้รับ ‘ภิกษุณีธัมมนันทา’ เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี ภิกษุณีนิกายเถรวาทรูปแรกในไทย ได้กล่าวไว้ว่า
“เพราะมหาเถรสมาคมไม่อนุมัติสถานะนักบวชของภิกษุณีสงฆ์ในไทยด้วยการยืนกรานในพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชกรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ ที่ได้สั่งห้ามไม่ให้พระภิกษุไทยบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณี เพราะเชื้อสายภิกษุณีในไทยขาดช่วงไปนานแล้ว จึงไม่สามารถทำพิธีบวชได้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่มีความต้องการจะบวชต้องเดินทางไปบวชที่ต่างประเทศ”
‘ภิกษุณีธัมมนันทา’ หรือในชื่อฆราวาสคือ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ อดีตนักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา ผู้ได้เดินทางไปบวชเป็นภิกษุณีที่ประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 2546 ทั้งยังเคลื่อนไหวและเรียกร้องสิทธิให้แก่ภิกษุณีมานานกว่า 20 ปี ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงผลกระทบต่อสถานภาพทางสังคมของภิกษุณีอันเกิดจากการที่มหาเถรสมาคมไม่รับรองสถานะนักบวชของภิกษุณีไว้สองส่วน โดยส่วนแรก เกี่ยวเนื่องกับการที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงการบวชในประเทศไทย
จากการสำรวจจำนวนภิกษุณีในไทยของภิกษุณีธัมมนันทาล่าสุดในปี 2565 พบว่าภิกษุณีส่วนใหญ่กว่า 285 รูปจาก 40 จังหวัดในประเทศไทยล้วนต้องเดินทางไปบวชที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศศรีลังกา เนปาล อินเดีย หรือไต้หวัน เนื่องจากในต่างประเทศยังคงมีการสืบเชื้อสายภิกษุณีมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ตามมาจากการเดินทางไปบวชที่ต่างแดนคือค่าใช้จ่ายมหาศาล
“การเดินทางไปบวชครั้งหนึ่งมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยที่สุดต่อหัว 25,000 บาท โดยเฉพาะค่าตั๋วเครื่องบินที่มีมูลค่ากว่า 10,000 บาท นอกจากนี้ในพิธีบวชเราก็ต้องมีการจัดเตรียมงาน ต้องมีการถวายเงินพระภิกษุสงฆ์ 10 รูป ภิกษุณีสงฆ์ 10 รูป รวม 20 รูป อีกเรื่องสำคัญคือจำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษได้ ถ้าพูดไม่ได้ก็ต้องไปกับครูบาอาจารย์ที่ฝึกซ้อมกัน หรือไม่ก็ต้องจัดหาล่าม ไม่สามารถเดินทางไปบวชด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องมีผู้ดูแลเดินทางไปด้วย”
ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการบวชของภิกษุณีดังกล่าวนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงและมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีบวชเป็นภิกษุอย่างเรียบง่ายในไทย อ้างอิงจากงานวิจัยหัวข้อ ‘ความเกินจริงในพิธีกรรมการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา มองผ่านปรัชญาหลังนวยุค’ โดยพระครูประสุตโพธิคุณ (สุวรรณรงค์) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมการจัดงานบวชของคนไทยไว้ว่ามีความฟุ่มเฟือยในการจัดงานหลายอย่าง แต่การบวชพระภิกษุก็สามารถกระทำได้อย่างเรียบง่ายที่สุดในงบประมาณเฉลี่ยเพียง 5,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายขั้นต่ำที่สุดในการบวชภิกษุณีในต่างประเทศ ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการบวชของเพศหญิงที่มีน้อยกว่าเพศชายมาก
ไม่เพียงแต่การเข้าถึงการบวชที่ยาก ภายหลังการบวชเป็นภิกษุณีจากต่างประเทศกลับมาแล้ว ภิกษุณีก็ยังไม่ได้รับสิทธิที่นักบวชพึงได้รับตามกฎหมาย ซึ่งเป็นผลกระทบส่วนที่สองจากการที่มหาเถรสมาคมไม่รับรองสถานะนักบวชของภิกษุณี
“แม้จะบวชแล้ว ยังมีปัญหาที่ตามมา ภาพที่เห็นจากสายตาคนทั่วไป ภิกษุณีเป็นนักบวชห่มผ้าเหลือง มีวัตรปฏิบัติคล้ายคลึงกับพระภิกษุ แต่พวกเรายังคงไม่ได้รับการรับรองโดยมหาเถรสมาคม จึงถูกปฏิบัติราวกับว่าเป็นฆราวาส ภิกษุณีจึงไม่ได้รับสิทธิดังเช่นภิกษุสงฆ์”
ในด้านสาธารณสุข เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิที่พระสงฆ์ได้รับในปัจจุบันนั้น พระสงฆ์สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์โดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ซึ่งสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิในโรงพยาบาลใกล้วัดได้ เมื่อไปรับการรักษาให้แสดงบัตรประชาชนในโรงพยาบาล/หน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้ ทั้งนี้ยังสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประจำ ตามความจำเป็น ได้ปีละ 4 ครั้ง ในขณะที่ภิกษุณีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาได้ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต้นสังกัดตามเขตในบัตรประชาชนเท่านั้น และพระภิกษุสงฆ์เองเมื่อต้องทำการรักษาโรคเฉพาะทางก็มีโรงพยาบาลสงฆ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่พระสงฆ์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้พระสงฆ์ในพื้นที่ แต่สำหรับภิกษุณีแล้วโครงการเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
นอกจากนี้ในประเด็นการศึกษา จะเห็นว่าปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับนักบวชในพระพุทธศาสนามีไว้สำหรับนักบวชเพศชายเท่านั้น โดยการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือการศึกษาที่จัดรูปแบบการเรียนการสอนตามแบบทางโลกมีสองระดับคือ 1. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (ม.1 – ม.6) 2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา สองสถาบันคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ฝ่ายมหานิกาย) และ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (ฝ่ายธรรมยุต)
ประเภทที่สอง คือ การศึกษาเฉพาะด้านหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาล้วน ๆ ไม่มีวิชาสามัญศึกษาเข้าไปปะปน แยกออกเป็น 1. การศึกษาพระปริยัติ ธรรมแผนกนักธรรม 2. การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ซึ่งทำให้พระภิกษุและสามเณรสามารถสำเร็จการศึกษาและได้รับความรู้ในทางโลกและทางธรรมแบบที่มีการรับรองวุฒิในการสำเร็จการศึกษา
ในขณะที่ภิกษุณีและสามเณรีไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาดังกล่าวได้เลย ทำได้เพียงจัดการศึกษาให้กันเองตามอัธยาศัยเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาระหว่างนักบวชทั้งสองเพศอย่างเห็นได้ชัด หากภิกษุณีได้รับสถานะนักบวชและสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ไม่ต่างกับพระภิกษุย่อมจะส่งผลดีต่อการเข้าถึงหลักธรรมคำสอน รวมทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการศึกษา
นอกจากประเด็นเรื่องสาธารณสุขและการศึกษาแล้ว การไม่ได้รับสถานะนักบวชยังส่งผลให้ภิกษุณีขาดสิทธิด้านอื่นๆ อีกด้วย
“แม้แต่วัตรทรงธรรมกัลยานีที่เหล่าภิกษุณีใช้จำวัดและปฏิบัติศาสนากิจเอง ก็ไม่ได้รับการรับรองเป็นศาสนสถาน ไม่สามารถใช้คำว่าวัดนำหน้า ไม่ได้รับการทำนุบำรุงจากภาครัฐ ซ้ำยังต้องเสียภาษีโรงเรือนเหมือนอาคารพาณิชย์ทั่วไป” ภิกษุณีธัมมนันทากล่าว
คณะสงฆ์ไทยกับ ‘ระบบชายเป็นใหญ่’ ในสังคม
แม้ว่าการขาดซึ่งสิทธิข้างต้นส่งผลต่อสวัสดิภาพของภิกษุณีในไทย จนทำให้เกิดการเรียกร้องสถานะนักบวชมาอย่างต่อเนื่อง แต่การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิของภิกษุณีในประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้สำเร็จ ‘ดร. กาญจนา สุทธิกุล’ นักวิชาการด้านศาสนวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธสาริกา และผู้ติดตามของภิกษุณีธัมมนันทา ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ขัดขวางการรับรองสถานะนักบวชของภิกษุณีไว้ว่า
“หนึ่งในสาเหตุที่ไม่ต้องการให้มีภิกษุณีในไทยคือเขาเกรงกลัวว่าจะเสียสิ่งที่เคยได้รับ หากเป็นสงฆ์ที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรมวินัย หวังประโยชน์อื่น เช่น ความก้าวหน้าของตำแหน่งสงฆ์ บางคนกลัวว่าจะต้องถูกแบ่งเค้กหรือถูกแย่งลูกค้า เพราะญาติโยมที่เข้ามาปฏิบัติธรรมไม่ได้มาด้วยศรัทธาเพียงอย่างเดียว มันมีลาภสักการะตามมาด้วย”
ด้านพระชาย วรธัมโม ภิกษุสงฆ์ผู้เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศให้ความคิดเห็นว่า
“ภายใต้ความเป็นอนุรักษ์นิยม ศาสนาพุทธในไทยกลัวการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการรับรองภิกษุณี ต้องตามมาด้วยการจัดการปัญหาหลายอย่าง เช่น ที่อยู่ของภิกษุณีสงฆ์ หากอยู่ในรั้ววัดเดียวกันเกรงปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่ตามมา การแก้ปัญหาคือการแยกวัดกัน ในต่างประเทศ เช่น ไต้หวันและเวียดนาม วัดของภิกษุณีก็แยกออกต่างหาก”
“อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือพระสงฆ์ไม่เคยเห็นความทุกข์ของผู้หญิง คณะสงฆ์ไม่เคยเห็นความทุกข์ของผู้หญิงว่าในชีวิตหนึ่งต้องเจอกับอะไรบ้าง ทั้งความรุนแรงในครัวเรือน ออกมาข้างนอกก็เจอกับความรุนแรงในสังคม โอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานน้อยกว่าผู้ชาย คณะสงฆ์ไม่มองเห็นความทุกข์ของผู้หญิง สงฆ์ตีความเข้าข้างตัวเองตรงที่ว่าภิกษุณีนั้นขาดช่วงไปนานแล้ว พอคณะสงฆ์ให้คำตอบมาแบบนี้ เท่ากับว่ามันไม่มีคำตอบอะไรเลย ในเมื่อไม่มีทางออกจึงกลายเป็นว่าผู้หญิงถูกทิ้ง เป็นการตัดโอกาสที่จะเข้าถึงโลกของศาสนา ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดกับผู้หญิงจึงถูกทิ้งไว้”
ที่มาภาพ : TCIJ
นอกจากนี้พระชายยังมองว่าการบวชของผู้หญิงยังจะทำให้พวกเธอสามารถมีทางเลือกในชีวิตเพิ่มขึ้นอีกทางด้วย เมื่อพวกเธอไม่ต้องการใช้ชีวิตเป็นฆราวาสก็สามารถเดินทางเข้าสู่ทางธรรมได้ และถ้าหากศาสนาพุทธในไทยยอมรับสถานะนักบวชของภิกษุณีก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อตัวศาสนาเอง เพราะพระพุทธศาสนาจะสามารถตอบคำถามเรื่องสิทธิของผู้หญิงได้ผ่านการให้สิทธิชายหญิงเท่าเทียมกัน
เมื่อพูดถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ภิกษุณีโดนริดลอนสิทธิอันพึงได้รับ พระชาย วรธัมโม ให้ความเห็นทิ้งท้ายดังนี้
“ปัญหาทั้งหมดนี้มันเกิดจากการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปี 2484 ที่ให้พระสงฆ์ปกครองกันเองออกไป การปกครองแบบสังฆสภา กลายเป็นระบบที่ถูกเปลี่ยนเป็นการควบคุมภายใต้คำสั่งของพระมหากษัตริย์ มีเรื่องของการให้สมณศักดิ์ มันส่งผลให้อิทธิพลมันโน้มเอียงไปทางอุดมการณ์ราชาชาตินิยม หากจะหาวิธีการที่จะสามารถให้พื้นที่ของภิกษุณีในพุทธแบบไทยได้ จำเป็นที่จะต้องนำศาสนาแยกออกจากรัฐก่อน เพื่อที่เมื่อสงฆ์ปกครองกันเองแล้ว โอกาสที่จะขับเคลื่อนหรือเรียกร้องสิทธิจะทำได้ง่ายขึ้น”
เมื่อถามถึงความหวังในการเรียกร้องสถานะภิกษุณีทางกฎหมาย ภิกษุณีธัมมนันทายังคงยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ยังคงต้องทำต่อไป ควบคู่ไปกับการจัดการวัตรปฏิบัติของภิกษุณีเองด้วย เพราะหลวงแม่เชื่อว่าตราบใดก็ตามที่ภิกษุณีมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม และยังคงเป็นที่ศรัทธาของศาสนิกชน ก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งที่ทำให้การเรียกร้องสถานะนักบวชเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต
“เมื่อภิกษุณีทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา หลวงแม่คิดว่านี่เป็นจุดแข็งที่จะทำให้เราอยู่ได้ เราต้องไม่ลืมว่าพระภิกษุสงฆ์อยู่ได้เพราะสังคม เพราะประชาชนยอมรับสนับสนุน ภิกษุณีก็เช่นกัน ถ้าภิกษุณีทำตัวเองดี ญาติโยมดูแล สนับสนุน พอไปถึงจุดหนึ่งที่มันเห็นชัดเจนว่าภิกษุณีสงฆ์ทำประโยชน์ให้กับสังคม มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง เหตุการณ์การเรียกร้องสิทธิของเรามันก็จะเปลี่ยนผันไปในทางที่ดีเอง”
เส้นทางการเรียกร้องสถานะทางกฎหมายของภิกษุณีในไทยยังไม่จบลง และยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องกระทำต่อไป เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่การเรียกร้องสำเร็จ ไม่เพียงแต่ผู้หญิงที่นับถือศาสนาพุทธจะมีทางเลือกของชีวิตที่มากขึ้น แต่การเปิดรับภิกษุณีให้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยยังจะสามารถปลุกให้เราหันมาตระหนักถึงความเท่าเทียมทางเพศและเคารพเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาของปัจเจกบุคคลได้อีกทางหนึ่งด้วย
อ้างอิง
Share this:
Like this: